ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับเท่าไร? มีโทษอะไรบ้าง? ประกันคุ้มครองไหม?
หลายครั้งที่หลายคนอาจเผลอขับรถเร็วเกินกำหนดโดยไม่รู้ตัว จนเป็นเหตุให้ได้รับใบสั่งปรับมาโดยไม่ตั้งใจ แต่รู้หรือไม่ว่า แต่ละพื้นที่ก็มีการจำกัดความเร็วที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษด้วยเช่นกันฃ แต่จะมีโทษอะไรบ้าง และสั่งปรับเท่าไร แรบบิท แคร์ รวบรวมทุกคำตอบสำหรับข้อสงสัยมาให้เรียบร้อยแล้ว
แบบไหนเรียกว่าขับรถเร็วเกินกำหนด?
ขึ้นอยู่กับประเภทถนนหรือทางเดินรถ ซึ่งจะมีรายละเอียดการจำกัดความเร็วที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม บางพื้นที่อาจมีป้ายจราจรแสดงข้อมูลจำกัดความเร็วไว้ ผู้ขับขี่จึงควรสังเกตป้ายกำกับความร่วมด้วย จะช่วยให้ไม่เผลอขับรถเร็วเกินกำหนด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ตัวอย่างการกำหนดความเร็วในทางเดินรถในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา และอื่น ๆ
- รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ (ทั่วไป) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซี.ซี. ขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ตัวอย่างการกำหนดความเร็วทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงชนบท
- รถยนต์ (ส่วนบุคคล) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ (ทั่วไป) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่บรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถขณะที่ลากจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจักรยานยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์ตั้งแต่ 35 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันตั้งแต่ 400 ซี.ซี. ขึ้นไป ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถแทรกเตอร์ รถบดถนน รถใช้งานเกษตรกรรม ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ หากรถอยู่ในช่องเดินรถช่องขวาสุด ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่ในกรณ๊ที่ช่องเดินรถนั้นมีข้อจำกัดด้านการจราจรหรือทัศนวิสัย มีสิ่งกีดขวาง หรือมีเหตุขัดข้องอื่น
ขับรถเร็วเกินกำหนด มีโทษอะไรบ้าง?
การขับรถเร็วเกินกำหนดหรือขับรเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ในมาตรา 67วรรคหนึ่งกำหนดไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทางเครื่องหมายจราจรติดตั้งไว้โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 152
ขับรถเร็วเกินกำหนด มาตรา 67 มีรายละเอียดอย่างไร?
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ระบุไว้ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งเป็นรายละเอียดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ที่มีการฝ่าฝืนขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ขับรถเร็วเกินกำหนด ค่าปรับเท่าไร?
ปัจจุบันโทษปรับจากกรณีการขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท (จากอัตราโทษเดิม 1,000 บาท) อ้างอิงตามกฎหมายจราจรฉบับใหม่ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งได้เพิ่มอัตราโทษปรับสำหรับการกระทำความผิดที่เป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และก่อให้เกิดความบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิตทั้งกับตัวผู้ขับขี่หรือผู้ใช้ทางคนอื่นๆ ให้เหมาะสมกับสภาพสถานการณ์ในปัจจุบัน
ขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่จ่ายค่าปรับได้ไหม?
กรณีผู้ขับรถเร็วเกินกำหนดและได้รับใบสั่งปรับ แต่เลือกที่จะไม่ชำระค่าปรับตามระยะเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งเตือนการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง หรือเรียกว่า ใบเตือน โดยจะจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง ไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้กระทำความผิด ทั้งนี้ ผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยสามารถเลือกชำระค่าปรับผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารกรุงไทย หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM ทางไปรษณีย์
เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และผู้กระทำความผิดที่ได้รับใบเตือนยังไม่มาชำระค่าปรับตามที่กำหนด เจ้าพนักงาน บช.น. จะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่องดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี และพนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากยังไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับต่อไป
ขับรถเร็วเกินกำหนด ต่อภาษีรถยนต์ได้อยู่ไหม?
ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบสั่งปรับจากกรณีขับรถเร็วเกินกำหนด มีรายการค่าปรับค้างชำระ หรือไม่จ่ายค่าปรับให้เรียบร้อยตามเวลาที่กำหนด จะยังสามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ แต่นายทะเบียนจะรับต่อภาษีประจำปีแต่ยังไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี) โดยจะได้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษีมาก่อนเท่านั้น ซึ่งจะมีอายุใช้งาน 30 วัน เพื่อให้ผู้นั้นไปชำระค่าปรับที่ค้างชำระให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน แล้วจึงสามารถมารับป้ายภาษีได้
ทั้งนี้ การขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี มีโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ มาตรา 11 ระบุว่ารถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งทางบก (ข.บ.) กำหนดให้ครบถ้วน หากไม่แสดงเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี) ให้ชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และจะถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนนอีกด้วย
ขับรถเร็วเกินกำหนด หักคะแนนใบขับขี่เท่าไร?
กรณีขับรถเร็วเกินกำหนด จะถูกตัดคะแนนใบขับขี่ หรือคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน โดยจะเป็นการตัดคะแนนทันทีเมื่อผู้ขับขี่ทำผิดกฎจราจร ซึ่งฐานความผิดกรณีขับรถเร็วเกินกำหนดจัดเป็น 1 ใน 20 ฐานความผิดที่อยู่ในกลุ่มความผิดหลักที่เป็นปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุ เช่นเดียวกับ การไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ การไม่รัดเข็มขัดนิรภัยในระหว่างขับขี่ การไม่หยุดให้คนเดินถนนข้ามทางม้าลาย การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
ขับรถเร็วเกินกำหนด อายุความเท่าไร?
ใบสั่งปรับกรณีขับรถเร็วเกินกำหนดมีอายุความ 1 ปี และหากฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบสั่ง จะมีความผิดตามมาตรา 155 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และ อาจถูกงดรับชำระภาษีประจำปีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะแสดงหลักฐานที่ชำระภาษีเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ขับรถเร็วเกินกำหนดจนเกิดอุบัติเหตุ ประกันรับผิดชอบไหม?
ประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองกรณีขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดจนเกิดอุบัติเหตุ โดยไม่ใช่การนำรถเข้าแข่งขันความเร็ว หรือการนำรถไปขับทดสอบสมรรถภาพของตัวรถ เป็นเพียงการเร่งความเร็วของตัวรถเพื่อวัตถุประสงค์อื่น แต่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ผู้ประสบภัยทั้งร่างกายและอนามัย ผู้เอาประกันจะยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย เนื่องไม่ได้ผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ของสัญญาประกันภัย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสามารถเคลมประกันได้จากกรณีขับรถเร็วเกินกำหนดจนเกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้ขับขี่จะยังมีความผิดในข้อกฎหมายจราจรควบคุมความเร็ว และมีโทษปรับและตัดคะแนนความประพฤติในการขับขี่ตามที่กฎหมายกำหนดเช่นกัน
แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์ชั้น 1 จากทุกบริษัทประกันชั้นนำที่พร้อมตอบรับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน พร้อมรับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุด 70% หรือเลือกผ่อนเบี้ยประกัน 0% ด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิต นานสูงสุด 10 เดือน หรือบริการเสริมสำหรับนักขับ ทั้งบริการรถเช่าในระหว่างซ่อม นานสูงสุด 3 วัน หรือค่าชดเชยการเดินทางสูงสุด 500 บาท โทรเลย 1438
สรุป
เบื้องต้นจะมีการกำหนดไว้ว่า ขับรถเร็วเกินกำหนด ต้องใช้ความเร็วเท่าไหร่ ไว้คร่าว ๆ ไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนตื และการขับบนท้องถนน ดังนั้นผู้ขับขี่ควรสังเกตป้ายกำหนดความเร็วต่าง ๆ ให้ดีทุกครั้ง และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเร็วเกินกำหนดนั้น แม้ว่าจะสามารถเคลมประกันได้จากกรณีขับรถเร็วเกินกำหนดจนเกิดอุบัติเหตุ แต่ผู้ขับขี่จะยังมีความผิดในข้อกฎหมายจราจรควบคุมความเร็ว และมีโทษปรับและตัดคะแนนความประพฤติในการขับขี่ตามที่กฎหมายกำหนดอยู่เช่นเดิม
ที่มา
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology