กรดไหลย้อนหายได้หรือไม่? ไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น
“กรดไหลย้อน” สร้างความลำบากและทรมานในการใช้ชีวิตของใครหลาย ๆ คน และเป็นอาการที่มักถูกหยิบขึ้นมาพูดในเชิงตลกขบขัน โดยมักจะถูกหยิบมาพูดว่านี้คือการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ คนทำงาน แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดได้แค่ในผู้ใหญ่จริง ๆ หรือ? เราจะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้นไปดูว่าอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างไร แนวทางการรักษา และอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อที่จะให้ทุกคนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อนนี้
กรดไหลย้อน คืออะไร
กรดไหลย้อนหรือ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) ตามนิยามของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ให้ข้อมูลกรดไหลย้อน คือโรคหรืออาการที่เกิดจากการไหลย้อนของสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไม่ว่าจะเป็นกรดหรือแก๊สกลับไปที่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนที่มีอาการกรดไหลย้อน
โดยหลาย ๆ คนอาจคิดว่าโรคกรดไหลย้อน (GERD) สามารถเกิดขึ้นได้แต่กับผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่นวัยหนุ่มสาว ผู้ใหญ่วัยทำงาน หรือแม้กระทั้งผู้สูงอายุก็สามารถเกิดขึ้นได้นั่นเอง
อาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างไรบ้าง
อาการกรดไหลย้อนสร้างความลำบากและความทรมานในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนี้เป็นอย่างมาก หลายคนถึงกับกินข้าวไม่ได้ ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ซึ่งผลกระทบนี้เกิดขึ้นในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน และสำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการ
อาการกรดไหลย้อนที่พบบ่อย
- แสบร้อนกลางอกบริเวณลิ้นปี่ จุกแน่นกลางอก กรดไหลย้อนเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร
- มีอาการท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ รู้สึกอยากอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร
- รู้สึกจุกคล้ายกับมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณลำคอ
- ในปากรู้สึกถึงความเปรี้ยว มีอาการเรอเปรี้ยว ตื่นมารู้สึกขมทั้งในปากและคอ
- อาหารถูกดันให้ย้อนขึ้นมาในปากและลำคอ
อาการกรดไหลย้อนที่อาจพบได้
- ไอแห้ง มีเสียงแหบ เจ็บคอจากกรดไหลย้อน
- ตื่นขึ้นมาไอกลางดึก
- อาการหืดหอบจากกรดไหลย้อน
- ระคายเคืองในทางเดินหายใจ ทำให้นอนกรนได้
และเรายังสามารถแบ่งระดับอาการของโรคกรดไหลย้อนออกไปได้ถึง 3 ระดับด้วยกันคือ
1. ภาวะการไหลย้อนที่กระเพาะอาหาร หรือ Gastroesophageal Reflux (GER)
เป็นกรดไหลย้อน อาการ เริ่ม ต้นโดยอาการกรดไหลย้อนจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือว่านาน ๆ ครั้งเป็นทีไม่มีความแน่นอน ยังไม่ถึงขั้นส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ จัดเป็นระดับที่ต่ำที่สุด
2. โรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD
อาการกรดไหลย้อนระดับกลาง คือ เกิดภาวะไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร กรดไหลย้อนในระดับนี้เริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบปกติมากขึ้น
3. โรคน้ำย่อยกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดคอ หรือ Laryngopharyngeal Reflux (LPR)
เรียกได้ว่าเป็นกรดไหลย้อน อาการหนักซึ่งอาจจะลุกลามทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ขึ้นมาได้ โดยมีภาวะการไหลเข้าสู่หลอดอาหารย้อนขึ้นมาถึงคอมากขึ้น
โรคกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากอะไร?
โรคกรดไหลย้อนมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Gastroesophageal Reflux Disease: GERD ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปตามหลอดอาหาร เนื่องด้วยน้ำย่อยมีคุณลักษณะเป็นกรด เมื่อไหลย้อนกลับไปจึงทำให้กรดในน้ำย่อยไปทำให้หลอดอาหารระคายเคือง จึงเกิดอาการแสบร้อนทรมานที่ทรวงอกนั่นเอง ทั้งนี้ภาวะของน้ำย่อยที่ไหลย้อนกลับไปนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้นจะเกิดขึ้นบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นตามมาได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนนั้น ทางโรงพยาบาลศิริราชได้อธิบายสาเหตุโรคกรดไหลย้อนไว้ดังนี้ มาจากหลายปัจจัยดังนี้
1. เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ปลายหลอดอาหาร
ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมายังหลอดอาหาร หากกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติก็จะทำให้น้ำย่อยไหลกลับขึ้นมา ทั้งนี้อาจมีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มาคาเฟอีนต่าง ๆ รวมถึงการสูบบุหรี่
2. การบีบตัวของหลอดอาหารที่ทำงานช้ากว่าปกติ
ซึ่งโดยปกติแล้วหลอดอาหารจะบีบตัวเพื่อให้อาหารที่เรากลืนไหลเข้าสู่กระเพาะ แต่ถ้าหลอดอาหารบีบตัวช้าเกินไปจะทำให้อาหารค้างอยู่ในหลอดอาหาร น้ำย่อยก็จะมีโอกาสไหลย้อนขึ้นมาได้
3. เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารดึกแล้วเข้านอนโดยที่อาหารยังไม่ได้ย่อย
การทานอาหารจนอิ่มเกินไป หรือทานอาหารที่มีไขมันมากจนเกินไป เนื่องจากการนอนจะทำให้หูรูดหลอดอาหารทำงานได้ไม่ดี กรดน้ำย่อยจึงไหลย้อนกลับไปง่ายกว่าปกติ ซึ่งแพทย์ได้วิจัยออกมาว่าพฤติกรรมทานอาหารแล้วนอนทันทีจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า
4. เกิดจากภาวะความเครียด
เนื่องจากภาวะเครียดจะส่งผลให้หลอดอาหารไวต่อสิ่งกระตุ้น น้ำย่อยจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ง่าย
5. ความผิดปกติของการบีบตัวในกระเพาะ
ซึ่งจะทำให้อาหารย่อยช้าและนานกว่าปกติ จึงมีโอกาสทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารง่ายขึ้น
6. ความอ้วน
ซึ่งจะเพิ่มแรงกดในกระเพาะอาหาร จึงทำให้กรดไหลย้อนกลับจนเป็นโรคกรดไหลย้อนได้
7. ภาวะการตั้งครรภ์
หญิงอยู่ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้หูรูดหลอดอาหารทำงานผิดปกติ อีกทั้งมดลูกที่ขยายขึ้นยังเพิ่มแรงกดที่ทำต่อกระเพาะอาหารด้วย
กรดไหลย้อน รักษาอย่างไรได้บ้าง
สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วไม่ต้องตกใจกันไป เพราะว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หายไปได้นั้นเอง ขอเพียงแค่ปรับการใช้ชีวิต รวมถึงปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โรคกรดไหลย้อนก็พร้อมโบกมือลาเราไปได้แล้ว ไปดูกันว่ากรดไหลย้อน รักษาอย่างไรได้บ้าง
ปรับพฤติกรรมแก้รักษาอาการกรดไหลย้อน
- ทานอาหารไม่ควรนอนในทันที ควรเว้นเวลาไว้ราว ๆ 2-3 ชั่วโมง
- กินอาหารในแต่และมื้อในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไปเพื่อลดอาการกรดไหลย้อน
- ลดอาหารมื้อดึกเพื่อลดกรดไหลย้อน
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดหรืออาหารที่ย่อยยาก
- งดดื่มเครื่องดื่มจำพวกคาเฟอีน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารไขมันต่ำ
- ควบคุมน้ำหนักลดความอ้วนช่วยลดกรดไหลย้อน
- ไม่นอนดึกและเข้านอนให้เป็นเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงโรคกรดไหลย้อน
- ลดภาวะเครียดและลดการสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่แน่น บีบรัดร่างกาย
- สำหรับคนที่มีกรดไหลย้อน อาการ ตอน นอนเกิดขึ้น ควรนอนศีรษะให้สูงขึ้นราว 15 เซนติเมตร ร่วมกับการนอนในท่าตะแคงซ้าย
รักษากรดไหลย้อนกับแพทย์
- รับประทายยาลดกรด
- รับประทานยากรดไหลย้อนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หากเป็นกรดไหลย้อนหนัก อาจผ่าตัดเย็บหูดรูดหลอดอาหาร
โรคกรดไหลย้อน กินอะไรได้บ้าง?
ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนแนะนำให้ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ ไขขาว น้ำเต้าหู้ และเนื้อปลา รวมถึงอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ผัก ผลไม้ที่กรดน้อย(กล้วย แตงโม อโวคาโด ผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว) ส่วนเครื่องดื่มนั้นแนะนำให้ดื่มสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยขับลมและช่วยย่อยอย่างเช่นน้ำขิง เป็นต้น แม้ว่าโรคกรดไหลย้อนจะควรงดอาหารประเภทไขมัน แต่ไขมันดีจากอาหารบางชนิดคุณก็สามารถทานได้เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ เช่น อะโวคาโด แฟลกซ์ซีด น้ำมันมะกอก น้ำมันงา หรือน้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
กรดไหลย้อน ห้ามกินอาหารอะไร
จะเห็นได้ว่ากรดไหลย้อนมีแนวทางการปฏิบัติตนที่สามารถทำได้ไม่ยากและอีกหนึ่งสิ่งที่หลาย ๆ คนสามารถทำได้ง่ายคือเมื่อเป็นกรดไหลย้อน ห้ามกินอาหารบางจำพวก โดยอาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้น ไปดูกันว่าหากเป็นกรดไหลย้อน ห้ามกินอาหารบ้าง
- อาหารไขมันสูง
- เครื่องดื่มหรืออาหารที่อุดมไปด้วยคาเฟอีน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สมาก
- ช็อกโกแลต
- ผลไม้ อาหารที่มีกรดหรือรสเปรี้ยว
- อาหารหมักดอง
- หมากฝรั่ง
กรดไหลย้อนกี่วันหาย
กรดไหลย้อนเป็นอีกโรคที่อาการส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก เชื่อว่าคนเป็นนั้นก็อยากที่จะหายจากอาการกรดไหลย้อนเร็ว ๆ ซึ่งเมื่อเข้าสู่การรักษาอย่างจริงจังทั้งการปรับการใช้ชีวิตร่วมกับการทานยาตามที่แพทย์สั่ง อาการของกรดไหลย้อนจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน
แต่ก็มีผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่ใช้เวลานานนับเดือนการรักษาถึงจะเห็นผล และกรดไหลย้อนมีอาการที่ทุเลาลง ซึ่งถ้าจะให้อาการกรดไหลย้อนหายขาดอาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้นคือในระดับหลายเดือนจนถึงหลายปีขึ้นอยู่กับระดับอาการที่เป็นในแต่ละคน ซึ่งต้องเน้นย้ำว่าการรักษานี้ต้องปรับพฤติกรรมและทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
กรดไหลย้อนเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทรมานจากอาการที่เป็นอยู่ ถึงแม้ว่าระดับความร้ายแรงของโรคจะไม่ได้ถือว่ารุนแรงมากเมื่อเทียบกับโรคร้ายแรงอื่น ๆ ก็ตาม และถ้าตอนนี้คุณยังไม่ได้มีอาการกรดไหลย้อนอยู่ล่ะก็ เราขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ เพราะในกรณีนี้หากคุณเป็นกรดไหลย้อนภายหลังจากทำประกันแล้วล่ะก็อาการของคุณจะได้รับการคุ้มครองนั่นเอง หากสนใจสามารถมาสมัครกับเราได้ที่ แรบบิท แคร์ โดยมาพร้อมกับสิทธิพิเศษมากมายไม่ว่าจะเป็น วีดีโอคอลปรึกษาทีมแพทย์ผ่านทาง LINE Official Account สามารถผ่อนจ่าย 0% นานสูงสุด 10 เดือน และยังมีสิทธิพิเศษอีกมากมายไว้รอคุณ
วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน แม้ว่าคุณยังไม่ได้เป็นโรคดังกล่าว แต่สักวันคุณอาจจะเป็นได้ถ้าไม่ดูแลตนเองเพียงพอ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตามแนวทางดังนี้
- อย่ารับประทานอาหารมากจนจุก หรือจนแน่นท้อง หากหิวให้เน้น รับประทานอาหารในปริมาณครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น
- ห้ามนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร หรือหลีกเลี่ยงการเข้านอนหลังจากทานอาหารมื้อค่ำอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
- ปรับระดับของเตียงนอน ให้ศีรษะอยู่สูงจากเท้าประมาณ 6-8 นิ้ว แนะนำให้ใช้เตียงปรับระดับความสูงช่วงคอและลำตัวได้เหมือนเตียงตามโรงพยาบาล อย่าหนุนหมอนสูงเพียงอย่างเดียวเพราะจะทำให้ลำตัวพับงอและปวดคอตามมา
- ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้ ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกเลต ผลไม้รสเปรี้ยว อาการที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบตัวได้ดียิ่งขึ้น
- หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ให้พยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โรคกรดไหลย้อนอันตรายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม?
โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้หากได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนอย่างใกล้ชิด แม้ว่าโรคกรดไหลย้อนนั้นจะไม่รุนแรงจนถึงชีวิต แต่ถ้าปล่อยไว้ก็ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของคุณ ไปจนถึงการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากคุณมีอาการตามโรคกรดไหลย้อนเราก็แนะนำให้รีบพบแพทย์ย่อมดีกว่า เพื่อให้รักษาหรือป้องกันโรคนี้จะทำให้คุณใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
ก่อนจากกัน แรบบิท แคร์ ขอแนะนำอีกหนึ่งสิ่งสำคัญให้ทุกคนได้ทราบ นั่นก็คือการทำประกันสุขภาพเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายเวลาป่วยเป็นโรคภัยต่าง ๆ รวมถึงโรคกรดไหลย้อนด้วย แม้ว่าคุณจะดูแลตนเองดีเพียงไรแต่โรคภัยก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นกับตัวคุณ การทำประกันสุขภาพจึงเสมือนเป็นการช่วยคุณป้องกันขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง หากคุณสนใจอยากทำประกันสุขภาพ คุณสามารถติดต่อมาขอคำปรึกษากับเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราเป็นโบรกเกอร์ประกันสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เรามีแผนประกันให้คุณเลือกมากมาย สามารถเปรียบเทียบราคาแล้วซื้อกรมธรรม์ได้ภายในไม่กี่นาที
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ