Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Dec 07, 2023

รู้จักกับไมเกรน โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศ

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ไมเกรน คือหนึ่งในโรคยอดฮิตของไทย แล้วไมเกรนคืออะไร เกิดจากอะไร? แบบไหนถึงเรียกว่าเป็นไมเกรน? จะรักษาหายได้ไหม มีวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนบ้างรึเปล่า? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาคุณไปหาคำตอบกัน

ไมเกรนคืออะไร?

ไมเกรน (migraine) คือ ภาวะทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในระบบประสาทที่ส่วมเกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณของสมอง หรืออธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ มักจะเกิดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้
โดยโรคไมเกรนส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกิดกับคนที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ซึ่งนอกจากจะเป็นการรบกวนชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย โดยทั่วไป ไมเกรนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามอาการที่เกิดขึ้นก่อนหรือร่วมกับอาการปวดศีรษะคือ

1. ไมเกรนที่มีอาการเตือน

เป็นอาการเกิดไมเกรนที่มักจะมีอาการเตือนก่อนการเกิดอาการปวดหัวไมเกรน ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ เห็นแสงเป็นเส้นซิกแซก เห็นภาพมืดไป หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว อาการชาที่มือ แขน หรือชารอบปาก หรือมีอาการอ่อนแรงของแขนและขาซีกหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น โดยมักมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะประมาณ 10 – 30 นาที

2. ไมเกรนที่ไม่มีการเตือน

พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน

ไมเกรนเกิดจากอะไร? มีสาเหตุอะไรบ้าง?

สำหรับสาเหตุที่แน่นอนของไมเกรนยังไม่แน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาวะสึกเชิงจิต อาจมีปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท สารสื่อประสาท เส้นประสาท และหลอดเลือดที่สมอง โดยบางครั้งอาการไมเกรนอาจถูกกระตุ้นโดยปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • ปัจจัยด้านเพศ เพราะผู้หญิงมีโอกาสเป็นไมเกรนมากกว่าชาย เป็นได้ทั้งระยะเด็กหรืออายุทำงาน
  • ปัจจัยสภาวะทางจิตส่วนบุคคล เช่น ความเครียด ซึมเศร้า ความวิตกกังวล
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง ฝุ่นละออง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น อาหารที่มีกลิ่นหรือรสเข้ม ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เหล้า และอื่น ๆ

อาการไมเกรนมักมีอาการปวดศีรษะที่รุนแรงและเกิดขึ้นอย่างเฉียบขวาง บางครั้งอาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นที่จะประสบปัญหาในการทำกิจกรรมประจำวัน และอาจมีอาการอื่นพ่วงด้วย เช่น การคลิ่นไส้อาเจียน, อาหารไวต่อแสง

ไมเกรน อาการเป็นอย่างไร? แบบไหนถึงเรียกว่าปวดหัวไมเกรน

เบื้องต้น อาการของไมเกรนที่เราจะพบเห็นได้บ่อย มักจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวมักมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก บางรายปวดศีรษะแบบตุบ ๆ เป็นระยะหรือเป็นจังหวะ ซึ่งในทางการแพทย์ ไมเกรน อาการจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. Classic migrain

อาการมักเกิดในช่วงวัยรุ่น เมื่ออายุมากขึ้นอาการปวดศีรษะจะลดลงจนกระทั่งหายขาด แต่ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการนำมาก่อน เช่น เห็นแสงแลบ, ตามองไม่เห็น, ชาซีกใดซีกหนึ่ง

2. Common migrain

อาการแสดงมักเกิดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร ปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียก common migrain ไมเกรนเป็นโรครักษาไม่หายขาดแต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถทำให้ควบคุมโรคได้

โดยทั่วไปแล้ว อาการไมเกรนอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาตั้งแต่หลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน และอาจสลับกับระยะเวลาที่ไม่มีอาการ แต่จะหายได้เอง และเป็นแค่ครั้งคราว แต่หากคุณมีอาการไมเกรนแล้วกระทบต่อคุณภาพชีวิต หรือ ไมเกรนอาการที่รุนแรง เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง สับสน หรือมีการอาการผิดปกติของการพูดร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หากพบว่าเกิดอาการปวดที่ผิดปกติเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อเข้ารับรักษาที่ถูกต้อง

ทางสมาคมปวดศีรษะนานาชาติ (The International Headache Society : IHS) ได้มีการจัดอาการของโรคปวดหัวไมเกรนให้อยู่ในระดับปฐมภูมิ (Primary headache) ที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมอง ซึ่งทางผู้ป่วยจะต้องมีอาการปวดหัว 5 ครั้งขึ้นไป และจะต้องมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • มีอาการปวดหัวต่อเนื่องนาน 4 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน
  • ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ ที่ขมับข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
  • ปวดศีรษะเป็นระยะหรือเป็นจังหวะ
  • อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เป็นต้น
  • อาจมีอาการมองเห็นภาพเบลอ หรือเห็นแสงไฟวูบวาบเป็นเส้นขอบหยัก ก่อนที่จะปวดศีรษะประมาณ 10-30 นาที เรียกว่า อาการออร่า (Migraine Aura)
  • ปวดบริเวณเบ้าตา
  • ทนแสงสว่างจ้า หรือเสียงดังมากไม่ได้

ระยะอาการปวดหัวไมเกรน 4 ระยะ

  • ระยะบอกเหตุล่วงหน้า (Prodrome) มักจะมีอาการประมาณ 1-2 วันก่อนที่จะเป็นไมเกรน เช่น อาการปวดตึงตามต้นคอ หรือมีอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
  • อาการเตือนนำ (Aura) เป็นอาการมองเห็นภาพเบลอ หรือเห็นแสงไฟวูบวาบเป็นเส้นขอบหยัก ก่อนที่จะปวดศีรษะประมาณ 10-30 นาที แต่ในบางคนก็จะไม่เป็นในระยะนี้
  • อาการปวดศีรษะ (headache) เป็นระยะที่พบเจอในผู้ป่วยทุกคน คือจะมีอาการปวดหัวตุบ ๆ อย่างรุนแรงทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ และอาจจะเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ด้วย เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสงที่สว่างมาก เบื่ออาหาร หรือแพ้เสียงดังมาก ๆ เป็นต้น
  • ภาวะที่กลับเข้าสู่ปกติ (Postdrome) โดยตัวผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ สับสนได้ง่าย และไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นต้น

แนวทางการใช้ยารักษาโรคไมเกรน

1. กรณีที่ยังปวดหัวไม่รุนแรง

ให้กินยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวไปก่อน

2. กรณีที่เริ่มปวดหัวอย่างรุนแรง

ให้เลือกกินยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, naproxen เป็นต้น เพราะว่าออกฤทธิ์เร็ว สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป และควรรับประทานยาในกลุ่มนี้หลังอาหารทันที เพราะว่าอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้ และนอกจากนี้ยังมีตัวยาในกลุ่ม NSAIDs ที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้น้อยกว่าแบบแรก เช่น Etoricoxib, Celecoxib ที่สามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ควรหาซื้อยาในกลุ่มนี้กินเองก่อนที่แพทย์จะแนะนำว่าให้กินได้ เนื่องจากว่ายาในกลุ่มนี้มีผลต่อตับและไต จึงไม่ควรกินยาประเภทนี้เกิน 4-10 เม็ดต่อเดือน

3. กลุ่มยาแก้ปวดสำหรับโรคไมเกรนโดยเฉพาะ

ยากลุ่มทริปแทน (Triptan)

เช่น ยา eletriptan, ยา sumatriptan เป็นกลุ่มยาที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มยา NSAIDs ควรเว้นระยะในการกินยาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และไม่ควรกินต่อเนื่องเกินกว่า 10 เม็ดใน 1 เดือน โดยตัวยาในกลุ่มนี้จะมีการออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ช่วยทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัวลง เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแขนและขาควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก และควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids)

เช่น ยา Cafergot โดยยาในกลุ่มนี้มักจะมีผลข้างเคียงสูง คืออาจจะทำให้เกิดเส้นเลือดตึบได้ หรืออาจจะทำให้ขาหรือนิ้วนั้นมีสีดำ ดังนั้นจึงไม่ควรกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ

ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสุขภาพถือเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เรานั้นใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ หากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นการวางแผนดูแลในเรื่องของสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการเจ็บป่วยมักจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วยเสมอ เช่น ค่ารักษาพยาบาล หรือความเสี่ยงในการใช้ชีวิตในอนาคต เป็นต้น เพราะฉะนั้นการวางแผนเลือกทำ ประกันสุขภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทำเอาไว้รองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยทำให้คุณหมดกังวลเกี่ยวกับปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกด้วย ดังนั้น แรบบิท แคร์ จึงมีบริการซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ที่จะสามารถให้ความคุ้มครองในแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์คุณได้มากที่สุด อีกทั้งยังมีเบี้ยประกันที่ถูกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย ประกันสุขภาพรายเดือน ประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพแบบลดหย่อนภาษีได้ และประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย อีกทั้งยังมีบริการช่วยเปรียบเทียบแผนประกันที่หลากหลายจากบริษัทประกันสุขภาพชั้นนำทั่วประเทศ อาทิเช่น วิริยะประกันภัย เจนเนอราลี่ ไทยประกันชีวิต FWD LMG โตเกียวมารีนประกันชีวิต และ Aetna เป็นต้น อีกทั้งยังมีแผนประกันที่ครอบคลุมทั้งแบบบุคคลและแบบครอบครัวอีกด้วย เรียกได้ว่า ครบ จบ ในที่เดียว โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการสอบถามตัวแทนประกันสุขภาพในแต่ละบริษัทเองด้วย

ไมเกรนห้ามกินอะไรบ้างนะ?

แม้จะมีหลักการดูแลสุขภาพเพื่อลดอาการเกิดไมเกรน แต่ในทางกลับกัน ทางการแพทย์ชี้แจ้งว่า ไมเกรนไม่ได้มีรายการอาหารที่ต้องห้ามกินอย่างแน่นอนสำหรับทุกคนที่มีอาการนี้ แต่อาจมีบางอาหารที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ หรือเพิ่มอาการได้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน ทั้งนี้คุณควรสังเกตว่ามีการทานอาหารแบบใดแล้วเกิดอาการ หรือมีผลต่อการปวดหัวไมเกรน

ซึ่งเบื้องต้น อาหารที่อาจส่งผลต่ออาการไมเกรน ทางโรงพยาบาลยันฮีได้บอกไว้ว่า อาหาร เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อกโกแลต ไวน์แดง เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส กล้วยสุกงอม ถั่วบางชนิด สารที่ให้รสหวาน เช่น แอสปาแตม (Aspartame) สารกันบูด สารไนเตรด ซึ่งพบในอาหารพวก แฮม เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ

รวมไปถึง ยาและสารเคมีบางชนิด เช่น Histamine, Hydralazine, Nitroglycerine, Resepine เป็นต้น รวมทั้งยาแก้อักเสบ ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ซึ่งมักพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรนจำนวนมากมีการใช้ยาเหล่านี้เป็นประจำ

ถ้าคุณสงสัยว่าอาหารใดเป็นตัวกระตุ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการจัดการอาหารเพื่อลดอาการไมเกรนต่อไป

ปวดหัวไมเกรน วิธีแก้มีอะไรบ้าง?

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พยายามไม่เครียดจนเกินไป
  4. รับประทานยา หากมีอาการของโรคไมเกรน 4 ครั้งใน 1 เดือนขึ้นไป และการกินยาป้องกันโรคไมเกรนเป็นเวลา 6-12 เดือนขึ้นไป มักจะช่วยลดความถี่ของโรคไมเกรนได้มากถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
  • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า (Tricyclic antidepressants) โดยที่ยากลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการลดความถี่ของโรคไมเกรนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับ และยังสามารถลดอาการปวดของโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย เช่น ยา amitriptyline, ยา nortriptyline เป็นต้น
  • กลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) ยาในกลุ่มนี้ก็มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไมเกรนได้ดีเช่นเดียวกัน แต่ยากลุ่มนี้อาจจะมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง คือทำให้มึนงงและเกิดอาการชา เช่น ยา topiramate เป็นต้น
  • กลุ่มยาลดความดัน (Beta blocker) ส่วนยาในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไมเกรนได้น้อยกว่าใน 2 กลุ่มแรกประมาณ 25% แต่ยาในกลุ่มจะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงจะใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยนั่นเอง

5.การฉีดยาชาเข้าเส้นประสาทที่บริเวณท้ายทอย (occipital nerve block) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคไมเกรนที่ได้ผลดีสำหรับโรคไมเกรนชนิดเรื้อรัง อีกทั้งไม่มีผลข้างเคียงอีกด้วย ดังนั้นจึงจะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ทนต่อผลข้างเคียงในการรักษาโรคไมเกรนในแบบอื่น ๆ
6.การฉีดยา anti CGRP เพื่อยับยั้งการทำงานของ Calcitonin gene related peptide : CGRP โดยแพทย์จะฉีดให้เดือนละ 1 ครั้งทางใต้ผิวหนัง ซึ่งในประเทศไทยก็ได้มีการนำเข้ายา Aimovig ที่มีตัวยา anti CGRP และสามารถลดความเจ็บปวดจากโรคไมเกรนได้ถึง 50% อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงอีกด้วย แต่ราคาก็จะค่อนข้างสูงพอสมควร

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยไม่แพง เริ่มต้นแค่ 22 บาท/วัน
  • คุ้มครองค่ารักษาสูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครองสูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • ค่าพยาบาลพิเศษ คุ้มครองสูงสุด 1,000 บาท/วัน
  • ค่าทันตกรรม สูงสุด 1,000 บาท/ปี ไม่จำกัดครั้ง
  • OPD ค่ารักษาสูงสุด 1,500 บาท 30 ครั้ง/ปี
  • รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000 บาท
Delight Care ประกันสุขภาพเหมาจ่ายDelight Care

เหมาจ่าย

  • เบี้ยไม่แพง คุ้มครองครบ เริ่มต้น 53 บาท/วัน
  • ค่ารักษาเหมาจ่ายตามจริง สูงสุด 1.25 ล้าน
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • อายุ 1 เดือน - 60 ปี สมัครได้ง่าย ๆ
  • ตรวจพบมะเร็งลุกลาม รับเพิ่ม 1 เท่าต่อปี
  • คุ้มครองเสียชีวิต รับสูงสุด 150,000 บาท
  • รักษา รพ.ในเครือทั่วไทย ไม่ต้องสำรองจ่าย
AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • เบี้ยฯ ราคาเบาๆ เริ่มแค่ 575 บาท/เดือน
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 500,000 บาท
  • ค่ารักษา OPD คุ้มครองสูงสุด 30 ครั้ง
  • รับประกันภัยตั้งแต่อายุ 15 วัน - 75 ปี
  • รับคุ้มครอง 2 เท่า เมื่อพบ 6 โรคร้ายแรง
  • ค่ารักษา OPD คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
PRUHealthcare Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายPRUHealthcare Plus

เหมาจ่าย

  • คุ้มครองครบ จ่ายเบา ๆ เพียง 20 บาท/วัน
  • เจ็บป่วยอุ่นใจ ค่ารักษา คุ้มครอง 500,000 บาท
  • ค่าห้องสูงสุด 5,000 บาท/วัน นานสุด 365 วัน
  • อายุ 20-60 ปี สมัครง่าย ต่ออายุได้ถึง 64 ปี
  • มะเร็งทุกระยะ คุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท
  • คุ้มครองชีวิต สูงสุด 100,000 บาททุกกรณี
  • รักษา ICU คุ้มครอง 2 เท่า สูงสุด 10,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา