ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชนพร้อมอธิบายวิธีการใช้งานกรณีรถชน
ในหลายครั้งที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน คู่กรณีทั้งสองฝ่ายอาจเลือกที่จะจบปัญหาต่าง ๆ ด้วยการประนีประนอม ยอมความ ไม่ว่าจะเป็นการเซ็นยอมความระหว่างคู่กรณีกันเอง หรือเซ็นยอมความหรือยอมรับที่จะไม่เรียกร้องข้อชดเชยอื่นใดเพิ่มเติมกับบริษัทประกันรถยนต์ภายหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หลายคนสงสัยว่าจะเซ็นได้ไหม เซ็นแล้วจะเสียผลประโยชน์ หรือยกเลิกได้หรือไม่
วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมตัวอย่างพร้อมอธิบายวิธีการใช้งานตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชนมาฝากกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความคืออะไร? มีกี่ประเภท?
สัญญาประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน อ้างอิงตามความหมายที่มีระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภทตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน ดังนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล คือ ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทในระหว่างชั้นศาลหรือชั้นบังคับคดี มักเกิดขึ้นเมื่อผู้พิพากษาหรือคู่พิพาทมีความเห็นว่าข้อพิพาทที่มีนั้น สามารถไกล่เกลี่ยและหาข้อยุติได้ด้วยการประนีประนอมยอมความระหว่างกัน โดยจะเป็นการหาข้อสรุปที่ผู้พิพาททั้งสองฝั่งพอใจร่วมกัน ทั้งนี้ ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความในชั้นศาลมักใช้กับคดีความทางแพ่งที่สามารถตกลงเรียกร้องค่าเสียหายได้
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล คือ การระงับข้อพิพาทก่อนที่จะนำเรื่องฟ้องศาล หรือเป็นการระงับข้อพิพาทในระหว่างที่คดีอยู่ในระหว่างส่งฟ้อง และยังไม่ถึงที่สิ้นสุด ซึ่งจะเป็นการใช้ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้มีข้อพิพาทโดยที่ศาลมิได้รับรู้ด้วย ทั้งนี้ แม้ว่าคดีจะถึงที่สุดแล้ว ผู้พิพาทจะยังสามารถยอมความนอกศาลได้อยู่เช่นกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน คืออะไร?
ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน หรือ Compromise Agreement เป็นสัญญาทางกฎหมายที่ผู้ที่ได้รับความเสียหายและผู้ที่ก่อให้เกิดเหตุรถชนตกลงที่จะไม่ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายหรือการชดเชยที่เกิดจากเหตุการณ์รถชน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะยอมรับความรับผิดชอบต่อความเสียหายและตกลงในเรื่องนี้โดยไม่นำเรื่องส่งฟ้องพิจารณาทางศาล
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนมักดำเนินการเมื่อผู้เสียหายและผู้ที่ก่อเหตุรถชนไม่ต้องการที่จะดำเนินคดีทางกฎหมาย และต้องการลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการส่งเรื่องฟ้องศาล ดังนั้นแล้ว การทำสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนจะช่วยทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันในเรื่องของการชดเชยโดยที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย. อย่างไรก็ตาม การทำสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันในสัญญานั้น ๆ
ชดใช้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ประกันฟ้องไล้เบี้ยได้หรือไม่?
รศ. (พิเศษ) ประทีป ทับอัตตานนท์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย (Thai General Insurance Association ) ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับกรณีการฟ้องไล้เบี้ยของบริษัทประกันภัยหรือผู้รับประกันภัย เมื่อมีการเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่กรณีเอาไว้ โดยมีตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน ดังนี้
- กรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลจนมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนถูกบังคับคดี ผู้เอาประกันภัยยังมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้รับประกันภัยได้
- กรณีที่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างผู้ละเมิดและผู้เอาประกันหลังจากบริษัทประกันภัยหรือผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์แล้ว ผู้รับประกันจะยังมีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในการฟ้องเรียกร้องเบี้ยจากผู้ละเมิดได้
แต่หากผู้เอาประกันและผู้ละเมิดทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างกัน และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้ว บริษัทประกันหรือผู้รับประกันภัยไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิในการฟ้องไล้เบี้ยกับผู้ละเมิดได้ แม้ว่าบริษัทประกันภัยจะเข้ามาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย เนื่องจากผู้ละเมิดได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบก้วนแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้นแล้ว
เซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน ไปแล้ว คู่กรณีสามารถเรียกร้องเพิ่มเติมได้หรือไม่?
กรณีที่ผู้ละเมิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ว่าจะมีตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน ให้ถือว่าสัญญาประกันภัยระหว่างผู้เอาประกันและผู้ละเมิดสิ้นผลไปด้วย และเมื่อผู้รับประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้นับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย และสามารถฟ้องไล่เบี้ยผู้ทำละเมิดได้
การเซ็นสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนมักจะประกอบด้วยข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุถึงว่าหากคู่กรณีเซ็นสัญญานี้แล้ว สิทธิในการเรียกร้องเพิ่มเติมหรือการดำเนินคดีทางกฎหมายในเรื่องที่เกี่ยวข้องจะถูกจำกัดหรือถูกยกเว้นออกไป
ดังนั้นแล้ว ถ้าสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนมีข้อกำหนดที่ระบุว่าหลังจากที่เซ็นสัญญาแล้ว คู่กรณีจะไม่มีสิทธิในการเรียกร้องเพิ่มเติมหรือดำเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวข้อง คู่กรณีจะไม่สามารถเรียกร้องได้ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมให้ถี่ถ้วนเพื่อรับทราบข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจถูกระบุเอาไว้ในสัญญา หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา หรือสัญญามีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน หรือไม่เป็นธรรม คู่กรณีควรขอรับคำปรึกษาทางกฎหมายเพิ่มเติมกับทนายความ
ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความรถชนที่เซ็นไปแล้วได้หรือไม่?
การยกเลิกตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน ที่เซ็นไปแล้วนั้น มีความซับซ้อนและต้องได้รับการพิจารณาตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญานั้น ๆ และตามกฎหมายที่มีผลบังคับ จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายที่จะยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่เซ็นไปแล้วได้ รวมถึงในบางกรณีอาจมีข้อบังคับทางกฎหมายที่ทำให้ไม่สามารถยกเลิกได้ หรืออาจจะมีข้อจำกัดทางเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ทำให้การยกเลิกสัญญาอาจต้องเป็นไปตามกระบวนการที่ระบุไว้ในสัญญา หรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นแล้ว การเซ็นหรือการดำเนินการยกเลิกสัญญาจึงควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันความซับซ้อนทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างแบบฟอร์มสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน
วันที่……….เดือน…………………….พ.ศ……….
ทำที่…………………….
ข้าพเจ้า…………………….
บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่…………………….
ที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อได้…………………….
หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้…………………….
ในฐานะ (ผู้ขับรถ, เจ้าของรถ, เจ้าของทรัพย์สิน, ผู้บาดเจ็บ, ผู้รับมอบอำนาจจาก…………………….)
ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ เนื่องจาก
นาย/นาง/นางสาว………………………………………
ขับรถยนต์คันเอาประกัน หมายเลขทะเบียน…………………….
จังหวัด…………………….
โดยประมาทเฉี่ยวชน (รถจักรยานยนต์, รถยนต์, ทรัพย์สิน, บุคคล)…………………….
ได้รับความเสียหาย, บาดเจ็บ, เสียชีวิต, อื่น ๆ (โปรดระบุ)…………………….
เหตุเกิดที่…………………….
ท้องที่ สน., สภ., ส.ทล……………………..
เมื่อวันที่……….เดือน……….พ.ศ………..
เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นในภายภาคหน้าให้เสร็จสิ้นไป ผู้ให้สัญญาฯ
ตกลงขอรับเงินชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอื่น ๆ จาก…………………….
รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น……………………. (…………………….)
นัดจ่ายภายในวันที่…..เดือน……………พ.ศ……
โดยผู้ให้สัญญาฯ ตกลง เดินทางเข้ารับเงินสด, โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเลขที่…………………….
เมื่อผู้ให้สัญญาฯ ได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาฯ นี้ครบถ้วนแล้ว จะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ เองในกรณ๊ที่มีผู้มีอำนาจหรือมีสิทธิตามกฎหมายมาเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุครั้งนี้อีก
และผู็ให้สัญญาฯ ตกลงที่จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายอย่างใด ๆ อีก และไม่เอาความใด ๆ ทั้งทางแพ่งและอาญาต่อผู้กระทำละเมิด หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุมในครั้งนี้อีกต่อไป
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับบนี้ มีผลสมบูรณ์เมื่อผู้ให้สัญญาฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนครบถ้วน และเพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนี้ ผู้ให้สัญญาฯ ได้ลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตรา (ถ้ามี) ไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ลงชื่อ…………………….ผู้ให้สัญญาฯ
ลงชื่อ…………………….ผู้รับสัญญาฯ
ลงชื่อ…………………….พยาน
ลงชื่อ…………………….พยาน
เมื่อเกิดข้อพิพาทจากกรณีรถชน ประกันแต่ละชั้นจะคุ้มครองอย่างไรบ้าง
เมื่อเกิดข้อพิพาทในกรณีรถชน ประกันภัยรถยนต์แต่ละชั้นจะมีการคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่ถืออยู่ การคุ้มครองในกรณีนี้แบ่งออกตามชั้นของประกัน ดังนี้:
1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
- คุ้มครองอย่างครอบคลุมที่สุด: หากเกิดข้อพิพาทในกรณีรถชน ประกันชั้น 1 จะคุ้มครองทั้งรถของคุณและรถของคู่กรณี โดยไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกก็ตาม ประกันชั้นนี้จะจ่ายค่าซ่อมแซมรถยนต์ของคุณ ค่าซ่อมทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของทุกฝ่าย
- คดีความ: ประกันชั้น 1 จะครอบคลุมถึงการประกันตัวผู้ขับขี่ในกรณีที่ถูกดำเนินคดีอาญา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีทางกฎหมายในกรณีที่เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับอุบัติเหตุ
- ค่าเสียหายทรัพย์สิน: คุ้มครองทรัพย์สินที่เสียหายของคู่กรณี เช่น รถยนต์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ
2. ประกันชั้น 2
- คุ้มครองบางส่วน: ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อทรัพย์สินและร่างกายของคู่กรณีเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก แต่จะไม่คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณเอง หากเกิดข้อพิพาท ประกันชั้นนี้จะจ่ายค่าซ่อมรถของคู่กรณีและค่าเสียหายทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมถึงค่ารักษาพยาบาลของคู่กรณี
- คดีความ: คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีหากเกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี รวมถึงการประกันตัวผู้ขับขี่กรณีถูกดำเนินคดีอาญา
- ไม่คุ้มครอง: รถยนต์ของคุณเองไม่อยู่ในความคุ้มครอง
3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
- คุ้มครองทั้งรถของคุณและคู่กรณี (มีคู่กรณี): ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณและรถของคู่กรณีในกรณีที่เกิดการชนกับยานพาหนะทางบก (มีคู่กรณี) และยังคุ้มครองทรัพย์สินหรือร่างกายของคู่กรณีเช่นเดียวกับชั้น 2
- คดีความ: หากเกิดข้อพิพาทหรือถูกฟ้องร้อง ประกันจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี และมีค่าประกันตัวผู้ขับขี่ในกรณีที่มีคดีความ
- ไม่คุ้มครอง: ความเสียหายต่อตัวรถของคุณหากเกิดอุบัติเหตุโดยไม่มีคู่กรณี
- คุ้มครองเฉพาะคู่กรณี: ประกันชั้น 3 จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อทรัพย์สินและร่างกายของคู่กรณีเท่านั้น เช่นเดียวกับชั้น 2 แต่จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณเอง
- คดีความ: ในกรณีที่มีข้อพิพาททางกฎหมาย ประกันชั้น 3 จะช่วยจ่ายค่าประกันตัวผู้ขับขี่ และอาจช่วยในส่วนของค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี
- ไม่คุ้มครอง: รถของคุณเองไม่อยู่ในความคุ้มครอง
5. ประกันชั้น 3+ ราคาประหยัด
- คุ้มครองเมื่อมีคู่กรณี (เฉพาะยานพาหนะทางบก): ประกันชั้น 3+ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณหากเกิดอุบัติเหตุที่มีการชนกับยานพาหนะทางบก และคุ้มครองคู่กรณีเช่นเดียวกับชั้น 3
- คดีความ: ในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ประกันชั้นนี้จะมีการคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายในการประกันตัวและการต่อสู้คดีหากคุณเป็นฝ่ายผิด
- ไม่คุ้มครอง: กรณีไม่มีคู่กรณี รถของคุณเองจะไม่ได้รับการคุ้มครอง
ทั้งนี้ ควรปรึกษาทนายความ หรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายก่อนเลือกใช้ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน รวมถึงหากมีปัญหาเรื่องการใช้ตัวอย่างสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกี่ยวข้องกับรถชน หรืออุบัติเหตุทางถนน ควรปรึกษาหรือขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มค่าที่สุดจากทุกบริษัทประกันภัยชั้นนำมาให้เลือกในที่เดียว พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 70% และสิทธิพิเศษที่มากกว่าซื้อตรงกับบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นผ่อนเบี้ยประกันภัย 0% นานสูงสุด 10 เดือน บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนนตลอด 24 ชั่วโมง บริการรถใช้ระหว่างซ่อมนานสูงสุด 3 วัน และชดชเยค่าเดินทางกรณ๊รถยนต์เสียหายสูงสุด 500 บาท ขอรับสิทธิพิเศษก่อนซื้อประกันรถได้ก่อนใคร โทรเลย 1438
สรุป
สัญญาประนีประนอมยอมความ คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาท แบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภท
- สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล สามารถไกล่เกลี่ยและหาข้อยุติได้ด้วยการประนีประนอมยอมความระหว่างกัน
- สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ระงับข้อพิพาทก่อนที่จะนำเรื่องฟ้องศาล หรือระงับข้อพิพาทในระหว่างที่คดีอยู่ในระหว่างส่งฟ้อง และยังไม่ถึงที่สิ้นสุด
ทั้งนี้ ควรปรึกษาทนายความ หรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายก่อนเลือกใช้สัญญาประนีประนอมยอมความ รถชน รวมถึงหากมีปัญหาเรื่องการใช้ตัวอย่างสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกี่ยวข้องกับรถชน หรืออุบัติเหตุทางถนน ควรปรึกษาหรือขอรับคำแนะนำได้ที่ คปภ. เพื่อความถูกต้องด้านกฎหมาย และเพื่อผลประโยชน์ของตัวผู้ทำสัญญาญ
ที่มา
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology