ขับรถตกหลุมเสียหาย เคลมประกันได้หรือไม่? เรียกร้องค่าชดเชยจากใครได้บ้าง?
หลายอาจเคยประสบเหตุขับรถตกหลุมหรือตกบ่อจนเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการขับรถบนถนนในเมือง หรือการขับรถบนถนนระหว่างจังหวัด แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว การที่ถนนไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเนื่องจากขาดการดูแลและซ่อมบำรุงที่ดีพอ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุขับรถตกบ่อจนเกิดความเสียหายได้เช่นกัน
รวมถึงหลายคนอาจสงสัยว่าประกันรถยนต์ชั้นไหนที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขับรถตกบ่อ รวมถึงหากไม่มีประกัน จะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากเจ้าของพื้นที่ (ถนน) ได้หรือไม่ วันนี้ แรบบิท แคร์ มีคำตอบมาฝากกัน
รถตกหลุม เคลมประกันได้ไหม?
สามารถแจ้งเคลมประกันชั้น 1 ได้ หากเกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนหรืออะไหล่ช่วงล่างของรถยนต์ ตัวอย่างเช่น ล้อแม็ก ยางรถ ปีกนก คันชัก เพลาปีก หรือแม้กระทั่งตัวถังรถ จากอุบัติเหตุขับรถตกหลุม ทั้งกรณีที่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การแจ้งเคลมจากกรณีที่รถคันเอาประกันได้รับความเสียหายจากกรณีข้างต้น จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์ประกันกัย หรือสัญญาแนบท้ายระบไว้เท่านั้น เนื่องจากค่าชดเชยความเสียหายจะคำนวณตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หักลบค่าเสื่อมสภาพของอะไหล่
เนื่องจากชิ้นส่วนหรืออะไหล่รถยนต์ช่วงล่างของระบบรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีขับรถตกหลุม จัดเป็นชิ้นส่วนที่ต้องมีการสึกหรอหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานมาก่อนอยู่แล้ว ทำให้ไม่สามารถชดเชยความเสียหายได้เต็มจำนวน และต้องมีการพิจาณาค่าเสื่อมสภาพหรือสึกหรอของอะไหล่ชิ้นส่วนข้างต้นร่วมด้วยนั่นเอง
รถตกหลุม ประกันแต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง
กรณีที่รถตกหลุมและได้รับความเสียหาย การคุ้มครองของประกันแต่ละชั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ประกันชั้น 1
คุ้มครองเต็มรูปแบบ : ประกันชั้น 1 ครอบคลุมกรณีที่รถตกหลุมหรือเกิดความเสียหายกับตัวรถจากการใช้งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับคู่กรณี โดยจะคุ้มครองค่าซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถจากเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น ยางแตก ล้อเสียหาย โช๊คหรือช่วงล่างได้รับผลกระทบ เป็นต้น
ข้อดี : เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความอุ่นใจในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะการเคลมในกรณีที่ไม่มีคู่กรณีอย่างกรณีรถตกหลุม
2. ประกันชั้น 2+
ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี : ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น และจะไม่ครอบคลุมกรณีที่รถตกหลุมหรือได้รับความเสียหายจากการขับขี่โดยไม่มีคู่กรณี
ข้อจำกัด : หากรถตกหลุมแล้วเกิดความเสียหาย ประกันชั้น 2+ จะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เนื่องจากเหตุการณ์นี้ถือว่าไม่มีคู่กรณี
3. ประกันชั้น 3+
ไม่คุ้มครองกรณีไม่มีคู่กรณี : เช่นเดียวกับประกันชั้น 2+ ประกันภัยรถยนต์ 3+ จะคุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เช่น การชนกับรถยนต์อื่นบนท้องถนน ดังนั้นกรณีที่รถตกหลุมและเกิดความเสียหายจะไม่ได้รับความคุ้มครอง
ข้อจำกัด : เหตุการณ์ที่ไม่มีคู่กรณี เช่น รถตกหลุมหรือโดนก้อนหินกระเด็นใส่ ประกันชั้น 3+ จะไม่รับผิดชอบในส่วนนี้
4. ประกันรถชั้น2 และชั้น 3
ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถ : ประกันชั้น 2 และประกันรถยนต์ 3 คุ้มครองเฉพาะค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกหรือคู่กรณีเท่านั้น โดยไม่คุ้มครองตัวรถของผู้เอาประกันเลย ดังนั้นหากรถตกหลุมแล้วได้รับความเสียหาย ประกันชั้น 3 จะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมใด ๆ ทั้งสิ้น
หากคุณต้องการความคุ้มครองในกรณีรถตกหลุมหรืออุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี ประกันชั้น 1 จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
รถตกหลุม ใครต้องรับผิดชอบ?
แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะทำหน้าที่เป็นผู้เรียกร้องความเสียหายจากกรณีรถผู้เอาประกันได้รับความเสียหายจากกรณีขับรถตกหลุม แต่ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องความเสียหายได้โดยตรงจากหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ และซ่อมแซมบำรุงถนนให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้นแล้ว เมื่อรถของผู้เอาประกันเกิดความเสียหายจากการขับขี่บนถนนที่เป็นหุลม เป็นบ่อ หรือไม่พร้อมใช้งานเนื่องจากการขาดการดูแลซ่อมแซมที่เหมาะสมจากหน่วยงานรัฐเจ้าของพื้นที่ ผู้เอาประกันหรือประชาชนทั่วไปสามารถเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายได้โดยตรงจากหน่วยงานรัฐนั้น ๆ โดยสามารถแบ่งหน่วยงานผู้รับผิดชอบถนนหลวงทั่วประเทศทั้ง 5 ประเภทตามข้อมูลจากเว็บไซต์กรมทางหลวงได้ดังนี้
ทางหลวงพิเศษ
ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ โดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะตามที่กำหนด
ทางหลวงแผ่นดิน
ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ โดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา
ทางหลวงชนบท
ทางหลวงที่กรมทางหลวงชบบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบท
ทางหลวงท้องถิ่น
ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา
ทางหลวงสัมปทาน
ทางหลวงที่รัฐบาลได้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน
เมื่อผู้ขับขี่ประสงค์ที่จะเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขับขี่รถตกหลุมหรือตกบ่อ ในระหว่างขับขี่สัญจรบนถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ขับขี่จะเข้าสู่กระบวนการร้องขอความเป็นธรรมจากศาลปกครอง จากนั้นศาลปกครองจะเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ผู้ขับขี่นำส่งแนบไปพร้อมกับคำร้อง
เมื่อพิสูจน์เสร็จสิ้นแล้ว และสรุปได้ว่สาเหตุของอุบัติเหตุกรณีขับรถตกหลุมตกบ่อนั้น เกิดจากสาเหตุของถนนที่ไม่พร้อมใช้งานจริง ศาลปกครองจะมีคำสั่งให้หน่วยงานที่ดูแลถนนนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขับขี่ต่อไป
รถตกหลุม ยางแตกต้องทำอย่างไร?
กรณีขับรถตกหลุมตกบ่อจนเป็นเหตุให้ยางรถระเบิดเสียหาย จะสามารถเคลมประกันรถยนต์ได้เฉพาะกรณีที่มีสาเหตุจากการเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะสามารถเคลมประกันได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมันจะเคลมประกันได้สูงสุดที่ 50% เท่านั้น เนื่องจากบริษัทประกันจะหักค่าเสื่อมสภาพของยางรถในระหว่างการใช้งานก่อนเกิดเหตุยางระะเบิด เพราะขับรถตกหลุมตกบ่อ รวมถึงจะได้รับความคุ้มครองกรณ๊ยางระเบิดจากประกันชั้น 1 แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะที่ประกันภัยชั้นอื่น ๆ จะไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีนี้
ขับรถตกหลุม มีผลต่อช่วงล่างอย่างไรบ้าง?
การที่ขับรถตกหลุมอย่างรุนแรงในขณะที่ขับขี้ด้วยความเร็วสูงนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ช่วงล่างของรถยนต์ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง จนทำให้ยางล้อ โช๊กอัพ หรือลูกหมากมีปัญหาสะสมในระยะยาวได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รถยนต์มีเสียงหรือลักษณะอาการแปลกไปจากเดิม เนื่องจากอะไหล่ช่วงล่างของรถยนต์เสื่อมหรือเสียหายก่อนครบอายุการใช้งาน เนื่องจากผลกระทบสะสมจากการขับรถตกหลุมหรือตกบ่ออย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ยางรั่ว หรือโครงล้อบิดผิดรูป
รถยนต์มีโอกาสยางเป็นรอยถลอก รั่ว ฉีกขาด หรือแม้กระทั่งโครงล้อแม็กบิดคนผิดรูปได้ ซึ่งถึงแม้ว่าจะสามารถนำไปซ่อม แก้ไข เปลี่ยน หรือดัดแปลงให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงดั่งเดิมได้ก่อนเกิดเหตุรถตกหลุม แต่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในระหว่างทางที่นำรถเข้าซ่อม ณ อู่หรือศูนย์บริการได้เช่นกัน
ยางบวม
แม้ว่าตัวยางจะไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากกรณีขับรถยนต์ตกหลุม แต่โครงล้อยางอาจได้รับความเสียหายโดยที่เจ้าของรถไม่รู้ตัว ทำให้ยางรถยนต์มีโอกาสปูดบวมผิดปกติ จากการที่ลมยางรั่วแทรกซึมผ่านเข้าไปในชั้นเนื้อยาง และแทรกตัวอยู่ตามตัวโครงของยางล้อรถยนต์จนทำให้ล้อยางเกิดการปูดบวมผิดรูป และอาจเป็นสาเหตุของการที่ล้อยางระเบิดในระหว่างขับขี่ได้นั่นเอง
ลูกปืนล้อแตก
ลูกปืนล้อแตก คือ ลักษณะที่ลูกปืนล้อหน้า และลูกปืนล้อหลังได้รับความเสียหายจากความเสียหายบริเวณโครงล้อ ซึ่งการขับขี่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกหลุมบ่ออย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อระบบช่วงล่างของรถยนต์และลูกปืนไม่มากก็น้อย โดยจะสามารถสังเกตอาการลูกปืนแตกได้จากการฟังเสียงขณะขับขี่ โดยระบบช่วงล่างของตัวรถยนต์จะมีเสียงคล้ายเสียงหอน ซึ่งนับเป็นอาการความเสียหายเริ่มต้นที่อาจลุกลามต่อจนแกนเพลาล้อไหม้ได้นั่นเอง
ตัวถังรถเสียหาย
ตัวถังรถยนต์ โดยเฉพาะตัวถังบริเวณช่วงล่างของรถยนต์อาจได้รับความเสียหายในรูปแบบของตัวถังรถยนต์ถลอก สีถลอก บุบ หรือหรือแม้กระทั่งเป็นรอย ฉีกขาดได้จากกรณีการขับรถตกหลุมได้เช่นกัน
โช้คอัพเสื่อมสภาพ
โช้คอัพเสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุการใช้งานที่กำหนด เนื่องจากทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกระหว่างตัวรถและพื้นผิดถนนอย่างต่อเนื่อง จนได้รับความเสียหายสะสมที่ได้รับอย่างต่อเนื่องจากการขับรถตกหลุมหรือตกบ่อ โดยอาการความเสียหายข้างต้นจะไม่เกิดขึ้นในทันทีฉับพลัน แต่จะอยู่ในรูปแบบความเสียหายสะสม ซึ่งส่งผลโดยตรงทำให้โช้คอัพรถเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด ซึ่งรวมไปถึงชิ้นส่วนและอะไหล่ที่เกี่ยวข้องกับระบบโช้คอัพด้วยเช่นกัน เช่น ก้านโช้คอัพคดงอผิดรูป ยางรองหัวโช้คเสียหาย
พวงมาลัยหลวม
แม้ว่าพวงมาลัยจะเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่ไม่ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบช่วงล่างรถยนต์ และอาจจะไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการขับรถยนต์ตกหลุม แต่คันชักพวงมาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในชิ้นส่วนของระบบพวงมาลัยจะได้รับความเสียหายโดยตรง
เนื่องจากได้รับแรงกระแทกจากกรณีรถยนต์ตกหลุมเช่นกัน โดยสามารถสังเกตอาการเสียหายของคันชักพวงมาลัยได้จากการสังเกตฟังเสียงในขณะขับขี่ โดยจะได้ยินเสียงกุกกักจากบริเวณด้านหน้าของรถยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนให้ตรวจสภาพหรือเปลี่ยนคันชักพวงมาลัยโดยเร็วที่สุด
ป้องกันรถตกหลุมต้องทำอย่างไร
กรณีที่ต้องขับรถยนต์ผ่านหลุมลึกโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ขับขี่ควรต้องมีสติในระหว่างขับ พร้อมจับพวงมาลัยรถให้แน่น เพื่อรักษาศูนย์ของรถในระหว่างขับขี่ โดยควรต้องชะลอความเร็วและขับผ่านหลุมด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ไม่เร่งเครื่อง หรือเบรกกระทันหันในระหว่างขับรถผ่านหลุมหรือบ่อ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำขัง เนื่องจากอาจไม่เห็นบริเวณที่เป็นหลุม หรือหลุมอาจมีความลึกมากกว่าที่เห็น และหมั่นตรวจสอบสภาพยางรถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถได้อีกทางหนึ่ง
การขับรถตกหลุมหรือขับรถตกบ่อ จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อช่วงล่างของรถยนต์ โดยอาจเกิดความเสียหายฉับพลันทันที หรือเกิดเป็นความเสียหายสะสมที่ทำให้อะไหล่เสื่อมสภาพอายุการใช้งานก่อนระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นแล้ว นอกจากการขับขี่ด้วยความระมัดระวังแล้ว ควรต้องมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุดสำหรับทุกเหตุไม่คาดคิด สามารถขอรับคำปรึกษาในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่ผุ้เชี่ยวชาญของแรบบิท แคร์ โทรเลย 1438
สรุป
แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะทำหน้าที่เป็นผู้เรียกร้องความเสียหายจากกรณีรถผู้เอาประกันได้รับความเสียหายจากกรณีขับรถตกหลุม แต่ผู้เอาประกันสามารถเรียกร้องความเสียหายได้โดยตรงจากหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เป็นผู้ดูแล รับผิดชอบ และซ่อมแซมบำรุงถนนให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ที่มา
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology