Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 16, 2024

โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS) คือโรคอะไร และเป็นอันตรายมากไหม?

สำหรับในปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าทุกคนมีสมาร์ตโฟน มีคอมพิวเตอร์ หรือมีแท็บเล็ตพกติดตัวตลอดเวลา เนื่องจากว่ามีการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นกว่าในอดีตเยอะมาก เพราะผู้คนส่วนใหญ่มักจะต้องใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์ในการทำงาน การเรียน การประกอบอาชีพ การค้าขาย การทำธุรกิจ การประชุม หรือการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ กันมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของดวงตาเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากอีกด้วยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาการตาล้า ตาแห้ง ตาพร่ามัว อีกทั้งยังมีอาการปวดกล้ามเนื้อใกล้เคียงร่วมด้วย เช่น อาการปวดคอ ปวดบ่า หรือปวดไหล่ เป็นต้น

โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือโรค cvs คืออะไร?

จากบทความสุขภาพเรื่อง “คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม โรคฮิตของคนติดจอ” ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้กล่าวถึงความหมายของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome : CVS) ว่าเป็นโรคที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือการจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ แบบไม่หยุดพัก โดยจะมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการใช้งานหรือระยะเวลาในการจ้องจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของดวงตา เช่น อาการตาแห้ง ปวดตา เคืองตา หรืออาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ร่วมด้วย และนอกจากนี้ในจอคอมพิวเตอร์ยังมีแสงสีฟ้า (Blue Light) ที่เป็นอันตรายต่อสายตาอีกด้วย เนื่องจากแสงสีฟ้านั้นเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง จึงอาจจะส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตา และทำให้เซลล์นั้นค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง จนทำให้เกิดเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ในที่สุด

เกี่ยวกับโรค CVS

โรค cvs อาการเป็นอย่างไร?

  • มีอาการทางตา เช่น ตาแห้ง ปวดตา เคืองตา แสบตา ตาโฟกัสได้ช้าลง ตาสู้แสงไม่ได้ ตาล้า ตาพร่ามัว หรือปวดกระบอกตา ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะส่งผลกระทบต่อค่าสายตาที่สั้นขึ้นอีกด้วย กล่าวคือ ยิ่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็จะทำให้ค่าสายตานั้นยิ่งสั้นลงมากขึ้นนั่นเอง
  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมนั้นส่วนมากจะไม่ส่งผลร้ายแรงในระยะยาว แต่อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือลดประสิทธิภาพในการทำงานได้ เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า หรือมีสมาธิน้อยลง เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมมีใครบ้าง?

  • พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกวัน
  • คนที่ทำงานด้านกราฟิก
  • นักเขียนออนไลน์
  • นักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์
  • คนที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค cvs มีอะไรบ้าง?

  • เมื่อเราจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะทำให้มีการใช้งานกล้ามเนื้อตาที่หนักขึ้น เพราะเป็นการใช้สายตาในระยะใกล้ถึงปานกลาง จึงส่งผลทำให้เกิดการกะพริบตาที่ลดลงด้วย ดังนั้นจึงก่อให้เกิดอาการตาแห้งร่วมกับอาการปวดกระบอกตาได้ง่าย ซึ่งถ้าหากไม่ดูแลรักษาให้ดีหรือมีใส่คอนแทกเลนส์นาน ๆ ควบคู่ไปด้วย ปัจจัยเหล่านี้ก็มักจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาขึ้นมาอีก เพราะถ้าหากว่ามีอาการตาแห้งมาก ๆ และปล่อยทิ้งไว้นานวันขึ้น ก็อาจจะทำให้กระจกตานั้นเกิดการถลอกและเกิดเป็นแผลขึ้นมา จนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและตาบอดในที่สุด
  • สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น แสงสว่างที่ไม่มากพอ ระยะห่างจากหน้าจอที่ไม่เหมาะสม ความคมชัดของหน้าจอที่ไม่เสถียร ความชื้นในห้อง การนั่งที่ไม่เหมาะสม หรือแสงสะท้อนจากหน้าจอที่มากจนเกินไป ที่จะต้องทำให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อตาที่เพิ่มมากขึ้น จนก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าดวงตา ปวดตา ตาพร่ามัว หรือตาแห้งมากขึ้นกว่าเดิม
  • จากงานวิจัยพบว่าการใช้สายตาไปกับจอนาน ๆ จะทำให้คนเรากะพริบน้อยลงกว่าปกติมากถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว จากปกติประมาณ 15 ครั้งต่อนาที จึงส่งผลทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื้นจากการกระพริบตา และระคายเคืองได้ง่ายมากกว่าปกติอีกด้วย
  • นอกจากในเรื่องของระยะเวลาในการใช้งานที่จะส่งผลต่อการเกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมแล้ว ในเรื่องของอายุก็มีส่วนด้วยเหมือนกัน เนื่องจากเลนส์แก้วตาของมนุษย์เรานั้นจะค่อย ๆ สูญเสียความยืดหยุ่นไปตามอายุ ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะทำให้ความสามารถในการโฟกัสภาพของดวงตานั้นถดถอยลงตามไปด้วย และตามมาด้วยการมีสายตาที่ยาวมากขึ้น และถ้าหากว่ามีปัญหาสายตาเอียงหรือสายตาสั้นมาก่อนหน้านี้แล้วไม่ยอมใส่แว่น ก็อาจจะก่อให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมตามมาได้มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน
  • แสงสีฟ้า (Blue Light) และรังสียูวีจากแสงแดด

การป้องกันโรค cvs มีอะไรบ้าง?

  • มีการพักสายตาในระหว่างที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา เช่น ทำงาน 20 นาที พักสายตา 20 วินาที หรือทำงาน 2 ชั่วโมง ให้หยุดพักประมาณ 15 นาที เป็นต้น
  • ควรหยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำ เพื่อช่วยลดอาการตาแห้งจากการกะพริบตาที่ลดลง
  • หากมีการใส่แว่นสายตา ก็ควรที่จะต้องมีการวัดค่าสายตาที่ถูกต้อง เพื่อให้เหมาะสมกับค่าสายตาให้ได้มากที่สุด
  • ควรปรับแสงสว่างในห้องทำงานให้เหมาะสม โดยไม่ควรให้มีแสงที่สว่างมากจนเกินไป เนื่องจากแสงสว่างที่มากจนเกินไปนั้นจะทำให้เรามีการใช้สายตาที่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะมีโคมไฟตั้งไว้ที่โต๊ะทำงาน โดยปรับให้มีความสว่างอยู่ในระดับเดียวกันกับจอคอมพิวเตอร์
  • ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 5-6 นิ้ว เพื่อลดอาการเมื่อยล้าและปวดคอจากการก้มเงยที่มากจนเกินไป
  • ควรตั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากระดับสายตาประมาณ 20-28 นิ้ว
  • ควรปรับระดับเก้าอี้ให้นั่งสบาย เท้าสามารถวางพื้นได้พอดี และเข่าตั้งฉากทำมุม 90 องศากับพื้น
  • เก้าอี้ควรมีพนักพิงที่เหมาะสม นั่งหลังตรง และนั่งสบาย
  • แป้นพิมพ์และเมาส์ควรวางอยู่ในระดับที่เท่ากับหรือต่ำกว่าข้อศอก เพื่อช่วยลดอาการเมื่อยล้าที่แขนได้
  • ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับพอดี และไม่จ้าจนเกินไป
  • ปรับสีของตัวอักษรและภาพพื้นหลังของจอคอมพิวเตอร์ให้สบายตา และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • ควรใช้แผ่นกรองแสงติดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยลดแสงสว่างและแสงสะท้อนจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เราจะได้มองจอได้แบบสบายตา และไม่เกิดอาการตาล้า
  • หากเริ่มมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาให้เร็วที่สุด โดยแพทย์จะประเมินจากปัจจัยเสี่ยงของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • พยายามกะพริบตาบ่อย ๆ เพื่อให้ดวงตานั้นชุ่มชื้นตลอดเวลา
  • หากใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ แนะนำให้เว้นช่วงถอดพักแล้วใส่แว่นตาแทนบ้าง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจ้องจอให้เหมาะสม และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดหรือจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม การวางแผนป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งการทำประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการเริ่มต้นวางแผนในตอนที่เรายังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ในตอนที่เกิดเจ็บป่วยกะทันหัน ดังนั้นการวางแผนเตรียมตัวไว้ก่อนจึงสามารถมั่นใจได้มากกว่านั่นเอง อีกทั้งยังช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองในยามที่คุณเจ็บป่วยได้อีกด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการมีสวัสดิการด้านสุขภาพทั่วไปจึงยังไม่สามารถครอบคลุมในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลได้อย่างเต็มที่เหมือนกับการทำประกันสุขภาพนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพสามารถลดภาระค่ารักษาพยาบาลได้ ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และประกันสุขภาพสามารถเคลมในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อยได้ เป็นต้น

ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ ก็มีบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่ใช่สำหรับคุณ โดยที่ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของทุกท่านจะปลอดภัยและมั่นใจได้โดยที่ไม่ต้องเป็นกังวลเลย โดยแรบบิท แคร์ นั้นมีทุกแผนประกันสุขภาพที่คุ้มครองครบ และตอบโจทย์ทุกความต้องการรวมอยู่ในที่นี่ที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD), ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) และประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illness Insurance) อีกทั้งลูกค้ายังสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Chiiwii ผ่านการวิดีโอคอลออนไลน์ได้อีกด้วย เพื่อเป็นการมอบความสะดวกสบายและความสบายใจให้กับลูกค้าอย่างเต็มที่ พร้อมบริการรับใบสั่งยาออนไลน์แล้วให้คุณไปรับยาได้เองที่ร้านเภสัชใกล้บ้าน หรือจะเลือกเป็นบริการจัดส่ง (มีค่าจัดส่ง) ให้ถึงที่บ้านก็ทำได้เช่นเดียวกัน โดยสามารถใช้บริการนี้ได้ที่ Rich menu ใน Line official account ของแรบบิท แคร์

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • เบี้ยประหยัด เริ่มต้นเพียง 575 บาท/เดือน
  • คุ้มครองเหมาจ่าย สูงสุด 500,000 บาท
  • คุ้มครอง OPD สูงสุด 30 ครั้ง/ปี
  • สมัครได้ทุกวัย ตั้งแต่อายุ 15 วัน - 75 ปี
  • คุ้มครอง 2 เท่า ตรวจพบ 6 โรคร้ายแรง
  • คุ้มครอง OPD สูงสุด 1,500 บาท/ครั้ง
  • ลดหย่อนภาษีคุ้มๆ สูงสุด 25,000 บาท
ยูนิเวอร์แซลพลัสยูนิเวอร์แซลพลัส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เริ่มต้นเบาๆ เพียง 19 บาท/วัน
  • วัยเกษียณก็สมัครได้ เบี้ยเริ่มต้นไม่แพง
  • เกิดอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท
  • ค่าผ่าตัด-หัตถการ คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท
  • นอนรพ. คุ้มครองค่าห้อง-ค่าอาหาร 8,000 บาท
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 2 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • บริการฉุกเฉิน 24 ชม. รถพยาบาลพร้อมดูแล
Health Lump SumHealth Lump Sum

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์รายได้ ชดเชยสูงสุด 500 บาท/วัน
  • แคร์ค่ารักษา เหมาจ่าย 5 แสนบาท/ปี
  • แคร์ค่ารักษา จ่ายตามจริง สูงสุด 75,000 บาท
  • 16-60 ปี สมัครง่าย ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • แคร์ค่าห้อง สูงสุด 365 วัน จ่ายตามจริง
  • แคร์อุบัติเหตุ คุ้มครองผู้ป่วยใน 150,000 บาท
  • ค่าตรวจ-รักษาอุบัติเหตุ 5,000 บาท/ครั้ง
ประกันเพิ่มเติมGEN Health D-Koom

ประกันเพิ่มเติม

  • เบี้ยไม่แพง เริ่มต้นที่ 18 บาท/วัน
  • เหมาจ่ายสูงสุด 1 ล้าน ไม่จำกัดวงเงิน/ครั้ง
  • คุ้มครองค่าห้อง 8,000 บาท/วัน ครอบคลุม BDMS
  • อายุ 6-65 ปี สมัครได้ ต่ออายุถึง 70 ปี
  • คุ้มครองหลายโรค รวมโรคร้าย โควิด-19
  • ไม่ต้องสำรองจ่าย รพ.เอกชนทั่วไทย
  • ลดหย่อนภาษี รับสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา