Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

กรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร ?
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Dec 15, 2023

อาการปวดท้องแบบไหนต้องพบแพทย์?

อาการปวดท้องเป็นอาการเจ็บป่วยที่หลายคนอาจจะเคยพบเจอมา ว่าแต่อาการปวดท้องแบบไหนควรไปพบแพทย์ แบบไหนจะหายได้เอง? หรืออาการปวดท้องตรงกลาง ข้างขวา ข้างซ้าย บ่งบอกได้ถึงอะไรบ้าง? ตาม แรบบิท แคร์ มาเช็กอาการต่าง ๆ กันเลยดีกว่า

สาเหตุของอาการปวดท้อง เกิดจากอะไรบ้างนะ?

สาเหตุของอาการปวดท้องนั้นมีหลากหลายสาเหตุ โดยเราอาจจะจำแนกได้ เช่น

  • ความผิดปกติทางเดินอาหาร โดยทั่วไป อาการปวดท้องมักจะเกิดขึ้นจากกระเพาะของคุณกำลังมีปัญหา ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด, การเป็นกรดไหลย้อน, โรคกระเพาะ, ท้องผูก,

  • โรคต่อมน้ำเหลือง เช่น อัมพฤกษ์, ตับอักเสบ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

  • สภาวะความตึงเครียด ความตึงเครียดหรือความวิตกกังวลอาจส่งผลต่อระบบเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เครียดลงกระเพาะ รวมไปถึงไมเกรนและอาการซึมเศร้า ที่อาจส่งผลต่อการปวดท้องได้

  • ปัญหาทางเดินปัสสาวะ อย่างการติดเชื้อ อาการไตอักเสบ

  • ภาวะเจ็บปวดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งทางเดินอาหาร, โรคไส้ติ่งอักเสบ, อาการติดเชื้อปอด อย่าง ปอดบวม ปอดอักเสบ

ทั้งนี้การเกิดอาการปวดท้องอาจเกิดได้จากปัจจัยที่หลากหลาย หากคุณมีอาการปวดท้องรุนแรงหรือระยะเวลาการปวดยาวนาน เรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมกับสาเหตุของปัญหาอาการปวดท้องของคุณ

ปวดท้องข้างซ้ายเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องข้างซ้ายสามารถเป็นสัญญาณของหลายโรคและสภาวะ ได้แก่

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร อาจมาจากการทานอาหารที่เป็นกรดสูง หรือท้องว่าง ทานข้าวไม่ตรงเวลา สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง รวมไปถึง โรคท้องผูก, โรคในกระเพาะลำไส้ส่วนต้น

  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปวดท้อง แต่อาการนี้จะมีลักษณะเป็นชั่วคราวและอาจร่วมกับอาการท้องเสีย รวมไปถึงอาการอาหารเป็นพิษ

  • บางครั้งปวดท้องข้างซ้ายอาจมาจากกล้ามเนื้อท้องที่อักเสบ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากการกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อท้องมาก เช่น การออกกำลังกายหรือการยกของหนัก

  • ภาวะไส้เลื่อน ป็นสภาวะที่ไส้ใหญ่ทรุดลงมาต่ำกว่าปกติ ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ด้านซ้ายของท้อง

  • โรคไส้ติ่งอักเสบ แม้ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้องด้านขวาล่างเป็นสัญญาณของไส้ติ่งอักเสบ แต่ในบางกรณีอาจมีอาการปวดท้องด้านซ้ายร่วมด้วย

  • โรคที่เกี่ยวข้องกับไต อาจเป็นสาเหตุของปวดท้องข้างซ้ายเมื่อมีปัญหาในระบบไต เช่น นิ่วในไต, ไตมีปัญหา และบางครั้งอาจเป็นปัญหาที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ภาวะไข้เลือดออก ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดใหญ่ในท้องแตก ทำให้สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาโรคเท่านั้น หากต้องการหาสาเหตุที่แท้จริง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและหาหนทางรักษาต่อไป

ปวดท้องตรงกลางเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องตรงกลางสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ อาจเกี่ยวกับโรคที่เกิดในหลายอวัยวะ ดังนี้

  • ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เช่น แผลในกระเพาะอาหาร, โรคลำไส้อักเสบ, โรคท้องผูก, โรคท้องเสีย, โรคขาดเลือดในหลอดอาหาร รวมไปถึงสาเหตุอย่างการทานอาหารรสจัดมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์

  • โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับอักเสบ, โรคไต้อักเสบ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องตรงกลาง

  • โรคตับและถุงน้ำดี

  • ภาวะเครียดหรือวิตกกังวลสามารถมีผลทำให้เกิดปวดท้องได้

  • โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคไต, โรคเบาหวาน หรือโรคลมชัก อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง

ทั้งนี้เป็นเพียงการคาดเดาโรคเท่านั้น หากต้องการหาสาเหตุที่แท้จริง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและหาหนทางรักษาต่อไป อย่าพยายามวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

ปวดท้องข้างขวาเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องข้างขวาสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

  • โรคไส้ติ่งอักเสบ โดยโรงพยาบาลกรุงเทพได้ให้ข้อสังเกตการเกิดไส้ติ่งอักเสบ ไว้ว่าจะมีเกิดอาการปวดท้องข้างขวาด้านล่างลามไปถึงช่วงท้องน้อย อาการปวดท้อง คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร เรื้อรังเกิน 6 ชั่วโมง

  • ปวดท้องข้างขวาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่มีอาการเรื้อรัง อาจมาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือการกินในปริมาณมากทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบชั่วคราว รวมไปถึงปัญหาท้องผูก, ท้องอืด แต่ถ้าหากเกิดอาการปวดท้องข้างขวาร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการท้องเสีย, อาการอาเจียน หรือมีไข้ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินอาหาร

  • อาการปวดท้องข้างขวาอาจเกิดจากปัญหาในถุงน้ำดี เช่น การติดเชื้อถุงน้ำดี หรือ การเกิดก้อนนิ่วในถุงน้ำดี

  • โรคไต เช่น การติดเชื้อไต, อาการอักเสบในไต, การเกิดก้อนนิ่วในไต

  • โรคลำไส้ตัน ซึ่งเป็นการอักเสบของไส้ โดยอาการปวดจะมีลักษณะที่ที่ปวดในส่วนของล่างขวา

  • โรคทางเส้นเลือด เช่น การตีบเลือดท้อง

  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ



หากคุณมีอาการปวดท้องข้างขวาที่รุนแรง ปวดเรื้อรัง หรือมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ หรือปัญหาขับถ่าย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมสำหรับสาเหตุของปวดท้องต่อไป

ปวดท้องน้อยเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

ปวดท้องน้อยเป็นอาการที่ทั่วไปสามารถเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น

  • การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือ รับประทานอาหารในปริมาณมากเกินไป หรือ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย รวมไปถึงการเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารด้วย

  • การติดเชื้อในทางเดินอาหารอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการท้องเสีย, อาการอาเจียน, หรือไข้

  • โรคลำไส้อักเสบเป็นภาวะอักเสบของไส้ตัน อาการปวดท้องน้อยอาจมีลักษณะที่ปวดลามจากท้องน้อยไปช่วงท้องขวาล่างและมักมีอาการอื่นร่วม เช่น ไข้และความเจ็บแสบเมื่อกดบริเวณลำไส้ตัน

  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย โดยอาการอื่น ๆ อาจรวมถึงอาการปัสสาวะแสบหรือถ่ายปัสสาวะบ่อย

  • โรคทางเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือโรคท้องผูก อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้เช่นดัน

  • โรค PID (Pelvic Inflammatory Disease) เกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในอวัยวะทางเพศ หรือมดลูก โดยอาการปวดท้องน้อยสามารถเกิดขึ้นในผู้หญิง

  • โรคตับและถุงน้ำดี อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย เช่น ไตอักเสบ, ก้อนนิ่วในถุงน้ำดี, โรคตับแข็งตัว รวมไปถึงโรคตับอ่อนอักเสบ

  • ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย

อย่างไรก็ดี ถ้าปวดท้องน้อยที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ มีอการปวดที่รุนแรงมากขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาการปวดท้อง หน้ามืดจะเป็นลม ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ที่เหมาะสมสำหรับสาเหตุของอาการของคุณ การวินิจฉัยจะต้องขึ้นอยู่กับประวัติแพทย์และการตรวจร่างกายที่เพิ่มเติมที่จำเป็น

การรักษาอาการปวดท้อง

การรักษาอาการปวดท้องจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดปวดท้อง อาจจำเป็นต้องใช้ ยาแก้ปวด, ยาควบคุมกรดในกระเพาะอาหาร, การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทานอาหาร หรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม หากประสบกับอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน ปวดรุนแรง เรื้อรัง หรือปวดท้องที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ควรรีบติดต่อแพทย์ทันท่วงที เพื่อขอคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อง

สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการใส่ใจและดูแลตนเอง อย่าลืมว่าการรักษารักษาสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนให้เพียงพอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดท้องได้ นอกจากนี้ การเลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้เผื่อในวันที่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเอง ก็จะช่วยแบ่งเบาปัญหาเรื่องการเงินที่อาจเกิดจากกการเข้ารับการรักษาได้ ต้องที่นี้เลย ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่มาพร้อมบิรการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ให้คุณเลือกแบบแผนประกันที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ได้แค่ปลายนิ้วคลิก

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • คุ้มครองครบ IPD, OPD เบี้ยเริ่ม 22 บาท
  • เหมาจ่ายค่ารักษาสูงสุดถึงล้านบาท
  • นอน รพ. ค่าห้องไม่บานปลาย สูงสุด 8,000
  • ค่าพยาบาลพิเศษ สูงสุด 1,000 บาท/วัน
  • ทันตกรรม คุ้มครองสูงสุด 1,000 บาท/ปี
  • คุ้มครอง OPD สูงสุด 1,500 บาท ไม่เกิน 30 ครั้ง
  • สิทธิลดหย่อนภาษีได้ถึง 25,000 บาท
Delight Care ประกันสุขภาพเหมาจ่ายDelight Care

เหมาจ่าย

  • จ่ายเบี้ยราคาประหยัด เริ่มเพียง 53 บาท/วัน
  • นอนรพ.เหมาจ่ายสูงสุด 1,250,000 บาท ไม่จำกัดครั้ง
  • มอบค่าห้องจัดเต็ม สูงสุด 365 วัน
  • สมัครง่าย ตั้งแต่อายุ 1 เดือน 1 วัน ถึง 60 ปี
  • คุ้มครองมะเร็งลุกลาม รับประโยชน์เพิ่ม 1 เท่า
  • คุ้มครองชีวิตสูงสุด 150,000 บาท กรณีเสียชีวิต
  • นอนรพ.ได้ทั่วไทย ไม่ต้องสำรองจ่าย
AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • จ่ายเบี้ยเริ่มต้น 575 บาท/เดือน คุ้มครองครบ
  • คุ้มครองครบ เหมาจ่ายสูงสุด 500,000 บาท
  • แม้ไม่นอนรพ. คุ้มครอง OPD 30 ครั้ง/ปี
  • สมัครได้ทุกช่วงวัย ต่ออายุได้ถึง 98 ปี
  • เบิ้ลคุ้มครอง 2 เท่า ตรวจเจอโรคร้ายแรง
  • คุ้มครองค่ารักษา OPD 1,500 บาท/ครั้ง
  • รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000 บาท
PRUHealthcare Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายPRUHealthcare Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยฯ สุดคุ้ม เริ่มต้น 20 บาท/วัน คุ้มครองครบ
  • คุ้มครองค่ารักษา 5 แสน เจ็บป่วยไหนก็อุ่นใจ
  • คุ้มครองค่าห้อง 5,000 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • สมัครได้ อายุ 20-60 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • คุ้มครองมะเร็งทุกระยะ สูงสุด 1 ล้านบาท
  • คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาท กรณีเสียชีวิต
  • เพิ่มคุ้มครอง 2 เท่า รักษาใน ICU จ่ายตามจริง

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา