รวมเกร็ดความรู้เรื่องอุบัติเหตุยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นบ่อยต้องระวัง!
‘อุบัติเหตุ’ สิ่งที่เราต่างทราบกันดีว่าไม่ว่าเมื่อไหร่ หรือที่ไหนก็สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงต้องพยายามระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการประสบอุบัติเหตุ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมถึงอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินได้ มาดูกันว่าอุบัติ เหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อยคืออะไร จะลดความเสี่ยงในการดเกิดได้ด้วยวิธีไหน เพื่อลดโอกาสในการประสบ อุบัติเหตุไป กับ แรบบิท แคร์
อุบัติเหตุ หมายถึงอะไร ?
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบว่าอุบัติเหตุ คืออะไร อุบัติเหตุ หมายถึงอะไร อุบัติเหตุ ความหมาย ความหมายของ อุบัติเหตุ คืออะไร ความจริงแล้วความหมายของอุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม เหตุไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความประมาท ความผิดพลาดของมนุษย์ หรือปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วการประสบ อุบัติเหตุมักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือในขณะที่ไม่มีการระมัดระวังเพียงพอ การป้องกันอุบัติ เหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ได้มีการณ์แนะนำ หรือกำหนดไว้ และมีการระมัดระวังในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม
อุบัติเหตุยอดฮิตที่เกิดขึ้นบ่อย อุบัติเหตุมีอะไรบ้าง ?
เมื่อพูดถึงการประสบอุบัติเหตุแล้วหลายคนคงมองภาพไปค่อนข้างกว้าง ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะสามารถทำการแบ่งประเภทของการเกิดที่เกิดขึ้นบ่อยเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ คือ
- เกิดบนท้องถนน เกิดจากการใช้ยานพาหนะบนท้องถนน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือจักรยาน ซึ่งสาเหตุอาจมาจากความประมาท การขับรถเร็วเกินกำหนด การใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ หรือการละเลยกฎจราจร ซึ่งอุบัติเหตุประเภทนี้มักก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมาก
- เกิดในสถานที่ทำงาน จะเกิดขึ้นในสถานประกอบการ หรือสถานที่ทำงาน เช่น การใช้เครื่องจักรที่ไม่ปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานได้
- เกิดทางน้ำ มักเกิดจากการใช้งานเรือ หรืออุปกรณ์การเดินทางทางน้ำ เช่น เรือล่ม การตกเรือ หรือการจมน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากสภาพอากาศ ความประมาท หรือการขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เพียงพอ
- เกิดในบ้าน อุบัติเหตุประเภทนี้จะเกิดภายในบ้านเรือน เช่น การหกล้ม การถูกของมีคมบาด การโดนไฟฟ้าช็อต หรือการหายใจสูดเอาควันพิษเข้าไป โดยการเกิดเหตุในบ้านอาจเกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวัง หรือการเก็บอุปกรณ์ และของใช้ที่ไม่ปลอดภัย
- เกิดทางอากาศ มักจะเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางทางอากาศ เช่น การเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องบิน หรือการลงจอดฉุกเฉิน โดยการเกิดเหตุประเภทนี้มักมีความรุนแรงสูง และอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้โดยสาร และลูกเรือ
- เกิดจากภัยธรรมชาติ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุ หรือไฟป่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินในวงกว้าง
จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าอุบัติเหตุนั้นอยู่รอบตัวเรา และการประสบอุบัติเหตุก็เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ดังนั้นเราจึงควรมีสติ และระมัดระวังในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก
อุบัติเหตุบนท้องถนน คืออะไร ?
อุบัติเหตุบนท้องถนน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะใช้ยานพาหนะบนทางสัญจร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และผู้ใช้ทางเท้า ทั้งนี้สาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนด ความประมาทเลินเล่อ การละเมิดกฎจราจร การขับขี่ขณะมึนเมาหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่พร้อม ตลอดจนสภาพถนนที่ไม่เหมาะสมหรือการจราจรที่หนาแน่นจนทำให้ประสบอุบัติเหตุได้
อุบัติเหตุประเภทนี้นับว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งการสร้างความตระหนักรู้และการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
อุบัติเหตุบนท้องถนน มีอะไรบ้าง ?
ประเภทของการประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีสาเหตุ และลักษณะเฉพาะของความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้
ประสบอุบัติเหตุรถยนต์จากการชนท้าย
เกิดจากรถคันหนึ่งชนท้ายรถคันหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการไม่รักษาระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างรถคันหน้ากับคันหลัง หรือการขับรถในระยะประชิดเกินไป อุบัติเหตุชนท้ายมักส่งผลให้เกิดความเสียหายที่ด้านหลังของรถ และอาจทำให้ผู้โดยสารบาดเจ็บได้
อุบัติเหตุรถชนประสานงา
เกิดจากการที่รถสองคันชนกันโดยมีทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะขับแซงหรือในช่วงที่เข้าโค้งด้วยความเร็วสูง การชนประสานงานี้เป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงสูง และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
ประสบอุบัติเหตุการเฉี่ยวชนด้านข้าง
เกิดจากการที่รถสองคันเฉี่ยวชนกันบริเวณด้านข้าง ซึ่งมักเกิดขึ้นขณะเปลี่ยนช่องทางกะทันหันหรือขณะเลี้ยว อุบัติเหตุลักษณะนี้มักสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างด้านข้างของรถ และอาจทำให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะผู้ที่นั่งบริเวณฝั่งที่ถูกชน
ประสบอุบัติเหตุจากการพลิกคว่ำ
เกิดจากการสูญเสียการควบคุมรถ เช่น การหักเลี้ยวกะทันหัน หรือขับรถด้วยความเร็วสูงบนทางโค้ง ทำให้รถเกิดการพลิกคว่ำ อุบัติเหตุประเภทนี้มีโอกาสทำให้ผู้โดยสารบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตสูง
ประสบอุบัติเหตุจากการชนคนเดินเท้า
เกิดขึ้นเมื่อรถชนผู้ใช้ทางเดินเท้า ซึ่งอาจเกิดจากการข้ามถนนในจุดที่ไม่ปลอดภัย หรือความไม่ระมัดระวังของผู้ขับขี่ การชนคนเดินเท้าส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิต และมักสร้างความเสียหายทางกฎหมายแก่ผู้ขับขี่
ประสบอุบัติเหตุการชนกับสิ่งกีดขวาง
เกิดจากการที่รถชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ บนถนน เช่น เสาไฟฟ้า ป้ายจราจร หรือขอบถนน สาเหตุอาจเกิดจากการขับรถเร็วเกินไป ความไม่ระมัดระวัง หรือสภาพถนนที่ไม่ดี มักทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และส่งผลให้ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บ
ประสบอุบัติเหตุจากการชนสัตว์
เกิดขึ้นเมื่อรถชนสัตว์ที่ปรากฏบนถนน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทหรือทางที่ผ่านป่า สาเหตุอาจมาจากการที่สัตว์วิ่งตัดหน้าอย่างกระทันหัน การประสบ อุบัติเหตุเช่นนี้ไม่เพียงสร้างความเสียหายแก่รถ แต่ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ และอาจทำให้ผู้ขับขี่สูญเสียการควบคุมรถอีกด้วย
อุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุรา มีอะไรบ้าง ?
อีกสาเหตุใหญ่ที่นับเป็นสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอุบัติ เหตุได้มากมาย ก็คือการดื่มสุรา โดยการประสบอุบัติ เหตุจากการดื่มสุรา มีดังนี้
- ประสบ อุบัติเหตุบนท้องถนน
- ลื่นหัวฟาดพื้น
- หกล้มจากที่สูง
- การพลัดตกบันได
- จมน้ำ
- ใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรผิดพลาด
- ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย
- ประสบ อุบัติเหตุจากการสูญเสียการควบคุมร่างกาย
แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุกี่คน ?
ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ในประเทศไทยเอง สถิติจากกรมประชาสัมพันธ์ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเฉลี่ยประมาณ 40-60 คนต่อวัน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ สาเหตุหลักมาจากการขับขี่ที่ขาดความระมัดระวัง การดื่มสุราขณะขับรถ และการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร การลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจึงเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ ทั้งในด้านการสร้างจิตสำนึก การรณรงค์ และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด
กฎหมายเกี่ยวกับอุบัติเหตุ คืออะไร ?
กฎหมายที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ หมายถึง กฎหมายที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่กำหนดหลักเกณฑ์ และข้อบังคับในการรับผิดชอบ และการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ เพื่อปกป้องสิทธิ และความปลอดภัยของประชาชน กฎหมายเหล่านี้จะมีการครอบคลุมหลายด้าน เช่น กฎหมายจราจรทางบกที่กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการขับขี่รถยนต์ ความเร็ว และการใช้เข็มขัดนิรภัย กฎหมายแรงงานที่กำหนดให้สถานประกอบการต้องดูแลความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และชดเชยพนักงานที่ประสบอุบัติเหตุ ทั้งนี้ การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยได้เป็นอย่างมาก
บัตร 30 บาท คุ้มครองอุบัติเหตุไหม ?
บัตรทอง 30 บาท หรือบัตรหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสิทธิประโยชน์ครอบคลุมการรักษาพยาบาลพื้นฐานรวมถึงเหตุไม่คาดฝัน อย่างไรก็ตามความคุ้มครองนี้อาจจำกัดเฉพาะการรักษาพยาบาลที่จำเป็นในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น ค่ารักษาในกรณีบาดเจ็บ หรือการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ครอบคลุมการชดเชยค่าขาดรายได้หรือการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่ครอบคลุมถึงการเสียชีวิต หรือความเสียหายที่เกิดจากเหตุไม่คาดฝัน หากต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม ควรพิจารณาประกันอุบัติเหตุจากบริษัทประกันภัยเพิ่มเติม
เบิกประกันสังคม อุบัติเหตุได้ไหม ?
ประกันสังคม อุบัติเหตุ อุบัติเหตุ ประกันสังคม เมื่อมีการประสบเหตุไม่คาดฝันสามารถใช้ประกันสังคม มาตรา 33 อุบัติเหตุได้ไหม คำตอบคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของประกันสังคม มีสิทธิได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันทั้งในการทำงาน และนอกเวลาทำงาน โดยประกันสังคมจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น หรือการเข้ารับการผ่าตัดที่จำเป็น
รวมถึงการจ่ายค่าทดแทนหากเกิดการบาดเจ็บหรือสูญเสียความสามารถในการทำงานชั่วคราว ทั้งนี้ สิทธินี้สามารถใช้ได้ในโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม หากต้องการเข้ารับการรักษานอกเหนือจากเครือข่าย อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองบางส่วน
เมื่อประสบอุบัติเหตุ ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์แต่ละชั้นจะแตกต่างกันไปตามระดับการคุ้มครองของประกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ประกันชั้น 1
- ความคุ้มครอง : ให้ความคุ้มครองครอบคลุมที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกันเอง คู่กรณี บุคคลภายนอก รวมถึงเหตุไม่คาดฝันที่เกิดโดยไม่มีคู่กรณี เช่น ชนต้นไม้ เสาไฟ หรืออุบัติเหตุจากการพลิกคว่ำ
- คุ้มครองจากการชน (ไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่) : ครอบคลุมความเสียหายต่อรถของผู้เอาประกันไม่ว่าจะเกิดจากการชนกับสิ่งของหรือยานพาหนะอื่น
- คุ้มครองบุคคลภายนอก : ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอก
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล : มีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันและผู้โดยสารในรถ
2. ประกันชั้น 2+
- ความคุ้มครอง : คุ้มครองการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะอื่นเท่านั้น ไม่ครอบคลุมการชนกับสิ่งของหรือการพลิกคว่ำที่ไม่มีคู่กรณี
- คุ้มครองการชนกับยานพาหนะอื่น : ในกรณีที่เกิดการชนกับยานพาหนะอื่นจะได้รับความคุ้มครองทั้งรถผู้เอาประกันและรถคู่กรณี
- คุ้มครองบุคคลภายนอก : ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอกเช่นเดียวกับชั้น 1
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล : มีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันและผู้โดยสาร
3. ประกันชั้น 3+
- ความคุ้มครอง : คล้ายกับประกันชั้น 2+ แต่มีความคุ้มครองน้อยกว่า โดยจะคุ้มครองเฉพาะการชนกับยานพาหนะอื่นเท่านั้น
- คุ้มครองการชนกับยานพาหนะอื่น : ในกรณีที่เกิดการชนกับยานพาหนะอื่น จะครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทั้งรถของผู้เอาประกันและรถคู่กรณี
- คุ้มครองบุคคลภายนอก : ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอก
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล : มีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันและผู้โดยสารเช่นเดียวกับชั้น 2+
4. ประกันชั้น 2
- ความคุ้มครอง : คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอกเท่านั้น
- ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกัน : รถของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการคุ้มครองไม่ว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันในกรณีใดๆ
- คุ้มครองบุคคลภายนอก : ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอก รวมถึงค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่คาดฝันที่เกิดจากรถของผู้เอาประกัน
- ค่ารักษาพยาบาล : อาจมีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น
5. ประกันชั้น 3
- ความคุ้มครอง : คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอกเท่านั้นเช่นเดียวกับประกันรถยนต์ชั้น 2
- ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกัน : รถของผู้เอาประกันจะไม่ได้รับการคุ้มครองไม่ว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันในกรณีใดๆ
- คุ้มครองบุคคลภายนอก : ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและชีวิตของบุคคลภายนอก
- ค่ารักษาพยาบาล : อาจมีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น
สรุป
ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นเกร็ดความรู้ที่ทุกคนรู้ไว้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เพื่อหลีกเลี่ยงการประสบอุบัติ เหตุไม่คาดฝัน ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สิน นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ใช้รถใช้ถนนคงทราบกันดีว่าการขับขี่รถยนต์นั้นมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติ เหตุค่อนข้างมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ เพื่อความมั่นใจ ว่าหากเกิดอุบัติ เหตุไม่คาดฝันขึ้นมาจะมีผู้ช่วยดูแลให้คำแนะนำได้ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจรับมือไม่ไหวนั่นเอง
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย