แคร์ยานยนต์

โอเวอร์ฮอลเกียร์ คือ อะไร ทำไมรถยนต์ที่มีการใช้งานมานานถึงต้องทำกันหลายคัน

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published March 26, 2024

ในกรณีของผู้ใช้งานรถยนต์รุ่นใหม่อาจยังไม่เคยได้ยินคำว่า โอเวอร์ฮอลเกียร์มาก่อน เนื่องจากคำนี้จะเริ่มได้ยินก็ต่อเมื่อรถยนต์ที่ใช้งานมีอาการผิดปกติ ทำให้ต้องหาวิธีทางแก้ไข ซึ่งการโอเวอร์ฮอลเกียร์ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขทางหนึ่ง และเพื่อให้ผู้ที่กำลังพบเจอปัญหาเกี่ยวกับเกียร์ออโต้ มาทำความเข้าใจกันอย่างละเอียดว่า โอเวอร์ฮอลเกียร์ คืออะไร ข้อดีของมันมีอะไรบ้าง โอเวอร์ฮอลเกียร์กี่บาท พร้อมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาการเกียร์พังที่พบได้บ่อย และแนะนำการเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกียร์พัง กับวิธีดูแลเกียร์อย่างเหมาะสม ต่อให้ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องซ่อมเกียร์ ก็สามารถอ่านบทความนี้เพื่อดูแลเกียร์ออโต้ของรถยนต์คุณให้ดีได้เช่นกัน

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน
icon angle up or down

    เลือกยี่ห้อรถของคุณ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โอเวอร์ฮอลเกียร์ คืออะไร

    โอเวอร์ฮอลเกียร์ คืออะไร การทำโอเวอร์ฮอลเกียร์หมายถึง การผ่าเกียร์ เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในทั้งหมดว่ามีปัญหา มีการสึกหรอ หรือมีการเสียในจุดไหน เช่น แผ่นคลัทช์ แผ่นเหล็ก ไส้กรองเกียร์ ทำความสะอาดสมองเกียร์ น้ำมันเกียร์ หรืออะไหล่ภายในเกียร์อื่น ๆ  พอทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมแล้ว จะนำอะไหล่เข้าเปลี่ยนในจุดนั้น พร้อมกับทำความสะอาดให้เรียบร้อย แล้วจึงประกอบเกียร์กลับไปเหมือนเดิม และสามารถนำไปใช้งานได้ตามปกติ เหมือนกับว่าเราได้เกียร์ลูกใหม่ ดังนั้นเมื่อทำการโอเวอร์ฮอลเกียร์เรียบร้อย จะสามารถใช้งานต่อไปได้อีกหลายปีเลยทีเดียว

    ข้อดีของการโอเวอร์ฮอลเกียร์

    ข้อดีของการโอเวอร์ฮอลเกียร์ คือ เกียร์จะถูกผ่านรื้อขึ้นมาเพื่อตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อทำการหาจุดที่เกิดความเสียหาย และทำการเปลี่ยนอะไหล่ ซ่อมแซมตามข้อมูลที่ได้กล่าวไปด้านบน ซึ่งถือว่าเป็นการซ่อมแซมได้ตรงจุด ช่วยทำให้เกียร์สามารถใช้งานไปได้อีกยาวนาน แบบที่ไม่ต้องเจออาการเกียร์ที่เสียหายอย่างต่อเนื่อง 

    โอเวอร์ฮอลเกียร์กี่บาท

    โอเวอร์ฮอลเกียร์กี่บาท ที่จริงแล้วเรื่องราคาค่าบริการของการทำโอเวอร์ฮอลเกียร์ ขึ้นอยู่กับศูนย์หรืออู่ที่พร้อมให้บริการอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนมากจะมีราคาอยู่ที่หลักหมื่นบาท ตั้งแต่ประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป ถึงแม้จะดูว่าเป็นราคาแพง แต่ถ้าคุณลองเอาไปเทียบกับการเปลี่ยนเกียร์ออโต้แบบยกลูก บอกเลยว่าการเปลี่ยนเกียร์แบบยกลูกนั้นแพงกว่ามากหลายเท่าตัว เพราะการเปลี่ยนเกียร์ยกลูกจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 80,000 – 100,000 บาทเป็นต้นไป ในขณะที่การโอเวอร์ฮอลเกียร์มีราคาที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาทเท่านั้นเอง

    5 อาการเกียร์ออโต้เสียที่พบได้บ่อย

    5 อาการเกียร์ออโต้เสียที่พบได้บ่อยจนต้องทำโอเวอร์ฮอลเกียร์ ได้แก่ การเข้าเกียร์แล้วรถไม่ขยับ, เกียร์กระตุก, เกียร์วืด, เกียร์ไม่เข้า และเกียร์เดินไม่ครบ เพื่อเป็นความรู้เอาไว้จับสังเกตได้ในกรณีที่คิดว่าเริ่มพบเจออาการเกียร์เสีย แล้วพิจารณาอีกครั้งว่าควรได้รับการซ่อมแซมด้วยวิธีโอเวอร์ฮอลเกียร์หรือไม่ โดยรายละเอียดอาการเกียร์ออโต้เสียทั้งหมด จะสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติม  ได้จากหัวข้อย่อยต่อไปนี้

    เข้าเกียร์แล้วรถไม่ขยับ

    เข้าเกียร์แล้วรถไม่ขยับ เป็นอาการที่ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเช้าหลังจากที่รถยนต์จอดดับสนิทมาเป็นเวลานาน เนื่องจากเกิดปัญหาการทำงานระหว่างเครื่องยนต์ กับชุดเกียร์ออโต้ ดังนั้นควรต้องสตาร์ตเครื่องยนต์แล้วรอให้ร้อนประมาณ 3-5 นาที จากนั้นค่อยเข้าเกียร์เดินหน้า เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้ตามปกติ ตรงจุดนี้อาจจะยังไม่ต้องถึงขั้นการโอเวอร์ฮอลเกียร์ เพียงแค่ลองให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ แล้วหาทางแก้ไขเบื้องต้นก่อนจะดีที่สุด

    เกียร์กระตุก

    เกียร์กระตุก อาการที่พบได้บ่อยอย่างมากกับรถยนต์ที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของระยะเวลาของตัวรถยนต์ หรือระยะการเดินทางที่สูงมาก มีโอกาสพบเจออาการเกียร์กระตุกได้เหมือนกัน ซึ่งอาการนี้จะเริ่มตั้งแต่ช่วงทำความเร็ว ที่เป็นการเปลี่ยนเกียร์จาก 1 ไป 2 หรืออาจเป็นในช่วง 2 ไป 3 พอเราเหยียบคันเร่งไปแล้ว จะสัมผัสถึงอาการกระตุกจากตัวรถยนต์ได้อย่างชัดเจน อาการแบบนี้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการโอเวอร์ฮอลเกียร์ โดยช่างผู้เชี่ยวชาญได้ทันที

    เกียร์วืด

    เกียร์วืด จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รถยนต์กำลังเคลื่อนที่ พร้อมทำความเร็วมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการจะมาตอนที่รอบกำลังพุ่งสูงในขณะเปลี่ยนอัตราทด พละกำลังที่สะสมมากลับหายไปดื้อ ๆ จนเหมือนกับว่าต้องไปเริ่มเร่งใหม่อีกครั้ง แก้ไขปัญหาได้ด้วยการโอเวอร์ฮอลเกียร์ ในส่วนของคลัตช์ โอริง และซีล จะช่วยให้กลับมาทำงานได้เหมือนปกติอีกครั้ง

    เกียร์ไม่เข้า

    เกียร์ไม่เข้า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเกียร์ D เพื่อเดินหน้า หรือการเข้าเกียร์ R เพื่อถอยหลัง แต่ตัวรถยนต์กลับไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถเร่งให้รถขยับได้แม้แต่นิดเดียว หมายความเกียร์ออโต้ของคุณไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปแล้ว เป็นอาการเสียแบบยกลูก ทำให้ต้องเปลี่ยนเกียร์ใหม่หมด ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงกว่าโอเวอร์ฮอลเกียร์หลายเท่าตัว ตามที่เราได้กล่าวเอาไว้ในหัวข้อโอเวอร์ฮอลเกียร์กี่บาทนั่นเอง

    เกียร์เดินไม่ครบ

    เกียร์เดินไม่ครบ ถือเป็นอาการเสียของเกียร์ออโต้ที่เกิดขึ้นได้น้อยที่สุดจากอาการทั้งหมดที่กล่าวมา เพราะระบบเกียร์จะทำงานแบบข้ามเกียร์ หรือเดินเกียร์ไม่ครบทั้งหมด เช่น จาก 1 แล้วข้ามไป 3 เลย หรือใช้งานเกียร์เพียงแค่ 1 กับ 2 เท่านั้น แม้ว่าจะมีความเร็วเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอาจเริ่มได้จากการเช็กน้ำมันเกียร์ แผ่นคลัทช์ ทอร์ค แต่ถ้าหากไม่หาย อาจต้องมีการพิจารณาเพื่อทำการโอเวอร์ฮอลเกียร์เช่นเดียวกันอาการอื่น

    เลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกียร์พัง

    เลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้เกียร์พัง ถ้าไม่อยากเสียเงินทำโอเวอร์ฮอลเกียร์หลายหมื่นบาท ซึ่งพฤติกรรมที่ควรเลี่ยงอย่างมาก ได้แก่ การเหยียบคันเร่งแรงเกินไป, ใส่เกียร์ว่างขณะรถวิ่ง และเข้าเกียร์ P ตอนที่รถยนต์ยังไม่นิ่งสนิท ส่วนผลเสียที่ตามมาจากพฤติกรรมเหล่านี้ มีดังนี้

    • เหยียบคันเร่งแรงเกินไป ส่งผลให้เกียร์ทำงานหนักเกินกว่าปกติ ทำให้ลดอายุการใช้งานมากกว่าเดิม
    • ใส่เกียร์ว่างขณะรถวิ่ง อาจทำให้น้ำมันหล่อลื่นในเกียร์ลดลง จนขาดแรงดัน จากนั้นก็จะเกิดความร้อนสูงตามมา จนกลายเป็นต้นเหตุทำให้เกียร์พังได้อย่างรวดเร็ว
    • เข้าเกียร์ P ตอนที่รถยนต์ยังไม่นิ่งสนิท จะเป็นการบังคับให้ล็อคเกียร์ทันที แม้เกียร์จะยังทำงานอยู่ จึงเป็นต้นเหตุของการทำให้เกียร์พังได้เร็วเช่นเดียวกัน

    วิธีดูแลเกียร์อย่างเหมาะสม

    วิธีดูแลเกียร์ให้เหมาะสม ป้องกันโอกาสการพบเจอเกียร์เสียหาย จนต้องทำโอเวอร์ฮอลเกียร์ หรือหนักหน่อยก็ต้องเปลี่ยนเกียร์ยกลูก โดยวิธีที่ดูแลได้ดีจะมีอยู่ 4 วิธีที่ทำตามได้ง่าย คือ เช็กสภาพรถยนต์ให้สม่ำเสมอ, เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามกำหนด, ไม่เร่งเครื่องแรงตั้งแต่ช่วงแรก และลดการขับแบบกระชาก สำหรับรายละเอียดวิธีการดูแลเพิ่มเติม ดูได้จากรายการด่างล่างนี้เลย

    • เช็กสภาพรถยนต์ให้สม่ำเสมอ กรณีที่เจอสิ่งผิดปกติอยู่ภายในระบบเกียร์ หรือเกี่ยวข้องกัน จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ก่อนกลายเป็นต้นเหตุทำให้ต้องผ่านเกียร์ หรือโอเวอร์ฮอลเกียร์เพื่อซ่อมแซมอย่างหนักหน่วง
    • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามกำหนด เป็นการช่วยถนอมเกียร์ให้สามารถใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น อย่างน้อยควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุก 40,000 – 60,000 กิโลเมตร
    • ไม่เร่งเครื่องแรงตั้งแต่ช่วงแรก เพราะหลังจากที่สตาร์ตรถยนต์ เครื่องยนต์และระบบเกียร์อาจจะยังไม่ร้อนพอที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ การกดคันเร่งแรงตั้งแต่เริ่ม เป็นต้นเหตุทำให้เกียร์และเครื่องยนต์มีความเสี่ยงสายไปพร้อมกันได้เลย
    • ลดการขับแบบกระชาก เนื่องจากเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกียร์เสียหายได้ง่าย ๆ ในระยะยาว

    เพราะนอกจากตัวรถยนต์ของเราจะมีราคาแพงมากแล้ว ระบบภายในเองก็มีราคาแพงมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะส่วนของเกียร์ อันเป็นระบบสำคัญในการขับเคลื่อน ถ้าหากไม่ดูแลจนเสียหายถึงขั้นต้องโอเวอร์ฮอลเกียร์ ก็เตรียมเงินค่าซ่อมหลายหมื่นไว้เลย และถ้าแย่ถึงขั้นยกลูกเกียร์ อาจหมดเป็นแสนได้เลยทีเดียว

    รู้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำโอเวอร์ฮอลเกียร์ไปแบบครบถ้วนแล้ว รวมถึงอาการเกียร์เสียที่พบได้บ่อย กับวิธีการดูและพฤติกรรมที่ควรเลี่ยงไปเรียบร้อย ทีนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลของคุณแล้วว่าจะทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน

    ส่วนใครที่กังวลว่าจะเกิดปัญหาเกียร์เสียหายเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน ควรเลือกประกันรถยนต์เสริมเอาไว้ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือดูแลคุ้มครองตลอดเวลา ทั้งการได้รับคำปรึกษา และการมีรถยก รถลากให้บริการ ซึ่งคุณสามารถติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลตัวเลือกประกันรถยนต์ จากบริษัทประกันภัยชั้นนำจาก แรบบิท แคร์ ได้โดยตรง แถมทางเรายังมีโปรโมชันพิเศษ มอบส่วนลดสูงสุดให้ถึง 70% โทรมาได้เลยที่เบอร์ 1438 (24 ชั่วโมง)


    สรุป

    สรุปบทความ

    โอเวอร์ฮอลเกียร์ คือ การผ่าเกียร์เพื่อตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในทั้งหมดว่ามีปัญหา มีการสึกหรอ หรือมีการเสียในจุดไหน เช่น แผ่นคลัทช์, แผ่นเหล็ก หรือไส้กรองเกียร์ โดยเกียร์ที่ถูกผ่าจะสามารถนำมาตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อทำการหาจุดที่เกิดความเสียหาย และทำการเปลี่ยนอะไหล่ซ่อมแซมได้ สำหรับ 5 อาการเกียร์ออโต้เสียที่พบได้บ่อยจนต้องทำโอเวอร์ฮอลเกียร์ ได้แก่

    • การเข้าเกียร์แล้วรถไม่ขยับ
    • เกียร์กระตุก
    • เกียร์วืด
    • เกียร์ไม่เข้า
    • เกียร์เดินไม่ครบ
    จบสรุปบทความ

    ที่มา


    บทความแคร์ยานยนต์

    แคร์ยานยนต์

    กระจกรถร้าว อันตรายไหม ระหว่างซ่อมกับเปลี่ยนใหม่ แบบไหนดีกว่า

    โอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ โดยเฉพาะในเรื่องกระจกรถร้าว ที่เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวอย่างมาก แต่พอถึงเวลาจริง
    Thirakan T
    23/04/2024

    แคร์ยานยนต์

    แนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ผู้หญิงให้เหมาะสม พร้อมสรุปรุ่นไหนน่าสนใจ

    แม้ปัจจุบันการเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์สักคันจะเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ผู้หญิงแล้ว ยังคงต้องใช้การตัดสินใจที่ค่อนข้างละเอียด และรอบคอย
    Thirakan T
    22/04/2024

    แคร์ยานยนต์

    แต่งเครื่องยนต์ ให้แรงขึ้นทำได้จริงไหม ต้องแจ้งขนส่งหรือไม่

    สายซิ่งอยากแต่งเครื่องยนต์ให้แรงขึ้นแบบจี๊ดจัด สามารถทำได้จริงแน่นอน เพียงแต่อาจมีบางสิ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจพารถคู่ใจของเราไปทำการ
    Thirakan T
    22/04/2024