ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร และจะมีวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง?
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?
จากบทความสุขภาพเรื่อง “โรคออฟฟิศซินโดรม” ในเว็บไซต์โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ได้กล่าวถึงความหมายของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ไว้ว่าเป็นภาวะที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือมีการใช้ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ในการทำงานเป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนไปส่งผลทำให้เกิดสิ่งผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบสายตา ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ที่ต้องแบกรับภาระหน้าที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ โดยโรคออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดขึ้นในคนวัยทำงานที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี ที่มีการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ แต่ในปัจจุบันนี้เริ่มพบเห็นในวัยรุ่นที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้สูงอายุที่มีการเล่นโทรศัพท์มือถือในระหว่างวันเป็นเวลานาน ๆ เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน จึงทำให้กลุ่มเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรม และโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) กระจายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในวัยทำงานอีกต่อไป
ออฟฟิศซินโดรม สาเหตุเกิดจากอะไร?
โรคออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากการที่กล้ามเนื้อในร่างกายของเราถูกใช้งานแค่มัดเดิม ๆ เท่านั้น โดยมีการใช้งานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกิดเป็นความผิดปกติต่อระบบในร่างกายของเรา เช่น กล้ามเนื้อเกิดการยึดเกร็ง และกล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นในเวลาต่อมา ซึ่งการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ก็มาจากการที่เราทำงานหรือทำกิจกรรมในท่าทางที่ผิดปกติ ไม่เหมาะสม และไม่มีการขยับหรือการเคลื่อนไหวเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นเราควรที่จะเปลี่ยนอิริยาบถหรือลุกขึ้นเดินไปมาทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย ไม่ยึดเกร็ง จนเกิดเป็นการเจ็บปวดหรือการอักเสบขึ้นมาได้ในอนาคต
ออฟฟิศซินโดรม อาการมีอะไรบ้าง?
สำหรับอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นจะสามารถแบ่งระดับการบาดเจ็บออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. อาการบาดเจ็บเริ่มต้น
ระดับความเจ็บปวดจะยังไม่รุนแรงมากนัก โดยจะมีแค่อาการปวดเมื่อยเนื้อตัว หากได้รับการยืดเหยียด การนวด หรือยืดเส้นยืดสายก็จะสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยเหล่านี้ได้
2. อาการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ในระหว่างที่ทำงาน
คือจะมีอาการปวดเมื่อยซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัยว่ากำลังเข้าสู่ระยะอันตราย ควรเข้าไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อขอรับคำปรึกษาและวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมเบื้องต้น
3. อาการเจ็บปวดที่เพิ่มมากขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในตอนที่ทำงานก็ยังเจ็บปวดอยู่ จนอาการเจ็บปวดเหล่านี้ไปกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แสดงว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมในระดับอาการขั้นรุนแรงที่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
และนอกจากนี้ยังสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มีอาการปวดหัวไมเกรน
- รู้สึกตาพร่ามัว ตาล้า ปวดตา ตาแห้ง
- มีปัญหาไหล่งุ้ม หลังงอ คอยื่น
- รู้สึกปวดบริเวณกระดูกคอ [อาจจะลามไปถึงหมอนรองกระดูกคอเสื่อม] บ่า ไหล่
- มีอาการมือชา ปวดข้อมือ จากการจับเมาส์ทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ จนไปทำให้มีปัญหาเอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท เกิดเป็นพังผืดทำให้ปวดปลายประสาทนิ้วได้
- มีอาการข้อมือล็อก นิ้วล็อก (trigger finger)
- ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
- รู้สึกปวดหลังจากท่านั่งทำงานที่ผิดปกติ (postural back pain)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกมีอาการอักเสบ (tennis elbow)
- มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
- มีอาการปวดตึงที่แขน ขา หรือมีเหน็บชาจากการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ เพราะเส้นเลือดดำถูกกดทับ จึงส่งผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติไป
ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม?
โรคออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาให้หายได้จากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น การนวดแผนไทย การฝังเข็ม การครอบแก้ว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาที่ดีที่สุดก็ควรจะเป็นการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ นั่นก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานให้เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมในระดับอันตรายหรือระดับรุนแรงแล้ว แบบนี้ก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาและวิธีการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งจะได้ให้แพทย์ช่วยวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อที่จะได้รักษาให้ตรงจุด ถูกวิธี และเหมาะสมกับในแต่ละบุคคลอีกด้วย
แนวทางในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
- ลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมา เช่น หลีกเลี่ยงการทำงานในท่าทางเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ หลีกเลี่ยงการท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง พยายามจัดโต๊ะทำงานให้หยิบใช้สิ่งต่าง ๆ ได้สะดวกสบาย ของที่ใช้บ่อยให้วางไว้ใกล้ตัว จะได้เอื้อมหยิบง่าย ไม่ต้องโน้มตัวเยอะ พยายามจัดตารางการทำงานที่เหมาะสมและสมดุล
- ลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อต่อหนัก ๆ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวของข้อต่อหนัก ๆ ไม่ว่าจะเป็น หัวไหล่ ข้อมือ ข้อศอก เป็นต้น หรือทำกายภาพบำบัด ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในกรณีที่ฉุกเฉิน เป็นต้น
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคออฟฟิศซินโดรมมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่น หรือแข็งแรงไม่พอ หากผู้ป่วยมีการออกกำลังกายและใช้กล้ามเนื้อบ่อย ๆ ก็จะทำให้มีความทนทานต่อการใช้งานกล้ามเนื้อที่ยาวนานมากขึ้นนั่นเอง
- ปรับท่าทางหรือสรีระในการทำงานให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง ท่ายืน หรือท่าเดิน เพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา
- ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวเรา เช่น จัดให้มีแสงไฟส่องสว่างที่เหมาะสม ปรับตำแหน่งโต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งทำงานให้สบาย หรือมีการปรับแสงสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้สบายตา เป็นต้น
- หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานในระหว่างวันให้ได้มีการผ่อนคลาย
เพราะฉะนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากว่าเราได้มีการวางแผนดูแลสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวไว้ล่วงหน้า ก็จะส่งผลดีต่อตัวเราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยที่ในระยะสั้นอาจจะวางแผนเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม ออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดจนเกินไป ใช้ชีวิตอย่างมีสติและไม่ประมาท ส่วนในระยะยาวก็อาจจะเป็นการเลือกทำประกันสุขภาพที่สามารถให้ความคุ้มครองและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น การลดหย่อนภาษี เนื่องจากว่าเบี้ยประกันนั้นสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และสำหรับในกรณีที่ทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปหรือเงินฝากแบบที่มีประกันชีวิต ก็จะสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท/ปี หรือการทำประกันสุขภาพร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็จะสามารถนำเบี้ยประกันไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 215,000 บาท/ปี และอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร เช่น เบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเบี้ยประกันของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 วิธี คือ แบบที่หนึ่งจะแบบเดียวกับกรมธรรม์ประกันชีวิตทั่วไป และแบบที่สองจะเป็นแบบที่นำเบี้ยประกันบำนาญที่เหลือไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนอื่น ๆ ทุกรายการลดหย่อนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน เป็นต้น
ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพกับทางแรบบิท แคร์ นั้นก็จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกัน ทั้งในกรณีที่เป็นประกันสุขภาพแบบระยะยาว (Long term care) ประกันโรคร้ายแรง (Critical illnesses) ประกันอุบัติเหตุที่ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ หรือการสูญเสียอวัยวะ รวมไปถึงประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โดยที่เรานั้นจะสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่หรือของตนเองมาขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งกฎเกณฑ์การลดหย่อนภาษีในแต่ละปีนั้นก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขอื่น ๆ ได้เสมอ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกทำประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ