Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 20, 2023

มารู้จักทฤษฎีอำนาจในการซื้อ กับ RPPP คืออะไร?

เวลาที่เราจะจับจ่ายใช้สอยสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของภายใน หรือนอกประเทศ สิ่งที่เราจะทำนั่นก็คือการเปรียบเทียบค่าเงิน ว่าซื้อที่ไหนถูกกว่ากัน เพื่อความคุ้มค่า เนื่องจากแต่ละประเทศก็มีสภาวะทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน ส่งผลให้ค่าเงินระหว่างประเทศมีความผันผวนอยู่เรื่อยๆ หรือแม้แต่การลงทุนด้วยการเทรด อย่าง Forex เองก็ต้องคำนวณ และประเมิณสถานการณ์เกี่ยวกับค่าเงิน ดังนั้นวันนี้จะมาแนะนำทฤษฎีที่น่าสนใจ อย่าง RPPP เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับ RPPP มาให้คุณแล้ว

Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คืออะไร?

Relative Purchasing Power Parity หรือที่ใช้ตัวย่อว่า RPPP คือทฤษฎีในเรื่องของความเสมอภาค และความเท่าเทียมในการซื้อ โดยพื้นฐานทฤษฎีนี้มาจาก PPP หรือ Puchasing Power Parity ซึ่งเป็นทฤษฎีเชิงเศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องของการประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ประเทศ โดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจและตัวเลขทางการเงิน มาวิเคราะห์สถานการณ์ของสภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยที่ Relative Purchasing Power Parity หรือ RPPP คือการเพิ่มสภาวะเงินเฟ้อเข้ามาวิเคราะห์สถานการณ์เพิ่มด้วย พูดกันภาษาง่ายๆ คือ ประเทศ A ที่มีภาวะเงินเฟ้อมากกว่า ก็จะมีค่าเงินที่อ่อนกว่านั่นเอง

สรุปคือ ทฤษฎีของ Relative Purchasing Power Parity (RPPP) คือการที่อัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินระหว่างสองประเทศนั้นจะได้รับผลกระทบโดยอัตราเงินเฟ้อ และราคาของสินค้า ซึ่งการที่ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อมากกว่าส่งผลให้อำนาจในการซื้อก็จะลงลงตามไปด้วย

ทำความเข้าใจกับทฤษฎี Purchasing Power Parity (PPP)

ก่อนจะไปทำความเข้าใจ Relative Purchasing Power Parity (RPPP) ก็ควรรู้จัก Purchasing Power Parity (PPP) หรือทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ ก่อน ซึ่งทฤษฎีความเสมอภาคของอํานาจซื้อ มีจุดประสงค์ในการวัดดุลยภาพระยะยาวระหว่างสกุลเงินต่างๆ ในแง่ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP (Gross Domestic Product) ที่หมายถึงมูลค่าตลาดโดยรวมของสินค้าและบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าผลผลิตที่ได้ออกมานั้น จะถูกผลิตขึ้นมาด้วยต้นทุนทรัพยากรของชาติใด ซึ่งเป็นเพียงดัชนีที่เอาไว้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถวัดคุณภาพชีวิตโดยรวมของประเทศได้

GDP แบบความเสมอภาคของอำนาจซื้อ จะสามารถบ่งบอกได้ว่าประเทศนั้นๆ ผลิตสินค้าหรือบริการรวมกันได้มากน้อยเท่าไหร่ โดยการใช้ราคาภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ ดูกันที่ราคาของแต่ละประเทศเป็นหลัก เป็นต้น

ตัวอย่างในการทำความเข้าใจ Relative Purchasing Power Parity (RPPP)

อัตราเงินเฟ้อในปีหน้าของประเทศ A จะเพิ่มขั้น3% ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้าของประเทศ B เพิ่มขึ้น 6% ตามทฤษฎี Relative Purchasing Power Parity (RPPP) แปลแบบง่ายๆ ได้ว่า ประเทศ B นั้น มีอัตราเงินเฟ้อมากกว่า ประเทศ A เนื่องจากราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศ A ถึง 3 เท่า นั่นเอง เงินประเทศไหนเฟ้อกว่าอีกประเทศหนึ่ง เท่ากับค่าเงินของประเทศนั้นจะอ่อนค่ากว่านั่นเอง

สมการการคำนวณของทฤษฎี Relative Purchasing Power Parity (RPPP)

สมการของทฤษฎีการคำนวณ Relative Purchasing Power Parity (RPPP) ด้วยการใช้อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ต่อ อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน เท่ากับ 1+ อัตราเงินเฟ้อในประเทศ ต่อ 1+ อัตราเงินเฟ้อต่างประเทศ ดังนั้นหากต้องการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตที่ควรจะเป็นเพื่อรักษาอำนาจในการซื้อเอาไว้ จะต้องเอา 1 บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อของประเทศเรา หารด้วยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่ต้องการเทียบ คูณด้วยเรทปัจจุบัน จะได้อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตที่ควรจะเป็น

ตัวอย่าง

  • อัตราเงินเฟ้อไทย 0.06
  • อัตราเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกา) 0.03
  • อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 32.79
  • อัตราแลกเปลี่ยนในอีก 1 ปีข้างหน้า ควรจะอ่อนค่าไปที่ 33.75 เพื่อรักษาอำนาจในการซื้อ

สรุปได้ว่า ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่ามาก ค่าเงินก็จะมีแนวโน้มที่จะอ่อนกว่านั่นเอง ตามทฤษฎีของ Relative Purchasing Power Parity (RPPP) นอกเหนือจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการคำนวณการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน เช่น คุณภาพของสินค้าและบริการ, มุมมองของผู้บริโภค, กระแสในการอุปโภคบริโภค และสภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่ง RPPP จะกลายเป็นว่าทฤษฎีที่กล่าวไปอาจใช้ไม่ได้จริง 100 เปอร์เซนต์ แต่ใช้เป็นทฤษฎีในการประกอบการตัดสินใจ และประเมินอัตราค่าเงินเบื้องต้น เพื่อใช้ในการลงทุนหรือการเทรดได้ แต่อย่างไรก็ตามควรวิเคราะห์หลายๆ แง่มุม และต้องระมัดระวังในการลงทุน เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจและชัดเจน ก่อนการตัดสินใจลงทุน

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน
  • รับเงินภายใน 1 วัน หลังอนุมัติ
  • ผ่อน 12-72 เดือน
  • ผ่อนเพียง 80 บาท/วัน ต่อแสน
  • อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป พร้อมเอกสาร
  • รายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคลไทยเครดิตไทยเครดิต

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำสุด 9.99% ต่อปี
  • วงเงินสูงสุด 2 ล้าน
  • จ่ายขั้นต่ำ 3% หรือ 500 บาท
  • อายุ 20-60 ปี สัญชาติไทย
  • รวบหนี้บัตรและเงินสด
  • ไม่มีค้ำประกัน
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท อนุมัติสูงสุด 1.5 เท่า
  • อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้
  • อัตราดอกเบี้ย 15-25% ต่อปี, ค่าธรรมเนียม 0-10%
  • อนุมัติใน 1 ชั่วโมง ถ้าครบเอกสาร
  • รายได้เริ่มต้น 8,000 บาท ก็สมัครได้
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท
  • อนุมัติใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.08% ต่อเดือน
  • วงเงินหมุนเวียน ผ่อนขั้นต่ำเริ่ม 200 บาท
  • รับเงินเต็มจำนวน แบ่งจ่าย 60 เดือน
  • ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา