วางแผนอย่างไรเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัว
เศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัวของภาคบริการ ประกอบกับผลสงครามโลกระหว่างรัสเซียกับยูเครนทำให้ราคาพลังงานปรับขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ประเทศไทยซึ่งพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันต้องเจอกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้สกุลเงินเอเชียและเงินบาทต้องเจอกับปัญหาค่าเงินอ่อนตัว ขณะที่ค่าเงินสกุลเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบันค่าเงินบาทของไทยมีมูลค่าอ่อนลงเรื่อยๆ อัพเดตวันที่ 10/04/2566 อยู่ที่ 34.25 ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งอ่อนลงจะเมื่อวันศุกร์ (07/04/2566) ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันศุกร์ค่าเงินบาทปิดตลาดอยู่ที่ 34.12 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ โดยเป็นค่าเงินบาทที่มูลค่าอ่อนตัวที่สุดในรอบ 16 ปี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาลดน้อยลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับขึ้น การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยธนาคารของไทยซึ่งปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทย จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งตัวและทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงนั้นเอง
ค่าเงินบาทแข็งตัวคืออะไร
ค่าเงินบาทแข็งตัว หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ส่งผลให้สกุลเงินของประเทศที่เราต้องการแลกเปลี่ยนเงินนั้นเราสามารถแลกเงินได้ในอัตราที่มากขึ้น เช่น วันนี้เงินบาท 30 สามารถแลกได้ 1 ดอลลาร์ ต่อมาเมื่อค่าเงินบาทแข็งตัวเราสามารถแลกเงิน 1 ดอลลาร์ เพียงใช้เงินไทย 27 บาท นั้นเอง
ค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลดีต่อใคร
ค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลดีให้กับผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพราะจ่ายเงินเท่าเดิมแต่สามารถนำเข้าสินค้าได้ในปริมาณสูงขึ้น นักลงทุนสามารถนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆเข้ามาในประเทศด้วยราคาที่ถูกลง ผู้ที่เป็นหนี้กับต่างประเทศสามารถใช้เงินบาทแลกเปลี่ยนเพื่อชำระหนี้ที่น้อยลง อีกทั้งคนทั่วไปสามารถซื้อสินค้านำเข้าได้ในราคาที่ถูกลง
ค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลเสียต่อใคร
แน่นอนว่ามีข้อดีแล้วก็ต้องมีข้อเสียตามมาเช่นกัน การที่ค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลเสียให้กับผู้ผลิตภายในประเทศที่ต้องการส่งออกสินค้าออกไปยังต่างประเทศเพราะราคาสินค้าเท่าเดิมแต่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินไทยได้น้อยลง
ค่าเงินบาทอ่อนตัวคืออะไร
ค่าเงินบาทอ่อนตัว หมายถึง สถานการณ์ที่ค่าเงินบาทลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินต่างประเทศ เมื่อนำเงินไทยไปแลกเงินต่างประเทศจะทำให้ได้เงินต่างประเทศที่น้อยลง หรือมูลค่าเงินของประเทศนั้นๆลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ใช้เงินบาท 30 บาท สามารถแลกได้ 1 ดอลลาร์ ต่อมาต้องใช้เงินบาท 34 บาท จึงจะสามารถแลกได้ 1 ดอลลาร์ นั้นเอง
ค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลดีต่อใคร
ค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลดีให้กับผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศใช้เงินบาทในการผลิตสินค้าเท่าเดิมแต่สามารถส่งออกสินค้ารับชำระเป็นเงินดอลลาร์หรือเงินสกุลอื่นที่สามารถนำมาแลกเงินบาทได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวที่รับชำระเงินเป็นเงินสกุลต่างประเทศสามารถนำมาแลกเป็นเงินไทยได้มากขึ้น
ค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลเสียต่อใคร
ค่าเงินบาทอ่อนตัวแน่นอนว่าส่งผลกระทบกับคนภายในประเทศโดยตรง ในด้านการนำเข้าสินค้าเนื่องจากต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่สูงขึ้นแต่ได้ปริมาณสินค้านำเข้าที่น้อยลงหรือเท่าเดิม โดยการนำเข้าส่วนใหญ่ใช้การตั้งราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์เป็นหลัก นักลงทุนที่นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องจ่ายเงินที่แพงขึ้น สินค้านำเข้ามีราคาที่แพงขึ้นตามค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง อีกทั้งยังส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสูงขึ้นอีกด้วย เนื่องจาก การชำระหนี้กู้ยืมจากต่างประเทศต้องใช้เงินบาทจำนวนมากขึ้นที่จะนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลที่เราไปกู้ยืมมา
วิธีวางแผนการเงินเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัว
การวางแผนเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวจะต้องพิจารณาด้านการเงินและการลงทุน เพื่อลดผลกระทบต่อการเงินและการดำเนินกิจการในระยะยาว ดังนั้น
ขั้นตอนการวางแผนอาจประกอบด้วยต่อไปนี้
- การตรวจสอบภาวะเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาท เช่น สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ราคาพลังงาน เป็นต้น
- การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากค่าเงินบาทอ่อนตัว เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงทางการลงทุน เป็นต้น
- การปรับแผนการเงิน การปรับแผนการเงินโดยการลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ โดยการลดรายจ่ายให้เหมาะสมกับสภาพการเงินปัจจุบันและการปรับโครงสร้างธุรกิจให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน เช่น การส่งออกสินค้าให้เพิ่มขึ้น
- การประเมินผลกระทบ ประเมินสถานการณ์ว่าค่าเงินบาทอ่อนตัวส่งผลต่อธุรกิจของคุณหรือไม่ เช่น การส่งออกสินค้า การซื้อขายในตลาดเงินทุน การท่องเที่ยว
- การจัดการบริหารเงินสด ปรับวิธีการใช้จ่ายให้เข้ากับสถานการณ์ทั้งนี้อาจรวมถึงการลดค่าใช้จ่าย การตัดสินใจในการลงทุนด้านต่างๆ
- วางแผนการผลิตและการตลาด ปรับเปลี่ยนแผนการตลาดให้เป็นไปตามสถานการณ์ วางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
สาเหตุของค่าเงินบาทอ่อนตัว
ค่าเงินบาทอ่อนตัวเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนี้
- การลงทุนในตลาดที่ไม่เสถียร การลงทุนในตลาดที่ไม่เสถียร หรือตลาดที่มีความเสี่ยงสูงอาจทำให้ค่าเงินบาทลดค่าลงได้
- การชุบช่วงเศรษฐกิจ หากมีช่วงเศรษฐกิจขาดทุน ซึ่งอาจเกิดจากการลดของการเงินเป็นต้น จะทำให้ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดค่าลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทลดค่าลงได้
- การส่งออก การส่งออกสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มค่าเงินบาท หากการส่งออกมีการลดลง จะทำให้ค่าเงินบาทลดค่าลดตามไปด้วย
- อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการลงทุนและการซื้อขายต่างประเทศ หากอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของไทย จะทำให้เงินลงทุนในประเทศลดลง และเงินลงทุนอื่นๆเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทลดค่าลงได้
- การเปลี่ยนแปลงในการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงในการค้าระหว่างประเทศส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน หากมีการนำเข้าสินค้ามากขึ้น
ข้อเสียหลักของการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัว คือ การทำให้ราคาสินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้านำเข้า ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้า ส่งผลให้เกิดลดซื้อสินค้าและบริการในระยะยาว การที่เงินบาทอ่อนตัวมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งออกสินค้าน้อยลงหรือการนำเข้าสินค้ามากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ และทำให้อุตสาหกรรมภายในประเทศต้องเจอคู่แข่งที่ต้องแข่งขันกันในด้านราคา นอกจากนี้ ค่าเงินบาทอ่อนตัวยังส่งผลต่อการลงทุนในประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหุ้นไทยร่วงลงอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์แต่ยังไม่หลุดกรอบ ทำให้เกิดความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนลดลง หรือเสี่ยงต่อการขาดทุนในระยะยาว
จากการคาดการณ์ของ TTB ในปี 2566 พบว่าค่าเงินบาทจะไม่อ่อนตัวลงมากเท่าไหร่ ถึงแม้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะปรับราคาดอกเบี้ยขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องก็ตาม จากการวิเคราะห์ ttb analytics คาดการณ์ว่าภายในปี 2566 ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวที่สุดไม่เกิน 36.5 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ คาดว่าในอนาคตการท่องเที่ยวภายในประเทศจะทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นอีกครั้ง
แน่นอนว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำเพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเงิน การนำเข้า - ส่งออกสินค้า การตลาด และการลงทุน โดยผู้ลงทุนส่วนมากจะมีการวางแผนสำรองเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โลก ดังนั้นการวางแผนการลงทุนในสกุลเงินต่างๆ ควรพิจารณาอย่างละเอียดและรองรับได้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากใครที่ไม่มั่นใจในสถานการณ์ของเศรษฐกิจ แรบบิท แคร์ แนะนำให้ท่านทำ ประกันภัยสำหรับธุรกิจ เพราะทางเรามีทีมงานวิเคราะห์และวางแผนเชิงความเสี่ยงสำหรับธุรกิจของท่านเพื่อป้องกันการเกิดความเสี่ยงแก่ธุรกิจท่านในอนาคต ทำให้ท่านได้มีแผนสำรองพร้อมรับมือทุกสถานการณ์เศรษฐกิจและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณ ลดความเสี่ยงทางการเงิน สร้างความมั่นคงในธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถคุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานหรือเสียชีวิตของพนักงาน และข้อดีอีกมากมาย เช่น การคุ้มครองการเสียหายธุรกิจที่เกิดจากภัยพิบัติ สารเคมี คุ้มครองทั้งคนทั้งธุรกิจ คนเป็นเจ้าของธุรกิจห้ามพลาดทำไว้ไม่เสียหาย
ประกันภัยสำหรับธุรกิจที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ
- รับดีลพิเศษและข้อเสนอที่คุ้มค่า เฉพาะลูกค้าแรบบิท แคร์เท่านั้น
- เราเป็นบริษัทในเครือ BTS ที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าขายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต
- จุดมุ่งหมายของเรา คือการมอบความพึงพอใจและบริการที่ดีที่สุด ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
- รับดีลพิเศษและข้อเสนอที่คุ้มค่า เฉพาะลูกค้าแรบบิท แคร์เท่านั้น
- เราเป็นบริษัทในเครือ BTS ที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าขายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต
- จุดมุ่งหมายของเรา คือการมอบความพึงพอใจและบริการที่ดีที่สุด ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
Office
- รับดีลพิเศษและข้อเสนอที่คุ้มค่า เฉพาะลูกค้าแรบบิท แคร์เท่านั้น
- เราเป็นบริษัทในเครือ BTS ที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าขายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต
- จุดมุ่งหมายของเรา คือการมอบความพึงพอใจและบริการที่ดีที่สุด ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
- รับดีลพิเศษและข้อเสนอที่คุ้มค่า เฉพาะลูกค้าแรบบิท แคร์เท่านั้น
- เราเป็นบริษัทในเครือ BTS ที่ได้รับใบอนุญาตนายหน้าขายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต
- จุดมุ่งหมายของเรา คือการมอบความพึงพอใจและบริการที่ดีที่สุด ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน