Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Jul 04, 2023

รถสั่น เกิดจากอะไร? และมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร?

รถสั่น เป็นอีกหนึ่งในปัญหาร้อยแปดของการขับรถยนต์ ซึ่งอาการรถสั่นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับรถทุกคัน ทุกประเภท และทุกสถานที่ โดยเมื่อมีอาการรถสั่นเกิดขึ้นแล้ว ผู้ขับรถยนต์ส่วนใหญ่จะเกิดอาการตกใจ ทำให้เกิดการควบคุมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ แต่อาการรถสั่นสามารถทำความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ที่อาจคาดเดาไม่ได้บนท้องถนน ซึ่งในบทความนี้เราจะพาไปค้นหาสาเหตุกันว่าอาการของเครื่องยนต์สั่น หรือรถสั่นเกิดจากอะไร และหากเกิดขึ้นแล้ว จะมีวิธีแก้ไขเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

รถสั่นเกิดจากสาเหตุใด?

ลองสังเกตดูว่าในขณะที่คุณกำลังขับรถไปได้สักพักแล้วรู้สึกได้ถึงอาการสั่นที่ผิดปกติหรือไม่ แม้ว่าจะเป็นการขับบนถนนที่ตัดใหม่ หรือไม่มีพื้นผิวขรุขระ แต่ก็เกิดอาการสั่นไม่ต่างจากถนนที่ผิวไม่เรียบจนทำให้ควบคุมรถได้ยากขึ้น และมีความรู้สึกเหมือนเครื่องยนต์สั่นจนเกือบจะดับ นั่นแสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับรถยนต์ของคุณเข้าแล้ว ทั้งนี้ลองมาสังเกตกันดูว่า มีสาเหตุใดบ้างที่เข้าข่ายที่มีผลต่อการเกิดอาการรถสั่นหรือเครื่องยนต์มีอาการสั่นได้บ้าง

  • 1. เครื่องยนต์กำลังมีปัญหา ปัจจัยแรกที่ทำให้รถสั่นเกิดจากเครื่องยนต์ของตัวรถกำลังส่งสัญญาบอกว่ามันมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอาการรถสั่นที่มาจากเครื่องยนต์โดยชัดเจนก็คือ อาการสั่นที่มาจากด้านหน้าของตัวรถ บ้างก็จะแสดงอาการเครื่องยนต์เริ่มสั่นให้เห็นและรู้สึกได้ทันที นอกจากเครื่องยนต์สั่นแล้ว บางกรณีก็มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นพร้อมกับเสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการจุดระเบิดที่ไม่เสถียร หรือการจุดระเบิดมีความผิดปกติเกิดขึ้น

  • 2. ยางแท่นเครื่องเสื่อม สำหรับรถยนต์มือหนึ่งที่เพิ่งถอยมาได้ไม่นาน โอกาสที่เครื่องยนต์สั่น หรืออาการรถสั่นเกิดจากสาเหตุของเครื่องยนต์จะมีความเป็นไปได้น้อย ซึ่งอีกหนึ่งสาเหตุก็อาจจะมาจากยางแท่นเครื่องเริ่มเสื่อมสภาพ แต่ทั้งนี้ความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นก็มักจะมาจากการใช้งานในระยะเวลานาน หรือการใช้งานเครื่องยนต์ต่อเนื่องเป็นเวลานานจนยางแท่นเครื่องไม่สามารถซับแรงสะเทือนของเครื่องยนต์ได้ ทำให้เกิดอาการเครื่องยนต์สั่นเกิดขึ้นตามมาได้

  • 3. ระบบเบรก สำหรับกรณีนี้จะสังเกตได้ค่อนข้างชัดเจน เพราะเมื่อทำการแตะเบรกแล้วรถสั่นนั่นแสดงว่าสาเหตุของการสั่นเกิดจากระบบเบรกมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเรียกว่าอาการเบรกสั่นเกิดจากจานเบรกมีอาการคดและไม่เรียบเสมอกัน ทำให้เกิดอาการรถสั่นในขณะที่เหยียบเบรกได้ นอกจากนี้บางครั้งก็ยังทำให้ระยะเวลาในเบรกเพิ่มมากขึ้นด้วย กรณีนี้ถือว่าไม่ปลอดภัยในการขับขี่เลยทีเดียว

  • 4. หัวเทียนเริ่มหมดอายุการใช้งาน หัวเทียนมีผลกับการสตาร์ตรถเป็นอย่างมาก เมื่อหัวเทียนสูบใดสูบหนึ่งไม่ทำงานจะทำให้เกิดปัญหาเครื่องยนต์สั่นตามมาได้ สำหรับวิธีเช็กสภาพของหัวเทียนก็เพียงแค่ลองสังเกตดูว่าหัวเทียนเริ่มมีสีดำเกาะเป็นจำนวนมากหรือไม่ รวมทั้งเมื่อหัวเทียนเริ่มมีปัญหาการสตาร์ตรถก็มักจะมีปัญหาตามมาด้วย ทั้งนี้อาการรถสั่นเกิดจากหัวเทียนต้องรีบเปลี่ยนหรือซ่อมแซมในทันที เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากรถยนต์ดับกลางทาง

  • 5. ลิ้นปีกผีเสื้ออุดตันจากสิ่งสกปรก หน้าที่หลักของลิ้นปีกผีเสื้อนั้นคือการควบคุมการเผาไหม้ให้กับเครื่องยนต์ ซึ่งหากมีการอุดตันหรือมีสิ่งสกปรกเกาะเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้เครื่องยนต์มีอาการสั่นตามมาได้ นอกจากทำให้รถสั่นได้แล้วปัญหานี้ยังทำให้เกิดการเผาไหม้ที่มากขึ้นด้วยส่งผลให้เกิดปัญหารถกินน้ำมันได้อีกด้วย

  • 6. ชุดเพลามีปัญหา ขณะขับรถหากว่าได้ยินเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นพร้อมกับอาการรถสั่น โดยเฉพาะในเวลาเร่งเครื่องยนต์เพื่อทำความเร็ว หากรถของใครสั่นในลักษณะนี้ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเพลาของรถกำลังมีปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหานี้มักจะมาจากรถตกหลุมอย่างรุนแรง หรือเคยชนมาแล้ว นอกจากอาการเพลาคดแล้ว ชุดลูกปืนของเพลาที่หมดอายุการใช้งานก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดรถสั่นได้เช่นเดียวกัน

  • 7. มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมรอบเดินเบา ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการหลักที่จะทำให้รถสั่นได้ โดยเฉพาะเมื่อมอเตอร์ตัวนี้มีความสกปรก หรือมีการอุดตันเกิดขึ้น ส่งผลให้ยิ่งเร่งเครื่องรถยิ่งสั่น นอกจากนี้ก็ยังมีผลต่อการเดินรถที่ไม่ราบรื่น มีอาการสะดุด เร่งเครื่องได้ช้า ส่งผลให้การขับขี่รถยนต์เกิดปัญหานอกเหนือจากอาการรถสั่นได้

  • 8. ปัญหาจากยางรถ สำหรับปัจจัยสุดท้ายนี้ ต้องบอกเลยว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่ออาการรถสั่น เพราะเป็นปัญหาที่มาจากชุดยางของรถ เพราะยางทำหน้าที่สัมผัสโดยตรงกับพื้นถนนเมื่อยางเริ่มเสื่อมสภาพก็ย่อมส่งผลต่อการขับเคลื่อนของรถที่จะมีอาการรถสั่นเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้สาเหตุหลักที่มาจากยางก็เป็นเพราะ 3 กรณีดังนี้

    • ยางหมดอายุ : เป็นเรื่องปกติที่เมื่อใช้งานเป็นเวลานานยางรถก็เริ่มเสื่อมสภาพจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอันตราย รวมทั้งช่วยไม่ให้รถสั่น
    • ยางบวม : กรณีนี้ก็เป็นสาเหตุมาจากการหมดอายุใช้งานของตัวยาง แต่จะมีความรุนแรงมากกว่า เพราะยางบวมอาจส่งผลต่อการเกิดอันตรายได้มากกว่า
    • ยางมีการสึกไม่เท่ากัน : สำหรับกรณีนี้ปัญหาหลักอาจไม่ได้มาจากยางเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตรวจสอบด้วยว่าช่วงล่างของรถมีปัญหาในการทำงานหรือไม่

วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อมีอาการรถสั่น

ปัญหารถสั่นนั้นมักจะเกิดขึ้นในขณะที่ขับขี่ ซึ่งก็ทำให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้ลำบากขึ้น และยิ่งหากมีอาการตกใจตามมาด้วยแล้วยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายตามมาได้ ทั้งนี้เมื่อมีปัญหารถสั่นเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่ควรรีบทำทันทีเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามีดังนี้

  • ก่อนอื่นเลยเมื่อรถเริ่มมีอาการสั่นโดยเฉพาะเมื่อมีอาการสั่นค่อนข้างรุนแรง ให้รีบตั้งสติเอาไว้ก่อน อย่าตกใจ เพราะรถสั่นไม่ได้หมายความจะควบคุมรถไม่ได้ แต่หากยิ่งตกใจก็ยิ่งทำให้การควบคุมรถทำได้ยากขึ้นด้วย ฉะนั้นแล้วสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการตั้งสติเพื่อสังเกตอาการต่อไป
  • หลังจากตั้งสติได้แล้ว หากรถกำลังขับอยู่ด้วยความเร็วค่อนข้างสูง ให้ค่อย ๆ ผ่อนคันเร่งลดความเร็วลง รวมทั้งแตะเบรกเบา ๆ ให้รถวิ่งช้าลง เพราะเมื่อใดที่รถสั่นก็มักจะมีความสัมพันธ์กับการเร่งความเร็วด้วย เพื่อความปลอดภัยจึงควรลดความเร็วลงอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ควรรีบเหยียบเบรกกะทันหันเกินไป
  • เมื่อรถเริ่มช้าลงแล้วค่อย ๆ หมุนพวงมาลัยให้รถเคลื่อนไปทางซ้าย พยายามไปอย่างช้า ๆ อย่ารีบหักพวงมาลัยทันทีทันใดเพราะอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งอาการสั่นอาจจะส่งผลให้รถดับกลางคันได้ การค่อย ๆ ขับเข้าไปชิดซ้ายจะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายหากรถดับได้
  • เมื่อพบว่ารถมีอาการสั่น ให้ติดต่อช่างหรือศูนย์บริการเพื่อเข้ารับการตรวจเช็กสภาพรถ และหาจุดที่เป็นปัญหาเพื่อรับการซ่อมแซมแก้ไขไม่ให้เกิดรถสั่นในภายหลัง

เรียกได้ว่าอาการเครื่องยนต์สั่น หรืออาการรถสั่นเกิดจากหลายสาเหตุแต่ก็สามารถแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดอาการสั่นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการนำรถเข้าศูนย์บริการเมื่อครบกำหนดระยะ หรือเมื่อขับครบทุก 10,000 กิโล วิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอะไหล่เสื่อมสภาพจนส่งผลให้รถสั่นได้

นอกจากนี้ในทุก ๆ การขับขี่และการเดินทาง นอกจากจะต้องเอารถเข้าศูนย์เช็กสภาพอยู่เป็นประจำแล้ว การทำประกันภัยรถ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีดี ๆ ที่จะสร้างความมั่นใจในการใช้รถใช้ถนนได้มากขึ้น เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจากปัญหาความผิดปกติของตัวรถจนทำให้เกิดความเสียหาย อย่างน้อยก็ยังมีประกันที่คอยให้ความช่วยแหละ และให้คำแนะนำเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับเจ้าของรถได้ ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจทำประกันรถยนต์ก็ต้องพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่าและเงื่อนไขกันให้ละเอียดด้วย เพื่อจะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเมื่อต้องเรียกเคลมประกันนั่นเอง

อาการรถสั่น เคลมประกันรถยนต์ได้ไหม

อาการรถสั่น ที่เกิดขึ้นระหว่างการขับขี่มักเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาเครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง ยางรถยนต์ หรือระบบเบรก การเคลมประกันรถยนต์สำหรับอาการนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณมี และสาเหตุของปัญหา ดังนี้

1. ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. ไม่ครอบคลุมการซ่อมแซมอาการรถสั่น หรือปัญหาที่เกิดจากสภาพเครื่องยนต์หรือระบบของรถยนต์ เนื่องจาก พ.ร.บ. คุ้มครองเฉพาะความเสียหายทางร่างกายหรือชีวิตของบุคคลที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น.

2. ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

การเคลมประกันภาคสมัครใจสำหรับอาการรถสั่นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขในกรมธรรม์ ดังนี้

  • ประกันชั้น 1 : ประกันชั้น 1 ครอบคลุมอุบัติเหตุ ความเสียหายจากการชน การสูญหาย หรือไฟไหม้ แต่ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจาก การสึกหรอตามปกติ หรือปัญหาทางกลไก เช่น เครื่องยนต์สั่น เนื่องจากการใช้งานปกติ อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการรถสั่นเกิดจากอุบัติเหตุที่เคยเคลมประกันไปแล้วหรือจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการชนหรือการกระทำของบุคคลที่สาม เช่น รถชนหรือมีการกระแทกแรง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบช่วงล่างหรือเครื่องยนต์ ประกันอาจคุ้มครอง การซ่อมแซมส่วนที่เสียหายนี้ได้
  • ประกันชั้น 2+ และ 3+ : ประกันชั้น 2+ และ 3+ จะครอบคลุมเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการชนหรืออุบัติเหตุที่มีคู่กรณี แต่ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากการสึกหรอ หรืออาการรถสั่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปกติของรถ
  • ประกันชั้น 2 และชั้น 3 : จะคุ้มครองเฉพาะอาการรถสั่นเกิดจากอุบัติเหตุที่เคยเคลมประกันไปแล้วในรถคู่กรณี แต่จะไม่คุ้มครองความเสียหายใดๆ ต่อรถของคุณเอง

3. สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ

หากอาการรถสั่นเกิดจากอุบัติเหตุหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่สามารถเคลมประกันได้ เช่น การชนหรือการกระแทกที่ส่งผลต่อช่วงล่างหรือเครื่องยนต์ บริษัทประกันอาจพิจารณารับเคลมในการซ่อมแซมความเสียหายนี้ ภายใต้เงื่อนไขของกรมธรรม์ แต่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าสาเหตุเกิดจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลมที่ได้รับความคุ้มครอง

4. ปัญหาที่เกิดจากการสึกหรอ

หากอาการรถสั่นเกิดจากการ สึกหรอจากการใช้งานปกติ เช่น

  • ยางรถยนต์หมดสภาพ
  • โช้คอัพหรือระบบช่วงล่างเสื่อมสภาพ
  • เครื่องยนต์เสื่อมจากการใช้งานตามเวลา
  • ระบบไฟฟ้าในเครื่องยนต์ผิดปกติ

ปัญหาที่เกิดจากการสึกหรอนี้ จะไม่อยู่ในขอบเขตการคุ้มครองของประกัน เพราะการสึกหรอเป็นเรื่องปกติของการใช้งานที่เจ้าของรถต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

โดยรวมแล้ว ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะไม่ครอบคลุมอาการรถสั่นทุกกรณี ในขณะที่ ประกันภาคสมัครใจเฉพาะประกันรถยนต์ชั้น 1จะครอบคลุมก็ต่อเมื่ออาการรถสั่นเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลมที่อยู่ในความคุ้มครอง เช่น การชนหรือกระแทกอย่างรุนแรง แต่ถ้าหากอาการรถสั่นเกิดจากการ สึกหรอปกติ หรือปัญหาทางกลไกทั่วไป เช่น ระบบช่วงล่างหรือเครื่องยนต์ ประกันจะไม่คุ้มครอง การซ่อมแซม

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่อาการรถสั่นมีสาเหตุที่ไม่แน่ชัด คุณควรปรึกษากับอู่ซ่อมหรือช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบปัญหา และติดต่อบริษัทประกันเพื่อขอคำแนะนำว่ากรณีนี้สามารถเคลมได้หรือไม่

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา