Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

ทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ที่ แรบบิท แคร์

ถูกกว่าซื้อตรงแน่นอน !

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ซื้อประกันรถกับแรบบิท แคร์ แคร์คุณเรื่องอะไรบ้าง

การันตีราคาคุ้มค่า

ข้อเสนอจากบริษัทชั้นนำ

สิทธิประโยชน์เฉพาะจากแรบบิท แคร์

ซื้อประกันกับเราง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน

ขั้นตอน 1 เปรียบเทียบ & เลือก

เปรียบเทียบประกันภัยจากบริษัทชั้นนำ และเลือกกรมธรรม์ที่ดีที่สุด ตามความต้องการ

ขั้นตอน 2 จ่ายเงิน

ระบุข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้า และชำระเงิน

ขั้นตอน 3 รอรับกรมธรรม์

คุ้มครองทันทีเมื่อรับกรมธรรม์

พรบ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ เงื่อนไขอย่างไร

พรบ.รถจักรยานยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถทุกคัน ต้องมีการต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ทุก ๆ 1 ปีตามอายุ ซึ่งปัจจุบันวิธีการต่ออายุพรบ.รถจักรยานยนต์ถือว่าง่ายขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะสามารถทำได้ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ หรือต่อที่ตัวแทนทั่วไปที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นเพื่อให้เจ้าของรถจักรยานยนต์ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพรบ.รถจักรยานยนต์โดยละเอียด แรบบิท แคร์ จึงได้สรุปเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้อง มาให้อ่านกันแบบที่ครบถ้วนภายในความของเรา

พรบ.รถจักรยานยนต์ ราคาเท่าไหร่

พรบ.รถจักรยานยนต์ จะแบ่งแยกราคาตามประเภทการใช้งานรถ 2 ประเภท คือ รถส่วนบุคคลกับรถเช่า รถรับจ้าง รถสาธารณะ ส่วนรายละเอียดเรื่องราคาของการต่อพรบรถจักรยานยนต์จะมีดังนี้


1.) รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ กี่บาท


  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. : 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. : 323.14 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. : 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป : 645.21 บาท
  • รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า : 323.14 บาท


2.) รถเช่า รถรับจ้าง รถสาธารณะ ต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ กี่บาท


  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. : 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. : 376.64 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. : 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป : 645.21 บาท

พรบ.รถจักรยานยนต์ เบิกอะไรได้บ้าง

พรบ.รถจักรยานยนต์ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด 2 รายการหลัก คือ ค่าเสียหายเบื้องต้น แบบยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด และ ค่าสินไหมทดแทนกรณีที่เป็นฝ่ายถูกโดยรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับค่าชดเชยทั้งสองจะมีดังนี้


1.) ค่าเสียหายเบื้องต้น แบบยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล พรบ รถจักรยานยนต์ได้ดังนี้


  • กรณีได้รับบาดเจ็บ จะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
  • กรณีที่เข้าข่ายทั้ง 2 ข้อด้านบน จะได้รับเงินชดเชย ไม่เกิน 65,000 บาท/คน


2.) ค่าสินไหมทดแทนกรณีที่เป็นฝ่ายถูก พรบ.รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง


  • ค่าสินไหมทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง จะได้รับค่าชดเชย ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท/คน
  • กรณีเกิดอุบัติเหตุทำให้เสียอวัยวะบางส่วน เช่น นิ้วขาด 1 ข้อ เป็นต้นไป จะได้รับเงินชดเชย จำนวน 200,000 บาท, สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน จะได้รับเงินชดเชยจำนวน 250,000 บาท และสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน จะได้รับเงินชดเชย จำนวน 300,000 บาท
  • กรณีที่ต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล จะได้รับค่าชดเชย จำนวน 200 บาท/วัน (สูงสุด 20 วัน)

เช็ค พรบ รถจักรยานยนต์ หมดอายุ

วิธีการตรวจสอบว่าพรบ.รถจักรยานยนต์ของเราหมดอายุเมื่อไหร่ สามารถทำได้ทั้งหมด 2 วิธี คือ การเช็ค พรบ หมดอายุ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ และวิธีการเช็กผ่านเว็บไซต์ ซึ่งวิธีการเบื้องต้นนั้นก็ง่ายมาก เพียงแค่ทำตามวิธีการที่เหมาะสมกับคุณดังต่อไปนี้

• เช็ค พรบ หมดอายุ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์

ตรวจสอบพรบ.รถจักรยานยนต์หมดอายุ สำหรับคนที่ ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์รถจักรยานยนต์ คือ การเช็กผ่านไลน์ @irvp ได้โดยตรง ซึ่งเป็นไลน์ออฟฟิเชียลของทาง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หากใครซื้อโดยตรงผ่านช่องทางนี้ก็สามารถเลือกได้เลย

• เช็ค พรบ.รถจักรยานยนต์ ผ่านเว็บไซต์

วิธีนี้ตรวจสอบพรบ.รถจักรยานยนต์หมดอายุ ผ่านเว็บไซต์ก็ทำคล้ายคลึงกัน แต่เหมาะกับผู้ที่ต่อพรบรถจักรยานยนต์กับคนกลาง หรือตัวแทน โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.rvp.co.th คลิกเมนู ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ ไปที่ พรบ.รถจักรยานยนต์ ของฉัน สามารถเข้าดูรายละเอียดทั้งหมดได้ตามต้องการ

ส่วนใครที่ทำการ ต่อพรบรถจักรยานยนต์ด้วยตัวเองตั้งแต่แรกเริ่ม สามารถตรวจเช็กอายุความคุ้มครองได้จากเล่มกรมธรรม์ของ พรบ.รถจักรยานยนต์ ได้ด้วยตัวเอง และสามารถดำเนินการต่อได้ตามเวลาปกติ

ต่อพรบรถจักรยานยนต์ทำอย่างไร

วิธีการต่อพรบรถจักรยานยนต์ สามารถทำได้ทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน คือ ต่อพรบรถจักรยานยนต์ตอนต่อภาษีออนไลน์, ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ ผ่านเว็บไซต์บริษัทประกันภัย, ใช้บริการต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส และ ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ ผ่านเว็บตัวแทนจำหน่ายทั่วไป สะดวกวิธีการไหน ก็สามารถเลือกใช้บริการต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ ออนไลน์ได้เลยทันที

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

การต่อพรบ.รถจักรยานยนต์ที่นอกเหนือจากการ ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์แล้ว เรายังสามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่กรมขนส่งทางบกในแต่ละพื้นที่ หรือจะใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Shop Thru for Tax ก็ได้เช่นเดียวกัน และบางพื้นที่ยังมี ตรอ. ที่สามารถตรวจสอบสภาพรถ พร้อมจัดการเรื่องพรบ.รถจักรยานยนต์ รวมถึงช่วยต่อภาษีให้เสร็จสรรพภายในที่เดียวได้อีกต่างหาก

พรบ รถจักรยานยนต์ ขาดได้กี่วัน

พรบ.รถจักรยานยนต์ สามารถขาดได้ไม่เกิน 30 วัน หรือพรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 1 เดือน ในช่วงระยะเวลานี้เรายังสามารถจัดการต่อพรบได้โดยไม่เสียค่าปรับ ไม่ว่าจะดำเนินการต่อด้วยตนเอง หรือ ซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์ก็ตาม เพียงแต่จะเสียภาษีเพิ่มเติมเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนพรบ รถจักรยานยนต์ ขาด ปรับเท่าไหร่ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาพรบ.รถจักรยานยนต์ ขาด โดยมีค่าปรับเพิ่มเติมดังหัวข้อด้านล่าง

พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดนานเท่าไหร่ถึงจะโดนค่าปรับ

• พรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 3 เดือน

ถ้า พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาด นานถึง 3 เดือน จะต้องจ่ายค่าปรับ พรบ.รถจักรยานยนต์ เดือนละ 1% เช่น ค่าต่ออยู่ที่ 430 บาท 1% ของค่าต่อจะเท่ากับ 4.3 บาท ขาด 3 เดือน ค่าปรับเท่ากับ 12.9 บาท

• พรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 6 เดือน

พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดนาน 6 เดือน ต้องเสีย 1% จากค่าพรบ เช่น ค่าต่อ 430 บาท เท่ากับเดือนละ 4.3 บาท ขาด 6 เดือนต้องจ่ายค่าปรับทั้งหมด 25.8 บาท

• พรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 1 ปี

พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดนาน 1 ปี ต้องเสีย 1% จากค่าพรบ เช่น ค่าต่อ 430 บาท เท่ากับเดือนละ 4.3 บาท ขาด 12 เดือนต้องจ่ายค่าปรับทั้งหมด 51.6 บาท

• พรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 2 ปี

กรณีที่ พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดนานถึง 2 ปี จะไม่สามารถต่อได้ทันที ต้องมีการยื่นเรื่องขอทะเบียนใหม่ ต้องนำรถไปตรวจสภาพ เหมือนขั้นตอนออกรถใหม่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเพิ่มเติมมากทีเดียว

• พรบ รถจักรยานยนต์ ขาด 3 ปี

ส่วนการที่ปล่อยให้ พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดนาน 3 ปีจะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันกับช่วงที่ขาดไป 2 ปี ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน

หมายเหตุเพิ่มเติม หากนำรถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พรบ.รถจักรยานยนต์ หรือ พรบ.รถจักรยานยนต์ หมดอายุไปใช้งาน เมื่อถูกเรียกตรวจสอบเจ้าหน้าที่สามารถปรับได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทตามที่กฎหมายกำหนด ฉะนั้นการอยู่ในยุคที่สามารถต่อ พรบ มอเตอร์ไซค์ ออนไลน์ได้ง่าย ๆ แนะนำว่าควรรีบจัดการโดยเร็ว

รวมเอกสารต่อ พรบ รถจักรยานยนต์

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • ใบตรวจสภาพรถจาก ตรอ. (กรณีรถอายุ 7 ปีขึ้นไป)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ พรบ.รถจักรยานยนต์

• พรบ.รถจักรยานยนต์ เบิกค่าซ่อมรถได้ไหม

พรบ.รถจักรยานยนต์ ไม่สามารถเบิกค่าซ่อมรถได้ จะเบิกได้เพียงแค่ค่ารักษาพยาบาล กับเงินชดเชยตามกรณีที่คุ้มครองเท่านั้น หากต้องการเบิกค่าซ่อมรถ ต้องเลือกทำประกันรถจักรยานยนต์เพิ่มเติมเอาเอง

• ไม่มีใบขับขี่ พรบ จ่ายไหม รถจักรยานยนต์

กรณีไม่มีใบขับขี่ยังสามารถเบิกค่าชดเชยจาก พรบ.รถจักรยานยนต์ ได้ แต่ทั้งนี้ตัว พรบ. ต้องไม่หมดอายุด้วย

• พรบ.รถจักรยานยนต์ เบิกอะไรได้บ้างมีคู่กรณี

หากมีคู่กรณี เราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้สูงสุด 30,000 บาทต่อคน แต่ถ้าหากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือเสียอวัยวะ เบิกได้ 35,000 บาท/คน ถ้าเข้าข่ายทั้ง 2 จะเบิกได้ 65,000 บาท/คน แต่ถ้าพิสูจน์ว่าเราเป็นฝ่ายถูก จะเบิกค่าใช้จ่ายได้สูงขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็น 80,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิตหรือเสียอวัยวะเบิกได้ 300,000 บาท เป็นต้น

• เบิก พรบ รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน

เบิกได้ที่ บริษัท ประกันภัย และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

• พรบ.รถจักรยานยนต์ กรณีเสียชีวิต

พรบ.รถจักรยานยนต์ กรณีเสียชีวิตเบื้องต้นเบิกได้ 35,000 บาท/คน แต่ถ้าหากเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าชดเชย 300,000 บาท

• พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาด ประกันจ่ายไหม

พรบ.รถจักรยานยนต์ ขาดหรือหมดอายุ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราจะไม่ได้รับค่าชดเชยใด ๆ เลยแม้แต่อย่างเดียว

• ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ ไม่มีเล่ม

กรณีไม่มีเล่มทะเบียน ยังสามารถจัดการต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ ได้ แต่ต้องมีเอกสาร สำเนาทะเบียนรถ และบัตรประชาชนไปยื่นด้วยตนเอง

• ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ ไม่มีเล่ม ไม่มีสำเนา

ส่วนกรณีที่ไม่มีเล่มทะเบียน และไม่มีสำเนา การต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์ ยังสามารถทำได้ แต่ต้องนำรถจักรยานยนต์ไปให้เจ้าหน้าที่ขูดเลขตัวถัง เพื่อเป็นการยืนยันรถคันที่เอาประกันภัย

• ต่อ พร บ แต่ ไม่ต่อภาษี ได้ไหม

เมื่อต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์เรียบร้อยแล้ว มีความจำเป็นต้องต่อภาษีรถด้วย ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นการใช้รถอย่างผิดกฎหมาย หากถูกเรียกตรวจสอบมีสิทธิ์โดนค่าปรับสูงถึง 10,000 บาท และเวลาไปต่อภาษีอาจถูกค่าปรับเพิ่มเติมอีก

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ถือเป็นประกันพื้นฐานที่กฎหมายกำหนดให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องต่อทุกปี ถ้าขาดไปและนำไปใช้งานมีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นการซื้อ พรบ ออนไลน์ รถจักรยานยนต์สะดวกสบายขาดนี้แล้ว แนะนำว่าควร ต่อพรบรถจักรยานยนต์ให้เรียบร้อย เมื่อรับรู้ว่าใกล้หมดอายุ ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ พร้อมให้บริการที่ครบครัน ตั้งแต่เรื่อง พรบ. ไปจนถึงประกันรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่เบอร์ 1438 (24 ชม.)

รีวิวจากลูกค้าที่ซื้อประกันรถจักรยานยนต์ของเรา

คุณปราง
ฮอนด้า PCX , ประกันชั้น 3+

เพิ่งลองซื้อแบบออนไลน์ครั้งแรก สะดวกและซื้อง่ายมากค่ะ ไม่นึกว่ามอเตอร์ไซค์จะมีประกันให้เลือกเยอะขนาดนี้ เจ้าหน้าที่ก็ติดต่อเร็วมาก เป็นกันเองแนะนำดีค่ะ

4.7

★ ★ ★ ★ ★
คุณโบ้ท
ฮอนด้า คลิก, ประกันชั้น 2+

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมประสบอุบัติเหตุกับรถมอเตอร์ไซค์ของผม ก็ได้เอเชียประกันภัยนี่แหละที่เข้ามาช่วยซ่อมรถของผม ผมรู้สึกดีใจมากที่ตัดสินใจทำประกันกับที่นี่เมื่อเดือนที่ผ่านมา ขอบคุณแรบบิทที่ช่วยแนะนำประกันภัยให้ผมครับ

5

★ ★ ★ ★ ★
คุณพีท
ฮอนด้า ฟีโน่, ประกันชั้น 2+

ผมได้รับข้อเสนอจากเอเชียประกันภัยในราคาที่ถูกมากกับแรบบิท ทีแรกผมไปที่สาขาแต่มาพบว่าราคาเบี้ยประกันของแรบบิทไฟแนนซ์นั้นถูกกว่ามาก ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงมีข้อเสนอที่ประหยัดกว่า แต่มันทำให้เราได้ความคุ้มครองเท่าเดิมในราคาประหยัดกว่า แถมบริการก็ดี

4.72

★ ★ ★ ★ ★

คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ แตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ อย่างไร?

ความเหมือนของ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ เป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมาย หากไม่ทำจะถือว่ามีความผิด และจะให้วงเงินที่จำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ทันท่วงที และหากไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถ ส่งผลให้ถูกปรับหรือโดนระงับป้ายทะเบียนได้!

 

ส่วนความแตกต่างคือ ทั้งสอง พ.ร.บ. แบ่งความคุ้มครองตามประเภทยานพาหนะ อย่าง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ก็จะคุ้มครองรถจักรยานยนต์ที่ทำ พ.ร.บ. เท่านั้น และอาจแตกต่างกันในแง่วงเงิน เนื่องจากทั้งสองเป็นยานพาหนะที่แตกต่างกันนั่นเอง

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครองเหมือนประกันรถมอเตอร์ไซค์หรือไม่?

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะเน้นคุ้มครองอุบัติเหตุ และค่าเสียหายต่าง ๆ เบื้องต้น เช่น รถล้มเพราะถนนลื่น, ขับรถไปชนเสาจนได้รับบาดเจ็บ หรือกรณีที่รถชนกันจะให้ความคุ้มครองค่าเสียหายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยเท่านั้น แต่จะไม่คุ้มครองในส่วนของการซ่อมแซมรถมอเตอร์ไซค์

 

ซึ่งถ้าต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมและครอบคลุมถึงเรื่องค่าซ่อมแซมรถจักรยานยนต์ มอไซค์ถูกขโมย หรือถูกไฟไหม้ โดนน้ำท่วม ก็สามารถทำประกันรถจักรยานยนต์เสริมได้

ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ได้ความคุ้มครองเท่าเทียมซื้อ พ.ร.บ. ปกติหรือไม่?

แม้ว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ที่ซื้อจะมาจากการซื้อผ่านออนไลน์ แต่ความคุ้มครองเทียบเท่ากันไม่แตกต่างจากการซื้อ พ.ร.บ. แบบปกติ โดยคุณสามารถซื้อหรือต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ได้เองจากที่บ้าน ลดความยุ่งยาก สะดวกสบาย แถมยังสามารถต่อภาษีได้เลยด้วย หมดปัญหากับการลืม ต่อ พ.ร.บ. หรือต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์แน่นอน!

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์สำคัญอย่างไร?

สำหรับคนที่ใช้งานรถจักรยานยนต์ สิ่งที่ต้องเผชิญก็คือความเสี่ยงต่าง ๆ บนท้องถนน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางร่างกายและทรัพย์สินตามมา ด้วยเหตุนี้ ทางกฎหมายจึงได้กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ต้องทำประกันรถจักรยานยนต์ภาคบังคับเพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงในเบื้องต้น

 

พ.ร.บ รถจักรยานยนต์ หรือประกันรถจักรยานยนต์ภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำประกันภัยนี้เอาไว้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยหากได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล

ต่อ พ.ร.บ. จักรยานยนต์ แต่ไม่ใช้ชื่อตัวเอง ต้องทำอย่างไร?

ถ้าคุณเป็นเจ้าของมอเตอร์ไซค์แต่กลับไม่ว่างไปต่อ พ.ร.บ. แบบนี้สามารถหาคนไปต่อแทนได้หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ชื่อไม่ตรงกับใบขับขี่ ทางเจ้าหน้าที่จะทำเรื่องให้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถทำได้ โดยแนะนำให้เตรียมการตามแนวทางดังต่อไปนี้

 

  • สมุดรายการจดทะเบียนรถ/สำเนา เอกสารใบนี้จะเป็นตัวระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นเลขเครื่อง ชื่อเจ้าของมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเอกสารนี้ถือเป็นเอกสารสำคัญ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะขอดูข้อมูลส่วนนี้
     
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ในกรณีที่มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปีขึ้นไป เราจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพมอเตอร์ไซค์ของเราว่ามีสมรรถนะที่ดี ใช้งานได้ตามปกติอยู่หรือไม่ โดยคุณสามารถขอเอกสารตรวจสอบได้ที่ กรมขนส่งทางบก หรือ สถานตรวจสภาพเอกชน (ตรอ.)

 

กล่าวคือ บุคคลอื่นสามารถไปต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ให้คุณได้ ทั้งที่ชื่อไม่ตรงกับเอกสารยื่นต่อ พ.ร.บ. เพียงแค่มีหลักฐานดังกล่าว ปัจจุบันนี้ก็มีบริการรับจ้างต่อ พ.ร.บ. หรือแม้กระทั่งต่อพ.ร.บ. ออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกออกไปดำเนินการเองอีกด้วย

จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ต่อ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์?

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถประจำปี หากไม่ทำ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้นกรมการขนส่งจะไม่รับจดหรือต่อภาษีให้อีกด้วย

 

ส่วนใครที่ทะเบียนขาดต่อภาษี หรือการต่อทะเบียนล่าช้า จะมีอัตราค่าปรับจะอยู่ที่ ร้อยละ 1% ของค่าภาษีมอเตอร์ไซค์ต่อเดือน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา