Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 16, 2023

Dollar Index คืออะไร มีผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจโลก

ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศมหาอำนาจในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจโลก และให้ความสำคัญแก่ค่าเงินของประเทศตัวเอง เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐถูกนำไปกำหนดราคาของสินค้าต่าง ๆ รวมไปถึงน้ำมันและทองคำ ซึ่งมีมูลค่ามาก อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังถูกนำไปใช้เพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งของเงินสกุลต่าง ๆ ที่เป็นคู่ค้าหลักของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย จนทำให้มีผู้ลงทุนเล็งเห็นช่องทางในการทำกำไรหรือผลตอบแทนจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐด้วยการใช้ Dollar Index นอกจากการแลกค่าเงินเป็นสกุลเงินต่าง ๆ เพื่อเก็งกำไร ในบทความนี้ เราจะพูดถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของ Dollar Index โดยคร่าว ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใจหลักการง่าย ๆ ของ Dollar Index ก่อน และผลกระทบของ Dollar Index ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลก

Dollar Index คืออะไร

Dollar Index คือดัชนีค่าความแข็งของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐโดยการนำสกุลเงินดังกล่าวไปเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ Dollar Index มีหลายชื่อเรียกมาก อาทิ US Dollar Index, Dollar Index, USDX, DXY, และ DI เป็นต้น Dollar Index อยู่ภายใต้การจัดการขององค์กร Intercontinental Exchange (ICE)

ระบบ Dollar Index จัดทำขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1973 หรือ พ.ศ. 2516 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาใช้ระบบ Bretton Woods เพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยมีหลักการง่าย ๆ คือ ให้แต่ละประเทศนำอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของตัวเองผูกกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และจัดตั้งองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ 2 องค์กร ได้แก่ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The International Monetary Fund (IMF) เพื่อดูแลและจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อีกทั้ง IMF ยังมีหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นให้กับประเทศที่ประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีกด้วย และองค์กรอย่างธนาคารเพื่อการก่อสร้างและพัฒนา หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า The International Bank for Reconstruction and Development (IBRD) เพื่อเป็นสถาบันทางการเงินให้ประเทศต่าง ๆ กู้ยืมในระยะยาวในกรณีลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจอันได้รับความเสียหายจากภาวะสงคราม

อย่างไรก็ตามระบบ Bretton Woods ถูกยกเลิกในปีค.ศ. 1971 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาพบว่าจำนวนของทองคำที่อยู่ในระบบไม่สัมพันธ์กับจำนวนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้ ทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ณ ขณะนั้นสามารถพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ได้อย่างไม่จำกัด ในเวลานั้น สหรัฐอเมริกาได้พิมพ์ธนบัตรออกมาใช้เป็นจำนวนมาก เพราะต้องนำเงินไปใช้จ่ายในการทำสงครามเวียดนาม ประกอบกับการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศตกอยู่ในสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างรุนแรงในช่วงนั้น เมื่อประชาชนต้องตกอยู่ในวิกฤตการณ์เงินเฟ้อ รวมไปถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงมาก ทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐมีความน่าเชื่อถือลดลงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นที่มาของระบบ Dollar Index ที่นำมาใช้จนถึงทุกวันนี้

ระบบการทำงานของ Dollar Index

ระบบการทำงานของ Dollar Index มีกลไกหรือระบบคร่าว ๆ คือ ระบบจะกำหนดค่าเริ่มต้นของดัชนีความแข็งของเงินดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ 100 จุด หากค่าดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 จุดหมายความว่าค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ที่นำไปเปรียบเทียบ ค่า Dollar Index จะวัดความแข็งค่าของค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐโดยการนำเงินสกุลต่าง ๆ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เงินสกุลยูโร เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินดอลลาร์แคนาดา เงินโครนาสวีเดน และเงินฟรังสวิส โดยเงินแต่ละสกุลที่นำมาเปรียบเทียบจะมีอัตราการเฉลี่ยน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน เงินสกุลยูโรมีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 57.6 เปอร์เซ็นต์ เงินเยนญี่ปุ่นมีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 13.6 เปอร์เซ็นต์ เงินปอนด์สเตอร์ลิงมีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 11.9 เปอร์เซ็นต์ เงินดอลลาร์แคนาดามีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 9.1 เปอร์เซ็นต์ เงินโครนาสวีเดนมีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 4.2 เปอร์เซ็นต์ และเงินฟรังสวิสมีอัตราเฉลี่ยน้ำหนักอยู่ที่ 3.6 เปอร์เซ็นต์

ในรายละเอียดของค่าดัชนี Dollar Index นั้น อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าหากค่าดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 จุด หมายความว่าค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินทั้ง 6 สกุลที่ใช้เปรียบเทียบ สมมติว่าวันนี้ ค่าดัชนี Dollar Index อยู่ที่ 108 จุด หมายความว่า Dollar Index แข็งค่าขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ หรือสมมติวันนี้ ค่าดัชนี Dollar Index อยู่ที่ 90 จุด หมายความว่า Dollar Index อ่อนค่าลง 10 เปอร์เซ็นต์

หลักการใช้ Dollar Index ประกอบการตัดสินใจแลกเปลี่ยน

ในปัจจุบันจึงมีผู้ที่นำ Dollar Index มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน โดยเป็นการเก็งกำไรจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งหรืออ่อนอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น ๆ ทำให้หลายภาคส่วนต้องป้องกันความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีการแข็งค่าและอ่อนค่าอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้น เรายังสามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐหรือคู่สกุลเงินที่มีเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอยู่ด้วย เช่น เงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย/เงินดอลลาร์สหรัฐ (AUD/USD) เงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิง/เงินดอลลาร์สหรัฐ (GBP/USD) และเงินสกุลยูโร/เงินดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) ดังนั้น Dollar Index จึงเป็นตัวชี้วัดหรือข้อมูลแหล่งหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจการแลกเปลี่ยน โดยหลักการที่ใช้ดัชนี Dollar Index ประกอบการตัดสินใจแลกเปลี่ยนมีอยู่ 2 หลักใหญ่ ๆ ได้แก่ หลักการใช้ในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลัก และหลักการใช้ในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินรอง

ก่อนที่จะแลกเปลี่ยนค่าเงินต่าง ๆ ที่มาเป็นคู่สกุลเงิน ต้องตรวจสอบว่าค่าเงินใดเป็นสกุลเงินหลักโดยการดูว่าสกุลเงินใดเป็นสกุลเงินลำดับแรก เช่น เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ/เงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย (USD/AUD) จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอยู่เป็นอันดับแรก เพราะฉะนั้น เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะเป็นสกุลเงินหลักในคู่สกุลเงินสำหรับการแลกเปลี่ยน อีกหนึ่งตัวอย่าง เช่น เงินสกุลยูโร/เงินดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าสกุลเงินยูโรอยู่ในอันดับแรกของคู่สกุลเงิน ดังนั้น เงินสกุลยูโรจะเป็นสกุลเงินหลักในการแลกเปลี่ยน

  • กรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลัก ในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลัก เช่น เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ/เงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย (USD/AUD) เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ/เงินสกุลดอลลาร์แคนาดา (USD/CAD) สามารถดูค่าดัชนี Dollar Index เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือดูแนวโน้มของตลาดได้ โดยที่แนวโน้มของทิศทางตลาดจะไปในทิศทางเดียวกันกับ Dollar Index หมายความว่า ยิ่งค่าเงินของดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีต่อการแลกเปลี่ยนในกรณีนี้มากเท่านั้น
  • กรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินรอง ในกรณีที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินรอง เช่น เงินสกุลยูโร/เงินดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) เงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลีย/เงินดอลลาร์สหรัฐ (AUD/USD) สามารถดูค่าดัชนี Dollar Index เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือดูแนวโน้มของตลาดได้ โดยที่แนวโน้มของทิศทางตลาดจะไปในทิศทางตรงกันข้ามกับ Dollar Index นั่นหมายความว่า ยิ่งค่าเงินของดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงเท่าไร ก็จะยิ่งดีต่อการแลกเปลี่ยนในกรณีนี้มากเท่านั้น

Dollar Index ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลก

นอกจากการแลกเปลี่ยนค่าเงินต่าง ๆ แล้ว Dollar Index ยังสามารถใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจเก็งกำไรจากสินค้าจำพวกทองคำและน้ำมันได้อีกด้วย เพราะโดยกลไกพื้นฐานแล้ว ค่าดัชนี Dollar Index จะแปรผกผันกับมูลค่าของสินค้าจำพวกทองคำและน้ำมัน ยิ่งค่าดัชนี Dollar Index ต่ำลงเท่าไร ก็จะทำให้มูลค่าของทองคำและน้ำมันสูงขึ้นตาม ในทางกลับกัน ถ้าหากค่าดัชนีสูงขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าของทองคำและน้ำมันต่ำลง และด้วยกลไกราคาดังกล่าวที่ส่งผลต่อราคาน้ำมัน ทำให้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกตาม เพราะน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงที่จำเป็นมากสำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท ถ้าหากราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สูงขึ้น และส่งผลมายังประชาชนในท้ายที่สุด

หรือในอีกแง่หนึ่งของนักลงทุน ถ้าหากดัชนี Dollar Index สูงขึ้น จะทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนภายในประเทศสหรัฐอเมริกามากขึ้น เพื่อที่นักลงทุนสามารถแสวงหาผลตอบแทนจากเงินดอลลาร์สหรัฐได้มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในทางกลับกัน หากดัชนีต่ำลง ก็จะทำให้นักลงทุนหันมาสนใจลงทุนในประเทศอื่น ๆ เพื่อแสวงหาผลตอบแทนหรือกำไรที่สามารถได้รับจากประเทศที่มีค่าเงินแข็งตัว

เราจะเห็นได้ว่า Dollar Index มีผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก ไม่เพียงเพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจที่ทั่วโลกต่างพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐแล้ว ในกองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศของแทบทุกประเทศถูกจัดเก็บในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นส่วนใหญ่ จึงกล่าวได้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวแปรสำคัญในด้านการค้าขาย แลกเปลี่ยน และลงทุน นับว่าเป็นสกุลเงินหลักของโลกที่หลายประเทศต่างเชื่อมั่นและพึ่งพา

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

สินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรีสินเชื่อส่วนบุคคลกรุงศรี

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ย 14.99% ปี, 6-12 เดือน พนักงาน 5 ปี+
  • ดอกเบี้ย 17.99% ปี, 6-12 เดือน ธุรกิจ 10 ปี+
  • ผ่อน 60 เดือน แสนละ 2,2XX บาท
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน บาท หรือ 5 เท่าของรายได้
  • สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองจากบริษัท
  • พนักงาน 20,000 บาท/เดือน, เจ้าของกิจการ 200,000 บาท
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป อนุมัติสูงสุด 5 เท่า
  • สูงสุด 5 เท่าของรายได้ หรือ 300,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 15-25%, ค่าธรรมเนียม 0-10% ต่อปี
  • อนุมัติไว 1 ชั่วโมง หากเอกสารครบ
  • สมัครง่าย รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท
KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่มีคนค้ำประกัน
  • รับเงินภายใน 24 ชม. หลังอนุมัติ
  • ระยะเวลาผ่อน 12-72 เดือน
  • ผ่อนแสนละ 80 บาท/วัน
  • เอกสารสลิปเงินเดือน อายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อเงินสดนาโนฟินนิกซ์นาโนฟินนิกซ์

สินเชื่อเงินสด

  • ดอกเบี้ยวันละ 9 บาท สำหรับ 10,000 บาท
  • แจ้งผลไวสุดใน 5 นาที
  • ยืมได้ รายได้ 8,000 บาท/เดือน
  • วงเงินสูงสุด 100,000 บาท หมุนเงินสบาย
  • สมัครง่าย รายได้ไม่แน่นอน
  • สเตทเม้นท์ไม่ดี ใช้บัตรประชาชน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา