ขับรถกินเลน ผิดกฎหมายหรือไม่ ? หากเกิดอุบัติเหตุใครเป็นฝ่ายผิด ?
‘ขับรถกินเลน’ อีกหนึ่งพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ว่าใครเจอก็ต้องปวดหัว เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความลำบากในการร่วมใช้ถนนแล้วยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งปัจจุบันก็มีผู้ที่มักจะขับรถกินเลนทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวเป็นจำนวนมาก วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงเลือกหยิบยกข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการขับรถกินเลนและกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาฝาก เพื่อหวังว่าจะช่วยสร้างความตระหนักรู้และลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้บ้างนั่นเอง
ขับรถกินเลน คืออะไร ?
การขับรถกินเลน หรือการขับรถคร่อมเลนนั้น คือการขับรถกินพื้นที่จราจรข้ามเส้นแบ่งเลนไปยังเลนอื่นโดยไม่อยู่ในช่องเลนของตนเอง อย่างที่ภาษาพูดอาจเรียกว่า จะไปซ้ายก็ไม่ซ้าย จะไปขวาก็ไม่ขวา โดยพฤติกรรมการขับรถกินเลนเช่นนี้นั้นนอกจะเป็นพฤติกรรมการขับขี่ที่กั๊กเลนถนน ขวางทางสัญจรทำให้การจราจรติดขัด สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ร่วมใช้ท้องถนน การขับรถกินเลนยังเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเตือนสติตัวเองในระหว่างการขับขี่ไม่ให้ขับรถ กินเลนเป็นอันขาด เพื่อความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่นนั่นเอง
ขับรถกินเลน อันตรายอย่างไร ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าการขับรถกินเลนที่ว่าไม่ควรทำเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้นั้น มีความอันตรายอย่างไร ? ลองนึกภาพว่าเรามีรถคันหนึ่งขับรถ กินเลนขวางอยู่ด้านหน้า แล้วเราขับรถมาด้วยความเร็วจากเลนขวา ซึ่งเป็นเลนที่รถจะขับด้วยความเร็วสูงกันเป็นปกติแล้วมาเจอรถขับรถกินเลนอยู่ด้านหน้า ส่งผลให้ต้องเบรกหรือรถความเร็วกะทันหัน ซึ่งอาจจะทำให้เบรกไม่ทัน ชนกับรถที่ขับกินเลนอยู่ด้านหน้า หรืออีกกรณีนึงคือเบรกทัน แต่รถด้านหลังต่อจากเราเบรกไม่ทัน ทำให้พุ่งชนรถเราจนไปชนรถที่ขับกินเลนอีกทีทำให้กลายเป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ทำให้เกิดความเสี่ยงอันตราย ทั้งกับชีวิตและทรัพย์สินของทุกคน
ขับรถกินเลน ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
ในเมื่อการขับรถกินเลนนั้นก่อให้เกิดอันตราย แน่นอนว่าหลายคนคงนึกสงสัยว่าแล้วแบบนี้การขับรถ กินเลนนั้นจริง ๆ แล้วผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือการขับรถกินเลนนั้นผิดกฎหมาย เพราะนอกจากจะเป็นการทำลายระบบระเบียบของเส้นทางจราจร ทำให้การจราจรติดขัด ขัดขวางทางสัญจรของผู้อื่นแล้วก็ยังเป็นการกระทำที่ทำให้เสี่ยงต่อการอุบัติเหตุและเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ตนเอง และผู้คนรอบข้างเป็นอย่างมาก
ขับรถกินเลน มีบทลงโทษทางกฎหมายอย่างไร ?
สำหรับการขับรถกินเลนหรือขับรถคร่อมเลนนั้น ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(6) , 157 ซึ่งจะมีบทลงโทษทางกฎหมายคือ มีโทษปรับสูงสุดถึง 1,000 บาท กล่าวได้ว่าแม้จะยังไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น แต่เมื่อขับรถ กินเลนก็ถือว่ามีความผิดและมีสิทธิ์โดนปรับได้ ดังนั้นต้องพึงระลึกไว้ว่าต้องขับรถอยู่ในเลนของตนเอง
หากเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถคร่อมเลน ใครเป็นฝ่ายผิด ?
ทราบกันไปแล้วว่าการขับรถกินเล่นนั้นมีความผิดและมีบทลงโทษทางกฎหมาย แล้วในกรณีที่ขับรถคร่อมเลนแล้วมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นล่ะถือว่ามีความผิดหรือไม่ ความผิดจะตกเป็นฝ่ายของคนที่ขับมาชนท้าย หรือจะเป็นความผิดของผู้ที่ขับรถ กินเลนกันแน่ สำหรับคำตอบของคำถามนี้นั้น เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนท้องถนนในขณะที่มีรถยนต์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขับรถคร่อมเลน ฝ่ายที่ผิดจะเป็นฝ่ายที่ขับรถกินเลน เนื่องจากเป็นฝ่ายที่ทำผิดกฎหมายจราจร ทั้งยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
ดังนั้นเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขับรถกินเลน ฝ่ายที่ขับรถกินเลนจะต้องได้รับบทลงโทษตามกฎหมายตามที่ได้กล่าวถึงไปในข้างต้น และจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายของคู่กรณีทั้งหมดด้วยนั่นเอง
จะรู้ตัวได้อย่างไรว่าเราขับรถกินเลนหรือไม่ ?
สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าปกติแล้วตนเองนั้นขับรถกินเลนหรือไม่ จะต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมการขับขี่ของตนเองกันไว้ โดยจะสามารถสังเกตว่าตนเองขับรถ กินเลนได้หรือไม่ง่าย ๆ โดยการตรวจเช็กบริเวณกระจกข้างว่าเราขับรถอยู่ในเส้นเลนของตนเองไหม ซึ่งความจริงแล้วถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ใช้รถใช้ถนนจะต้องหูตาว่องไว และหมั่นตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบและลักษณะการขับขี่ของตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ทุกครั้งที่นั่งหลังพวงมาลัย
สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อทราบว่าตนเองขับรถกินเลน
ในส่วนของผู้ที่ไม่เคยรู้ว่าตนเองนั้นมักจะขับรถกินเลนอยู่บ่อย ๆ และเพิ่งรู้ตัวว่าตนเองนั้นมีพฤติกรรมการขับขี่อันไม่น่าพิสมัยเช่นนี้อยู่จะต้องทำอย่างไร มาดูวิธีปฏิบัติเมื่อทราบว่าตนเองขับรถกินเลนที่ แรบบิท แคร์ ได้เตรียมมาให้กัน
- เมื่อทราบว่าตนเองขับรถกินเลนควรรีบตั้งสติมองความปลอดภัยโดยรอบและบังคับรถให้กลับเข้าไปอยู่ในเลนของตนเองทันที
- หมั่นตรวจสอบตนเองให้มากขึ้นว่าขณะที่ขับขี่นั้นได้เผลอตัวกลับมาทำพฤติกรรมขับรถกินเลนอีกหรือไม่
- พยายามฝึกฝนตนเองให้ขับรถอยู่ในเลนของตนเองให้เป็นนิสัย ความเคยชินในการควบคุมตนเองให้ขับรถในเลนจะช่วยให้ทิ้งพฤติกรรมขับรถกินเลนออกไปได้อย่างสมบูรณ์
- ตรวจสอบว่ารถของตนเองนั้นมีการทำประกันรถยนต์เอาไว้หรือไม่ หากไม่มีควรทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ เพราะแน่นอนว่าแม้จะไม่มีนิสัยชอบขับรถกินเลนก็ยังมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ หากมีนิสัยชอบขับรถกินเลนยิ่งต้องทำประกันเผื่อเอาไว้ ควบคู่กับการพยายามปรับแก้นิสัย ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
สิ่งเหล่านี้ถือสิ่งที่ควรปฏิบัติในทันทีเมื่อทราบว่าตนเองนั้นมีนิสัยชอบเผลอตัวขับรถกินเลน นอกจากนี้ยังควรพึงระลึกไว้ด้วยว่าในการใช้รถใช้ถนนทุกครั้งเราควรมีสติและสมาธิในการโฟกัสกับการขับรถให้มาก เพราะหลายครั้งที่การขับรถกินเลนมักเกิดจากการเหม่อลอยขณะขับรถหรือไม่โฟกัสกับถนนเบื้องหน้านั่นเอง
สาเหตุในการขับรถกินเลนที่พบบ่อย
แน่นอนว่าพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมีสาเหตุ การขับรถกินเลนก็เช่นกัน ลองมาดูสาเหตุของการขับรถกินเลยเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาเหล่านี้กันเลย
- ไม่รู้จักระยะรถของตนเอง
- มีอาการเหม่อลอย/ใจลอยขณะขับรถ
- เล่นโทรศัพท์ระหว่างขับรถ
- คุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถ
- ไม่โฟกัสกับการมองถนนเบื้องหน้า
- จิตใจว่อกแว่ก คิดฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิในระหว่างขับรถ
สาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการขับรถกินเลนที่พบได้บ่อย นอกจากนี้ยังถือเป็นพฤติกรรมระหว่างการขับขี่ที่อันตรายเป็นอย่างมาก ควรเลิกให้เด็ดขาด และโฟกัสกับการขับรถอย่างเต็มที่ทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
จะทำอย่างไรเมื่อเจอรถขับรถกินเลน ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าหากตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายขับรถกินเลนแต่เป็นฝ่ายเจอรถที่ขับกินเลนจะต้องมีวิธีในการปฏิบัติตัวอย่างไร โดยสิ่งที่ต้องทำก็คือพยายามชะลอความเร็วลงไม่ขับไปใกล้ และอาจบีบแตรสั้น ๆ เบา ๆ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้อีกฝ่ายรู้ตัวว่าตนเองกำลังขับรถคร่อมเลน
สรุป
การขับรถกินเลนถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(6) ซึ่งห้ามขับรถในลักษณะที่กีดขวางหรือก่ออันตราย หากเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับกินเลนอาจถูกพิจารณาเป็นฝ่ายผิด หลักฐานจากกล้องและพยานจะช่วยตัดสินความรับผิดชอบ การมีประกันภัยชั้น 1 หรือ 2+ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัย ควรปฏิบัติตามกฎจราจร ติดตั้งกล้องหน้ารถ และเลือกประกันภัยที่เหมาะสม ขับขี่อย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย