กฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัย โทษปรับเท่าไหร่?





ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในกฎหมายจราจรที่เราคุ้นเคยมากที่สุด และทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นกำหมายที่เราควรปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เพียงแต่เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับอย่างเรา ๆ เท่านั้น ยังช่วยให้เราไม่ต้องผิดกฎหมาย และเสียเงินค่าปรับจากโทษไม่คาดเข็มขัดนิรภัยอีกเวย
ว่าแต่กฎหมายไม่คาดเข็มขัดนิรภัยปรับกี่บาท มีอัปเดตเพิ่มเติมอะไรที่เราควรรู้เพิ่มเติมบ้างไหมนะ? ลองมาทำความรู้จักกับกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัยนี่กันดีกว่า
ความสำคัญของการคาดเข็มขัดนิรภัย ที่มีมากกว่าแค่กฎหมาย
ทำไมเราถึงต้อง คาดเข็มขัดนิรภัย? เหตุผลหลักคือเพื่อความปลอดภัยของคุณเองและผู้โดยสาร โดยการคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยยึดร่างกายของคุณไว้กับเบาะที่นั่ง ป้องกันไม่ให้กระเด็นไปกระแทกกับส่วนต่าง ๆ ของรถ หรือกระเด็นออกนอกตัวรถเมื่อเกิดการชนกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของการบาดเจ็บและช่วยชีวิตคุณได้จริง ๆ
โดยการคาดเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดแรงกระแทกกับวัตถุที่พุ่งชน 80% เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวที่ช้าลง เพราะการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันนั้นจะทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงขึ้นมาได้ และช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตมากถึง 60%
นอกจากนี้ยังกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ ป้องกันศีรษะ ใบหน้า และหน้าอกไปกระแทกกับพวงมาลัยและกระจกหน้า ป้องกันสมองและกระดูกสันหลังที่เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายจากอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ และยังลดความเสี่ยงในการกระเด็นออกนอกตัวรถเมื่อมีอุบัติเหตุจากแรงเหวี่ยงหรือแรงกระแทก และจะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ในรถมากถึง 6 เท่าเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า เข็มขัดนิรภัย เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยพื้นฐานในรถยนต์ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาอย่างยาวนานเพื่อช่วยชีวิตผู้คนได้จริง ๆ ดังนั้นการสละเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเพื่อคาดเข็มขัดนิรภัย จะช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บรุนแรงหรือการเสียชีวิตได้ และไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อชีวิตของคุณเองและผู้ร่วมเดินทางบนท้องถนนอีกด้วย
โดยกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ทุกท่านที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ต้องคาดเข็มขัดนิรภั ตลอดเวลาที่อยู่ในรถขณะขับขี่ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญคือ
- ผู้ขับขี่ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา
- ผู้โดยสาร ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งตอนหน้า หรือเป็นที่นั่งตอนหลัง ในกรณีที่รถคันนั้นมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยไว้ให้ แต่ทั้งนี้ รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารตอนหลังครบทุกที่นั่งแล้ว ดังนั้นจึงควรปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
และถึงแม้ว่ากฎหมายจะบังคับใช้กับทุกคน แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่จะได้รับข้อยกเว้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลทางการแพทย์ หรือการปฏิบัติงานเฉพาะทาง ดังนี้
- บุคคลที่มีเหตุผลทางการแพทย์ ที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าไม่สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ เช่น สตรีมีครรภ์บางกรณี, ผู้ที่มีปัญหาหลังหรือกระดูกสันหลังที่รุนแรง ซึ่งทั้งนี้จะต้องมีใบรับรองแพทย์แสดงต่อเจ้าหน้าที่เมื่อถุกเรียกตรวจด้วย
- บุคคลที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่บางอย่าง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือพนักงานฉุกเฉินที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ซึ่งการคาดเข็มขัดนิรภัยอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานเร่งด่วน
อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นเหล่านี้มีจำกัดและต้องมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดนั่นเอง

บทลงโทษที่ควรรู้ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับเท่าไหร่?
สำหรับผู้ที่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ฎหมาย กำหนดบทลงโทษไว้ชัดเจน ซึ่งเป็นโทษปรับไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถกระบะ หากไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะถุกปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท/คน
สำหรับรถตู้สาธารณะ รถทัวร์ รถบรรทุก รถบขส. หากคนขับไม่คาดสายรัดนิรภัยจะมีโทษปรับ 2,000 บาท/คน ส่วนผู้โดยสารหากไม่มีการคาดสายรัดนิรภัยจะมีโทษปรับ 5,000 บาท/คน
ส่วนคนขับรถทุกประเภทที่ไม่ได้มีการจัดให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยก็จะถูกปรับเพิ่มอีก 500 บาท
และล่าสุดทาง พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ก็ได้มีประกาศผลบังคับใช้ทางกฎหมายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล ว่าทุกที่นั่งจะต้องมีการคาดเข็มขัดนิรภัย ยกเว้นรถกระบะแบบมีแค็บที่คนนั่งในแค็บไม่ต้องคาดสายรัดนิรภัยก็ได้ เพราะไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
ข้อยกเว้นสำหรับรถที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย
แม้จะมีข้อกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัยก็จริง แต่ก็มีข้อยกเว้นที่อนุโ,มได้เช่นเดียวกับบุคคลบางประเภทที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยได้เช่นกัน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
- สำหรับรถยนต์เก่าที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 ไม่ถือว่ามีความผิด
- สำหรับรถกระบะที่มีการจดทะเบียนก่อนปี พ.ศ. 2537 ไม่ถือว่ามีความผิด
- สำหรับรถสามล้อ รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถที่ใช้งานในเกษตรกรรม และรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่มีการติดตั้งสายรัดนิรภัยจะไม่ถือว่ามีความผิด
- สำหรับรถกระบะ หรือรถกึ่งกระบะนั้นกำหนดให้คาดสายรัดเฉพาะแถวหน้าเท่านั้น ส่วนแค็บด้านหลังหรือที่นั่งท้ายกระบะนั้นไม่ต้องคาดก็ได้ แต่ต้องไม่นั่งเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องนั่งในลักษณะที่ปลอดภัย และต้องขับขี่ไม่เกินความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย
คาดเข็มขัดนิรภัยยังไงให้ถูกวิธี และปลอดภัย?
จริงอยู่ว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยนั้นไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด แต่การคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยง และช่วยปกป้องชีวิตให้ปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพของเข็มขัดนิรภัยได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- สตรีมีครรภ์ ส่วนบนให้คาดพาดผ่านอกลงมาที่ด้านข้างท้อง ส่วนด้านล่างให้คาดพาดผ่านตัก ต่ำกว่าครรภ์ เพื่อลดแรงกดทับที่อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์
- เด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี และมีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร แรบบิท แคร์ จะแนะนำให้นั่งคาร์ซีท เพราะคาร์ซีทจะสามารถช่วยปกป้องเด็กได้มากกว่าการคาดเข็มขัดนิรภัย ถ้าหากเกิดเหตุอุบัติเหตุมีการเบรกกะทันหันจะได้ช่วยรองรับแรงกระแทก และช่วยป้องกันไม่ให้เด็กกระเด็นหรือหลุดออกจากเบาะไปข้างนอกรถ
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้นั่งเบาะหลังหรือนั่งคาร์ซีทในท่านั่งที่เหมาะสม สะดวกสบาย และมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดการเดินทาง
- บุคคลทั่วไป ส่วนบนให้คาดพาดทแยงไหล่ โดยห้ามคาดชิดลำคอและใต้วงแขนเด็ดขาด ส่วนด้านล่างให้คาดพาดทแยงผ่านตัก หน้าขา และห้ามคาดบริเวณหน้าท้องเป็นอันขาด และการนั่งรถทุกครั้งควรคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางเบาะหน้าหรือทางเบาะหลัง และปรับสายเบลท์คาดเอวให้กระชับ เพื่อเช็กให้ปลอดภัยก่อนออกรถทุกครั้ง
- ห้ามนำคาร์ซีทแบบหันหน้าเข้าหาเบาะมาวางยึดกับเข็มขัดนิรภัยในบริเวณที่มีถุงลมนิรภัยติดตั้งไว้อยู่
- ห้ามใช้เข็มขัดนิรภัยร่วมกัน เพราะผู้โดยสารทุกคนจะต้องนั่งประจำที่นั่งของตนเองพร้อมกับคาดสายเบลท์ในตำแหน่งของตนเองเท่านั้น
หากเราคาดตัวเข็มขัดนิรภัยภัยได้ถูกต้อง จะช่วยให้ตัวเข็มขัดทำงานได้อย่างเต็มที่ คือจะช่วยปกป้องเราไม่ให้กระเด็นออกไปข้างนอกตัวรถยนต์ อีกทั้งยังช่วยลดการบาดเจ็บจากแรงกระแทกได้ด้วย ส่วนวิธีแกะตัวล็อคเข็มขัดนิรภัยก็ทำได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่มสีแดงตัวล็อกก็จะคลายออกทันที จะเห็นได้ว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยนั้นไม่ได้ยุ่งยากเลย
การคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการเดินทางทุกครั้ง การเข้าใจกฎหมายคาดเข็มขัดนิรภัย และบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะช่วยให้คุณปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยบนท้องถนน อย่ารอให้เกิดอุบัติเหตุแล้วจึงนึกถึงความสำคัญของเข็มขัดนิรภัย เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอ
เพิ่มความคุ้มครองให้มากยิ่งขึ้น กับ ประกันรถยนต์ จาก แรบบิท แคร์ ที่นี้นอกจากจะให้บริการเปรียบเทียบเบี้ยประกันรถยนต์แล้ว ยังมาพร้อมโปรโมชั่นอีกมากมาย และทีมแคร์เอเจ้นท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ที่คอยให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย ช่วยให้คุณได้ประกันรถยนต์ที่โดนใจ และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ คลิกเลย!
สรุป
กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ทุกที่นั่งต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในรถ การฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท/คน ส่วนรถสาธารณะ หากคนขับไม่คาดสายรัดนิรภัยจะมีโทษปรับ 2,000 บาท/คน และผู้โดยสารหากไม่มีการคาดสายรัดนิรภัยจะมีโทษปรับ 5,000 บาท/คน แต่ก็มีบางกรณีเช่นกันที่จะได้รับข้อยกเว้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุผลทางการแพทย์ หรือการปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น บุคคลที่มีเหตุผลทางการแพทย์ , บุคคลที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่บางอย่าง เป็นต้น

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology