บัตร Easy Pass ต่างจาก M-Flow อย่างไร แล้วสมัคร เติมเงินต้องทำอย่างไรบ้าง
เหล่านักเดินทางทุกท่านเคยคิดสงสัยในใจกันไหมว่า ตอนที่เราขับรถเข้าทางด่วนทำไมต้องมีช่อง Easy Pass, M Pass หรือ M Flow เต็มไปหมด ก่อนหน้านี้ แรบบิท แคร์ เคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับบัตร M Pass และ M Flow มาเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ถึงคิวของ Easy Pass กันบ้างว่ามันมีการใช้งาน รวมถึงข้อมูลที่แตกต่างจากบัตรทั้งสองประเภทนั้นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจโดยละเอียดว่าบัตร Easy Pass คือ อะไร สมัคร Easy Pass ทำอย่างไร มีทั้งหมดกี่ช่องทาง เติมเงิน Easy Pass ด้วยวิธีไหนได้บ้าง
แล้วบัตร Easy Pass ซื้อที่ไหน พร้อมสรุปความแตกต่างทั้งหมดของบัตร 3 ประเภท เพื่อทำความเข้าใจอย่างละเอียด และช่วยให้นักเดินทางทุกคนที่สงสัย สามารถหาคำตอบเพื่อตัดสินใจสมัครใช้วานได้อย่างตรงต่อความต้องการมากที่สุด
บัตร Easy Pass คือ อะไร
บัตร Easy Pass คือ บัตรที่เอาไว้ใช้ในช่องทางเก็บเงินแบบอัตโนมัติบนทางด่วน โดยรถที่มีบัตรนี้อยู่ จะสามารถวิ่งผ่านช่องทางพิเศษ ที่มีระบบเซนเซอร์หักเงินออกจากบัญชีได้ทันที ซึ่งเป็นบัตรที่ออกโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนเป็นหลัก
บัตร Easy Pass มีทั้งหมดกี่ใบ
บัตร Easy Pass แท้จริงแล้วมีแยกย่อยออกเป็น 2 บัตรด้วยกัน คือ บัตรแบบ OBU หรือ Tag และ บัตร Smart Card ซึ่งจะใช้งานกันคนละหน้าที่ โดยบัตรแบบ OBU หรือ Tag จะใช้งานติดรถเพื่อให้เซนเซอร์อ่านข้อมูลแล้วทำการหักเงินจากบัญชี ส่วนบัตรแบบ Smart Card จะเป็นบัตรที่เอาไว้เติมเงินเข้าบัญชีของผู้ใช้งาน Easy Pass โดยผู้ใช้งานจะต้องเติมเงินเข้าบัตรนี้ สำหรับสำรองเงินเอาไว้จ่ายค่าทางด่วนเมื่อวิ่งผ่านด่านเก็บค่าบริการ
สมัคร Easy Pass ทำอย่างไร
ต้องการสมัคร Easy Pass ทำอย่างไร บริการสมัครจะมีตั้งแต่การ สมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์, สมัคร Easy Pass ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง และสมัคร Easy Pass ที่ศูนย์บริการลูกค้าโดยตรง วิธีการสมัครใช้งานในแต่ละช่องทาง จะแตกต่างกันออกไปตามกระบวนการ หากใครอยากใช้บริการ สะดวกสมัครในช่องทางไหน ลองเลื่อนลงไปอ่านวิธีการอย่างละเอียดกันได้เลย
สมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์
สมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์ ต้องสมัครใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Truemoney เปิดใช้งาน True Wallet ให้พร้อมสำหรับการเติมเงินเข้าบัตร Easy Pass ในอนาคต (ประมาณ 352 บาทสำหรับการเติมเงินเพื่อใช้บริการครั้งแรก) จากนั้นเลือกไปที่เมนูบริการทั้งหมด เลือกเมนูการเดินทาง มองหาปุ่ม สมัครบัตร Easy Pass กรอกข้อมูลตามที่ระบบร้องขอมาบนหน้าจอของคุณ เสร็จสิ้นเรื่องข้อมูลแล้วแอปพลิเคชันจะให้คุณนำบัตรประชาชนขึ้นมา เพื่อถ่ายเป็นเอกสารสำเนาบัตรพร้อมเซ็นชื่อ และทำการเติมเงินเพื่อใช้บริการในครั้งแรก เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์แล้ว
หมายเหตุ: การสมัครบัตร Easy Pass ออนไลน์ สามารถทำได้เฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น เนื่องจากการทางพิเศษจะจัดส่งบัตร Smart Card และ บัตร OBU หรือ Tag ให้เฉพาะที่อยู่ในเขตดังกล่าว หากต้องการสมัครจากต่างจังหวัด ควรมีที่อยู่เพื่อรับพัสดุหรือเอกสารอื่น ๆ ไว้ด้วย
สมัคร Easy Pass ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง
สมัคร Easy Pass ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางได้ที่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ศรีรัช, ฉลองรัช, บูรพาวิถี, อุดรรัถยา และกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขวัสดิ์) สามารถสมัครได้ทุกด่าน
สมัคร Easy Pass ที่ศูนย์บริการลูกค้า
สมัคร Easy Pass ที่ศูนย์บริการลูกค้า จะมีอยู่ทั้งหมด 2 ที่ด้วยกัน คือ One Stop Service (สำนักงานใหญ่) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) สถานีบริกา รน้ำมัน ปตท. บริเวณจุดพักรถบางนา (ขาออก) ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทั้ง 2 แห่งเปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 น. – 15.30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เหมือนกัน
เอกสารที่ใช้สมัคร Easy Pass
การสมัคร Easy Pass ด้วยตัวเองตามจุดที่พร้อมให้บริการ จะต้องเตรียมเอกสารสำคัญไปด้วย ซึ่งจะแบ่งประเภทการสมัครได้ 3 รูปแบบ คือ บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล และนิติบุคคลในส่วนราชการ, สถานทูต, มูลนิธิ, สถานสงเคราะห์ ฯลฯ (กรณีไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี) ส่วนรายการเอกสารที่ต้องเตรียมจะมีแตกต่างกันออกไป ตามลิสต์รายการด้านล่าง
- บุคคลธรรมดา: บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (สำหรับชาวต่างชาติ / ชาติพันธุ์)
- นิติบุคคล: เตรียมแบบฟอร์มขอใช้บริการ, สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน), สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการฯ หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการฯ (ชาวต่างชาติ) และหนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรเเสตมป์ตามกฎหมายกำหนด (สำหรับกรณีที่กรรมการไม่ได้มาทำการด้วยตนเอง) *เอกสารทุกฉบับคณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนามต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราบริษัท
- นิติบุคคลในส่วนราชการ, สถานทูต, มูลนิธิ, สถานสงเคราะห์ ฯลฯ (กรณีไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี): เตรียมแบบฟอร์มขอใช้บริการบัตร, สำเนาหนังสือหรือกฎหมายจัดตั้ง และสำเนาหนังสือการจดทะเบียนรับรองการเป็นสถานสงเคราะห์ *เอกสารทุกฉบับคณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนามต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราหน่วยงาน
เติมเงิน Easy Pass ด้วยวิธีไหนได้บ้าง
เติมเงิน Easy Pass สามารถเติมได้ทั้งหมด 2 วิธีหลักด้วยกัน คือ เติมเงินผ่านช่องทางออนไลน์ และการเติมเงินผ่านอาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง หรือศูนย์บริการ โดยมีสรุปข้อมูลช่องทางการเติมเงินสำหรับบัตร Easy Pass เพิ่มเติมดังนี้
- เติมเงินบัตร Easy Pass ด้วยช่องทางออนไลน์: Krungthai NEXT, SCB Easy, Krungsri Online, Bangkok Bank, K PLUS, TTB Mobile, UOB Mobile Banking, MyMo (ออมสิน), KKP Mobile App, SPay (Shopee), Truemoney Wallet, Master Card, My AIS และ LINE PAY (บางช่องทางอาจมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติมตั้งแต่ 4-10 บาท หรืออาจคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดเติมเงินทั้งหมด)
- เติมเงินบัตร Easy Pass ที่อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง หรือศูนย์บริการ: One Stop Service (สำนักงานใหญ่) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, ศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) สถานีบริการน้ำมัน ปตท. บริเวณจุดพักรถบางนา (ขาออก) ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษฉลองรัช, ทางพิเศษบูรพาวิถี, ทางพิเศษอุดรรัถยา, ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษประจิมรัถยา (ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก)
Easy Pass ซื้อที่ไหน
Easy Pass ซื้อที่ไหน คำตอบคือ เมื่อเราทำการสมัครบัตร Easy Pass เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะในช่องทางที่สมัครจากศูนย์บริการ หรืออาคารด่านเก็บค่าผ่านทางที่ให้บริการ คุณจะได้รับบัตรพร้อมเติมเงินเข้าครั้งแรกเพื่อใช้งานได้ทันที ส่วนใครที่ทำการสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ การทางพิเศษจะส่งพัสดุที่เป็นบัตรทั้ง 2 ใบให้คุณอีกครั้งตามที่อยู่ที่ได้ให้เอาไว้ในขั้นตอนการสมัคร ย้ำอีกครั้งว่าการสมัครบัตร Easy Pass ผ่านช่องทางออนไลน์ ต้องใช้งานที่อยู่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น
สรุปความแตกต่างระหว่าง M-Flow / Easy Pass / M Pass
สรุปความแตกต่างระหว่างบัตร M-Flow / Easy Pass / บัตร M-Pass ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรในเมื่อวัตถุประสงค์ คือ การใช้งานช่องทางด่วนพิเศษอัตโนมัติ ที่ไม่ต้องต่อคิวจ่ายเงินสดเหมือนกัน โดย แรบบิท แคร์ ได้สรุปความแตกต่างเอาไว้ให้อย่างชัดเจน ตามตารางด้านล่างนี้เลย
Easy Pass / M-Pass | M-Flow |
มีระบบไม้กั้นที่ช่องเก็บเงิน | ไม่มีระบบไม้กั้นในช่องเก็บเงิน |
ต้องชะลอก่อนเข้าช่องเก็บเงิน หรือถอยหลังให้เซนเซอร์เห็นกรณีไม้กั้นไม่เปิด | สามารถวิ่งผ่านได้ด้วยความเร็วปกติ |
ใช้ Tag ติดกับตัวรถเพื่อเป็นการรับส่งสัญญาณ | ใช้ Video Tolling ให้กล้องตรวจจับป้ายทะเบียน |
รองรับสำหรับรถยนต์ 4 ล้อเท่านั้น | สามารถใช้งานได้กับรถทุกประเภท |
ต้องเติมเงินสำรองเพื่อชำระค่าผ่านทาง | มีตัวเลือกการชำระเงินได้หลายช่องทาง |
อ้างอิงข้อมูลความแตกต่างระหว่าง M-Flow Easy Pass M Pass จากกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการนักเดินทางหรือผู้ใช้รถยนต์แต่ละคนแล้ว ว่าต้องการเลือกใช้ Easy Pass M-Pass หรือ M-Flow ตามสะดวก พอเลือกบัตรได้แล้ว ก็อย่าลืมลองแวะมาเลือกประกันรถยนต์จาก แรบบิท แคร์ ที่จะช่วยสนับสนุนความอุ่นใจในทุกเส้นทางของคุณ ไม่ว่าจะขึ้นเหนือหรือลงใต้ ก็มีการคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุดติดรถไปด้วยเสมอ อยากสอบถามรายละเอียดพร้อมรับคำปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อเข้ามาได้เลยที่เบอร์ 1438 โทรได้ 24 ชั่วโมง และ แรบบิท แคร์ ยังมีส่วนลดพิเศษให้สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันรถยนต์กับเรา ด้วยส่วนลดพิเศษช่วยประหยัดสูงสุดถึง 70% โอกาสดีแบบนี้ไม่ควรพลาด
สรุป
บัตร Easy Pass คือ บัตรที่เอาไว้ใช้ในช่องทางเก็บเงินแบบอัตโนมัติบนทางด่วน สามารถวิ่งผ่านช่องทางพิเศษ ที่มีระบบเซนเซอร์หักเงินออกจากบัญชีได้ทันที ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางได้มากยิ่งขึ้น โดยความแตกต่างกับ บัตร M-Flow จะแตกต่างกันหลัก ๆ ที่ ประเภทของรถยนต์ และการสำรองเงินของบัตร Easy Pass ที่ต้องจ่ายก่อน ส่วนบัตร M-Flow จะมีหลากหลายช่องทางให้ชำระเงิน ซึ่งการเลือกสมัครบัตรแต่ละแบบนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการนักเดินทางหรือผู้ใช้รถยนต์แต่ละคนแล้ว ว่าต้องการเลือกใช้ Easy Pass M-Pass หรือ M-Flow
ที่มา
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology