Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 17, 2024

โรคกระเพาะอาการเป็นอย่างไร อันตรายมากไหม?

ในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่า “โรคกระเพาะ” นั้นเป็นโรคยอดนิยมในระบบทางเดินอาหารที่มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาการที่เร่งรีบและการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องของผู้คนในปัจจุบัน จึงส่งผลทำให้ผู้คนป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเป็น “โรคกระเพาะ” นั่นเอง อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคกระเพาะนั้นมักจะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ มากถึง 80% เลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจถ้าหากว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคกระเพาะเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะว่าอาจจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร แล้วกลายเป็นเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นมาอีก จนกลายเป็นการทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นมาได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังและดูแลตนเองให้ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามในอนาคตได้อีก เพราะว่ากระเพาะอาหารนั้นจัดว่าเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญในร่างกายที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร ซึ่งจะผลิตน้ำย่อยที่มีค่าเป็นกรดในการย่อยอาหาร และถึงแม้ว่าจะมีการผลิตน้ำย่อยที่เป็นกรดออกมา แต่กระเพาะอาหารก็จะมีกลไกในการป้องกันตนเอง โดยการสร้างเมือกขึ้นมาเคลือบชั้นผิวของกระเพาะอาหารเอาไว้ เพราะฉะนั้นการเกิดโรคกระเพาะอาหารจึงเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารนั้นเกิดอักเสบจนกลายเป็นแผลหรือมีเลือดออกขึ้นมาในกระเพาะอาหารได้

โรคกระเพาะเกิดจากอะไร?

จากบทความสุขภาพเรื่อง “โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) รู้ทันอาการ รักษาเองยังได้ หายไว” ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลวิภาวดี ได้พูดถึงสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะว่ามีได้จากหลายปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • การรับประทานยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นต้น
  • การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter pylori : H.pylori)
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • การติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
  • ยารักษาสิว
  • การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • การรับประทานอาหารแบบเร่งรีบ
  • ภาวะความเครียด วิตกกังวล
  • การรับประทานอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้

โรคกระเพาะอาการเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคกระเพาะนั้นจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป บางรายอาการไม่ร้ายแรง แต่ถ้าหากว่าเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์แล้วก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ส่วนคำถามที่ว่า “ปวดท้องโรคกระเพาะ ปวดตรงไหน?” คำตอบคือจะปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือท้องช่วงบน โดยอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะนั้นจะมีดังนี้

  1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย
  2. อิ่มเร็ว แสบท้อง
  3. ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่
  4. รู้สึกไม่สบายท้องช่วงบน
  5. ปวดท้องก่อนและหลังจากที่รับประทานอาหารเข้าไปแล้ว
  6. ปวดท้องในขณะที่ท้องกำลังว่าง หรือปวดขึ้นมากลางดึก
  7. มีอาการปวดท้องแบบเป็น ๆ หาย ๆ
  8. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังจากรับประทานอาหาร
  9. มีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
    10.ไม่เจริญอาหาร เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง

แต่ถ้าหากว่าเกิดอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ได้แก่

  1. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  2. อุจจาระมีสีดำ หรือถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดปน
  3. มีการตัวซีด ตัวเหลือง (ดีซ่าน)
  4. มีอาการปวดท้องแบบรุนแรงนานเป็นชั่วโมง
  5. เจ็บคอ กลืนน้ำลายลำบาก
  6. อาเจียนรุนแรงติดต่อกัน หรืออาเจียนแล้วมีเลือดปนออกมา
  7. คลำแล้วเจอก้อนในท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองโต
  8. มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะ รักษาอย่างไร?

สำหรับคำถามที่ว่า “โรคกระเพาะหายได้ไหม?” คำตอบก็คือสามารถหายได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนี้

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่
  • การตรวจหาโรคกระเพาะโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (Gastroscope : EGD)
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่ เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากจะส่งผลทำให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กตอนต้น
  • พยายามไม่เครียด หรือไม่วิตกกังวลมากจนเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละ 6-8 แก้ว
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งมาให้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยที่ไม่ได้มีการปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดรับประทานยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น
  • กินอาหารที่ย่อยง่าย ไม่รสจัด

เป็นโรคกระเพาะ กินยาอะไร?

ในเบื้องต้นก็จะเป็นยาลดกรด หรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยจะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ขึ้นไป และเมื่อหายแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ถ้าไม่ปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง และนอกจากนี้ยังมีตัวยาประเภทอื่นอีกด้วย เช่น

• Antacid

เป็นยารักษาโรคกระเพาะตัวแรก ออกฤทธิ์สั้น จึงสามารถรับประทานยาได้ตลอดเวลา ช่วยป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร และลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร

• Histamine receptor antagonists

ยาตัวนี้จะเห็นผลเมื่อรับประทานไปแล้วนาน 1 เดือนขึ้นไป โดยจะไปยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

• Proton pump inhibitors

เป็นตัวยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แต่ราคาค่อนข้างแพงพอสมควร มีฤทธิ์ไปยับยั้งการผลิตกรดและช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและที่ลำไส้ส่วนต้นหายได้เร็วขึ้น

• Mucosal protective agents

ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร

• การรักษา H.pylori

เมื่อตรวจเจอโดยแพทย์

โรคกระเพาะหายได้ไหม?

โรคกระเพาะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกถ้าหากว่าไม่มีการดูแลตนเองให้ดี หรือไม่มีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องในการรักษาโรคกระเพาะ เช่น กลับมารับประทานอาหารรสจัดเหมือนเดิม กลับมาเครียดและคิดมากขึ้นกว่าเดิม หรือกลับมาใช้ชีวิตและใช้พฤติกรรมแบบเดิม ปัจจัยเหล่านี้จึงกลับไปกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้อีก และทำให้เกิดเป็นโรคกระเพาะอาหารได้อีกในอนาคตนั่นเอง

โรคกระเพาะอันตรายแค่ไหน?

สำหรับโรคกระเพาะนั้นไม่ถือว่าเป็นโรคอันตราย แต่ผลกระทบที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในอนาคตนั้นอันตรายกว่ามาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนั้นอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย ถ้าหากว่าเกิดการติดเชื้อ H.Pylori ที่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร อีกทั้งเชื้อ H.Pylori นี้ยังสามารถติดต่อได้จากคนสู่คน ไม่ว่าจะเป็นจากการรับประทานอาหารร่วมกัน หรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ จนเกิดเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าทุกระบบในร่างกายของเรานั้นล้วนทำงานกันอย่างสัมพันธ์กัน หากมีระบบหรืออวัยวะภายในร่างกายที่ทำงานผิดปกติไป ก็มักจะไปส่งผลข้างเคียงหรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเราไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้นการดูแลรักษาตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่ถึงอย่างไรแล้วก็มักจะมีปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มักจะส่งผลกระทบมาถึงตัวเราด้วย ถึงแม้ว่าเราจะดูแลตนเองดีแค่ไหนก็ตาม ดังนั้นทางเลือกในการดูแลสุขภาพระยะยาวที่มีประโยชน์มากที่สุดนั่นก็คือการทำประกันสุขภาพ เพราะจะได้รับทั้งความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเกิดจากการเจ็บป่วยด้วยภัยหรืออุบัติเหตุก็ตาม

ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ ก็ได้มีแผนประกันสุขภาพที่หลากหลายมาให้ลูกค้าได้เลือกดูตามความต้องการและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด ด้วยบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพในเบี้ยประกันราคาถูก ที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังมั่นใจในความปลอดภัยได้ 100% เนื่องจากแรบบิท แคร์ เป็นโบรกเกอร์ประกันภัยในเครือ BTS ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังมีบริการพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันสุขภาพกับทางแรบบิท แคร์ เป็นบริการ Health Caresultant ที่ลูกค้าสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Chiiwii เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า จะได้ไม่ต้องเดินทางออกไปข้างนอกบ้าน เพียงแค่เลือกเมนูปรึกษาคุณหมอออนไลน์ใน Line official account ของแรบบิท แคร์ ก็สามารถพูดคุยกับคุณหมอทางออนไลน์ได้ง่าย ๆ พร้อมรับใบสั่งยาออนไลน์ได้เลย เพื่อให้ลูกค้านำไปรับยากับที่ร้านเภสัชกรใกล้บ้าน หรือจะเลือกเป็นบริการจัดส่งให้ถึงที่บ้านก็ได้เช่นกัน (มีค่าจัดส่ง)

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยไม่แพง เริ่มต้นแค่ 22 บาท/วัน
  • คุ้มครองค่ารักษาสูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครองสูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • ค่าพยาบาลพิเศษ คุ้มครองสูงสุด 1,000 บาท/วัน
  • ค่าทันตกรรม สูงสุด 1,000 บาท/ปี ไม่จำกัดครั้ง
  • OPD ค่ารักษาสูงสุด 1,500 บาท 30 ครั้ง/ปี
  • รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เบี้ยฯเริ่ม 46 บาท/วัน ไม่ต้องจ่ายก่อน
  • แคร์ค่ารักษา สูงสุด 5 ล้านต่อการรักษา
  • คุ้มครองห้องผู้ป่วย สูงสุด 15,000 บาท/วัน
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แคร์ทุกวัย
  • คุ้มครองมะเร็ง เคมีบำบัดสูงสุด 100,000 บาท/ปี
  • คุ้มครอง OPD สูงสุด 2,500 บาท/วัน เพิ่มเติมได้
  • รักษา รพ. BDMS ไม่ต้องจ่ายก่อน แคร์เรื่องเงิน
วิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • อายุ 16 - 60 ปี สมัครได้ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • แคร์ทั้งปี คุ้มครองสูงสุด 700,000 บาท/ปี
  • แคร์ค่าห้อง คุ้มครองสูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • คุ้มครองเคมีบำบัดมะเร็ง สูงสุด 50,000 บาท/ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แคร์คนทำ สมัครง่าย
  • คุ้มครองชีวิต 100,000 บาท แคร์ไม่คาดฝัน
  • ลดหย่อนภาษีได้ แคร์สูงสุด 25,000 บาท
ยูนิเวอร์แซลพลัสยูนิเวอร์แซลพลัส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เบี้ยเบาๆ เริ่มต้นเพียง 19 บาท/วัน
  • สมัครง่าย เบี้ยไม่แพง 16-60 ปี
  • อุบัติเหตุไม่คาดฝัน คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท
  • ครอบคลุมผ่าตัด คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท
  • ค่าห้อง-อาหาร สูงสุด 8,000 บาท/คืน คุ้มครองครบ
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 2 ล้าน/ครั้ง
  • ช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. รถพยาบาลพร้อมบริการ

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา