ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ทำไงดี ยังสามารถขึ้นได้อยู่ไหม หรือต้องถอยออกสถานเดียว
เป็นกันไหมเวลาจะขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ต้องรู้สึกตกใจ ว่าควรทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีการใช้งาน M-Flow, M Pass หรือ Easy Pass อาจรับมือไม่ถูกถึงขั้นวิตกกังวลจนเครียดไปแล้ว ยิ่งถ้าเป็นช่วงเช้ากับเย็นที่การจราจรจะติดขัดเป็นพิเศษ หากรถของเรามีปัญหาจากการที่ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดมีโอกาสสูงมาก ที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายบนท้องถนนเป็นพิเศษ ซึ่งบางที่ถึงขั้นที่เราต้องถอยรถออกจากช่องทางด่วน เพื่อกลับไปยังถนนเส้นปกติก็มีให้เห็นมาแล้ว
แต่ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้เราจะขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดก็ยังเดินทางต่อได้ ส่วนด้วยวิธีอะไรนั้น แรบบิท แคร์ ต้องขอให้ติดตามหาคำตอบไปพร้อมกัน จากเนื้อหาบทความด้านล่าง
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ต้องทำยังไง
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด อันดับแรกต้องไม่ตกใจเกินกว่าเหตุก่อน เพื่อป้องกันความวุ่นวายบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจที่ร้อนรนของเรา ให้ขับรถเข้าไปที่ช่องชำระเงินทางด่วนตามปกติ จากนั้นจึงแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ทางด่วนไปตามความจริง ว่าเราไม่มีเงินสดที่เพียงพอ หรือขึ้นมาโดยไม่ได้พกเงินสด ทางเจ้าหน้าที่จะมีการแก้ปัญหาด้วยการจดบันทึกรายละเอียดรถยนต์ของเราเอาไว้ เช่น ทะเบียนรถ ยี่ห้อรถรุ่นอะไร วันที่และเวลาที่เข้ามาใช้บริการ หลังจากนั้นเราจะสามารถเดินทางต่อไปได้ แม้ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด อย่างไรก็ตามเรามีหน้าที่รับผิดชอบค่าทางด่วนที่ค้างจ่าย โดยต้องมาชำระที่ทางด่วนเดิมภายในระยะเวลา 7 วัน
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด สแกนจ่ายได้ไหม
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ยังไม่สามารถสแกนจ่ายได้ในปัจจุบัน จึงมีช่องทางการชำระเงินค่าทางด่วนเพียงแค่ 3 ช่องทางหลัก ๆ คือ การใช้เงินสดเพื่อชำระหน้าด่าน, การแตะจ่ายด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต และการใช้ระบบ M Flow M Pass Easy Pass เพื่อทำการชำระเงินค่าทางด่วนตามระบบโดยอัตโนมัติ ดังนั้นหากเราขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ให้ลองตรวจสอบเบื้องต้นว่าทางด่วนนั้นรับชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตไหม หากไม่ต้องทำการค้างจ่ายค่าทางด่วนไว้ก่อน ตามคำแนะนำหัวข้อด้านบน
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ค้างจ่ายจะโดนอะไรไหม
กรณีที่เราขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด แล้วค้างจ่ายเกนิกว่า 7 วันตามที่กำหนด จะมีจดหมายแจ้งเตือนไปยังที่อยู่ของเราเพื่อให้มาดำเนินการจ่ายค่าทางด่วนภายในระยะเวลา 30 วัน หรือตามที่ระบุเอาไว้ในจดหมาย และถ้าหากภายในระยะเวลาที่จดหมายแจ้ง เรายังไม่ได้ไปชำระค่าทางคงค้างจากการขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดอีก ต้องรับโทษตามกฎหมายดังนี้
- ค้างชำระทางด่วนในความดูแลของทางการพิเศษแห่งประเทศไทย (EXAT) มีโทษปรับ 2,000 บาท ตาม พรบ.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 63 ฐานหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าผ่านทาง
- กรณีที่มีการค้างชำระค่าทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของค่าผ่านทาง ตาม พรบ.กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงและสะพาน 2497 มาตรา 7
- ค้างชำระทางด่วนสัมปทาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของค่าผ่านทาง ตาม พรบ.ทางหลวงสัมปทาน 2542 มาตรา 33
ฉะนั้นหากเป็นไปได้ การขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ถ้าจำเป็นจริง ๆ ก็ต้องรีบหาโอกาสมาชำระค่าผ่านทางที่ค้างเอาไว้ เพื่อป้องกันการบานปลายไม่ให้กลายเป็นค่าปรับที่สูงกว่าเดิมหลายเท่าตัว แต่ทั้งนี้ถ้าใครใช้งานทางด่วนเป็นประจำอยู่แล้ว ต่อให้เกิดการพลาดขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดจริง อีกไม่กี่วันก็คงสามารถชำระได้ตามปกติ
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด จ่ายผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิตได้หรือไม่
ขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดสามารถจ่ายผ่านบัตรเดบิต และบัตรเครดิตได้เฉพาะบางเส้นทางเท่านั้น โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สายทางที่สามารถจ่ายค่าผ่านทางได้ด้วยวิธีที่กล่าวมา ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1), ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2), ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก, ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) และ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (วงแหวนใต้)
คำแนะนำเพิ่มเติม หากต้องการจ่ายเงินค่าทางด่วนด้วยบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต บัตรที่ใช้งานจะเป็น VISA ไม่ก็ Mastercard เท่านั้น รวมถึงบนหน้าบัตรต้องเป็นแบบ Contactless ที่มีสัญลักษณ์ WIFI ปรากฎอยู่บนหน้าบัตรด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถใช้ชำระได้
ขึ้นทางด่วนฟรีได้ตอนไหน
ช่วงวันที่สามารถขึ้นทางด่วนฟรีมักจะมาตอนที่มีวันหยุดยาว หรือเป็นเทศกาลประจำชาติที่ถือเป็นวันสำคัญของคนส่วนมาก เช่น สงกรานต์ และ ช่วงวันขึ้นปีใหม่ ที่มีวันหยุดยาวตั้งแต่ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาว่าวันหยุดนักขตฤกษ์จะตรงกับเสาร์อาทิตย์ จนกลายเป็นหยุดยาวหรือไม่ ซึ่งทางประชาสัมพันธ์จะมีการประกาศออกมาล่วงหน้าก่อนวันเดินทาง ถึงเวลาที่เราสามารถใช้งานทางด่วนได้ฟรีถึงตอนไหน และเส้นทางใดบ้าง ถือเป็นตอนที่เราขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดได้อย่างสบายใจเต็มร้อยแน่นอน
วิธีขึ้นทางด่วนแบบสะดวกสบายที่สุด
วิธีขึ้นทางด่วนแบบสะดวกสบายที่สุด คงหนีไม่พ้นการใช้งานระบบ M Flow, M Pass และ Easy Pass ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน โดยที่แต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกันตอนขับผ่านช่องทางด่วน รวมถึงการชำระเงินค่าผ่านทางดังนี้
- M Flow สามารถเดินทางด้วยช่องทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น ทำให้เดินทางได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนการชำระค่าผ่านทางจะเลือกได้ว่าต้องการจ่ายเป็นรายครั้ง หรือรายเดือน
- M Pass และ Easy Pass ต้องเดินทางผ่านช่องทางอัตโนมัติที่มีไม้กั้น เพื่อให้เซ็นเซอร์รับสัญญาณจากบัตรที่ใช้งานคู่กัน แล้วทำการตัดเงินผ่านบัตรที่เติมเอาไว้ หากเงินไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถใช้งานได้
เท่านี่ทุกคนก็สามารถขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสดได้อย่างสบายใจ เพราะเรามีช่องทางการชำระค่าผ่านทางรูปแบบอื่นที่ไม่ต้องสับสน ไม่ต้องเตรียมหรือรับเงินทอนให้ร้อนรนจากช่วงเวลาที่เร่งรีบอีกต่อไป
วิธีรับมือหากเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วน
สุดท้ายหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางด่วนต้องรับมืออย่างไร ในเมื่อเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์ของเราไม่สามารถมาดำเนินการให้ถึงที่เกิดเหตุบนทางด่วนได้ ฉะนั้นทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากการที่เราตั้งสติ ประคองรถเข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉินไว้ อย่าเปิดประตูทิ้งไว้ และถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ห้ามลงจากรถเด็ดขาด พร้อมกับโทรประสานขอความช่วยเหลือ ได้ที่เบอร์ สายตรงทางด่วน 1543, แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 และ เจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 เมื่อเราได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จนลงมาจากทางด่วนแล้ว ให้ติดต่อหาตัวแทนประกันรถยนต์ เพื่อนัดหมายตรวจสอบรถของเรา และรถคู่กรณี เพื่อทำการออกใบเคลมตามความคุ้มครองต่อไป
ตอนนี้คงลดความกังวลกันได้บ้างแล้วกับกรณีการขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด เพราะถ้าใครที่ใช้งานทางด่วนเป็นประจำ ก็คงมีโอกาสไปชำระค่าผ่านทางที่ค้างอยู่ได้ รวมถึงบางเส้นทางยังสามารถจ่ายผ่านบัตรเดบิต และบัตรเครดิตได้อีกต่างหาก ส่วนใครที่กังวลมากเรื่องการลืมพกเงินสด และกลัวจะเกิดปัญหาเมื่อขึ้นทางด่วนไม่มีเงินสด ลองเลือกสมัครใช้งาน M Flow, M Pass หรือ Easy Pass ได้ตามสะดวก
และสุดท้ายนี้ แรบบิท แคร์ อยากแนะนำให้ทุกคนพิจารณาประกันรถยนต์เผื่อเอาไว้ คอยดูแลคุ้มครองเวลาที่เกิดปัญหา เกิดเหตุไม่คาดฝันในอนาคต เพื่อช่วยให้เราไม่ต้องรับภาระหนักแต่เพียงผู้เดียว สามารถติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1438 (24 ชม.)
สรุป
ณ ปัจจุบัน ปี 2024 การชำระเงินค่าทางด่วนเพียงแค่ 3 ช่องทางหลัก ๆ คือ การใช้เงินสดเพื่อชำระหน้าด่าน, การแตะจ่ายด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต และการใช้ระบบ M Flow M Pass Easy Pass เพื่อทำการชำระเงินค่าทางด่วนตามระบบโดยอัตโนมัติ
หากไม่มีเงินสด และไม่มีช่องทางการชำระเงินตามที่ได้กล่าวมา ทางเจ้าหน้าที่จะมีการแก้ปัญหาด้วยการจดบันทึกรายละเอียดรถยนต์ของเราเอาไว้ เช่น ทะเบียนรถ ยี่ห้อรถรุ่นอะไร วันที่และเวลาที่เข้ามาใช้บริการ และสามารถกลับมาเพื่อมาชำระที่หลัง ตามทางด่วนเดิมภายในระยะเวลา 7 วัน
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย