เครียดลงกระเพาะอาการเป็นอย่างไร และอันตรายมากไหม?
ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนนั้นล้วนแล้วแต่ได้รับความเครียดสะสมกันทั้งสิ้น ทั้งจากในเรื่องของการเรียน การงาน ความรัก สุขภาพ การเงิน เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นทั้งที่แบบรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม เพราะความเครียดนั้นถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายได้มากมาย โดยหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเครียดคือโรคเครียดลงกระเพาะที่เห็นได้มากในวัยเรียนและในวัยทำงาน เนื่องจากความเครียดมันจะส่งกระทบทั้งทางร่างกายและทางจิตใจได้ด้วย ดังนั้นถ้าเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีภาวะเครียดสะสม ก็ให้ลองหากิจกรรมที่จะสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดให้กับตนเองได้ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำสมาธิ ทำอาหาร อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ฯลฯ เพื่อช่วยลดความเครียดได้ในระดับหนึ่ง
เครียดลงกระเพาะเกิดจากอะไร?
จากข้อมูลของ อ.พญ.ศุภมาส เชิญอักษร สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลในบทความสุขภาพเรื่อง “โรคเครียดลงกระเพาะ หยุดเครียด หยุดเสี่ยง” ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลเรื่องโรคเครียดลงกระเพาะว่ามักจะเกิดในผู้ป่วยวัย 18-35 ปี เนื่องจากในวัยนี้กำลังมีความเครียดมาจากสิ่งรอบข้างในแต่ละวัน ดังนั้นความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นจึงไปกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหารให้ออกมาในจำนวนที่มากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบขึ้นมาอีกด้วย และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบในร่างกายเราเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ฮอร์โมนบางตัวทำงานผิดปกติ สมองสั่งการได้ช้าลง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ โรคอ้วน เป็นต้น
ดังนั้นสาเหตุหลัก ๆ ของภาวะเครียดลงกระเพาะจึงมีดังนี้
- เกิดจากความเครียดที่ไปทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้หยุดชะงักลง
- ต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนไปเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามากจนเกินไป ทำให้นอนไม่หลับและหิวนั่นเอง
- ระบบประสาทอัตโนมัติมีการไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนออกมา
เครียดลงกระเพาะอันตรายไหม?
โรคเครียดลงกระเพาะไม่ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ แต่มักจะเป็นโรคเรื้อรังที่ไปส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยที่ในบางครั้งอาจจะมีอาการรุนแรงได้เป็นบางช่วง ซึ่งถ้าหากว่าพบสัญญาณผิดปกติเกิดขึ้นมากับร่างกายก็จะแสดงถึงสัญญาณเตือนของโรคเครียดลงกระเพาะได้ เช่น น้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว กลืนลำบาก เจ็บคอ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ กินอาหารได้น้อยลง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อน มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง หรือมีอาการอ่อนเพลียที่ผิดปกติ เพราะถ้าหากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการดังที่กล่าวมานี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกวิธี อีกทั้งควรให้แพทย์ตรวจอาการแทรกซ้อนเพิ่มเติมว่าเป็นภาวะของโรคร้ายแรงอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น โรคมะเร็งในช่องท้อง เป็นต้น
เครียดลงกระเพาะ อาการมีอะไรบ้าง?
- รู้สึกนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท
- รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด มีเรอเหม็นเปรี้ยว
- มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน
- รู้สึกเสียดหน้าอก อาหารไม่ย่อย
- มีอาการปวดท้องตอนท้องว่างบริเวณลิ้นปี่
- ผายลมบ่อย สะอึกบ่อย
- ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว รู้สึกอ่อนเพลีย
- รับประทานอาหารได้น้อยลง
- แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่
- ขับถ่ายออกมาเป็นสีดำ หรือมีมูกเลือด
- ขนลุกบ่อย เนื่องจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว
- หายใจเร็วขึ้น เพราะรูจมูกที่ขยายใหญ่จากการที่ปอดขยายตัวสร้างออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อมากขึ้น เพื่อต้องการช่องทางเดินอากาศที่กว้างมากขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบจากภาวะเครียดลงกระเพาะ
- เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร
- มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ระบบย่อยอาหารนั้นทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นกว่าเดิม หรือมีการหลั่งกรดในกระบวนการย่อยอาหารที่ลดน้อยลง
- หลอดอาหารมีการบิดเกร็งมากขึ้น ซึ่งจะไปส่งกระทบทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ในอนาคต
- การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพลง ซึ่งจะไปส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้นมาได้
- ลำไส้ใหญ่มีการตอบสนองต่อความเครียด จึงไปส่งผลทำให้การขับถ่ายนั้นมีการทำงานที่ผิดปกติไป
- นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ท้องเสีย มีแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
เครียดลงกระเพาะ วิธีแก้มีอะไรบ้าง?
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด รสเผ็ด หรือรสหวานมันเค็มมากจนเกินไป เช่น ของหมักดอง ของทอด เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามไม่เครียด และไม่วิตกกังวลมากจนเกินไป
- รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เป็นต้น
- ฝึกการทำสมาธิ และฝึกหายใจ
- วางแผนจัดตารางการทำงานในแต่ละวันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เรามองเห็นภาพรวมว่าในแต่ละวันควรจะทำอะไรก่อนหลัง เป็นการลำดับความสำคัญของงานในแต่ละวัน
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครียดลงกระเพาะ รักษายังไง?
โรคเครียดลงกระเพาะนั้นสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าหากว่าได้รับการดูแลที่ดี รวมไปถึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วย แต่ถ้าหากว่ายังไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำและแนวทางในการรักษาโรคเครียดลงกระเพาะที่ถูกวิธีต่อไป
วิธีป้องกันภาวะเครียดลงกระเพาะ
• หมั่นพูดคุยระบายความเครียด
เช่น ปรึกษาเพื่อน ปรึกษาครอบครัว หรือปรึกษาคนรอบข้าง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้นมาได้ หรือว่าอาจจะไปปรึกษากับนักจิตวิทยาโดยตรงเพื่อขอรับคำแนะนำในการรับมือกับความเครียด หรือการปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อปัญหา
• หลีกเลี่ยงการรับมือกับความเครียดที่ผิดวิธี
เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะว่ามันไม่ได้ช่วยทำให้ความเครียดของเราดีขึ้น แต่กลับยิ่งส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหารนั่นเอง อีกทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นก็ยังเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่จะไปก่อให้เกิดความเครียดและจะไปส่งผลกระทบต่อกระบวนการย่อยอาหารในร่างกายได้อีกด้วย
• มีการวางแผนจัดตารางงานให้เหมาะสม
โดยที่จะต้องมีการสร้างความสมดุลให้กับการใช้ชีวิตด้วย คือไม่ทำงานหนักจนเกินไป มีการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือพยายามไม่สะสมความเครียดมากจนเกินไป เพราะมันจะเป็นปัจจัยไปกระตุ้นให้เรานั้นเครียดขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นให้พยายามแก้ปัญหาจากต้นเหตุ ตั้งเป้าหมายการใช้ชีวิตในแต่ละวัน จัดสรรงานให้มีระเบียบมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพรวมและจัดลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั่นเอง
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตประจำวันให้เป็นไปอย่างปกติ เพราะถึงแม้ว่าในบางครั้งเราจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังมีปัจจัยภายนอกตัวอื่น ๆ หรือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้นั้นก็มีอยู่เยอะเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทและมีการวางแผนเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก และถ้าหากว่าเรามีการวางแผนทำประกันสุขภาพไว้ก็จะสามารถช่วยลดความกังวลใจ ลดความวิตกกังวล และค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องเสียขึ้นมาในอนาคตได้พอสมควร เพราะเราจะได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมไปถึงการเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหติหรือภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็สามารถที่จะแจ้งเคลมได้เช่นเดียวกัน
โดยทาง แรบบิท แคร์ ก็ได้มีแผนความคุ้มครองดี ๆ ที่มาพร้อมกับเบี้ยประกันในราคาที่ไม่แพงในทุกรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ในทุกความต้องการของลูกค้าได้ทันที อีกทั้งแรบบิท แคร์ ยังมีบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพจากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศมากมาย เช่น บริษัทวิริยะประกันภัย เจนเนอราลี่ ไทยประกันชีวิต โตเกียวมารีนประกันชีวิต FWD LMG และ Aetna ซึ่งให้คุณได้เลือกแผนประกันที่ตรงตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นทั้งในแบบปกติและในแบบเหมาจ่าย ที่จะช่วยทำให้คุณประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกแผนความคุ้มครองที่คุณนั้นสามารถสมัครและขอรับความคุ้มครองได้เองเลยผ่านทางเว็บไซต์ของแรบบิท แคร์ โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ