ความสำคัญและประโยชน์ของเซ็นเซอร์รถยนต์
รถยนต์ในปัจจุบันนี้มักจะถูกใส่ระบบการใช้งานต่าง ๆ เข้าไปภายในรถยนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอะไหล่รถยนต์ เซ็นเซอร์ เครื่องยนต์ หรือระบบความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น และเพื่อให้รถยนต์นั้นเป็นมากกว่าการใช้เดินทางแต่เพียงอย่างเดียว แม้กระทั่งระบบเซ็นเซอร์รถยนต์ที่มีความสำคัญมาก ๆ ไม่แพ้ชิ้นส่วนอื่น ๆ ภายในรถยนต์ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของกล่อง ECU นั่นเอง แต่บางท่านก็อาจจะนึกถึงตัวเซ็นเซอร์รถยนต์เวลาที่เราจะจอดรถ เพราะคุ้นชินกับคำว่าเซ็นเซอร์รถยนต์ในบริบทนี้มากกว่า เพราะเรามักจะคุ้นชินกับการที่รถยนต์จะต้องมีเซ็นเซอร์หน้ารถและเซ็นเซอร์หลังรถกันเป็นปกติอยู่แล้ว อีกทั้งในรถยนต์บางรุ่นก็จะมีเซ็นเซอร์รอบคันเพิ่มเข้าไปอีกด้วย ซึ่งเซ็นเซอร์เหล่านี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในระบบความปลอดภัยของรถยนต์เหมือนกัน อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยจอดรถ และการขับขี่รถยนต์ให้อยู่ในเส้นทางอีกด้วย และนอกจากนี้ในรถยนต์รุ่นเก่าที่ไม่ได้มีเซ็นเซอร์รถยนต์ก็สามารถที่จะหาซื้อเพิ่มเพื่อมาติดตั้งเองได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความสะดวกสบายในการขับขี่และเพิ่มความปลอดภัยให้กับรถยนต์และผู้ขับขี่ที่มากขึ้นด้วย
การทำงานของระบบเซ็นเซอร์รถยนต์
“เซ็นเซอร์รถยนต์” ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องยนต์รถยนต์ที่มีชื่อว่า Powertain Control Module หรือกล่อง ECU ที่จะคอยส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องยนต์ จึงทำให้รถยนต์สามารถทำงานได้ตามปกติ ต่อมาหลายท่านก็อาจจะมีข้อสงสัยว่าแล้วเซ็นเซอร์มีกี่แบบ ซึ่งก็จะสามารถอ่านต่อได้ในหัวข้อ “เซ็นเซอร์รถยนต์ มีอะไรบ้าง” ที่ด้านล่างนี้ ส่วนตัวเซ็นเซอร์รถยนต์ที่หลายคนมักจะคุ้นชินในบริบทของการส่งสัญญาณเตือน หรือตัวเซ็นเซอร์รถยนต์ที่จะคอยตรวจจับสิ่งของหรือวัตถุที่อยู่ต่ำกว่ากันชนของรถยนต์ และจะส่งเสียงสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ได้ระมัดระวัง เช่น สัตว์เลี้ยง เด็กเล็ก หรือขอบทางเท้า ก็จะเป็นระบบเซ็นเซอร์ของรถยนต์อีกรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วในเรื่องวัตถุประสงค์ของเซ็นเซอร์รถยนต์ในระบบต่าง ๆ ก็จะมีไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบความปลอดภัยรถยนต์เช่นเดียวกัน
เซ็นเซอร์รถยนต์ มีอะไรบ้าง?
Coolant Senser
เป็นเซ็นเซอร์ที่สำคัญมาก ๆ เพราะว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการวัดอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นภายในเครื่องยนต์ โดยจะส่งสัญญาณแรงดันไฟฟ้าไปให้กับ ECU เพื่อที่จะประเมินการปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง หากเกิดความเสียหายกับเซ็นเซอร์ตัวนี้ ก็จะทำให้สมรรถนะเครื่องยนต์มีปัญหาเวลาที่อุ่นเครื่อง อีกทั้งยังจะทำให้รถยนต์สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
Oxygen Sensor
เซ็นเซอร์ตัวนี้จะมีหน้าที่ในการจับสัญญาณค่าออกซิเจนที่ยังหลงเหลืออยู่จากการเผาไหม้ไอเสียของเครื่องยนต์ในระบบหัวฉีด อีกทั้งยังคอยสั่งการหัวฉีดให้จ่ายน้ำมัน โดยรูปร่างลักษณะของเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะเป็นหลอดที่ซ้อนกัน 2 ชั้น และมีเปลือกเป็นรูพรุนที่ทำมาจากทองคำขาว โดยที่ในระหว่างชั้นนั้นก็จะมีเซรามิกตัวนำไฟฟ้าอยู่ ซึ่งถ้าหากออกซิเจนเซ็นเซอร์ เสีย อาการขึ้นมานั้น ก็จะส่งผลทำให้รถยนต์มีกำลังเครื่องตก กินน้ำมันมากกว่าเดิม และจะมีไอเสียที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
Manifold Absolute pressure Sensor
เซ็นเซอร์ตัวนี้บางท่านอาจจะเรียกว่า MAP Sensor หรือเซ็นเซอร์วัดความดันอากาศในท่อร่วมไอดี จะทำหน้าที่ในการวัดความแตกต่างของแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดีว่ามีมากน้อยเพียงใด และจะส่งค่าแรงดันนี้ไปยังตัว ECU เพื่อทำการประมวลผลสั่งจ่ายน้ำมันนั่นเอง และถ้าหากเกิดปัญหาขึ้นกับเซ็นเซอร์ประเภทนี้ ก็จะทำให้รถยนต์มีอาการรอบความเร็วขึ้นลงแบบผิดปกติ กำลังเครื่องตก หรือเครื่องยนต์อาจจะดับไปเอง และยังสิ้นเปลืองน้ำมันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Throttle Position Sensor
เซ็นเซอร์ชนิดนี้จะอยู่ในตำแหน่งลิ้นเร่งของเครื่องยนต์ คอยทำหน้าที่ในการบอกตำแหน่งลิ้นเร่งของเครื่องยนต์ว่ามีการเปิดอยู่มากน้อยเพียงใด จากนั้นก็จะส่งค่าไปยังตัว ECU เพื่อที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงองศาไฟจุดระเบิด และจะเอาไปเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศ เพื่อตัดปริมาตรการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อควบคุมปริมาณการฉีดของน้ำมันเชื้อเพลิง
Mass Airflow Sensor
เซ็นเซอร์ชนิดนี้หลายท่านอาจจะเรียกโดยย่อว่า MAF Sensor ซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันกับตัว ECU ในการควบคุมปริมาณน้ำมันในขณะที่กำลังเผาไหม้เครื่องยนต์ให้สมบูรณ์ อีกทั้งยังคอยวัดมวลอากาศเพื่อควบคุมการสั่งจ่ายน้ำมันสำหรับการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ ถ้าหากเซ็นเซอร์ตัวนี้มีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่าง ๆ มากมาย เช่น รถยนต์กินน้ำมันมากขึ้น มีเสียงดังเกิดขึ้นที่ตัวเครื่องยนต์ รถเคลื่อนที่ได้ช้า หรือเครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดเขม่าเครื่องยนต์ตามมา
Crankshaft Position Sensor
หรือที่เรียกกันว่าเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง มีหน้าที่ในการวัดระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ทุกรูปแบบ โดยจะมีการตรวจสอบตำแหน่งและรอบความเร็วการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อที่จะส่งค่าไปยังตัว ECU ในการกำหนดจังหวะและปริมาณของการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง รวมไปถึงการควบคุมการจุดระเบิดด้วย หากเกิดปัญหากับตัวเซ็นเซอร์ก็อาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับไปเองแบบผิดปกติ
Knock Sensor
โดยเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะมีหลักในการทำงานคือจะคอยจับการกระแทกของเครื่องยนต์แล้วส่งค่าไปยังตัว ECU เพื่อสั่งลดองศาจุดระเบิดและสั่งลดการจ่ายน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ เพราะว่าจะเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย หรือเกิดการจุดระเบิดที่ผิดพลาดจากการสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากจนเกินไป เพราะถ้าเกิดว่าเซ็นเซอร์ชนิดนี้มีปัญหา มันจะส่งผลทำให้ไฟเครื่องยนต์ขึ้น เปลืองน้ำมันมากกว่าเดิม และทำให้รถไม่มีกำลัง
Baro Sensor
เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดแรงดันอากาศหรือวัดบรรยากาศภายนอกเครื่องยนต์ เพื่อที่จะคอยเปลี่ยนแรงไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแรงดันบรรยากาศ จากนั้นก็จะส่งค่าไปยังตัว ECU เพื่อชดเชยระดับแรงกดอากาศหรือระดับความสูงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำมันเชื้อเพลิงได้
Vehicle Speed Sensor
เซ็นเซอร์ชนิดนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง และควบคุมการจุดระเบิด รวมไปถึงการตรวจจับความเร็วของรถยนต์ในขณะที่กำลังเคลื่อนที่ แล้วจะส่งต่อค่าสัญญาณไปยังตัว ECU เพื่อใช้ในการคำนวณความเร็วของรถยนต์ และกำหนดจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ของรถยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็วของรถยนต์อีกด้วย และถ้าเกิดปัญหาหรือความเสียหายกับเซ็นเซอร์ชนิดนี้ ก็จะทำให้การเปลี่ยนเกียร์นั้นมีความผิดปกติ หรือสามารถสังเกตได้จากเข็มไมล์บนหน้าปัดที่จะไม่ขยับเลย
EGR Sensor
จะมีปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดจากเซ็นเซอร์ตัวนี้ และเราก็จะพบเห็นได้บ่อยมาก นั่นก็คือ ปัญหาควันดำที่ออกมาจากท่อไอเสียของรถยนต์ เพราะหน้าที่หลักของเซ็นเซอร์ชนิดนี้คือการดึงไอเสียจากท่อไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์ ให้กลับมาเผาไหม้ร่วมกับอากาศดีอีกครั้งเพื่อลดปริมาณการเกิดแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ และถูกปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมได้นั่นเอง โดยที่จะทำงานร่วมกันกับตัว ECU เพื่อตรวจหาว่ามีมลพิษในอากาศเกินกำหนดหรือไม่ และการเกิดควันดำนี้เองก็มาจากปัญหาของการอุดเซ็นเซอร์ ที่มีความเชื่อว่าจะทำให้รถยนต์นั้นแรงขึ้นหรือเร็วขึ้นได้ ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้ก็ยังไม่ได้ถูกการพิสูจน์ข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
เซ็นเซอร์ถอยหลัง อยู่ตรงไหนของรถยนต์?
เซ็นเซอร์ถอยหลังหรือเซ็นเซอร์ถอยจอดจะถูกติดตั้งอยู่ที่บริเวณกันชนด้านหลังของรถยนต์ จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้เกียร์ถอยหลัง
เซนเซอร์หน้า ทำงานเหมือนเซ็นเซอร์ถอยหลังไหม?
ไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์หน้ารถหรือเซ็นเซอร์ถอยหลังก็มีหลักในการทำงานเหมือนกันตามปกติก็คือการช่วยจอดรถ แต่ก็จะแตกต่างกันเพียงแค่หลักการเริ่มทำงานและตำแหน่งที่ถูกติดตั้งเท่านั้น ก็คือถ้าเปลี่ยนมาเป็นเกียร์เดินหน้า ตัวเซ็นเซอร์ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติทันที ส่วนตำแหน่งที่ติดตั้งเซ็นเซอร์รถยนต์ก็จะอยู่ที่กันชนด้านหน้า ซึ่งถ้าเป็นในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ก็จะมีการถูกติดตั้งมาอยู่แล้ว เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากทางโรงงานผู้ผลิต ส่วนถ้าเป็นรถยนต์รุ่นเก่าก็สามารถที่จะซื้อเซ็นเซอร์รถยนต์มาติดตั้งเองได้เช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของเซ็นเซอร์รถยนต์มีอะไรบ้าง?
- 1. เป็นตัวช่วยให้กับมือใหม่หัดขับรถยนต์ ทำให้การจอดรถ การถอยรถ เป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น และยังเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบวัตถุสิ่งรอบข้างของรถยนต์
- 2. เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถยนต์ เพราะการชนบางครั้งอาจจะต้องมีเสียค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นการติดตั้งเซ็นเซอร์รอบคันจึงเป็นการป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งเหมือนกัน
- 3. มีประโยชน์มากสำหรับมือใหม่หัดขับ เพราะว่าเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่มากยิ่งขึ้น
ถ้าหากเซ็นเซอร์รถยนต์เกิดการขัดข้องหรือเสียขึ้นมา แบบนี้ประกันจะรับเคลมไหม?
โดยปกติแล้วจะสามารถเคลมได้เฉพาะในกรณีที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุเท่านั้น เพราะความคุ้มครองของประกันรถยนต์จะคุ้มครองแค่ในส่วนของอุบัติเหตุ หากเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ทางประกันภัยจะไม่ได้รับเคลมเลย
ความคุ้มครองประกันรถยนต์