มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างคืออะไร และผิดกฎหมายไหม ?
รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างหรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันจนคุ้นหูว่า “รถซาเล้ง” ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะใช้เป็นยานพาหนะในชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกัน เพราะนอกจากมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างนั้นจะมีราคาที่ไม่แพง สามารถบรรทุกของและบรรทุกคนได้แล้ว ก็ยังมีไว้สำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวันทั่วไปได้ด้วย อีกทั้งในเรื่องขนาดของมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป จึงทำให้ขับขี่คล่องตัว และไปได้ในทุกสภาพพื้นถนน มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างจึงเป็นที่นิยมและตอบโจทย์การใช้งานของคนในต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี
มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างคืออะไร?
ซึ่งพระราชบัญญัติรถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ได้มีระบุไว้ว่า “รถที่จดทะเบียนแล้วนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ได้ นอกจากจะมีการนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพดูก่อนเท่านั้น เพราะนายทะเบียนจะสามารถสั่งการ แก้ไข และตรวจเช็กสภาพรถได้ตามที่เห็นสมควร”
มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง ผิดกฎหมายไหม?
มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง จดทะเบียนได้ไหม?
มอเตอร์ไซค์พ่วงข้างถูกกฎหมาย จะต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร?
- จะต้องเป็นมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) ที่มีขนาดถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ สูงไม่เกิน 2 เมตร กว้างไม่เกิน 1.50 เมตร และยาวไม่เกิน 1.75 เมตร ดังนั้นในกรณีที่เป็นการพ่วงข้างมอเตอร์ไซค์ มีหลังคาด้วย ก็ไม่ควรที่จะทำหลังคาให้สูงเกินกว่าค่าที่กำหนด นั่นก็คือ 2 เมตรนั่นเอง
- มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) จะต้องมีการตรวจเช็กสภาพรถกับทางสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางกรมการขนส่งทางบกก่อน
- มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) จะต้องมีการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถมอเตอร์ไซค์อย่างสม่ำเสมอไม่ให้ขาด
- มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) จะต้องมีการจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ว่าจะเป็นภาคบังคับเบื้องต้นหรือเพิ่มเติมอื่น ๆ
- มอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (รถซาเล้ง) จะต้องมีการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงสภาพรถต่อหน้านายทะเบียน
ประกันภัยสำหรับมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (ซาเล้ง)
1. ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ภาคบังคับ
ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง (ซาเล้ง) จะต้องมีการจัดทำประกันภัยภาคบังคับหรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมอเตอร์ไซค์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย โดยประกันภัยภาคบังคับนี้จะให้ความคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บหรือมีผู้เสียชีวิตเท่านั้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด
- ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ จะสามารถเบิกได้กับทาง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ได้สูงสุดไม่เกินคนละ 30,000 บาท โดยจะมีการจ่ายให้ตามความเป็นจริง
- ค่าชดเชยในกรณีที่มีการเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ โดยจะเบิกได้ไม่เกินคนละ 35,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก
- ค่ารักษาพยาบาล จะสามารถเบิกได้กับทาง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซค์ ได้สูงสุดไม่เกินคนละ 80,000 บาท โดยจะมีการจ่ายให้ตามความเป็นจริง
- เงินชดเชยในกรณีที่มีการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรโดยสิ้นเชิง จะได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 500,000 บาท
- เงินชดเชยในกรณีที่ทุพพลภาพถาวร หรือไม่สามารถประกอบอาชีพได้อีกต่อไป จะได้รับเงินค่าชดเชยคนละ 300,000 บาท
- กรณีที่สูญเสียอวัยวะ ได้แก่ สูญเสียนิ้วตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน จะได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท และในกรณีที่นอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยคนละ 200 บาทต่อวัน สูงสุดได้ไม่เกิน 20 วัน
2. ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ภาคสมัครใจ
สำหรับความคุ้มครองของประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ภาคสมัครใจนี้ ถ้าหากว่าเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างต้องการที่จะทำประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างเพิ่มเติม ก็จะขึ้นอยู่กับประเภทแผนประกันภัยที่ได้มีการเลือกทำ ได้แก่- ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด และสามารถเคลมได้ในทุกกรณีตามเงื่อนไขของแผนกรมธรรม์
- ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 2+ จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่เป็นรถชนรถแบบมีคู่กรณี รถหาย และรถไฟไหม้ แบบมีทุน
- ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 3+ จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่เป็นรถชนรถแบบมีคู่กรณี รถหาย และรถไฟไหม้ แบบไม่มีทุน
- ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 2 จะให้ความคุ้มครองคู่กรณีเท่านั้น รวมไปถึงรถหาย และรถไฟไหม้ แบบมีทุน
- ประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 3 จะให้ความคุ้มครองคู่กรณีเท่านั้น รวมไปถึงรถหาย และรถไฟไหม้ แบบไม่มีทุน
ถ้าหากว่ารถมอเตอร์ไซค์ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง แบบนี้จะต้องแจ้งทางบริษัทประกันภัยด้วยไหม และเงื่อนไขความคุ้มครองหรือเบี้ยประกันภัยจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
ตารางความคุ้มครอง | ผลประโยชน์ | ||||
ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 1 | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2+ | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 2 | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3+ | ประกันรถจักรยานยนต์ ชั้น 3 | |
คู่กรณี | |||||
บุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
ทรัพย์สินของคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
รถของผู้เอาประกันภัย | |||||
การชนแบบมีคู่กรณี | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
การชนแบบไม่มีคู่กรณี | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ | ❌ |
ไฟไหม้ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
รถหาย | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ |
ภัยธรรมชาติ | ✔️ | ✔️ | ❌ | ✔️ | ❌ |
ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง | ✔️ | ✔️ | ❌ | ❌ | ❌ |
ความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุส่วนบุคคล | |||||
อุบัติเหตุส่วนบุคคล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การรักษาพยาบาล | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
การประกันตัวผู้ขับขี่ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ | ✔️ |
ควรจะเลือกทำประกันภัยมอเตอร์ไซค์ชั้นไหนดี?
สำหรับรถมอเตอร์ไซค์นั้น แนะนำว่าควรเลือกทำเป็นประกันภัยมอเตอร์ไซค์ชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด ถึงแม้ว่าเบี้ยประกันจะแพงกว่าประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ประเภทอื่น แต่ในด้านของความคุ้มครองนั้นก็ครอบคลุมมากที่สุดเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังให้ความคุ้มค่าและความอุ่นใจได้มากที่สุดอีกด้วย
ซื้อประกันรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
นอกจาก แรบบิท แคร์ จะมีบริการเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์ให้คุณได้ดูแล้ว ก็ยังมีประกันภัยมอเตอร์ไซค์จากบริษัทชั้นนำกว่า 30 บริษัท มาให้คุณได้เลือกสรรอีกมากมาย พร้อมกับโปรโมชั่นพิเศษอื่น ๆ และบริการหลังการขายสุด exclusive เพื่อให้คุณลูกค้าได้อุ่นใจมากยิ่งขึ้น
และนอกจากนี้ในเรื่องของเบี้ยประกันก็ยังสามารถผ่อนจ่ายแบบ 0% ได้อีกด้วย ใครที่กำลังวางแผนในเรื่องของการเงินอยู่ก็อุ่นใจได้เลย และนอกจากนี้ยังมีคำแนะนำดี ๆ ที่คุณจะได้รับจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยแบบจุใจ ดังนั้นถ้าหากใครที่กำลังมองหาประกันภัยรถมอเตอร์ไซค์อยู่ ก็สามารถที่จะเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ แรบบิท แคร์ ได้เลย