รวมเทคนิค การจอดรถสำหรับมือใหม่ เปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ
สำหรับมือใหม่หัดขับ ที่พึ่งจะเริ่มขับรถ อะไรก็ดูเป็นเรื่องยากไปเสียหมด ลำพังแค่ขับออกถนนใหญ่ยังไม่ค่อยกล้า การจอดรถเข้าซองนี่ยิ่งไปกันใหญ่ ผู้ขับขี่มือใหม่บางคนไม่กล้าจอดรถเข้าซองถึงขั้นต้องจอดกลางทางเปลี่ยนให้คนอื่นจอดให้ก็มี แต่ไม่ต้องห่วงเพราะวันนี้เรามีเทคนิคในการจอดรถมาฝาก รับรองง่ายจนคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
เทคนิคการจอดรถสำหรับมือใหม่ มีอะไรบ้าง?
สำหรับมือใหม่หัดขับ การจอดรถอาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อย อาจะจะต้องใช้เวลาในการหัดจอดรถสักระยะให้มีประสบการณ์มากขึ้น แต่ก็จะมีเทคนิคที่อาจจะช่วยให้คุณจอดรถได้ดีขึ้น ดังนี้..
เทคนิคจอดรถเขาซองเฉียง
ถือเป็นการจอดรถที่ง่ายที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยให้ผู้ขับขี่จอดรถเลียบเป็นแนวตรง เดินหน้าขึ้นไปเล็กน้อย จากนั้นให้บิดพวงมาลัยขวา ตีล้อโค้งให้รถขนานไปกับเส้นจอดรถแนวเฉียงทั้งคันรถ บิดล้อตรง แล้วค่อย ๆ ถอยหลังให้รถเข้าไปในซองจนสุด
เทคนิคจอดรถเขาซองตรง
สำหรับการจอดรถในซอยตรง แนะนำให้ถอยหลังเข้าที่จอด โดยให้ผู้ขับขี่จอดรถเลียบเป็นแนวตรงไปกับที่จอดรถ จากนั้นค่อย ๆ เลี้ยวตีโค้งเข้าหาที่จอดแล้วบิดพวงมาลัยไปทางขวา สไลด์รถเฉียงขึ้นไปด้านหน้าประมาณ 30 องศา จากนั้นให้หักพวงมาลัยไปซ้ายสุด แล้วค่อย ๆ ถอยหลังเข้าซองจนขนานไปกับเส้นเทียบ เสร็จแล้วคืนพวงมาลัยให้ล้อตรง
เทคนิคจอดรถเทียบฟุตบาท
ถือเป็นการจอดรถปราบเซียนสำหรับมือใหม่เลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีพื้นที่จำกัดยิ่งยากไปใหญ่ เทคนิคจอดรถเทียบฟุตบาทให้ผู้ขับขี่ เลื่อนรถขนาบกับคันหน้า ระยะห่างจากตัวรถประมาณ 2 ฟุต โดยให้ท้ายรถอยู่ในระดับเดียวกัน หักพวงมาลัยให้สุด ค่อย ๆ ถอยรถเข้าซองด้านข้าง จนรถทำมุมแนวเฉียง 45 องศา จากนั้นบิดล้อตรงแล้วถอยหลังเข้าซองไปและบิดพวงมาลัยไปขวาสุด แล้วค่อย ๆ ถอยต่อจนท้ายรถชิดเส้นด้านหลัง
พื้นที่ห้ามจอดมีที่ไหนบ้าง?
นอกจากเทคนิคการจอดรถแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่มือใหม่หลายคนพลาด และไม่รู้นั่นก็คือ พื้นที่ห้ามจอด ได้แก่
- ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
- ห้ามจอดซ้อนกับรถคันอื่นที่ได้จอดอยู่ก่อนแล้ว
- ห้ามจอดรถในที่คับขัน
- ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
- ห้ามจอดรถบนทางเท้า
- ห้ามจอดรถบนสะพานหรืออุโมงค์
- ห้ามจอดรถในทางร่วมและทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมและทางแยก
- ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
- ห้ามจอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
- ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและให้จอดเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
- ห้ามจอดรถในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
- ห้ามจอดรถใกล้ท่อน้ำดับเพลิงในระยะ 3 เมตร
- ห้ามจอดรถใกล้ที่ดินตั้งสัญญาณจราจรในระยะ 10 เมตร
- ห้ามจอดรถใกล้ทางรถไฟผ่านในระยะ 15 เมตร
- ห้ามจอดรถใกล้ตู้ไปรษณีย์ในระยะ 3 เมตร
ถ้าหากฝ่าฝืน จอดรถในพื้นที่ดังกล่าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
จอดรถแล้วรถเสียหาย เคลมประกันได้หรือไม่?
ในกรณีการจอดรถแล้วรถเกิดความเสียหาย จะต้องดูเป็นหลากหลายกรณี แต่โดยรวมแล้วผู้ที่ขับชน จะต้องถูกมองเป็นผู้ผิด และผู้จอดรถอยู่เฉย ๆ จะมองว่าเป็นผู้เสียหายก่อนเสมอ หากแต่ก็มีหลาย ๆ สิ่งที่อาจทำให้รูปคดีมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนี้
จอดรถในพื้นที่ที่ถูกกฎหมาย และมีรถมาชน
ประกันรถคุ้มครองทุกกรณี ตั้งแต่ประกันรถชั้น 1, ประกันรถชั้น 2+ และประกันรถชั้น 3+ โดยต้องมีการถ่ายหลักฐาน หรือมีการแจ้งความ ลงบันทึกประจำวัน
จอดรถในพื้นที่ผิดกฎหมาย และมีรถมาชน
ประกันชั้น 1, 2+ และ 3+ให้ความคุ้มครองกรณีโดนเฉี่ยวชนในระหว่างการจอดรถในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่จอดรถ เพราะยังถือว่าแม้จะจอดในที่ที่ไม่ควรจอด แต่ผู้ที่ชนก็ยังมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทอยู่ดี หากแต่ประกันรถยนต์จะไม่ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจราจร เช่นจอดผิดที่แล้วโดนค่าปรับเป็นต้น
จอดรถแล้วโดนเฉี่ยวชนแล้วหนี
กรณีที่เกิดการเฉี่ยวชนโดยไม่มีคู่กรณี เช่น การจอดรถแล้วชนเสาไฟ ฟุตบาท หรือโดนชนแล้วหนี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม จะมีแค่ประกันชั้น 1 อย่างเดียวเท่านั้นที่คุ้มครอง แต่อาจต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก (Excess)
สำหรับมือใหม่หัดขับที่ไม่มั่นใจในตัวเอง ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันดู รับรองว่าจะช่วยให้การจอดรถง่ายขึ้นกว่าเดิม และที่สำคัญอย่าลืมดูด้วยว่าจอดในที่ห้ามจอดหรือไม่ แนะนำว่าถ้าตรงไหนไม่แน่ใจให้เช็คให้ดีก่อนจอดดีที่สุด จะได้ไม่เสี่ยงทำผิดกฎหมาย และเสี่ยงทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย
ใครที่อยากให้รถได้รับความคุ้มครองแม้ขณะยังจอดแน่นิ่ง มาทำประกันรถยนต์ กับ แรบบิท แคร์ ตัวช่วยที่จะทำให้การซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์เป็นเรื่องง่าย มีให้เลือกตั้งแต่ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2, 2+, 2 และ 3+ พร้อมเปรียบเทียบเบี้ยประกันและความคุ้มครองได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งสะดวก สบาย และยังจ่ายเบี้ยประกันในราคาแสนประหยัด การันตรีว่าถูกกว่าซื้อตรงอย่างแน่นอน