Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 16, 2024

อั้นฉี่นาน! ระวังกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยไม่รู้ตัว

หากกล่าวถึงโรคยอดฮิตที่เหล่ามนุษย์ออฟฟิศเป็นบ่อยคงหนีไม่พ้นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะหลายคนอาจยุ่งกับการทำงานจนไม่มีเวลาเข้าห้องน้ำ หรืออาจอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สะดวกต่อการเข้าห้องน้ำ และเมื่อกลั้นปัสสาวะไปนาน ๆ เข้า อาการก็จะสะสมจนเกิดเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมไปถึงอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวนี้ ซึ่งแม้ว่าจะดูไม่ร้ายแรงแต่หากปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยได้เช่นกัน ในวันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาแชร์เรื่องราวดีดีเกี่ยวกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ให้คุณได้ทราบกัน

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไร?

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) นั้นเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มักพบอยู่ตามรอบท่อปัสสาวะและทวารหนักเข้ามาปนเปื้อนเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อนี้อาจเกิดได้จากแบคทีเรียหลายชนิด แต่ที่มักพบบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E. coli) ที่มักจะอยู่บริเวณรอบทวารหนักนั่นเอง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้มักเกิดกับผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าผู้ชายอีกทั้งยังอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคปะปนเข้าท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่านั่นเอง

หลายคนมักเข้าใจว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้นเกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ซึ่งเราขอบอกว่าคุณเข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากโรคนี้มีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเราจะอ้างอิงข้อมูลการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และโรงพยาบาลชั้นนำอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • เกิดจากการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ซึ่งการกลั้นปัสสาวะนั้นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะเติบโตได้เร็วกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน แบคทีเรียจึงเติบโตไวกว่าปกติ
  • ขาดการดูแลสุขอนามัยรอบอวัยวะเพศอย่างถูกต้อง รวมถึงการล้างอวัยวะเพศไม่สะอาดทำให้มีแบคทีเรียสะสมอยู่ หรือการเช็ดก้นหลังจากทำธุระหนักไม่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นกัน
  • การติดเชื้อขณะมีเพศสัมพันธ์
  • การป่วยเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคนี้มีภูมิคุ้มกันทางร่างกายต่ำ จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้ออันเป็นสาเหตุกระเพาะปัสสาวะอักเสบเพิ่มขึ้น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะล้างช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้แบคทีเรียดีถูกขจัดออก จึงเกิดอาการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศหญิงในวัยเริ่มหมดประจำเดือน ความชุ่มชื้นบริเวณเยื่อบุช่องคลอดและท่อปัสสาวะจะลดลง การป้องกันเชื้อแบคทีเรียจึงน้อยลงตาม จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ผลจากการทานยาปฏิชีวนะบางประเภท ที่จะลดภูมิต้านทานการติดเชื้อลง
  • การใส่ผ้าอนามัยแบบสอด หรือท่อช่วยปัสสาวะ
  • การตั้งครรภ์

เช็กตนเอง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการเป็นอย่างไร?

เมื่อทราบสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบกันไปแล้ว ตอนนี้เราจะแนะนำให้ทุกท่านเช็กร่างกายของตนเองขณะนี้ว่าเป็นโรคดังกล่าวอยู่หรือไม่ โดยให้คุณสังเกตอาการดังต่อไปนี้ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าคุณนั้นเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • มีอาการปวดและแสบบริเวณท้องน้อย โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะ
  • มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะขัด ปล่อยได้ทีละน้อย และรู้สึกว่าปัสสาวะออกไม่สุด
  • มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีอาการปวดหลัง หรือ ปวดบริเวณข้างลำตัว
  • ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นผิดปกติ บางครั้งปัสสาวะมีเลือดออกเจือปน
  • บางครั้งเมื่อปัสสาวะอาจพบก้อนนิ่วปะปนออกมา

เกร็ดเล็กน้อยที่ควรรู้ การปัสสาวะบ่อยนอกจากจะเป็นอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้ว ยังเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น หากคุณมีอาการดังกล่าว แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายไปยิ่งกว่านี้

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ วิธีรักษาต้องทำอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเล็กน้อยสามารถหายเองได้ โดยให้ดื่มน้ำสะอาดครั้งละมาก ๆ เพื่อขับเชื้อแบคทีเรียออกจากกระเพาะปัสสาวะ ละเว้นการกลั้นปัสสาวะใด ๆ ทุกกรณี เน้นทานอาหารประเภทผักและผลไม้เพื่อลดการอักเสบ และอาจทานยาแก้ปวดที่ลดอาการอักเสบควบคู่กันได้ เช่น ไอบูโพรเฟน เมเฟนามิก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการหนักแนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์ทันที

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในการรักษา โดยจะใช้ยาอื่น ๆ ร่วมในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ยาแก้ปวดบิดเกร็งท้อง เป็นต้น โดยแพทย์อาจให้ยารับประทานประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้ามีอาการรุนแรงแพทย์อาจจัดยาให้ทานประมาณ 7-10 วัน รวมถึงสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา สรุปคือโรคนี้จะไม่สามารถรักษาทางตรงได้ แต่จะเป็นการให้ยาเพื่อบรรเทารักษาตามอาการนั่นเอง

เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติว่าคุณมีพฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และจะเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียและเช็กเกล็ดเม็ดเลือดขาว และถ้ามีการพบเชื้อก็จะมีการนำส่งปัสสาวะไปที่ห้องเพาะเชื้อต่อไปเพื่อตรวจดูว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทใด รวมถึงส่องกล้อง (Cystoscopy) เพิ่มเติมเพื่อตรวจหาว่ามีสิ่งผิดปกติในท่อปัสสาวะหรือไม่ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจนิ่วในกระเพาะปัสสาวะด้วย หากผู้ป่วยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบรุนแรงแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ หรือถ่ายภาพรังสี (Imaging Tests) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติในทางเดินปัสสาวะเพิ่มเติม

โดยปกติแล้วหากเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบฉับพลันและมีอาการไม่หนักมากจะสามารถหายได้ภายใน 2 สัปดาห์ หากปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด แต่ถ้าในกรณีป่วยแบบเรื้อรังและปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจทำให้เชื้อโรคลุกลามไปที่ไต จนอาจทำให้กรวยไตอักเสบได้เช่นกัน ซึ่งอาจนำมาสู่ภาวะไตวายตามมา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ห้ามกินอะไรบ้าง?

เมื่อคุณป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือการทานอาหารที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เพื่อลดการกระตุ้นไม่ให้อักเสบมากกว่าเดิม ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมอย่างชาและกาแฟ (สารคาเฟอีนจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย) รวมถึงงดทานของหวานต่าง ๆ ที่ให้น้ำตาลสูง ตลอดจนงดทานของทอด เพราะจะไปกระตุ้นการอักเสบให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ต้องพยายามไม่ดื่มมาก ๆ ก่อนนอนเพื่อป้องกันการปวดปัสสาวะขณะนอนหลับ

อาหารที่ผู้ป่วยควรทานคือผักใบเขียวและผลไม้ เช่น กล้วย สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล อะโวคาโด และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งจะมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบ และลดการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะ

แนวทางปฏิบัติ ป้องกันตนเองจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?

  1. หากปวดปัสสาวะก็ให้เข้าห้องน้ำทันที อย่ากลั้นปัสสาวะ หากปวดต้องเข้าห้องน้ำทัน งดดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนเข้านอนเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดปัสสาวะตอนกลางคืน
  2. สำหรับเพศหญิงให้หมั่นรักษาสุขอนามัยบริเวณรูทวารและช่องคลอด โดยทำความสะอาดจากบริเวณช่องคลอดก่อนรูทวารหนักจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียปะปนไปในท่อปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  3. ทำความสะอาดอวัยวะเพศทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ และพยายามปัสสาวะกำจัดเชื้อแบคทีเรียทิ้งหลังมีเพศสัมพันธ์
  4. งดทานอาหารที่มีน้ำตาล เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงอันเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
  5. หมั่นดื่มน้ำสะอาดวันละประมาณ 8 -10 แก้ว เพื่อลดการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
  6. หากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการคล้ายกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคทันที
  7. หมั่นรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น ถือเป็นโรคภัยที่มักเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าหากป่วยเป็นโรคดังกล่าวนี้เล็กน้อยจะสามารถรักษาได้ แต่ถ้าเกิดการอักเสบเรื้อรังจนนำไปสู่โรคกรวยไตอักเสบหรือป่วยเป็นโรคนิ่วในไต ก็จะเป็นอันตรายร้ายแรงกับตัวคุณ อีกทั้งยังมีค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย ดังนั้นเพื่อสร้างเกราะป้องกันให้คุณอุ่นใจไปอีกชั้น เราจึงขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพไว้ก่อน ซึ่งหากเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินปัสสาวะรวมถึงโรคร้ายอื่น ๆ ก็จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้

แรบบิท แคร์ มีแผนประกันสุขภาพมากมาย ที่ให้ความคุ้มครองสูง ราคาเบี้ยประกันสุดคุ้มค่า หากต้องการประกันสุขภาพที่เหมาะกับตัวคุณ สามารถปรึกษาเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • สมัครง่าย เบี้ยเริ่มต้นเพียง 22 บาท/วัน
  • เหมาจ่ายรักษาสูงสุด 1,000,000 บาท
  • ดูแลค่าห้อง รพ. สูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • คุ้มครองค่าพยาบาลพิเศษ สูงสุด 1,000/วัน
  • คุ้มครองทันตกรรม สูงสุด 1,000 บาท/ปี
  • คุ้มครอง OPD รับค่ารักษาสูงสุด 1,500 บาท
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุวิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ค่ารักษาเหมาจ่ายตามจริง ไม่จำกัดครั้ง
  • คุ้มครองเคมีบำบัด มะเร็งทุกระยะ 50,000 บาท/ปี
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 6,500 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • อายุ 15 วัน - 65 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครได้
  • คุ้มครองผู้ป่วยใน รับสูงสุด 800,000 บาท/ปี
  • คุ้มครอง OPD สูงสุด 2,500 บาท/วัน เมื่อซื้อเพิ่ม
  • เบี้ยประกันสบาย ๆ รักษา รพ. BDMS ไม่ต้องจ่ายก่อน
วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์วิริยะ วี เบ็ทเทอร์ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์คนทำ สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ความคุ้มครองเหมาจ่าย สูงสุด 770,000 บาท/ปี
  • ค่าห้อง รพ. สูงสุด 4,500 บาท/วัน
  • สมัครได้ทุกวัย 15 วัน - 65 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ฟื้นฟูผู้ป่วยใน จ่ายตามจริง สูงสุด 30 วัน
  • คุ้มครองสูญเสียอวัยวะ การได้ยิน 100,000 บาท
  • นำไปลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • มอบค่ายาผู้ป่วยกลับบ้าน จ่ายตามจริง
  • รักษาไม่จำกัดวงเงิน คุ้มครองสูงสุด 4.5 ล้าน
  • ค่าห้องผู้ป่วย คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท/วัน
  • จ่ายค่ารักษาอุบัติเหตุจริงใน 24 ชม. สูงสุด 31 วัน
  • คุ้มครองเคมีบำบัดมะเร็ง สูงสุด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์ไม่คาดฝัน คุ้มครองเสียชีวิต 100,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท แคร์ภาษี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา