
แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?
เราคงเคยเห็นข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีคนขับหลับใน บางครั้งก็ไม่เป็นอะไรมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วมักนำไปสู่อันตรายถึงแก่ชีวิต แล้วถ้าหากเราเจอรถคันข้างหน้าที่ขับส่ายไปมา จะต้องทำอย่างไร หรือถ้าเราเองเป็นฝ่ายที่หลับในแล้วชน ประกันจะคุ้มครองหรือไม่ วันนี้ แรบบิท แคร์ นำคำตอบมาฝากทุก ๆ คนกัน!
อาการหลับใน คือ อาการที่คนเรามีภาวะนอนหลับแทรกระหว่างเราตื่นเพียงแค่ไม่กี่วินาที โดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้การตอบสนองของร่างกายและการตัดสินใจแย่ลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การหลับในเป็นการหลับที่ไม่ลึก เพราะฉะนั้น คนที่หลับในสามารถรู้สึกตัวได้หากมีสิ่งที่มาทำให้สะดุ้งตื่น เช่น เสียงบีบแตร และแสงไฟจากรถที่สวนทาง เป็นต้น
สาเหตุที่เป็นบ่อยที่สุด นั่นคือการนอนหลับไม่เพียงพอ ปกติแล้ว เราควรนอนหลับพักผ่อนอย่างต่ำ 7 ชั่วโมง ถ้าหากน้อยกว่านั้น จะทำให้เราง่วงระหว่างวัน และหากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันหลายวัน ก็นำไปสู่การหลับในได้ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ เช่น เข้านอนไม่เป็นเวลา รับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป และทานยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงซึม หรือในบางครั้งอาจเป็นเพราะอาการง่วงตลอดเวลา ที่มีสาเหตุจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ผลข้างเคียงจากยา หรือปัญหาสุขภาพที่ใกล้เคียงกับอาการหลับใน
แน่นอนว่าอาการหลับในทำให้เราเข้าสู่ภาวะนอนหลับแค่ไม่กี่วินาที แต่ระหว่างที่หลับนั้น อาจทำให้เราและคนอื่น ๆ เกิดอันตรายได้ถึงชีวิต โดยเฉพาะคนขับ เช่น อาจหลงลืมเส้นทางที่ขับมา ฝ่าฝืนเครื่องหมายและสัญญาณไฟจราจร และเลี้ยวกะทันหัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพลิกคว่ำได้
หากเป็นอย่างนี้แล้ว แล้วเราจะรู้ตัวได้อย่างไร เพราะเป็นอาการที่เราไม่สามารถรู้ตัวได้ นอกจากจะสังเกตจากอาการที่เป็นอยู่ โดยสามารถสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
ถ้าหากคุณหาวตลอดทั้งวัน รวมถึงตอนที่คุณขับรถอยู่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณง่วงผิดปกติ ไม่ว่าสาเหตุการง่วงจะมาจากอะไรก็ตาม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ฤทธิ์ของยา อาการง่วงตลอดเวลา หรือระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ
หากรู้สึกว่าลืมตาไม่ขึ้น ทั้ง ๆ ที่พยายามลืมตาแล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคุณง่วงนอน เพราะถ้าเวลาผ่านไป คุณอาจเผลอหลับไปแล้วก็ได้ ซึ่งไม่ดีแน่
หากคุณหลับใน แต่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่ารถส่ายไปมา หรือขับรถออกนอกเส้นทาง นั่นก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณหลับใน แต่ในสัญญาณนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะหากคุณตกใจที่รถส่าย แล้วเลี้ยวหักศอกทั้งอย่างนั้น อาจทำให้รถคุณพลิกคว่ำได้ หรือหากคุณเบรกกะทันหัน ก็อาจทำให้รถที่ตามหลังคุณชนท้ายได้
หากคุณจำรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางที่คุณขับมาในระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตรไม่ได้ นั่นหมายความว่าสมองของคุณล้าและไม่ทำงาน จึงไม่ได้จดจำรายละเอียดพวกนั้น ถ้าหากสมองของคุณล้า นั่นก็หมายความว่าสมองของคุณจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเมื่อไหร่ก็ได้!
หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ให้คิดไว้เลยว่าเรากำลังง่วง ไม่ควรฝืนขับรถต่อไป ไม่ว่าคุณใกล้ถึงที่หมายแล้วก็ตาม หากฝืนขับรถต่อไป อาจเกิดอันตรายบนท้องถนนเป็นแน่ ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีแก้ง่วงเพื่อให้รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
วิธีแก้ง่วงนี้ สามารถใช้กับอาการง่วงแบบใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการง่วงแบบธรรมดา อาการง่วงตลอดเวลา หรือว่าอาการง่วงแบบหลับใน วันนี้ เราได้รวบรวม 3 วิธีแก้ง่วงให้ทุกคนได้ไปทำตามกัน!
อาหารที่มีรสเปรี้ยวมักทำให้เรากระปรี้กระเปร่า ซึ่งเหมาะกับคนที่ง่วงขณะขับรถ เพราะคนที่ง่วงมักจะไม่ตื่นตัว ดังนั้น การรับประทานของเปรี้ยวเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ตื่นตัวได้ อาหารและเครื่องดื่มรสเปรี้ยวที่รับประทานง่ายในรถ เช่น ลูกอมรสเปรี้ยว มะม่วงเปรี้ยว น้ำผึ้งผสมมะนาว เป็นต้น หรือเครื่องดื่มที่สามารถแก้ง่วงได้อย่าง กาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง ก็เป็นตัวเลือกที่ดีอีกเช่นเดียวกัน
เพลงที่มีจังหวะเร็ว เร้าใจ และสนุกสนาน จะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวมากกว่าเพลงที่มีจังหวะช้า ยิ่งถ้าหากเราร้องเพลงร่วมไปด้วย จะทำให้เรารู้สึกตื่นตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น บางคนอาจรู้สึกตื่นตัวกับเพลงช้าก็ได้ หากเป็นเพลงที่ชอบ
ไม่มีอะไรแก้ง่วงได้ไปดีกว่าการนอนหลับ แม้จะเป็นเพียงการงีบหลับสักระยะก็ตาม จากการวิจัย พบว่า การงีบหลับระยะสั้น 30 นาที จะเป็นการพักผ่อนสมองให้รู้สึกสดชื่นระหว่างวันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรงีบหลับ 45 นาที เนื่องจากสมองจะเริ่มเข้าสู่ภาวะหลับลึก เมื่อตื่นในระหว่างที่สมองเข้าสู่สภาวะหลับลึก จะทำให้รู้สึกไม่สดชื่น มึนหัว ทำให้อาการง่วงของคุณแย่ลงไปอีก
อย่างที่บอกว่าอุบัติเหตุที่มาจากหลับในสามารถเห็นได้เป็นระยะ ๆ แต่ในชีวิตจริงบนท้องถนน เราคงไม่ได้พบเจอเหตุการณ์แบบนั้นได้บ่อย และเราคงทำตัวไม่ถูกว่าจะต้องทำอย่างไรดีหากเราเจอรถคันข้างหน้าที่ขับรถส่ายไปมา อย่างที่บอกว่าอาการหลับในเป็นอาการที่ถือว่าไม่ใช่หลับลึก ดังนั้น คนที่หลับในมักจะรู้สึกตัวหากมีอะไรทำให้สะดุ้งตื่น หากเราประเมินแล้วว่าคนขับรถข้างหน้าน่าจะมีอาการหลับใน ให้เราลองบีบแตร หรือลองเปิดไฟสูงเพื่อให้คันข้างหน้าสะดุ้งตื่น แต่ถ้าหากยังไม่รู้สึกตัว ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในบริเวณเพื่อเรียกให้คันดังกล่าวจอดข้างทางต่อไป
ถ้าคุณถูกรถที่หลับในชน แน่นอนว่าคุณเป็นฝ่ายถูก เพราะอีกฝ่ายขับรถขณะที่ตัวเองหย่อนความสามารถในการขับ และคุณยังสามารถเรียกค่าเสียหายจากอีกฝ่ายได้ ไม่ว่าจะเรียกจากประกันของคู่กรณี หรือเรียกจากตัวคู่กรณีเอง ค่าเสียหายที่เรียกได้ ได้แก่ ค่าซ่อมรถยนต์ ค่าเสียผลประโยชน์จากการใช้รถ (ค่าเดินทางในชีวิตประจำวัน รายได้ที่เสียไปอันเนื่องจากไม่มีรถใช้ทำงาน) ค่าเสื่อมสภาพรถจากอุบัติเหตุ และค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ชดใช้ค่าเสียหายเต็มวงเงินกรมธรรม์แล้วไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ก็ต้องขึ้นอยู่ที่การเจรจาตกลงกันทั้งสองฝ่าย
ถ้าคุณเป็นคนที่หลับใน แล้วไปชนรถคันอื่นเสียเอง นั่นหมายความว่าคุณจะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะอุบัติเหตุ ในกรณีหลับใน ประกันจะยังคงคุ้มครองคุณอยู่ อย่างไรก็ตาม คุณจะเสียประวัติการขับขี่ ทำให้คุณต้องจ่ายเบี้ยประกันมากขึ้นกว่าปกติในปีต่อไป และถ้าหากคุณไม่ได้ทำประกันรถไว้ อาจทำให้คุณต้องจ่ายค่าเสียหายตามที่คู่กรณีของคุณเรียกโดยที่ไม่มีตัวช่วย หากคุณต้องการชำระค่าเสียหายเป็นรายงวด อาจถึงขั้นต้องเจรจาในชั้นศาล หรือถึงขั้นฟ้องร้องในคดีแพ่งและอาญา ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์และข้อหาขับรถโดยประมาท ทำให้เกิดความเสียหายทางร่างกายตามลำดับ
การหลับในยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลขณะที่เราขับรถ หรือว่าอยู่บนท้องถนน เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน หรือแม้แต่เราเองก็ตาม ก่อนเดินทาง แรบบิท แคร์ หวังว่าทุกคนจะไม่หลับในระหว่างขับรถ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ และขอให้ทุกคนเดินทางโดยสวัสดิภาพนะ! 😀
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย
แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?
การจอดและถอยรถแบบครบสูตร อ่านแล้วช่วยให้เก่งขึ้นได้!
อบรมใบขับขี่ออนไลน์ 2568 ยากไหม ? มีขั้นตอนในการอบรมใบขับขี่ออนไลน์อย่างไร ?