
เปลี่ยนยางรถยนต์ ต้องพิจารณาเปลี่ยนตอนไหน ราคาเท่าไหร่ ใช้เวลาเปลี่ยนนานหรือไม่
ก่อนจะไปดูข้อมูลเกี่ยวกับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ต้องมาทำความเข้าใจเรื่องแบตเตอรี่ขั้นพื้นฐานให้เรียบร้อย เพราะว่าแบตเตอรี่ในปัจจุบันมีให้เราเลือกอยู่ 2 แบบด้วยกัน จะเป็นแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้งที่ต้องเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ กับแบตเตอรี่แบบแห้งที่มีราคาสูงกว่าแต่ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่อีกต่อไป พอรู้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่ครบถ้วนแล้ว ทุกคนจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวข้อมูลน้ำกลั่นได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่มีความเข้าใจร่วมกัน ตั้งแต่อธิบายว่าน้ำกลั่น คือ อะไร มีกี่ประเภท มีวิธีดูแลไหม อาการ น้ำกลั่นแบตเตอรี่แห้งเป็นยังไง วิธีเติมน้ำกลั่นอย่างถูกต้องเป็นแบบไหน และทำไมถึงไม่ควรเติมน้ำเปล่าแทนน้ำกลั่นแบบเด็ดขาด
น้ำกลั่นแบตเตอรี่ คือ น้ำที่ผ่านกระบวนการความร้อนจากเครื่องกลั่น ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นจนกลายเป็นน้ำบริสุทธิ์แบบไม่มีสิ่งใด ๆ เข้ามาเจือปน เราจึงสามารถเอาน้ำกลั่นแบตเตอรี่มาเติมลงในแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้งได้ เนื่องจากน้ำกลั่นที่บริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม ช่วยให้รถของเราสตาร์ตติดได้ง่าย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการทำงานร่วมกันกับกรดภายในแบตเตอรี่อีกต่างหาก
ประเภทของน้ำกลั่นแบตเตอรี่ในประเทศไทย จะมีตัวเลือกทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกัน คือ น้ำกลั่นสีชมพูและน้ำกลั่นสีใส โดยทั้งคู่มีประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ตามค่าความเป็นกรด ค่าของการนำไฟฟ้า หรือค่าความเป็นด่าง ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ที่กล่าวถึง จะสามารถติดตามอ่านกันได้จากเนื้อหาในหัวข้อย่อยต่อไปนี้
น้ำกลั่นแบตเตอรี่สีชมพู มีคุณสมบัติช่วยลดความร้อนให้กับการทำงานของแบตเตอรี่ มันจึงช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องการเก็บไฟไส้ได้นานขึ้น เหมาะกับรถยนต์ที่ต้องจอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน จึงเหมาะสมกับการเลือกใช้งานน้ำกลั่นแบตเตอรี่สีชมพูเป็นหลัก รวมถึงด้วยการที่มันมีสีชมพูเข้ามาเจือปน ทำให้เราสามารถสังเกตระดับเพื่อตรวจเช็กได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน
น้ำกลั่นแบตเตอรี่สีใส คือ น้ำกลั่นแบบธรรมดาที่เป็นเพียงแค่น้ำบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ได้มีการเจือปนของสารเคมีอื่น ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด ทำให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานในระบบอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้ในรถยนต์เช่นเดียวกัน
หากเราสามารถเลือกซื้อน้ำกลั่นแบตเตอรี่ได้ตามความต้องการ มีเวลาเลือกให้เอาไปเปลี่ยนได้ดั่งใจนึก ก็แนะนำว่าควรเลือกใช้งานน้ำกลั่นแบตเตอรี่แบบสีชมพู เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมไปด้วย ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องใช้งานแบบกระทันหันน้ำกลั่นแบตเตอรี่แบบสีใส ยังสามารถใช้งานทดแทนได้ดีเหมือนกัน เพียงแต่จะไม่มีประสิทธิภาพแฝงตามสิ่งที่ใส่เข้ามาในตัวน้ำกลั่นนั่นเอง
วิธีการดูน้ำกลั่นแบตเตอรี่สามารถเปิดดูได้จากจุกช่องเติมน้ำกลั่นในแบตเตอรี่โดยตรง แต่ว่าตัวแบตเตอรี่นั้นจะไม่มีอุปกรณ์ช่วยวัดหรือเช็กเพิ่มเติม เราต้องกะเอาจากสายตา หรือวัดด้วยความรู้ว่าหากแบตเตอรี่ที่ใช้งานเป็นแบบกึ่งแห้ง โดยปกติแล้วเราจะต้องเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตรที่ใช้งาน ส่วนกรณีที่เป็นแบตเตอรี่แบบน้ำ เราต้องมีการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ที่ต่อเนื่องมากขึ้น เป็นทุก 1,000 กิโลเมตร หรือเติมกันทุก 1-2 สัปดาห์เลยก็ว่าได้
อาการ น้ำกลั่นแบตเตอรี่แห้ง ได้แก่ สตาร์ตรถไม่ติด ไฟในระบบดูอ่อน เหมือนจะดับลงอยู่ตลอดเวลา หากรู้ตัวว่ารถยนต์ของเราใช้งานแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง หรือแบบน้ำ พอเจออาการดังกล่าว ให้ลองเปิดฝากระโปรงรถเพื่อเช็กดูได้เลยว่า น้ำกลั่นแบตเตอรี่ภายในแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา อยู่ในระดับปกติหรือไม่ ถ้าหากเราปล่อยให้แห้ง อาจเกิดความเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง ถึงขั้นต้องเปลี่ยนแบตใหม่ทั้งก้อนเลยก็ว่าได้
คำแนะนำเพิ่มเติม ถึงแม้เราจะสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยการ เติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่เข้าไปในระบบแล้วหารถยนต์คันอื่นมาช่วยจั๊มพ์แบตเตอรี่ให้ หากเราสามารถสตาร์ตรถติดได้ แต่อนาคตอันสั้นแบตเตอรี่ที่เคยแห้งสนิทไปแล้ว อาจไม่สามารถกักเก็บไฟได้ดีเท่าเดิม เสี่ยงเจออาการรถดับกลางอากาศ หรือจอดแล้วสตาร์ตไม่ติดได้เช่นกัน จึงควรระมัดระวังเรื่องการลืมเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่จนแบตเตอรี่แห้งให้มากที่สุดสำหรับผู้ที่ใช้งานแบตเตอรี่ แบบน้ำและแบบกึ่งแห้ง
วิธีการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่อย่างถูกต้อง คือ เริ่มต้นที่การทำความสะอาดโดยรอบแบตเตอรี่ให้เรียบร้อย, เช็กระดับน้ำกลั่นก่อนเติมทุกครั้ง, เตรียมการเปิดฝาแบตเตอรี่ให้พร้อม และเช็กปริมาณหลังเติมอีกครั้ง เพียงเท่านี้ทุกคนจะสามารถดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ทั้งแบบน้ำ หรือแบบกึ่งแห้งได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทั้งหมด สามารถเลื่อนลงไปอ่านเพิ่มเติมได้จากลิสต์รายหัวข้อด้านล่างนี้เลย
เพียงเท่านี้ทุกคนคงสามารถเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย ขอแค่เราสามารถหาซื้อเจ้าตัวน้ำกลั่นแบตเตอรี่ตามทึ่ต้องการใช้งานมาให้ได้ก่อน แล้วเติมตามรายละเอียดวิธีด้านบนทั้งหมดได้เลย รับประกันความปลอดภัย รวมถึงวิธีการที่ถูกต้อง ยังช่วยให้แบตเตอรี่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมด้วย
เหตุผลที่เราไม่ควรใช้งานน้ำเปล่าแทนน้ำกลั่นแบตเตอรี่ คือ น้ำเปล่าหรือน้ำดื่มทั่วไปมีความเป็นกรดด่างที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าบางกรณีมันยังมีแร่ธาตุเสริมเพิ่มเติมอีกมากมาย ในทางทฤษฎีแล้วไม่มีประโยชน์อะไรเลยต่อแบตเตอรี่ แถมยังเป็นข้อเสียที่ลดอายุการใช้งาน ลดประสิทธิภาพการเก็บประจุไฟอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่าต่อให้จำเป็นมากแค่ไหน สถานการณ์ขับขันมากเพียงใด ก็ไม่ควรเอาน้ำเปล่ามาเติมแทนน้ำกลั่นแบตเตอรี่อยู่ดี คุณจะได้ไม่คุ้มเสียในท้ายที่สุด
อยากดูแลรถยนต์ให้เนี้ยบเหมือนกับการศึกษาข้อมูลเรื่องน้ำกลั่นแบตเตอรี่ แรบบิท แคร์ อยากแนะนำให้ทุกคนเลือกเปรียบเทียบราคาประกันรถที่เหมาะสมต่อการใช้งานติดไว้ เพื่อช่วยให้ประกันรถยนต์ได้มีส่วนร่วมการดูแลคุ้มครองทุกเส้นทางที่คุณไป ให้อุ่นใจได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองค่าซ่อมแซม, ค่าสินทรัพย์, ค่าสินไหมทดแทน, ค่ารักษาพยาบาล และอื่น ๆ อีกหลายรายการ
หากสนใจอยากเลือกประกันรถยนต์ให้คุ้มค่าที่สุด ติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้โดยตรงที่เบอร์ 1438 โทรได้ทุกเวลา ตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์เมื่อไหร่ แรบบิท แคร์ ยินดีมอบส่วนลดให้สูงสุดถึง 70%!
น้ำกลั่นแบตเตอรี่ คือ น้ำที่ผ่านกระบวนการความร้อนจากเครื่องกลั่น ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นจนกลายเป็นน้ำบริสุทธิ์แบบไม่มีสิ่งใด ๆ เข้ามาเจือปน มีคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ดี จึงเหมาะนำมาเติมลงในแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง ช่วยให้รถสตาร์ตติดได้ง่าย กลับกัน น้ำเปล่าหรือน้ำดื่มทั่วไปไม่ควรนำมาเติมลงในแบตเตอร์รี่แบบกึ่งแห่ง เพราะในน้ำทั่วไปมีความเป็นกรดด่างจากน้ำกลั่น ทำให้เกิดผลเสียมากกว่านั่นเอง
ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความแคร์รถยนต์
เปลี่ยนยางรถยนต์ ต้องพิจารณาเปลี่ยนตอนไหน ราคาเท่าไหร่ ใช้เวลาเปลี่ยนนานหรือไม่
รถกินน้ำมัน เกิดจากอะไร มีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยประหยัดน้ำมัน
รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง ทำความเข้าใจอีกครั้งในทุกเรื่องที่ควรรู้!