Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันมอเตอร์ไซค์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Motorbike Tax_mobile.jpg

ภาษีรถจักรยานยนต์สำคัญอย่างไร? ขาดนานแค่ไหนมีโทษยังไงบ้าง?

อย่างที่ทราบกันดีว่ายานพาหนะทุกชนิดที่ขับขี่กันอยู่บนท้องถนนทุกวันนี้ หากจะนำมาใช้งานให้ถูกกฎหมายจะต้องดำเนินการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์โดยสาร รถจักรยานยนต์ รถบรรทุกของ รวมไปถึงกระทั่งรถที่ใช้ทำงานการเกษตรก็จะต้องเสียภาษีเช่นกันเพียงแต่จะมีอัตราภาษี และวิธีคำนวณที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้เรื่องโทษปรับของการขาดต่อภาษีก็แตกต่างเช่นกัน โดยครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องเกี่ยวกับการภาษีรถจักรยานยนต์ สำหรับใครที่มีรถมอเตอร์ไซค์อยู่ในครอบครอง โดยเฉพาะเรื่องของการขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ว่าการขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 1 ปี, ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2 ปี และขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 3 ปี จะมีโทษแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ใช้อะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ภาษีรถจักรยานยนต์สำคัญอย่างไร?

ภาษีรถจักรยานยนต์ คือ การชำระภาษีสำหรับการครอบครองรถมอเตอร์ไซค์เพื่อให้รัฐนำเงินส่วนนี้ไปเป็นงบประมาณปรับปรุงการใช้รถใช้ถนนต่อไปเช่นเดียวกับการเสียภาษีประเภทอื่น ๆ ซึ่งหากขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ก็จะมีโทษ ดั้งนั้นควรจะเสียภาษีให้ถูกต้องในอัตรารถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท และรถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท รถพ่วงของรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล เพิ่มคันละ 50 บาท และรถพ่วงนอกเหนือจากนี้ เพิ่มอีกคันละ 100 บาท แต่ทั้งนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมมาอีกในการดำเนินการ คือ ค่าประกันพ.ร.บ.ที่มีแบ่งราคาไว้ตามความจุกระบอกสูบ เพราะก่อนจะมาต่อภาษีได้จะต้องมีใบกรรมธรรม์ของประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่ยังไม่หมดอายุมาเป็นเอกสารประกอบการเสียภาษี นอกจากนี้รถจักรยานยนต์ยังกำหนดให้เข้าตรวจสภาพทุก 5 ปีกับตรอ. ซึ่งมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 60 บาท และหากจะฝากต่อภาษีสำหรับรถจักรยานยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนก็สามารถทำได้โดยมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 120 บาท ซึ่งหลังจากชำระแล้วจะมีป้ายหลักฐานแสดงการชำระเงิน ให้เจ้าของรถนำมาติดในจุดที่มองเห็นได้ อย่าเก็บไว้ใต้เบาะ เพราะจะผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ที่ระบุว่ารถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับถึง 2,000 บาท นอกจากนี้ถ้าขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ก็จะมีโทษต่างกัน โดยเราจะพูดถึงขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ต่อกันเลย

โทษของการขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์

การชำระภาษีรถจักรยานยนต์จะต้องชำระทุกปีไม่ต่างกับภาษีประเภทอื่น ๆ แต่ถ้าหากว่าเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก กล่าวไว้ว่า อัตราโทษของการขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์จะถูกคิดค่าปรับในอัตรา 1% ของภาษีต่อเดือนที่รถคันนั้นต้องเสีย แม้ฟังแล้วจะดูเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากเพียงแค่หลักสิบบาท แต่กรณีใช้รถที่ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์แล้วถูกเรียกตรวจ จะมีโทษปรับถึง 20,000 บาท ซึ่งถือว่าไม่คุ้มกับความเสี่ยงในการเลี่ยงจ่ายภาษีที่มีอัตราไม่กี่ร้อยบาทต่อปีเลย

กรณีขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 1 ปี

เมื่อมอเตอร์ไซค์ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 1 ปีขึ้นไป จะถูกคิดค่าปรับเดือนละ 1% ของจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายจริง หมายความว่าขาด 1 ปี จะเสียค่าปรับขั้นต่ำประมาณ 120 บาท ถ้าหากต้องการต่อภาษีจะต้องชำระทั้งภาษีเต็มจำนวนบวกด้วยค่าปรับตามจำนวนเดือนที่ขาดไป

กรณีขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2 ปี

เมื่อมอเตอร์ไซค์ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 2 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 3 ปี ก็จะยังไม่มีโทษเพิ่มเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ค่าปรับก็จะเพิ่มเป็นเท่าตัวหนึ่งของการขาดต่อภาษี 1 ปี คือจะเสียค่าปรับขั้นต่ำประมาณ 240 บาท ซึ่งถ้าหากจะต่อภาษีก็สามารถดำเนินการได้เหมือนกับการต่อภาษีปกติ เพียงแต่ต้องจ่ายค่าปรับด้วยเท่านั้น

กรณีขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 3 ปี

หากว่ารถมอเตอร์ไซค์ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 3 ปี จะมีจดหมายแจ้งจอดส่งมาที่บ้าน ซึ่งแปลว่ารถคันนั้นจะถูกระงับทะเบียนแล้ว และ เจ้าของรถต้องนำสมุดคู่มือและแผ่นป้ายทะเบียนไปคืนสำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบว่านำรถมาใช้ขณะถูกเพิกถอนทะเบียน ป้ายทะเบียนจะถูกยึด และเสียค่าปรับทันที 10,000 บาท

ถ้าต้องการจะใช้งานมอเตอร์ไซค์คันนั้นต่อ หลังจากคืนป้ายทะเบียนเก่าแล้วก็ต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่ พร้อมกับชำระภาษี พ.ร.บ. และค่าปรับทั้งหมด โดยรถมอเตอร์ไซค์ที่ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ “หลังวันที่ค้างชำระเกิน” จะต้องชำระภาษีที่ค้างไว้ 3 ปี และต้องเสียค่าปรับ 20% ต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ที่ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ “ก่อนวันที่ค้างชำระเกิน” จะต้องชำระภาษีที่ค้างไว้ 3 ปี และต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ อีกทั้งยังต้องเข้าตรวจสภาพกับกรมขนส่ง และจะไม่สามารถใช้เลขทะเบียนเก่าได้อีกต่อไป ป้ายที่ออกใหม่จะเป็นหมวดอักษรและตัวเลขใหม่ทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท ค่าสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท ค่าป้ายทะเบียนรถใหม่ 100 บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพ 10 บาท รวมเป็น 325 บาท แม้จำนวนเงินดูไม่มากนัก แต่เสียเวลาและเสียประวัติอย่างแน่นอนเราจึงไม่ควรขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์เลยดีที่สุด

ไม่ต่อภาษีรถจักรยานยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป ป้ายทะเบียนของคุณจะถูกระงับการใช้งาน ซึ่งคุณจะต้องทำเรื่องจดทะเบียนใหม่เท่านั้น โดยต้องนำป้ายทะเบียนและเล่มทะเบียนรถไปคืนให้กรมขนส่งภายใน 30 วัน หากไม่ทำตามจะมีโทษปรับ 1,000 บาท อีกทั้งเมื่อขอทะเบียนใหม่ก็จะถูกปรับย้อนหลังเดือนละ 1% เช่นเดียวกับการไม่ต่อภาษีรถจักรยานยนต์เกิน 1 ปี

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ราคาเท่าไหร่?

หากเป็นรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลและขับขี่สาธารณะ ไม่ว่าคุณจะขับรถจักรยานยนต์รุ่นไหน แบรนด์อะไร รถจะเก่าหรือใหม่ เครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ขนาดไหน จะจ่ายเพียงแค่คันละ 100 บาทเท่ากันหมด แต่ถ้าเป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่มีการต่อพ่วงข้างจะต้องจ่ายเพิ่มอีก 50 บาท รวมเป็น 150 บาท

สรุปแล้วค่าต่อภาษีรถจักรยานยนต์มีราคาเพียงปีละ 100 บาทเท่านั้น เราขอแนะนำว่าอย่าขาดต่อภาษีเลยย่อมดีกว่า เพราะค่าปรับและการทำเรื่องของทะเบียนใหม่ย่อมยุ่งยากกว่าแน่นอน

วิธีต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ใช้อะไรบ้าง?

วิธีต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์สามารถทำได้หลายวิธีมาก ไม่ว่าจะขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์หรือไม่ก็ตาม แต่วิธีที่สะดวกสบายที่สุดในตอนนี้เห็นจะเป็นการต่อภาษีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีข้อกำหนดว่า รถจักรยานยนต์ที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องเป็นรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น รถที่ใช้ในราชการ รวมถึงต้องจดทะเบียนแล้วอย่างถูกต้องและทะเบียนไม่ได้ถูกอายัด กรณีที่ถึงกำหนดเข้าตรวจสภาพ หรือขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 1 ปีขึ้นไป จะต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ให้เรียบร้อยก่อนมาชำระภาษี และจะสามารถชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้ก็มีแค่ คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือ เล่มทะเบียน, พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองตรวจสภาพรถจากตรอ. (ถ้ามี)

ขั้นตอนการยื่นชำระภาษีรถจักรยานยนต์ออนไลน์ ผ่าน เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก


  1. ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน และ Log-in เข้าสู่ระบบ บนเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
  2. คลิกเมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
  3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ และยื่นชำระภาษี
  4. กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน
  5. เลือกช่องทางการชำระเงิน ดังนี้
    • หักบัญชีเงินฝาก โดบต้องมีบัญชีเงินฝากเพียงพอ และเป็นสมัครสมาชิกบริการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับธนาคาร หรือ สถาบันการเงินนั้น ๆ เอาไว้แล้ว
    • บัตรเครดิต / บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA หรือ Master Card โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ จะเป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร
    • เคาน์เตอร์เซอร์วิส / ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร หรือ สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

กรณียังไม่ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนวิธีชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” และหลังจากที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตรวจดูที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” เพื่อติดตามปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เอกสารไม่ถูกต้อง และใช้ติดตามการจัดส่งเอกสาร เช่น หมายเลข EMS ใบเสร็จรับเงิน และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี นอกจากระบบออนไลน์แล้ว ก็ยังมีช่องทางต่อภาษีอื่น ๆ อีกโดยเฉพาะกันรถที่ขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ หรือ สำหรับรถจักรยานยนต์ยนต์ที่ครบกำหนดเข้าตรวจสภาพสามารถยื่นต่อภาษีได้ที่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ และบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax) ที่มีบริการตรวจสภาพให้แบบครบวงจร ส่วนรถจักรยานยนต์ที่ไม่ต้องตรวจสภาพสามารถดำเนินการได้ที่ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ, จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ห้างสรรพสินค้าในโครงการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) ส่วนการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ใช้อะไรบ้าง คำตอบคือใช้เอกสารเหมือนกันกับการต่อทะเบียนออนไลน์ ยกเว้นกรณีขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 3 ปี ที่ต้องแจ้งจดทะเบียนใหม่

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ประจำปี 2566 ต่อได้ที่ไหนบ้าง?

คุณสามารถเลือกต่อภาษีรถประจำปี 2566 ได้หลายช่องทางดังนี้

  1. ต่อภาษีกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัดทั่วประเทศ หากอยู่ในเขตกรุงเทพจะมีสาขาให้เลือกใช้บริการ 5 แห่ง ซึ่งต้องดีของการต่อที่ขนส่งคือสามารถเลือกตรวจสภาพรถ เลือกจ่ายเงินภาษีตกค้าง พร้อมต่อภาษีจักรยานยนต์รอบใหม่ได้ไปในตัว
  2. ใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ซึ่งเป็นช่องทางให้คุณขับรถเข้าไปช่องต่อภาษีได้โดยตรงซึ่งคุณไม่ต้องลงจากรถ ง่าย สะดวก และรวดเร็ว โดยสามารถต่อภาษีประเภทนี้ได้ที่ สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯ เขต 1-5 และสำนักงานขนส่ง
  3. ที่ทำการไปรษณีย์ ทำเรื่องได้เฉพาะรถที่ไม่ต้องตรวจสภาพเท่านั้น (รถจดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี)
  4. ต่อภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่ง eservice.dlt.go.th
  5. ต่อภาษีออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีรถจักรยานยนต์?

  • การต่อภาษีรถจักรยานยนต์ทุกครั้งจะต้องต่อในปีที่หมดอายุ โดยสามารถต่อล่วงหน้าได้ 90 วัน
  • หากต่อภาษีช้าไปเพียง 1 วันก็นับว่าเป็นการขาดต่อภาษี ต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% และหากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ขึ้นไปจะถูกยกเลิกทะเบียน
  • รถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี ขึ้นไปนับตั้งแต่จดทะเบียนครั้งแรก จะต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี
  • หากไม่ต่อ พ.ร.บ. หรือขาดต่อ จะไม่สามารถต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการต่อภาษีรถจักรยานยนต์นั้นเป็นเรื่องสำคัญ หากขาดต่อไปแล้วจะเกิดผลเสียหายประการ นอกจากนี้สิ่งที่นักขับต้องคำนึงถึงและห้ามลืมต่ออีกเด็ดขาดเช่นกันคือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และประกันรถจักรยานยนต์ เพราะจะช่วยสร้างความอุ่นใจเมื่อคุณขับขี่บนท้องถนน โดยแรบบิท แคร์ เป็นโบรกเกอร์ ประกันภัยที่พร้อมดูแลคุณในทุกด้าน และช่วยคุณเปรียบเทียบประกันรถจักรยานยนต์ที่ตรงใจ ปรึกษาเราได้วันนี้ ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์ 1438

ความคุ้มครองและผลประโยชน์

ตารางความคุ้มครอง        
 
ผลประโยชน์ 
ประกันรถมอเตอร์ไซค์ ชั้น 1ประกันรถมอเตอร์ไซค์ ชั้น 2+ประกันรถมอเตอร์ไซค์ ชั้น 2ประกันรถมอเตอร์ไซค์ ชั้น 3+ประกันรถมอเตอร์ไซค์ ชั้น 3
คู่กรณี
บุคคล ✔️✔️✔️✔️✔️
ทรัพย์สินของคู่กรณี✔️✔️✔️✔️✔️
รถของผู้เอาประกันภัย
การชนแบบมีคู่กรณี✔️✔️✔️
การชนแบบไม่มีคู่กรณี✔️
ไฟไหม้✔️✔️✔️
รถหาย✔️✔️✔️
ภัยธรรมชาติ✔️✔️✔️
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง✔️✔️
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล
อุบัติเหตุส่วนบุคคล✔️✔️✔️✔️✔️
การรักษาพยาบาล✔️✔️✔️✔️✔️
การประกันตัวผู้ขับขี่✔️✔️✔️✔️✔️

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา