ไฟไซเรนรถพยาบาล แต่ละสีบ่งบอกอะไร หากไม่หลีกผิดกฎหมายหรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร ?

Nok Srihong
ผู้เขียน: Nok Srihong Published: July 14, 2023
Nok Srihong
Nok Srihong
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Nok Srihong
แก้ไขโดย: Nok Srihong Last edited: August 6, 2024
Nok Srihong
Nok Srihong
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รถพยาบาล

‘รถพยาบาล’ ยานพาหนะที่เราสามารถพบเจอได้เป็นประจำบนท้องถนนเมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้ายหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นนั้นความจริงแล้วมีความสำคัญมากแค่ไหน สีไฟ ไซเรนรถพยาบาลแต่ละสีเป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร หากเราไม่หลบทางให้จะมีความร้ายแรงขนาดไหน ส่งผลอะไร และจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องได้รับโทษอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันกับ แรบบิท แคร์     

ความสำคัญของรถพยาบาล รถฉุกเฉิน

รถพยาบาลหรือที่บางคนอาจเรียกว่ารถฉุกเฉินนั้นเป็นหนึ่งในระบบทางสาธารณสุขซึ่งมีการติดตั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะโดดเด่นด้านการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วรวมถึงส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีเพราะจะมีการใช้ระบบไฟไซเรนในการเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ 

อีกทั้งยังมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยติดตั้งอยู่ภายใน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์ช่วยหายใจ รวมถึงเครื่องมือในการกู้ชีพพื้นฐานที่จำเป็นที่สามารถให้การรักษาเบื้องต้นและสามารถดูแลกู้ชีพให้กับผู้ป่วยได้ในทันทีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รถพยาบาลเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญในการรักษาชีวิตของผู้ป่วยยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขภาพหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาบนท้องถนนนั่นเอง

ไฟไซเรนรถพยาบาล แต่ละสี บอกอะไร ?

อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อรถพยาบาลออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นจะมีการเปิดไฟไซเรน และเสียงสัญญาณไซเรนเพื่อขอทางจากผู้ที่กำลังเดินทางบนท้องถนน โดนตามระเบียบการการใช้ไฟสัญญาณไฟไซเรนและเสียงสัญญาณไซเรนในการปฏิบัติการฉุกเฉินนั้นจะมีการเลือกใช้สีไฟตามความร้ายแรงและความเร่งด่วนของสถานการณ์ผู้ป่วยในรถ โดยที่กำหนดไว้หลัก ๆ จะมีดังนี้

  • ไฟสีแดง – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (เปิดเสียงไซเรน)
  • ไฟสีเหลือง – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (เปิดเสียงไซเรน)
  • ไฟสีเขียว – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (ไม่เปิดเสียงไซเรน)
  • ไม่เปิดไฟ/สีขาว – ออกปฏิบัติการต่อผู้ป่วยภาวะปกติ (ไม่เปิดไฟและเสียงไซเรน)

เสียงไซเรนรถพยาบาล บอกอะไร ?

สำหรับรายละเอียดในด้านของเสียงรถพยาบาลแล้ว อย่างที่ได้กล่าวถึงไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าจะมีการเปิดเสียงไซเรนเฉพาะในกรณีที่ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ไฟสีแดง) และ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (ไฟสีเหลือง) เท่านั้น โดยจะเป็นลักษณะเสียง ปี๊ป่อ ปี๊ป่อ~ ที่เราต่างก็คุ้นหูกันดี แต่สำหรับเสียงหวอยาวที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างนั้น จะเปิดใช้ในกรณีที่จำเป็นจะต้องวิ่งสวนเลนหรือฝ่าไฟแดงเพราะฉะนั้นใครที่ได้ยินเสียงหวอแบบนี้ ต้องระมัดระวังให้ดี รีบหลบทางให้ไว

รถพยาบาลจำเป็นต้องทำตามกฎจราจรหรือไม่ ?

อาจมีบางคนสงสัยว่ารถพยาบาลจำเป็นต้องทำตามกฎหมายจราจรหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้วรถทุกคันบนท้องถนนจะต้องอยู่ภายใต้กฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพียงแต่จะมีกรณียกเว้นที่ถือเป็นเหตุฉุกเฉินร้ายแรงซึ่งอนุญาตให้รถพยาบาลสามารถวิ่งฝ่าไฟแดง วิ่งสวนเลน ขับเกินความเร็วกำหนด จอดในที่ห้ามจอดได้ ฯลฯ และผู้ร่วมใช้ท้องถนนท่านอื่น ๆ ต้องหลบทางให้ในกรณี ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ไฟสีแดง) และ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (ไฟสีเหลือง) ส่วนในกรณีที่ออกปฏิบัติการกับผู้ป่วยภาวะปกติก็จะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรตามเดิม

ผลกระทบต่อชีวิตหากไม่หลีกทางให้รถพยาบาล

  • ผู้ป่วยบนอาจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • มีความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  • มีความเสี่ยงในการพิการ เนื่องจากเข้ารับการรักษาไม่ทัน
  • อาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตหรือเครื่องมือภายในรถพยาบาลหากจำเป็นต้องหักหลบรถที่ขวางทางฉุกเฉิน

หาไม่ให้ทางรถพยาบาล ผิดกฎหมายหรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร ? 

ตามกฎหมายมาตรา 76 นั้น เมื่อพบเห็นรถพยาบาลซึ่งเป็นรถฉุกเฉินนั้นผู้เดินเท้าจะต้องเดินชิดขอบทางหรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด และผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถหรือจอดรถชิดทางซ้าย แต่จะห้ามหยุดหรือจอดบริเวณทางแยก กล่าวคือหารถคุณอยู่บริเวณทางแยกแล้วมีรถพยาบาลขับตามหลังมาให้รีบขับไปให้พ้นทางแยกและเปิดไฟเลี้ยวเข้าชิดซ้ายหลบทางให้รถพยาบาลได้ไปก่อนนั่นเอง 

และสำหรับผู้ที่ไม่หลบหรือให้ทางรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินนั้น จะมีโทษตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

และกรณีไม่หลบรถฉุกเฉินจนเป็นเหตุให้ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย ที่อยู่ในรถต้องเสียชีวิต อาจจะมีความผิดฐานกระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งถือเป็นโทษที่ร้ายแรงมากนั่นเอง

เบอร์รถพยาบาล เบอร์ฉุกเฉิน พร้อมสิ่งที่ต้องทำเพื่อแจ้งเหตุ

เมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วย มีอุบัติเหตุ และมีผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หนทางการแจ้งเหตุและเรียกรถพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากที่สุดนั้นอาจต้องประเมินจากว่าแถวนั้นมีโรงพยาบาลใกล้เคียงหรือไม่ หากมีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ในพื้นที่ก็สามารถโทรติดต่อโรงพยาบาลพร้อมแจ้งสถานการณ์ให้รถพยาบาลมารับได้ แต่ในกรณีที่ไม่มีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ไม่รู้ว่ามีโรงพยาบาลใกล้เคียงไหม และไม่สามารถรีบเคลื่อนที่คนเจ็บไปด้วยตนเองได้ อีกทางออกคือ การโทรเบอร์ 1669 ซึ่งเป็นเบอร์ฉุกเฉินที่ใช้ในการแจ้งเหตุและจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยประเมินอาหารและประสานงานให้ความช่วยเหลือต่อให้ ซึ่งขั้นตอนการแจ้งเหตุจะมี ดังนี้

  • ตั้งสติกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าและโทร 1669 
  • ให้ข้อมูลสถานการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  • แจ้งสถานที่เกิดเหตุ พิกัด เส้นทางที่ชัดเจน
  • แจ้งเพศ อายุ จำนวน อาการของผู้บาดเจ็บ
  • บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
  • บอกความเสี่ยงในการเกิดเหตุซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน มีน้ำมันรั่วจากรถ
  • แจ้งชื่อผู้แจ้งเหตุและเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ
  • ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นตามคำแนะำของเจ้าหน้าที่
  • รอความช่วยเหลือหรือทีมกู้ชีพมาช่วย

เรียกรถพยาบาล เบิกประกันอุบัติเหตุได้หรือไม่

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าหากโทรเรียกรถพยาบาลด้วยตนเองกรณีเกิดอุบัติเหตุจะสามารถเบิกประกันอุบัติเหตุได้ไหม โดยส่วนมากแล้วจะสามารถเบิกได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ทางผู้เอากรมธรรม์ซื้อเอาไว้ ดังนั้นหากอยากทำประกันอุบัติเหตุลองปรึกษา แรบบิท แคร์ ได้ ดูแลให้ครอบคลุมอุ่นใจ อยากได้แบบไหนสามารถเลือกที่ตรงใจได้เลย

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    บทความอื่นๆ เกี่ยวกับกฏหมายจราจร

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 44724

    แคร์สุขภาพ

    เรื่องอันตรายที่มักเกิดในหน้าฝน และคุณต้องระวัง!!

    หน้าฝน ฤดูกาลที่มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชอบหน้าฝนอาจจะด้วยเหตุผลเพราะหน้าฝนช่วยทำให้รู้สึกชุ่มชื่น ชุ่มฉ่ำ
    กองบรรณาธิการ
    26/03/2025
    Rabbit Care Blog Image 99716

    แคร์สุขภาพ

    Co-payments: Navigate Health Insurance & Thailand’s New Rules

    Navigating the world of health insurance can be complex, filled with terms and conditions that often leave individuals feeling confused. One such term is "co-payment," a crucial aspect of understanding your healthcare costs. This guide provides a detailed explanation of co-payments, exploring their role in health insurance, how they differ from other cost-sharing mechanisms, and their impact on your overall healthcare expenses. Moreover, we'll
    Nok Srihong
    28/02/2025