Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ

รวมกฎหมาย กฎจราจร ที่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม เมื่ออยู่บนท้องถนน

การขับรถบนท้องถนนเป็นสิ่งที่คนขับรถจะต้องพึงระวัง และควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเสมอ การที่คุณขับรถอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นต่างก็ต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยทั้งของตัวเองและผู้อื่นด้วย ดังนั้นบทความนี้จึงจะมาแนะนำสิ่งที่ควรคำนึงในการขับรถบนท้องถนนมาให้ได้รู้และปฎิบัติตามกันค่ะ เพราะบนท้องถนนอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากไม่มีสติและการควบคุมที่ดี….

กฎจราจร และกฎหมายมีความสําคัญอย่างไร

  • ความปลอดภัย
    กฎจราจรมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างการขับขี่ปลอดภัยในทางของการขับขี่ โดยกำหนดกฎเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งเรื่องการจัดการความเร็ว การตรวจสอบรถยนต์ การใช้งานสัญญาณไฟจราจร และเครื่องหมายต่างๆ เมื่อผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างถูกต้อง สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมักลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • การจัดเรียงการขับขี่
    กฎจราจรช่วยให้มีการจัดเรียงการขับขี่ให้เป็นระเบียบ ควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์ และป้องกันการปะทุของการจราจรที่ไม่เรียบร้อย สิ่งนี้ช่วยลดการติดขัดและเพิ่มความเป็นระเบียบในการใช้ถนน
  • การปรับพฤติกรรมขับขี่
    กฎจราจรช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมและขับขี่ปลอดภัย การกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการใช้คาดเข็มขัดนิรภัย การสวมหมวกกันน็อค หรือห้ามการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ เป็นต้น ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมขับขี่อันตราย
  • การควบคุมมลพิษทางอากาศ
    กฎจราจรมีบทบาทในการควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการขับขี่รถยนต์ โดยกำหนดมาตรฐานสำหรับมลพิษอากาศที่ถ่ายโอนจากรถยนต์และกำหนดข้อกำหนดการตรวจสอบความเสียหายสำหรับรถยนต์เก่า
  • ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
    การปฏิบัติตามกฎจราจรช่วยสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ ลดเวลาเสียสู่การติดขัดจราจร และลดต้นทุนในการดูแลรักษาถนน
  • ความเท่าเทียม
    วิธีสร้างความเท่าเทียมในการใช้ถนน คือการสร้างกฎจราจร ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมในการเข้าถึงถนนหรือในการได้รับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายจราจรช่วยลดการเลือกปฏิบัติตามความเป็นมากกว่าความเท่าเทียมเพื่อสร้างความเท่าเทียม

อัปเดท กฎจราจร ตัดคะแนน 2566

ณ วันที่ 9 มกราคม 2566 มีกฎหมายใหม่ออกมาใช้ประกับกฎจราจร และมารยาทในการขับขี่ อัพเดตกฎหมายจราจรทางบกใหม่ หรือ “พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2565” เพื่อให้กฎหมายมีความเท่าทันยุคสมัย โดยใช้ระบบตัดคะแนน โดยหัวใจหลัก ๆ ของกฎนี้จะมุ่งเน้นความจริงจังของกฎจราจร และแก้ปัญหากลุ่มผู้ที่ทำผิดกฎติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง ต้องจ่าย และรับบทลงโทษมากขึ้นเรื่อย ๆ

  1. ขับรถต้องมีใบขับขี่ และทุกครั้งที่ขับรถต้องพกใบขับขี่ไปด้วย โดยผู้ขับขี่จะมีคะแนนเริ่มต้นคนละ 12 คะแนน (ไม่ว่าคุณจะได้รับใบอนุญาตขับขี่กี่ชนิดก็ตาม)
  2. หากทำผิดกฎจราจรใน 20 ฐานความผิด ที่อาจก่ออุบัติเหตุใด ๆ หรือไม่ชำระค่าปรับจราจร จะถูกตัดคะแนนตั้งแต่ 1-4 คะแนน (ขึ้นอยู่กับความผิดที่คุณกระทำ)
  3. กรณีผิดกฎจราจรจนถูกตัดคะแนนเหลือ 0 คุณจะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่สูงสุด 90 วัน
  4. หากฝ่าฝืนกฎจราจร หรือขับรถในช่วงถูกพักใบขับขี่ มีโทษจำคุกนาน 3 เดือน และ / หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  5. คุณสามารถได้รับคะแนนคืนได้ ด้วยการเข้าอบรม เรียนรู้กฎจราจร กับกรมการขนส่งทางบก หรือรอให้ครบ 1 ปี ระบบจะคืนคะแนนให้โดยอัตโนมัติ
  6. หากถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 3 ปี คุณอาจถูกพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน และหลังจากนั้น ภายใน 1 ปี หากถูกตัดคะแนนจนถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 4 คุณอาจถูกเพิกถอนใบขับขี่ทุกประเภท เพราะเป็นผู้ที่ไม่สามารถทำตามกฎจราจรได้

เกณฑ์การหักคะแนน


หัก 1 คะแนน : ความผิดกฎจราจรเล็กน้อย เช่น ขับรถไม่หยุดให้คนเดินข้ามทาง ณ ทางข้าม ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ “เส้นทางข้าม” / ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน / ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร / ขับรถในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา (และอื่น ๆ อีกมากมาย)

หัก 2 คะแนน : ความผิดกฎจราจรระดับกลาง เช่น ขับรถโดยฝ่าฝืนไฟแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า “หยุด” / ขับรถย้อนศร / ขับรถในระหว่างที่ใบอนุญาตถูกสั่งยึด หรือถูกสั่งพักใช้ (และอื่น ๆ)

หัก 3 คะแนน : ความผิดระดับกลางที่อาจทำให้ผู้อื่นเสี่ยงภัย เช่น ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ / ขับรถในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่หารขับขี่ปลอดภัย (และอื่น ๆ อีกมากมาย)

หัก 4 คะแนน : ความผิดกฎจราจรระดับสูง ที่ทำให้ผู้อื่นเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต เช่น ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น / ขับรถในขณะเสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท / ไม่คำนึงถึงการขับขี่ปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น / แข่งรถบนนถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร (และอื่น ๆ อีกมากมาย)

ค่าปรับ กฎจราจร

กฎจราจรทั่วไป


  • ละเมิดกฎหมายขับรถเร็ว ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท
  • ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท
  • ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท จากโทษเดิมปรับไม่เกิน 500 บาท
  • ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น โทรปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากโทษเดิมปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎจราจร เมาแล้วขับ


  • เมาแล้วขับครั้งแรก จำคุกไม่เกิน 1 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เมาแล้วขับซ้ำภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เมาแล้วขับครั้งแรก จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับ 50,000 - 100,000 บาท ซึ่งศาลจะทั้งลงโทษจำคุกและปรับค่าเสียหาย

กฎจราจร เกี่ยวกับการแข่งรถ


  • หากรวมกลุ่มกันเพื่อแข่งรถในทางสาธารณะตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป มีฐานความผิด “พยายามแข่งรถ” หากมีพฤติกรรม คือ (1) นัดหมายกันล่วงหน้าเพื่อมาแข่งรถ (2) รถที่ใช้แข่งในทางมีการดัดแปลงสภาพไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (3) มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าทำการแข่งรถใน มีโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ในกรณีที่เป็นผู้จัดหรือผู้โฆษณา ประกาศชักชวนให้แข่งรถ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับตั้งแต่ 10,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ร้านที่แต่งรถที่ช่วยแต่งรถให้ไปใช้แข่ง ต้องรับโทษในฐานะผู้สนับสนุน คือมีโทษ 2 ใน 3 ของความผิดฐานแข่งรถในทาง ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากกฎจราจรที่ทุกคนต้องปฎิบัติตามแล้ว สิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องมีคือแผนประกันรถยนต์ที่ดี ไม่ว่าคุณจะต้องการประกันแบบไหน ก็สามารถหาประกันรถยนต์ที่เหมาะกับตนเองได้ ด้วย แรบบิท แคร์ รวมประกันชั้นนำจากสถาบันการเงินมากมาย ซื้อง่าย ครบ จบ ในที่เดียว

กฎจราจร 10 ข้อ ที่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม

หากกล่าวถึงการขับขี่ยวดยานพาหนะในประเทศไทย คงหนีไม่พ้นกฎจราจรที่เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตคืออุบัติเหตุในท้องถนนที่เกิดจากการขับขี่โดยไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร นั่นหมายความว่าในปัจจุบัน ยังมีผู้ขับขี่ที่คิดว่าไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎจราจรจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุที่เป็นข่าวอยู่ระยะ ๆ กฎ 10 ข้อที่จะได้อ่านกันนี้เป็นกฎจราจรที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรจดจำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุก ๆ คน รวมไปถึงคนเดินถนน

1. การขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎจราจรกำหนด

โดยปกติแล้ว ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตพัทยา และเขตเทศบาลต่าง ๆ ผู้ขับรถยนต์ทั่วไปและผู้ขี่รถจักรยานยนต์สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากขับขี่นอกเขตดังกล่าวแล้ว จะสามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถที่บรรทุกคนโดยสาร สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเขตที่กล่าวมา และ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกเขตที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเป็นรถพ่วงหรือรถยนต์สามล้อ สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ หากผู้ขับขี่ใช้ความเร็วเกินตามที่กฎจราจรกำหนด จะทำให้นำไปสู่อุบัติเหตุในท้องถนนได้อย่างง่ายดาย

2. เมาแล้วขับ

สำหรับกฎจราจรข้อนี้ แน่นอนว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้สมรรถนะการขับขี่ รวมไปถึงความสามารถในการตัดสินใจของผู้ขับขี่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มากไปกว่านั้น หากผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ.2565 มาตรา 43 กล่าวว่า “มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ… (3) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น” การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้วขับรถนอกจากจะลดสมรรถนะในการขับขี่แล้ว ยังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะคนเดินถนน หากผู้ขับขี่ที่เมาสุราเลี้ยวรถเพื่อหักหลบสิ่งกีดขวางข้างหน้า แต่กลับเลี้ยวรถไปชนคนเดินถนนแล้ว คงจะเป็นโศกนาฎกรรมที่ไม่ควรเกิดขึ้นแม้แต่น้อย ดังที่มีข่าวในลักษณะนี้ออกมาสู่สาธารณะเป็นระยะ ๆ

3. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

กฎจราจรข้อต่อมาที่มักละเลยกันคือเรื่องเข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ติดตั้งมากับรถเพื่อความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสารทุกคนภายในรถ แต่ในหลายครั้ง ๆ ผู้ขับรถรวมไปถึงผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้โดยสารที่นั่งเบาะด้านหลังมักปล่อยปะละเลยและลืมที่จะคาดเข็มขัดนิรภัย ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ทำให้คนภายในรถได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ มิหนำซ้ำ หลาย ๆ ครั้งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ในบางกรณี อาจมีผู้ขับรถหรือผู้โดยสารบางคนคาดเข็มขัดนิรภัยไว้เฉย ๆ โดยที่ไม่คาดไว้กับตัว เพียงเพราะรำคาญเสียงสัญญาณเตือนว่ายังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หากปฏิบัติเช่นนี้แล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วรถกระแทกกับสิ่งกีดขวางหรือรถคันข้างหน้า ระบบถุงลมนิรภัยหรือ ABS จะทำงาน แล้วจะส่งแรงไปยังถุงลมเพื่อซับแรงกระแทก แต่ด้วยแรงจากระบบดังกล่าวมีมาก ประกอบกับร่างกายของคนขับและผู้โดยสารข้างหน้าที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยไว้กับตัว ทำให้เมื่อระบบทำงานแล้ว แรงที่ส่งมาจะกระแทกร่างกายอย่างหนัก ทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ รวมไปถึงอวัยวะภายในเสียหายอันเนื่องมาจากแรงกระแทกหรือชิ้นส่วนกระดูกที่หักไปทิ่มแทงอวัยวะภายในเช่น ปอด หัวใจ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ทางที่ดี ผู้ขับรถและผู้โดยสารทุกคนควรคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยขณะเดินทาง เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎจราจรแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอีกด้วย

4. ขับรถแซงหน้า หรือตัดหน้าในระยะใกล้

กฎจราจรข้อต่อมาคือเรื่องของการขับรถแซงหน้า ในชีวิตประจำวัน ผู้ขับขี่รถอาจขับแซงรถคันข้างหน้าเพราะรถคันข้างหน้าอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ไม่มาก ซึ่งอาจทำให้คุณเดินทางไปยังจุดหมายไม่ทันเวลา โดยเฉพาะในเวลาทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติหากคุณตัดสินใจขับรถแซงคันข้างหน้า ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 45 กล่าวไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นด้านซ้าย” อย่างไรก็ดี ในกฎจราจรมาตราเดียวกันก็ระบุไว้ว่าในกรณีที่รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา หรือในกรณีที่ทางเดินรถถูกแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่สองช่องขึ้นไป สามารถขับรถแซงซ้ายได้ หากไม่มีรถคันอื่นตามมาข้างหลังในระยะกระชั้นชิด หรือมีความปลอดภัยมากพอที่สามารถขับรถแซงได้ ฉะนั้น หากไม่แน่ใจว่าสามารถขับรถแซงคันข้างหน้าได้อย่างปลอดภัย ไม่ควรที่จะขับรถแซงหน้า หรือขับรถตัดหน้าในระยะใกล้ เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และทำให้คุณเสียประวัติการขับขี่โดยใช่เหตุ

5. ขับรถฝ่าไฟแดง

การฝ่าฝืนไฟสัญญาณจราจรก็ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการปฏิบัติตามกฎจราจรในไทย รวมไปถึงไฟสัญญาณจราจรสำหรับผู้ข้ามถนนด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะพบเห็นผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ทั้งสัญญาณไฟเหลืองที่เตือนผู้ขับขี่ให้เตรียมหยุดรถ และสัญญาณไฟแดงที่ให้ผู้ขับขี่หยุดรถเพื่อรอสัญญาณไฟเขียว แน่นอนว่าการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนน ทั้งต่อผู้ขับขี่ด้วยกันเอง และคนเดินถนน ซ้ำร้ายกว่านั้น อาจนำไปสู่ความสูญเสียได้

6. ไม่สวมหมวกนิรภัย

กฎจราจรที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มักไม่ปฏิบัติตาม นั่นคือการสวมหมวกนิรภัย หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อกเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ขี่รถจักรยานยนต์ทุกคนต้องสวมหมวกนิรภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 122 “ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์” หากมีคนใดคนหนึ่งไม่สวมหมวกนิรภัย จะถือว่าผิดกฎหมาย และหากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยอาจได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นเสียชีวิต

7. ใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือ

กฎจราจรข้อนี้เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ในปัจจุบัน ผู้ขับขี่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถได้หากใช้ฟังก์ชันที่สามารถสั่งการได้ด้วยเสียง หรืออุปกรณ์เช่น หูฟังไร้สาย ขาตั้งโทรศัพท์ เป็นต้น หากไม่มีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการใช้โทรศัพท์แล้ว ถือว่าผิดกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 43 วรรค 9 “ห้ามมิให้ผู้ใดขับรถในขณะใช้โทรศัพท์ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น”

นอกจากนี้ ยังมีการกระทำอื่น ๆ ที่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรที่อาจไม่ได้ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตโดยตรงในกฎ 10 ข้อที่ควรทราบ

8. ขับรถชนรถ หรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วหนี

หนึ่งในปัญหาการไม่เคารพกฎจราจรที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยจนถึงปัจจุบันนั่นคือการขับรถชนแล้วหนี ตามมาตรา 78 “ผู้ใดขับรถหรือขี่หรือควบคุมสัตว์ในทาง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่ หรือควบคุมสัตว์ หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถหรือสัตว์และให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย”

9. ไม่ต่อ พ.ร.บ.

กฎข้อนี้ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับกฎจราจรโดยตรงก็ตาม แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 7 ภายใต้บังคับมาตรา 8 ระบุไว้ว่า “เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยจากบริษัท” นั่นหมายความว่า การต่อพ.ร.บ. ถือเป็นสิ่งจำเป็นตามกฎหมายหากคุณมีรถ หากคุณประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน พ.ร.บ. จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลได้

10. ไม่ให้ทางรถฉุกเฉินขณะให้สัญญาณฉุกเฉิน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันปัญหาของการไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรในลักษณะนี้มักไม่ค่อยพบเห็นในสังคมสักเท่าไรนัก แต่ก็มีบางครั้งที่ผู้ขับขี่บางคนยังไม่ให้ทางรถฉุกเฉินอยู่ ซึ่งในหลายกรณี ทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งที่อยู่ในรถพยาบาล หรือผู้ได้รับบาดเจ็บที่รอความช่วยเหลือไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที พระราชบัญญัติมาตรา 76 บัญญัติไว้ว่า “…ผู้ขับขี่ ผู้ขี่ หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน…(2) สำหรับผู้ขับขี่ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องทางเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก”

กฎ 10 ข้อที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้ขับขี่ควรจดจำและปฏิบัติตามขณะขับขี่ยานพาหนะ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่อาจเรียนรู้กฎจราจรจากการสอบใบอนุญาตขับขี่แล้วก็ตาม แต่ถือว่าเป็นการดีถ้าหากผู้ขับขี่ทุกคนจดจำและปฏิบัติตามกฎจราจร 10 ข้อที่ควรรู้ขณะขับรถ มากไปกว่านั้น กฎ 10 ข้อที่กล่าวมานี้ถือว่าครอบคลุมการใช้รถใช้ถนนในชีวิตประจำวัน หากผู้ขับขี่รวมถึงคุณสามารถปฏิบัติตามกฎ 10 ข้อได้แล้ว เชื่อว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนจะลดลงได้อย่างแน่นอน สุดท้ายนี้ น้องแคร์ขอฝากประกันรถยนต์ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ และขอให้ผู้ขับขี่ทุก ๆ คนปฏิบัติตามกฎจราจร 10 ข้อที่ฝากไว้ เพื่อสังคมบนท้องถนนที่สงบสุขมากขึ้น!

กฎหมายห้ามนั่งแคปมีรายละเอียดโดยสรุปอย่างไรบ้าง?

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนที่ 28 ก หน้า 5 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565) มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นต้นไป โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายห้ามนั่งแคปหรือติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแคปดังต่อไปนี้

การคาดเข็มขัดนิรภัยจะบังคับเฉพาะรถที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยผู้โดยสารทั้งแถวตอนหน้า แถวตอนหลังทุกที่นั่งต้องรัดเข็มขัดนิรภัย ในส่วนของแคปไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เพียงแต่ต้องมีผู้โดยสารไม่เกิน 3 คน เพื่อลดความแออัด และอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการกำหนดความปลอดภัยสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ที่ผู้ปกครองหรือผู้ขับขี่จะต้องจัดหาที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) ให้นั่งตลอดระยะเวลาที่นั่งโดยสารตามมาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 มีรายละเอียดโดยสรุปเกี่ยวกับกฎหมายห้ามนั่งแคปดังนี้

  • ผู้ขับขี่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
  • ผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
  • ผู้โดยสารเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์ เว้นแต่มีเหตุผลด้านสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายห้ามนั่งแคปจะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

รายละเอียดกฎหมายห้ามนั่งแคปมีอะไรบ้าง?

พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565


มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  • (1) ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
  • (2) คนโดยสาร
  • (ก) คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
  • (ข) คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษ สำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • (ค) คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่ง 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายตาม (2) (ข) และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศกำหนด

บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับผู้ที่อยู่ในรถสามล้อ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และ รถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และรถยนต์อื่นที่ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด

มาตรา 8 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 123/1 มาตรา 123/2 และมาตรา 123/3 แห่งพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 123/1 ในการใช้รถนั่งสองแถว รถบรรทุกคนโดยสารขนาดเล็กที่มีการจัดที่นั่ง ตามความยาวของรถ รถกระบะ รถกึ่งกระบะ หรือรถยนต์อื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศกำหนด หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้คนโดยสารที่อยู่ในรถยนต์นั้นนอกจากคนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตามมาตรา 123

รถชนิดใดบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามกฎหมายห้ามนั่งแคป?

รถยนต์เก่าที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย หรือรถยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2531 ที่ไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ หากจดทะเบียนก่อนวันดังกล่าว ไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายห้ามนั่งแคปตามมาตรา 123 หรือ 123/1 แต่อย่างใด ในขณะที่รถกระบะที่มีการจดทะเบียนก่อนปี 2537 จะยังไม่มีผลบังคับใช้ และรถกระบะที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัยจะมีข้อกำหนดพิจารณาแยกย่อยกันดังนี้

รถเก๋ง รถแท็กซี่ รถลีมูซีน รถกระบะ 4 ประตู

  • รถยนต์จดทะเบียนก่อน 1 มกราคม 2531 (ไม่บังคับติดตั้งเข็มขัดนิรภัย)
  • รถยนต์จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2531 - 31 ธันวาคม 2553 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย บริเวณที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า)
  • รถยนต์จดทะเบียน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง)

รถ 4 ล้อเล็ก รับจ้าง (รถกะป๊อ)

  • รถยนต์จดทะเบียนตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย บริเวณที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า)

รถตู้ส่วนบุคคล

  • รถยนต์จดทะเบียนก่อน 1 มกราคม 2537 (ไม่บังคับติดตั้งเข็มขัดนิรภัย)
  • รถยนต์จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย บริเวณที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า)
  • รถยนต์ผลิตและนำเข้าตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง)

รอปิคอัพ รถสองแถว

  • รถยนต์จดทะเบียนก่อน 1 มกราคม 2537 (ไม่บังคับติดตั้งเข็มขัดนิรภัย)
  • รถยนต์จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 (ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย บริเวณที่นั่งคนขับ และที่นั่งตอนหน้า)

รถสามล้อ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และรถยนต์อื่นที่ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย

  • ไม่บังคับติดตั้งเข็มขัดนิรภัย

นั่งกระบะท้ายรถกระบะผิดกฎหมายห้ามนั่งแคปหรือไม่?

รถกระบะโดยทั่วไปมักจะจดทะเบียนรายการจดทะเบียนรถในคู่มือทะเบียนรถเป็น “รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล” ลักษณะ “กระบะบรรทุก” (ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาว ตัวอักษรสีเขียว) เพื่อใช้ในการบรรทุกสิ่งของ ไม่ใช่เพื่อใช้ในการบรรทุกผู้โดยสาร

ในขณะที่หากจดทะเบียนรายการจดทะเบียนรถในคู่มือทะเบียนรถเป็น “รถนั่งส่วนบุคคลมีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง ” (ป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาว ตัวอักษรน้ำเงิน) โดยต่อเติมหลังคาและมีที่นั่งชัดเจน จะนำมาใช้บรรทุกสิ่งของไม่ได้

สำหรับเจ้าของรถกระบะที่ต้องการใช้บรรทุกผู้โดยสาร ต้องนำรถต่อเติมหลังคาปิดพร้อมติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์จดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบกเป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง และต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง หากเป็นรถยนต์จดทะเบียน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมายห้ามนั่งแคป

ดังนั้นแล้ว เมื่อนำมารถบรรทุกส่วนบุคคลมาใช้ในการบรรุทุกผู้โดยสาร หรือนั่งโดยสารในส่วนของกระบะท้ายจึงถือเป็นความผิดตามกฎหมายห้ามนั่งแคป เนื่องจากเป็นการใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ ตามพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามพระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 60 รวมถึงจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ร่วมด้วย โดยมีรายละเอียดข้อบังคับและบทลงโทษตามกฎหมายดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522

มาตรา 21 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้

  • (1) การใช้รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร หรือรถจักรยานยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว
  • (2) การใช้รถยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว โดยมีข้อความแสดงไว้ที่รถนั้นให้เห็นได้ง่ายจากภายนอกว่าใช้ในกิจการส่วนตัว
  • (3) การใช้รถยนต์สาธารณะบรรทุกของที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร
  • (3/1) การใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • (4) ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 60 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม … มาตรา 21 … ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

นั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัยมีความผิดหรือไม่ มีข้อยกเว้นอะไรบ้าง?

เข็มขัดนิรภัยอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยชิ้นสำคัญที่ถูกติดตั้งมากับรถยนต์ทุกคัน ถ้าเป็นเมื่อก่อนผู้ที่คาดเข็มขัดนีรภัยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารเบาะหน้า แต่ในปัจจุบัน มีกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารเบาะหลังออกมา ไปดูกันว่าถ้านั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัยจะมีความผิดหรือไม่?

นั่งเบาะหลังแต่ไม่ได้คาดเข็มนิรภัยมีความผิดหรือไม่?

คำตอบนี้สามารถตอบได้โดยไม่ต้องคิดเลยทีเดียว คือมีความผิดอย่างแน่นอน เพราะกฎหมายเกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารเบาะหลัง ถูกบังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ว่าด้วย พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับที่ 13 มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า รวมถึงที่นั่งแถวตอนอื่น จะต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์ เว้นแต่มีเหตุผลด้านสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท

ไม่ว่าจะนั่งส่วนไหนของรถยนต์ ก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเพราะนอกจากจะป้องกันการโดนปรับแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุได้ด้วย จากผลการวิจัยการใช้เข็มขัดนิรภัยในประเทศไทย พบว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ถึง 34% เลยทีเดียว โดยผู้ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากกว่าผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัยถึง 8 เท่า

ข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย มีอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกว่าสำนักงานตำรวจ ได้มีการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนีรภัยของผู้โดยสารที่นั่งเบาะหลัง แต่ก็มีรถยนต์บางประเภทที่ได้รับการยกเว้น นั่นก็คือ รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นรถเก่าที่ไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย หรือไม่สามารถติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ รวมไปถึงรถกระบะที่ที่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2537 ก็ได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกัน

นั่งเบาะหลัง ควรคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างไร?

ส่วนใหญ่เข็มขัดนิรภัยที่ถูกติดตั้งไว้ที่เบาะหลัง จะเป็นเป็นแบบ 3 จุด 3 ตำแหน่ง ซึ่งสำหรับผู้โดยสารที่นั่งเบาะหลัง สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังนี้

  • จับหัวเข็มขัดนิรภัยออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ เข็มขัดนิรภัยของเบาะหลังจะอยู่บนเพดานรถเยื่องไปทางด้านหลังฝั่งซ้าย หรือขวาขึ้นอยู่กับรถแต่ละรุ่น
  • ดึงหัวเข็มขับนิรภัยเข้าหาตัว จะเห็นว่าหัวของเข็มขัดนิรภัยจะสามารถแบ่งออกได้ 2 ตัว
  • ให้ทำการแยกหัวเข็มขัดนิรภัยออกจากกันเป็น 2 ฝั่งด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกางออกให้เท่ากับความกว้างของลำตัว
  • นำหัวเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ด้านซ้าย เสียบเข้ากับหัวรับเข็มขัดนิรภัยทางซ้ายของสะโพก และนำหัวเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ด้านขวาเสียบเข้ากับหัวรับเข็มขัดนิรภัยทางขวาของสะโพก
  • จัดสายเข็มขัดนิรภัยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่รัดแน่นจนเกินไป เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว

นั่งแค็บกระบะต้องคาดเข็มขัดไหม?

ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การยกเว้นให้คนโดยสารไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถบางประเภท พ.ศ. 2566 กำหนดว่าส่วนของแค็บ หรือนั่งท้ายกระบะ จัดอยู่ในเงื่อนไขของรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยแต่ต้องมีผู้โดยสารไม่เกินจำนวนที่กำหนด โดยสารในลักษณะที่ปลอดภัย และขับขี่ตามความเร็วตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

นั่งสองแถวต้องคาดเข็มขัดนิรภัยหรือไม่?

ประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การยกเว้นให้คนโดยสารไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยในรถบางประเภท พ.ศ. 2566 กำหนดว่า รถโดยสารขนาดเล็กที่มีการจัดที่นั่งตามความยาวของรถกระบะ รถกึ่งกระบะ หากได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (จำนวนการบรรทุกคนโดยสาร, ไม่มีการโดยสารในลักษณะที่เป็นการเสี่ยงภัย, ใช้อัตราความเร็วตามกำหนด) ให้คนโดยสารที่อยู่ในรถยนต์นั้น นอกจากคนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้า ได้รับยกเว้นไม่ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย

เด็กเล็กต้องคาดเข็มขัดนิรภัยหรือไม่?

ผู้โดยสารรถยนต์ที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี และมีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือ "คาร์ซีต" (Car Seat) ทุกครั้ง ไม่ว่าจะนั่งอยู่แถวหรือ ตอนใดของรถ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคาดเข็มขัดนิรภัย

กฎข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารทั้งตอนหน้าและตอนหลังที่ควรต้องรู้ คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ได้กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในรถไว้เพิ่มเติมเกี่ยวข้องทั้งในส่วนของการใช้งาน คาร์ซีทสำหรับเด็กและการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสารตอนหลัง โดยผู้ที่อยู่ภายในรถทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัยโดยไม่มีข้อยกเว้นจึงควรติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเพิ่ม เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์ มีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
  • ผู้โดยสาร ที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
  • ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้โดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

รวมถึงมีตัวอย่างการกำหนดค่าปรับกรณีผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารที่ไม่คาดเข็มขัด ดังนี้

  • 1) ผู้ขับขี่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
  • 2) ผู้โดยสารตอนหน้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
  • 3) ผู้ขับขี่ไม่จัดให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับเพิ่มอีก 500 บาท และ
  • 4) ผู้โดยสารตอนหลังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

คาดเข็มขัดนิรภัยช่วยป้องกันอะไรได้บ้าง?

การคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนได้ เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาให้คาดผ่านส่วนที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพกและหัวไหล่ ทำให้เข็มขัดนิรภัยสามารถต้านแรงกระชากและช่วยประคองร่างกายได้ในขณะเกิดอุบัติเหตุ โดยเข็มขัดนิรภัยมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

  • ป้องกันไม่ให้กระเด็นออกนอกตัวรถจากแรงกระแทกหรือแรงเหวี่ยง
  • กระจายแรงกระแทกเมื่อเกิดการกระทบกระเทือนอวัยวะในร่างกาย และตัวรถ
  • จำกัดการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันจากแรงกระแทก

คาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องต้องคาดอย่างไร?

การคาดเข็มขัดนิรภัยอาจช่วยลดโอกาสเสียชีวิตหรืออาการบาดเจ็บเมื่อเกิดแรงกระชากหรือแรงเหวี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่กรณีที่คาดเข็มขัดนิรภัยไม่ถูกต้อง อาจทำให้ไม่สามารถช่วยป้องกันแรงเหวี่ยงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย มีวิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้องดังนี้

  • คาดเข็มขัดนิรภัยเส้นบนพาดผ่านไหล่ ไม่คาดผ่านคอ
  • คาดเข็มขัดนิรภัยเส้นล่างพาดผ่านหน้าขา ไม่คาดผ่านหน้าท้อง
  • คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการโดยสารรถยนต์
  • ผู้โดยสารทุกคน ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยก่อนเดินทางทุกครั้ง
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้อวนั่งในคาร์ซีทหรือนั่งที่เบาะหลัง
  • ห้ามใช้เข็มขัดนิรภัยร่วมกัน

ต้องบอกเลยว่าเข็มขัดนิรภัย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่เป็นอย่างมาก ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเข็มขัดนิรภัยช่วยได้จริงๆ อย่างน้อยก็จะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บได้ในระดับหนึ่ง แต่นอกจากจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขึ้นรถ ก็ควรทำประกันรถยนต์เอาไว้ด้วย เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา

ทำประกันภัยรถยนต์เอาไว้ อย่างไรก็อุ่นใจกว่า สนใจทำประกันรถยนต์ออนไลน์ เลือกแรบบิท แคร์ เพราะเราเป็นโบรกเกอร์ตัวจริงเรื่องประกันภัย มีบริษัทประกันภัยให้เลือกหลากหลาย ครบทุกประเภท และยังมีสิทธิพิเศษเพิ่มเติมให้อีกแน่นๆ ทั้งบริการผ่อน 0% นาน สูงสุด 10 เดือน บริการเช่ารถสำรอง 3 วัน เมื่อรถเข้าศูนย์จากอุบัติเหตุ แล มีชดเชยค่าเดินทางให้ระหว่างรถยนต์เข้าอู่ซ่อม คุ้มค่ากว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สะดวก รวดเร็ว ในราคาสบายกระเป๋า

โดนล็อคล้อเพราะจอดในที่ห้ามจอด จ่ายค่าปรับที่ไหนได้บ้าง? จ่ายได้ถึงกี่โมง?

โดนล็อคล้อจากการจอดรถไม่ถูกที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ ปัญหาหนึ่งสำหรับผู้ที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพเลยก็ว่าได้ เพราะจะไปไหนแต่ละทีก็คือหาที่จอดรถยากมาก บางทีเผลอไปจอดในที่ห้ามจอด กลับมาที่รถอีกทีโดนตำรวจล็อคล้อไปเรียบร้อยแล้ว เสียค่าปรับกันเป็นว่าเล่น วันนี้เราจะพาไปดูว่าหากโดนตำรวจล็อคล้อ ต้องทำอย่างไร แล้วเสียค่าปรับเท่าไหร่?

โดนใบสั่งล็อคล้อ ได้จากความผิดจราจรใดบ้าง?

จอดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรถ

กรณีผู้ขับขี่หยุดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรถซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ถนนโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานจราจรสามารถออกใบสั่ง และหรือทำการล็อคล้อได้ เนื่องจากมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถในพื้นที่หยุดรถ โดยมีรายละเอียดพื้นที่ห้ามหยุดรถที่เป็นพื้นที่ที่หลายคนโดนล็อคล้อ ดังต่อไปนี้

  • ห้ามหยุดรถในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
  • ห้ามหยุดรถบนทางเท้า
  • ห้ามหยุดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
  • ห้ามหยุดรถในทางร่วมทางแยก
  • ห้ามหยุดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
  • ห้ามหยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
  • ห้ามหยุดรถในเขตปลอดภัย
  • ห้ามหยุดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

จอดรถในพื้นที่ห้ามจอดรถ

กรณีผู้ขับขี่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานจราจรสามารถล็อคล้อรถคันที่จอดในพื้นที่ห้ามจอดได้ เนื่องจากมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ห้ามมิให้ผู้ใดจอดรถในพื้นที่ห้ามจอดรถ มีรายละเอียดพื้นที่ห้ามจอดรถที่เมื่อจอดแล้วจะทำให้โดนล็อคล้อ ดังต่อไปนี้

  • ห้ามจอดรถบนทางเท้า
  • ห้ามจอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
  • ห้ามจอดรถในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
  • ห้ามจอดรถในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
  • ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
  • ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
  • ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
  • ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
  • ห้ามจอดรถซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
  • ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ
  • ห้ามจอดรถระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
  • ห้ามจอดรถในที่คับขัน
  • ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
  • ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
  • ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

จอดในพื้นที่ประกาศใช้เครื่องล็อคล้อ

กรณีจอดรถโดยไม่มีเหตุสมควรในพื้นที่หรือถนนสายต่าง ๆ ที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ (เครื่องล็อคล้อ) หรือพื้นที่โดนล็อคล้อทั้งในเขตกรุงเทพมหานครหรือส่วนปกครองท้องถิ่น ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าพนักงานจราจรสามารถทำการล็อคล้อรถคันดังกล่าวได้ทันที

รถโดนล็อคล้อ เสียค่าปรับเท่าไร? ต้องจ่ายอะไรบ้าง?

กรณีผู้ขับขี่โดนล็อคล้อโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเนื่องจากจอดในที่ห้ามที่จอด หรือในที่ห้ามหยุด จะต้องชำระค่าปรับ 2 ส่วน ได้แก่ 1) ค่าปรับจราจรกรณีจอดในที่ห้ามจอด/ห้ามหยุด สูงสุดไม่เกิน 500 บาท และ 2) ค่าเครื่องมือล็อคล้อ สูงสุดไม่เกิน 500 บาทต่อคัน จึงจะสามารถปลดล็อคล้อได้ ทั้งนี้ ค่าปรับข้างต้นจะแสดงในใบสั่งสีขาวและใบสั่งสีฟ้า

1. ค่าปรับจราจร

เจ้าของรถที่โดนล็อคล้อต้องจ่ายค่าปรับจราจรจากการจอดในจุดห้ามหยุดรถ (มาตรา 55) หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ (มาตรา 57) ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

รายการสั่งปรับจอดรถในพื้นที่ห้ามหยุดรด หรือห้ามจอดรถจะแสดงอยู่ในใบสั่งสีขาว ซึ่งค่าปรับข้างต้นจะแบ่งสัดส่วนการนำส่งเงินให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 50% นำส่งเข้าส่วนปกครองท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานคร, 2.5% นำส่งเงินให้กับกระทรวงการคลัง และ 47.5% เป็นเงินรางวัลนำจับของเจ้าหน้าที่จราจร

2. ค่าเครื่องมือบังคับล้อ

เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่โดนล็อคล้อต้องชำระค่าใช้จ่ายการใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เครื่องย้าย หรือค่าเครื่องล็อคล้อ เพื่อทำการปลดล็อคล้อ ไม่เกินคันละ 500 บาท ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 หรือตามที่มีกำหนดไว้ในกฎกระทรวง

รายการค่าปรับเครื่องล็อคล้อหรือโดนล็อคล้อจะแสดงในใบสั่งสีฟ้า โดยค่าเครื่องล็อคล้อจัดอยู่ในกลุ่มค่าปรับจราจรที่ไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายและค่าอุปกรณ์ด้านจราจรในการดำเนินการล็อคล้อ หรือเคลื่อนย้ายรถ (ยกรถ) ตามระเบียบที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดต่อไป

โดนล็อคล้อ ไม่จ่ายค่าปรับได้ไหม?

กรณีไม่จ่ายค่าปรับรถโดนล็อคล้อภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่ง เจ้าพนักงานจราจรสามารถสั่งเคลื่อนย้าย หรือยกรถของผู้กระทำความผิดที่ไม่ดำเนินการชำระค่าปรับไปยังพื้นที่ดูแลรักษาของสถานีตำรวจ ซึ่งเจ้าของรถต้องชำระค่าปรับ ค่าใช้เครื่องมือล็อคล้อ ค่าเคลื่อนย้าย และค่าดูแลรักษารายวันในระหว่างที่รถอยู่ในความครอบครองของเจ้าหน้าที่ให้ครบถ้วนจึงจะสามารถรับรถคืนได้

หากพ้นระยะเวลาสามเดือนแล้วเจ้าของรถที่โดนล็อคล้อยังไม่เข้าชำระค่าปรับและค่าดูแลรักษาทั้งหมดให้เรียบร้อย เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจในการนำรถดังกล่าวขายทอดตลาด เพื่อนำไปหักค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษาที่ค้างชำระไว้

โดนล็อคล้อจ่ายได้ที่ไหน? จ่ายได้ถึงกี่โมง?

สามารถชำระค่าปรับใบสั่งล็อคล้อได้ภายในระยะที่กำหนดไว้ในใบสั่ง ตามวันและเวลาราชการ หรือตลอด 24 ชั่วโมงในกรณีเลือกชำระค่าปรับด้วยตัวเองที่สถานีตำรวจที่เป็นผู้ออกใบสั่ง ทั้งนี้ สามารถชำระค่าปรับรถโดนล็อคล้อได้จากช่องทางที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

  • ชำระที่สถานีตำรวจหรือหน่วยงานที่ออกใบสั่ง
  • ชำระที่สถานีตำรวจอื่น ๆ นอกเหนือจากสถานีตำรวจที่ออกใบสั่งทั่วประเทศไทย
  • ชำระด้วยธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคาร
  • ชำระที่ธนาคาร
  • ชำระที่เครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM)
  • ชำระที่หน่วยบริการรับชำระเงิน
  • ชำระที่ไปรษณีย์ทุกสาขา
  • ชำระที่ตู้บุญเติม

กฎหมายล็อคล้อมีอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522


  • มาตรา 59
    เจ้าหน้าที่จราจรมีอำนาจในการสั่งเคลื่อนย้าย ล็อคล้อ หรือยกรถที่จอดในบริเวณจุดห้ามหยุดรถตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55 หรือจุดห้ามจอดรถตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ตามดุลยพินิจ หากเจ้าหน้าที่สั่งให้ล็อคล้อ หรือยกรถแล้ว เจ้าของรถต้องชำระค่าปรับ ค่าล็อคล้อ ค่ายกรถ และค่าดูแลรักษารถให้ครบถ้วน จึงจะสามารถรับรถคืนได้ ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 59
  • มาตรา 159
    กรณีขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจล็อคล้อ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 159 ผู้ขับขี่ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือขัดขวางไม่ให้เจ้าพนักงานจราจรเคลื่อนย้ายรถ หรือใช้เครื่องมือบังคับมิให้รถเคลื่อนย้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    กรณีถอดล้อรถที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคล้อเอาไว้ด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือทำลายเครื่องล็อคล้อจนเกิดความเสียหาย จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 159 ผู้ใดทำลายหรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 140
    กรณีเจ้าหน้าที่จราจรพบการกระทำความผิดจอดในจุดห้ามหยุดรถ ตามมาตรา 55 หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ มาตรา 57 และไม่สั่งล็อคล้อตามดุลยพินิจ เจ้าหน้าที่จราจรสามารถกล่าวตักเตือน หรือออกใบสั่งปรับให้ผู้่ขับขี่ ตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 โดยการจอดในจุดห้ามหยุดรถ หรือจอดในจุดห้ามจอดรถ มีความผิดตาม พ.ร.บ. การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2564

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเคลื่อนย้ายรถ การใช้เครื่องมือบังคับ ไม่ให้เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือจอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๖๔

กฎกระทรวงค่าใช้จ่ายเครื่องมือล็อคล้อ

กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดรถในที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ ค่าเคลื่อนย้ายในกรณีมีการเคลื่อนย้าย และค่าดูแลรักษารถในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564

ประกาศกองบังคับการตำรวจจราจร

ประกาศหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร กองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร เรื่อง กำหนดพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ พ.ศ. 2565

ถนนใดบ้างในกรุงเทพฯ ที่จอดแล้วโดนล็อคล้อ?

หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรระบุ 26 เขตพื้นที่ถนนกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่โดนล็อคล้อเมื่อพบการหยุดรถ หรือจอดรถโดยไม่มีเหตุอันควร โดยกองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจจราจร เรื่องกำหนดพื้นที่ใช้เครื่องมือบังคับล้อไม่ให้เคลื่อนย้ายรถ พ.ศ. 2565 มีรายชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่จราจรล็อคล้อเมื่อพบการหยุดหรือจอดในพื้นที่พื้นที่ห้ามหยุดหรือห้ามจอดรถ ดังต่อไปนี

เขตพื้นที่ที่ 1 หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรระบุ 26 เขตพื้นที่ถนนกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่ล็อคล้อเมื่อพบการหยุดรถ หรือจอดรถโดยไม่มีเหตุอันควร

  • ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกถนนเพชรบุรี ถึงแยกถนนศรีอยุธยา
  • ถนนกำแพงเพชร 1 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 3
  • ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงสะพานยมราช
  • ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกซอยลาดพร้าว 1
  • ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง ถึงแยกถนนเพชรบุรี โดยเริ่มจากทางแยกเข้ามาในระยะไม่เกิน 20 เมตร และรถก่อนออกทางแยก ในระยะไม่เกิน 60 เมตร ทั้งสองฝั่ง
  • ถนนรัชดาภิเษกทุกสาย (วงแหวนรอบกลาง)
  • ถนนขาว
  • ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกถนนราชสีมาถึงสะพานกรุงธน และตั้งแต่แยก ถนนพระรามที่ 5 ถึงแยกถนนสวรรคโลก ถนนสุโขทัย ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงท่าน้ำฝั่งทิศเหนือ
  • ถนนสังคโลก
  • ถนนวงศ์สว่าง (เส้นทางถนนวงเวียนรอบกลาง)
  • ถนนพระรามที่ 9
  • ถนนสุทธิสารวินิจฉัย
  • ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 5 ถึงถนนพระรามที่ 6
  • ถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกถนนพิษณุโลก ถึงสะพานดุสิต
  • ถนนสวรรคโลก ตั้งแต่แยกถนนราชวิถี ถึงถนนศรีอยุธยา
  • ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร ถึงแยกถนนเตชะวณิช
  • ถนนประชาชื่น ฝั่งทิศตะวันออก (ริมคลองประปา)
  • ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงทางรถไฟสายเหนือ
  • ถนนกำแพงเพชร 1 ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร 3 ถึงแยกถนนวิภาวดีรังสิต
  • ถนนกำแพงเพชร 2
  • ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ตั้งแต่แยกถนนรัชดาภิเษก ถึงแยกถนนประชาอุทิศ
  • ถนนอโศก - ดินแดง ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 9 ถึงแยกถนนเพชรบุรี
  • ถนนเทอดดำริ ตั้งแต่แยกถนนประดิพัทธ์ ถึงแยกสถานีรถไฟบางซื่อ
  • ถนนพิชัย ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนราชวิถี
  • ถนนกำแพงเพชร ตั้งแต่แยกถนนกำแพงเพชร 2 ถึงถนนกำแพงเพชร 1 ฝั่งทิศเหนือ
  • ถนนดินแดง
  • ถนนอโศก - ดินแดง ตั้งแต่แยกถนนประชาสงเคราะห์ ถึงแยกถนนรัชดาภิเษก
  • ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกถนนราชปรารภ ถึงแยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกถนนศรีอยุธยา ถึงแยกถนนดินแดง
  • ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนอโศก
  • ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนราชปรารภ ฝั่งทิศเหนือ
  • ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงแยกถนนงามวงศ์วาน
  • ถนนลาดพร้าว ตั้งแต่แยกซอยลาดพร้าว 1 ถึงแยกซอยโชคชัย 4
  • ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงแยกถนนพระรามที่ 1
  • ถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
  • ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่แยกถนนอโศก ถึงแยกถนนรามคำแหง
  • ถนนเศรษฐศิริ
  • ถนนนครไชยศรี ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงท่าน้ำพายัพ
  • ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ตั้งแต่โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ถึงแยกถนนประชาอุทิศ (บริเวณหน้าสำนักงานเขตห้วยขวาง)
  • ถนนประชาอุทิศ ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถึงแยกถนนเทียมร่วมมิตร
  • ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
  • ถนนประชาสงเคราะห์ ตั้งแต่แยกถนนดินแดง ถึงแยกถนนมิตรไมตรี
  • ถนนอินทามระ (ถนนเชื่อมระหว่างถนนสุทธิสารวินิจฉัย และถนน ประชาราษฎร์บำเพ็ญ
  • ถนนเทศบาลสงเคราะห์
  • ถนนประชาชื่น ด้านทิศตะวันตก
  • ถนนประชาราษฎร์
  • ถนนประชาราษฎร์สาย 1
  • ถนนประชาราษฎร์สาย 2
  • ถนนเตชะวณิช
  • ถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกถนนประดิพัทธ์ ถึงสะพานดุสิต
  • ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่แยกถนนเพชรบุรี ถึงแยกถนนกำแพงเพชร
  • ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนเตชะวณิช ถึงแยกถนนเทอดดำริ
  • ถนนกำแพงเพชร ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 2 ทั้งสองฝั่ง และตั้งแต่แยกทางเข้า -ออก องค์การตลาดเพื่อการเกษตร ถึงแยกถนนกำแพงเพชร 2 ฝั่งทิศใต
  • ถนนเทอดดำริ ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนประดิพัทธ์
  • ถนนพิชัย ตั้งแต่แยกถนนนครไชยศรี ถึงแยกถนนอำนวยสงคราม
  • ถนนนครไชยศรี ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
  • ซอยอารีย์สัมพันธ์
  • ถนนสุโขทัย ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนสวรรคโลก และตั้งแต่ แยกถนนขาว ถึงแยกถนนสามเสน ฝั่งทิศใต้
  • ถนนราชวิถี ตั้งแต่แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงทางรถไฟสายเหนือ และตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 5 ถึงแยกถนนนครราชสีมา
  • ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนสุโขทัย ถึงเชิงสะพานบางลำพูฝั่งทิศตะวันออก
  • ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่แยกถนนสามเสนถึงแยกถนนพระรามที่ 5 และ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 6 ถึงแยกถนนพญาไท และถนนราชปรารภ ฝั่งทิศใต้
  • ถนนมิตรไมตรี
  • ถนนสาลีรัฐวิภาค

เขตพื้นที่ที่ 2

  • ถนนโยธี
  • ซอยราชวิถี 15 (ซอยเสนารักษ์)

เขตพื้นที่ที่ 3

  • ซอยวิภาวดีรังสิต 5 (ซอยยาสูบ 1)

เขตพื้นที่ที่ 4

  • ซอยราชวิถี 4

เขตพื้นที่ที่ 5

  • ซอยรัชดาภิเษก 32 จากปากซอยเข้าไปเป็นระยะ 50 เมตร
  • ซอยรัชดาภิเษก 36 จากปากซอยเข้าไปเป็นระยะ 50 เมตร

เขตพื้นที่ที่ 6

  • ซอยพหลโยธิน 1 ตั้งแต่ปากซอยจนถึงทางออกถนนพระราม 6
  • ซอยอินทามระ 47 ถนนประชาสุข
  • ซอยสัมมากร 1
  • ซอยสัมมากร 2
  • ถนนเทศบาลนิมิตรเหนือ

เขตพื้นที่ที่ 7

  • ซอยวงศ์สว่าง 11 ตั้งแต่ปากซอยเข้ามาในระยะ 50 เมตร

เขตพื้นที่ที่ 8

  • ซอย ส.ธรณินทร์ 1 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
  • ซอย ส.ธรณินทร์ 7 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
  • ซอย ส.ธรณินทร์ 8 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50 เมตร
  • ซอย ส.ธรณินทร์ 10 จากปากซอยเข้าไปประมาณ 50เมตร
  • ซอยรัชดาภิเษก 36

เขตพื้นที่ที่ 9

  • ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ตั้งแต่สามแยกเตาปูนตัดกับถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ถึงแยกวงศ์สว่าง

เขตพื้นที่ที่ 10

  • ซอยบุญช่วย

เขตพื้นที่ที่ 11

  • ซอยหมอเหล็ง

เขตพื้นที่ที่ 12

  • ซอยโพธิ์ปั้นตั้งแต่ปากซอยแยก 2 ถึงปากซอย 20

เขตพื้นที่ที่ 13

  • ถนนนิคมมักกะสัน

เขตพื้นที่ที่ 14

  • ถนนเลียบทางรถไฟสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

เขตพื้นที่ที่ 15

  • ซอยอินทามระ 3
  • ซอยลาดพร้าว 3

เขตพื้นที่ที่ 16

  • ซอยอารีย์สัมพันธ์ 3
  • ซอยอารีย์สัมพันธ์ 4
  • ซอยอารีย์สัมพันธ์ 5
  • ซอยอารีย์สัมพันธ์ 6

เขตพื้นที่ที่ 17

  • ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 1 ถึงแยกถนนจุฬาซอย 12
  • ถนนสาธรเหนือ ตั้งแต่แยกซอยศาลาแดง 1 ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
  • ถนนมหานคร ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงตรอกนายห้าง
  • ถนนรองเมือง ตั้งแต่ทางแยกสถานีรถไฟกรุงเทพ เข้ามาในระยะ 60 เมตร และก่อนออกทางแยกถนนเจริญเมืองในระยะ 60 เมตร
  • ถนนรัชดาภิเษกทุกสาย (วงแหวนรอบกลาง)
  • ซอยอารีย์ (สุขุมวิท 26)
  • ซอยกล้วยน้ำไท (สุขุมวิท 42)
  • ซอยสุรเสนา
  • ซอยพิพัฒน์ 2
  • ซอยศิริจุลเสวก
  • ถนนศาลาแดง ฝั่งทิศตะวันออก
  • ถนนรองเมือง ตั้งแต่แยกหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ ถึงแยกถนนเจริญเมือง ฝั่งทิศตะวันตก
  • ถนนปั้น ฝั่งทิศใต้
  • ถนนประมวล ฝั่งทิศใต้
  • ถนนสุรศักดิ์
  • ถนนมเหสักข์
  • ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนสาธรใต้ ถึงแยกถนนรัชดาภิเษก
  • ถนนนานาเหนือ
  • ถนนเจริญกรุงตั้งแต่แยกถนนมหาพฤฒาราม ถึงแยกถนนสาธรเหนือ
  • ถนนสาธรเหนือ
  • ถนนสาธรใต้ถนนพระรามที่ 1 ตั้งแต่แยกถนนพญาไท ถึงแยกถนนพระรามที่ 6
  • ถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต ถึงแยกถนนเพชรบุรี
  • ถนนมหาพฤฒาราม
  • ถนนพระรามที่ 4
  • ถนนศาลาแดง ฝั่งทิศตะวันตก
  • ถนนคอนแวนต์ ตั้งแต่แยกซอยศาลาแดง 2 ถึงซอยพิพัฒน์ 2 ฝั่งทิศใต้
  • ซอยสวนพลู
  • ถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 1 ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
  • ถนนพญาไท ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนจุฬาซอย 12
  • ถนนอังรีดูนังต์
  • ถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกถนนเพลินจิต ถึงแยกถนนพระรามที่ 4
  • ถนนสารสิน
  • ถนนหลังสวน
  • ถนนนางลิ้นจี่
  • ถนนสาธุประดิษฐ์
  • ถนนจันทน์
  • ถนนสุนทรโกษา
  • ถนนรองเมือง
  • ถนนเอกชัย ตั้งแต่สะพานบางขุนเทียน ถึงแยกสวัสดิ์
  • ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกราชดำเนินกลาง ถึงถนนอรุณอมรินทร์
  • ถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ตั้งแต่แยกเพชรเกษม ถึงสะพานข้ามคลองภาษีเจริญ
  • ถนนบางกอกน้อย -ตลิ่งชัน ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ เข้าไป 200 เมตร
  • ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองชักพระ ถึงแยกถนนชักพระ
  • ถนนเทอดไท ตั้งแต่สะพานข้ามคลองวัดนางชี ถึงท่าน้ำภาษีเจริญ
  • ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ตั้งแต่แยกจรัญสนิทวงศ์ ถึงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย
  • ถนนพรานนก ตั้งแต่ถนนอิสรภาพ ถึงแยกอรุณอมรินทร์
  • ถนนวังเดิม
  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่แยกถนนเพชรเกษม ถึงแยกราชวิถี
  • ถนนเทอดไท ตั้งแต่แยกอินทรพิทักษ์ ถึงสะพานข้ามคลองวัดนางชี
  • ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองราชมนตรี ถึงแยกถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค)
  • ถนนวุฒากาศ
  • ถนนจอมทอง
  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ 12 (ซอยพานิชยการธนบุรี)
  • ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่ถนนชักพระ ถึงสุดเขตถนนชัยพฤกษ์
  • ถนนสวนผัก ตั้งแต่ถนนทุ่งมังกร เข้าไประยะ 480 เมตร
  • ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่แยกถนนราชวิถี ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
  • ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่สะพานบางไผ่ ถึงสะพานข้ามคลองราชมนตรี และตั้งแต่แยกถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ถึงถนนวงแหวนรอบนอก
  • ถนนราษฎร์บูรณะ
  • ถนนสุขสวัสดิ์
  • ถนนประชาอุทิศ (ราษฎร์บูรณะ)
  • ถนนพรานนก ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงแยกพรานนก และตั้งแต่ แยกถนนอรุณอมรินทร์ ถึงท่าน้ำศิริราช
  • ถนนอรุณอมรินทร์
  • ถนนเอกชัย ตั้งแต่แยกซอยบังสวัสดิ์ ถึงแยกซอยเข้าสถานีตำรวจนครบาล บางขุนเทียน
  • ถนนสุขาภิบาล 1 (บางแค) ตั้งแต่สะพานข้ามคลองภาษีเจริญ ถึงแยกถนนเอกชัย
  • ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ ถึงแยกจรัญสนิทวงศ์
  • ถนนบางกอกน้อยตลิ่งชัน ตั้งแต่สุดเขตห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ระยะทางเข้าไป 200 เมตร ในถนนเส้นนี้ ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ

เขตพื้นที่ที่ 18

  • ซอยทวีวัฒนา 9 (ซอยอำนวยโชค) ถึงเขตติดต่อทางเข้าหมู่บ้าน สินพัฒนาธานี
  • ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ เริ่มจากถนนหน้าโรงเรียนวัดหนองแขม ถึงแยกหนองแขมฝั่งใต้
  • ถนนเลียบคลองภาษีเจริญ
  • ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ 6 (เอี่ยมถาวร)

เขตพื้นที่ที่ 19

  • ถนนอรุณอมรินทร์

เขตพื้นที่ที่ 20

  • ถนนชัยพฤกษ์ ตั้งแต่ถนนบรมราชชนนี ถึงซอยชัยพฤกษ์ 18

เขตพื้นที่ที่ 21

  • ถนนเลียบทางรถไฟสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (Local Road)

เขตพื้นที่ที่ 22

  • ซอยเพชรเกษม 40 แยก 9

เขตพื้นที่ที่ 23

  • ถนนจักรเพชร ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนพีระพงษ์
  • ถนนข้างสะพานและลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ฝั่งพระนครทั้งหมด
  • ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนราชบพิธถึงแยกถนนพระพิทักษ์ฝั่งทิศตะวันออก และตั้งแต่แยกซอยสาเกถึงแยกถนนบำรุงเมืองฝั่งทิศตะวันออก และตั้งแต่แยกถนนจักรเพชรถึงแยกถนน พระพิทักษ์ฝั่งทิศตะวันออก
  • ถนนกรุงเกษม จากแยกนพวงศ์ ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์
  • ถนนไมตรีจิตต์ ตั้งแต่แยกวงเวียน 22 กรกฎา เข้ามาในระยะ 20 เมตร และก่อนออกทางแยกถนนกรุงเกษมในระยะ 60 เมตร
  • ถนนพระพิทักษ์
  • ถนนจักรเพชร ตั้งแต่แยกทางลงสะพานพระพุทธยอดฟ้าถึงแยกถนนอัษฎางค์ และตั้งแต่ทางลงสะพานสมเด็จพระปกเกล้าถึงแยกถนนพาหุรัด
  • ถนนจักรวรรดิ
  • ถนนวรจักร ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุงถึงแยกถนนเยาวราช
  • ถนนมหาไชย ตั้งแต่แยกถนนจักรเพชรถึงแยกถนนเจริญกรุง
  • ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่แยกถนนเฟื่องนคร (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ถึงแยกถนนตีทอง และตั้งแต่แยกถนนศิริพงษ์ถึงแยกถนนมหาไชย และตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชยถึงแยกถนนกรุงเกษม
  • ถนนพีระพงษ์ ตั้งแต่แยกภาณุรังสี ถึงแยกถนนบูรพา
  • ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่แยกวงเวียนใหญ่ ถึงสะพานตากสิน 1
  • ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกสะพานยมราช ถึงแยกถนนลูกหลวง
  • ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมืองถึงแยกบูรณะศิริฝั่งทิศตะวันตก (ริมคลองหลอด) และตั้งแต่แยกถนนราชบพิธถึงแยกถนนจักรเพชรฝั่งทิศตะวันตก (ริมคลองหลอด) และตั้งแต่แยกบำรุงเมืองถึงแยกถนนราชบพิธฝั่งทิศตะวันออก
  • ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนอัษฎางค์ถึงแยกถนนตรีเพชร และตั้งแต่ แยกถนนวรจักรถึงแยกถนนข้าวหลาม
  • ถนนดินสอ
  • ถนนตานี
  • ถนนบวรนิเวศ
  • ถนนสิบสามห้าง
  • ถนนเยาวราช
  • ถนนตะนาว
  • ถนนมหาไชย ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
  • ถนนประชาธิปก
  • ถนนสมเด็จเจ้าพระยา
  • ถนนจักรพรรษดิพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนหลานหลวง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง
  • ถนนวรจักร ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
  • ถนนรามบุตรี
  • ถนนเฟื่องนคร ตั้งแต่แยกถนนราชบพิธ ถึงแยกซอยพระยาศรี
  • ถนนเพาะพานิช
  • ถนนบริพัตร
  • ถนนเจ้าคำรพ
  • ถนนหลวง ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า ถึงแยกถนนบริพัตร
  • ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกสะพานทิพยเสถียร ถึงแยกถนนข้าวหลาม
  • ถนนพาดสาย
  • ถนนพญาไม้
  • ถนนท่าดินแดง ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถึงท่าน้ำดินแดง
  • ถนนราชบพิธ ตั้งแต่แยกถนนตีทอง ถึงแยกถนนเฟื่องนคร
  • ถนนประชาธิปไตย ตั้งแต่เชิงสะพานวันชาติ ถึงแยกถนนกรุงเกษม ฝั่งทิศตะวันตก
  • ถนนจักรพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนพระสุเมรุ ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า
  • ถนนวิสุทธิกษัตริย์
  • ถนนพระสุเมรุ
  • ถนนพระอาทิตย์
  • ถนนตีทอง
  • ถนนพาหุรัด
  • ถนนมหรรณพ
  • ถนนพีระพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนมหาไชย ถึงแยกภาณุรังษี ฝั่งทิศใต้
  • ถนนภาณุรังษี
  • ถนนราชวงศ์
  • ถนนอิสรภาพ ตั้งแต่แยกถนนประชาธิปก ถึงแยกถนนลาดหญ้า
  • ถนนลาดหญ้า
  • ถนนอรุณอมรินทร์
  • ถนนท่าน้ำดินแดง ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า ถึงแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยา
  • ถนนไมตรีจิตต์
  • ถนนมิตรพันธ์
  • ถนนสันติภาพ
  • ถนนทรงวาด

เขตพื้นที่ที่ 24

  • ถนนเสือป่า

เขตพื้นที่ที่ 25

  • ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกสะพานขาว ถึงแยกผ่านฟ้า
  • ถนนเยาวราช ฝั่งซ้าย
  • ถนนทรงสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกท่าน้ าสวัสดี ถึงแยกเฉลิมบุรี
  • ถนนบูรพา
  • ถนนตะนาว ตั้งแต่แยกคอกวัว ถึงสี่กั๊กเสาชิงช้า
  • ซอยเศรษฐการ

เขตพื้นที่ที่ 26

  • ถนนตรีเพชร ตั้งแต่แยกพาหุรัด ถึงเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

การจอดรถในที่ห้ามจอดนอกจากจะเป็นการทำผิดกฎหมาย เสี่ยงโดนล็อคล้อโดยตำรวจแล้ว ยังเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถอีกด้วย ดังนั้นควรเลือกจอดรถในที่ที่มั่นใจว่าปลอดภัย จะได้ไม่ต้องมาคอยกังวล และอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่อยากฝากถึงเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่ คือควรทำประกันรถยนต์เอาไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในความเสี่ยงขณะขับขี่ อย่างน้อยจะได้อุ่นใจว่ามีประกันคอยดูแล

อยากทำประกันรถยนต์แต่ไม่รู้จะทำที่ไหนดี ต้องนี่เลย แรบบิท แคร์ ทำประกันรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายๆ กับ แรบบิท แคร์ เว็บไซต์ที่จะช่วยให้คุณเลือกประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ในการขับขี่มากที่สุด และยังเสริมทัพความคุ้มค่า ด้วยเบี้ยประกันสุดถูก โปรโมชั่นที่จะช่วยให้คุณประหยัดได้สูงสุดถึง 70% ข้อเสนอดี ๆ แบบนี้ห้ามพลาดเด็ดขาด โทรเลย. 1438

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา