Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: May 22, 2023

รวมป้ายจราจรสีแดง สัญลักษณ์ป้ายเตือน มีอะไรบ้าง ? ความหมายของแต่ละป้าย คืออะไร ?

นอกจากประเทศไทยจะขึ้นชื่อเรื่องทะเลสวย หาดทรายขาวนวล และมหานครแสนสนุกสนาน ไม่เคยหลับใหล ท้องถนนของไทยยังขึ้นชื่อ ติดอันดับโลกเรื่องขับขี่อันตราย ฉะนั้นความสำคัญของการดูป้ายจราจร จึงมีมาก ๆ หากเราอยากจะเปลี่ยนชื่อเสียเหล่านี้ และพัฒนาตนเองเป็นผู้ขับขี่คุณภาพ โดยวันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาพูดถึงความหมายของป้ายจราจรสีแดง หรือ สัญลักษณ์ป้ายเตือน มาดูกันต่อเลย

ป้ายจราจรมีกี่ประเภท

นอกจากป้ายจราจรสีแดง หรือ สัญลักษณ์ป้ายเตือนแล้ว ป้ายจราจรมีหลายประเภทที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลแก่ผู้ใช้ถนน โดยมีความหลากหลายตามเนื้อหาและการแสดงผล แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ประมาณ 5 ประเภท

  • ป้ายจราจรสัญลักษณ์ป้ายเตือน (ป้ายจราจรสีแดง) : ป้ายที่ใช้เตือนผู้ขับขี่เกี่ยวกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น ป้ายเตือนเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรชำรุดหรือป้ายเตือนเส้นทางที่มีการก่อสร้าง
  • ป้ายจราจรสัญญาณ : ป้ายที่ใช้เพื่อควบคุมการจราจรและสื่อสารกับผู้ขับขี่ อาจเป็นสัญลักษณ์แสดงการหยุดหรือเร่งความเร็ว หรือสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแซงหรือเปลี่ยนเลน
  • ป้ายจราจรทางทิศทาง : ป้ายที่ใช้เพื่อแสดงทิศทางของเส้นทาง อาจเป็นป้ายแสดงทิศทางตรง ทางซ้ายหรือขวา หรือทางออก
  • ป้ายจราจรข้อมูล : ป้ายที่ใช้ในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่หรือสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ป้ายแสดงที่ตั้งโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว หรือสถานที่ทางออกต่าง ๆ
  • ป้ายจราจรอื่น ๆ : นอกจากนี้ยังมีป้ายจราจรอื่น ๆ ที่สื่อสารข้อมูลเฉพาะ เช่น ป้ายจราจรเคลื่อนที่ ป้ายที่กำหนดความสูงของทางผ่าน หรือป้ายบอกความเร็วที่จำกัด

สิ่งที่สำคัญคือการปฏิบัติตามป้ายจราจรที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัยและสื่อสารข้อมูลให้ถูกต้องแก่ผู้ขับขี่และคนอื่น ๆ บนถนน

ความหมายของป้ายจราจรสีแดงแต่ละประเภท

ป้ายห้ามเข้า (No Entry)

ป้ายจราจรสีแดงระบุว่าห้ามให้รถทุกประเภท เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายห้ามเข้านี้อยู่ หากฝ่าฝืนมีโทษทางกฎหมาย นอกจากจะได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ป้ายหยุด (Stop)

ป้ายจราจรสีแดงระบุว่ารถทุกคันจะต้อง หยุดวิ่ง เมื่อมองเห็นป้ายดังกล่าวและเมื่อมองดูแล้วว่าปลอดภัย ถึงสามารถขับรถยนต์เคลื่อนผ่านต่อไปด้วยความระมัดระวัง มักใช้กับพื้นที่โค้งหักศอก หรือจุดอันตรายอื่น ๆ

ป้ายให้ทาง (Yield)

สัญลักษณ์ป้ายเตือนสำหรับรถทุกประเภทจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน และเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว ไม่มีสิ่งกีดขวางการจราจรดังกล่าว จึงสามารถเคลื่อนรถไปต่อด้วยความระมัดระวัง

ป้ายห้ามแซง (Do not Takeover)

ป้ายจราจรสีแดงห้ามไม่ให้ขับรถยนต์แซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ๆ ในเขตทางห้ามแซง ตามที่ได้ติดตั้งป้ายดังกล่าวเอาไว้ ณ จุดนั้น ๆ

ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย (No Left Turn)

สัญลักษณ์ป้ายเตือนห้ามไม่ให้รถทุกประเภทเลี้ยวรถไปทางซ้าย เมื่อเห็นป้ายดังกล่าว

ป้ายห้ามเลี้ยวขวา (No Right Turn)

ห้ามไม่ให้รถทุกประเภทเลี้ยวรถไปทางขวา เมื่อเห็นป้ายดังกล่าว

ป้ายห้ามจอดรถ (No Parking)

สัญลักษณ์ป้ายเตือนห้ามไม่ให้จอดรถทุกประเภทระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ – ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะ ซึ่งต้องกระทำโดยไม่ชักช้าครับ

ป้ายห้ามกลับรถไปทางขวา (No Right U-Turn)

ห้ามรถทุกประเภทกลับรถไปทางขวา ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ในพื้นที่ที่มีป้ายนี้ตั้งอยู่

ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย (No left U-Turn)

ป้ายจราจรสีแดงห้ามรถทุกประเภทกลับรถไปทางซ้าย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ในพื้นที่ที่มีป้ายนี้ตั้งอยู่

ป้ายห้ามใช้เสียง (No Audible)

ห้ามไม่ให้ใช้เสียงสัญญาณหรือทำให้เกิดเสียงที่ก่อการรบกวนไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเจอได้ตาม สถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน เป็นต้น

ป้ายหยุดตรวจ (Stop for Inspection)

ให้ผู้ขับขี่รถหยุดรถที่ป้ายนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจและขับรถต่อไปได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแล้วเท่านั้น

ป้ายห้ามคน หรือ ป้ายห้ามคนเข้า (No Pedestrians)

ป้ายห้ามคนเข้า คือ การห้ามคนผ่าน เข้าไปในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งป้ายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆก็ตาม

ป้ายจำกัดความเร็ว (Speed Limit)

ห้ามไม่ให้ผู้ขับรถทุกประเภทใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆที่ระบุ ในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายไว้ จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น ยกตัวอย่างเช่น 50, 80, 90, 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ป้ายให้รถสวนทางมาก่อน (Give Way to Oncoming Vehicles)

รถทุกประเภทต้องหยุดรถตรงป้ายดังกล่าว เพื่อให้รถที่กำลังวิ่งสวนทางมาก่อน และหากเห็นว่ารถยนต์ข้างหน้าหยุดรออยู่ก่อน ให้ผู้ขับขี่หยุดรถรอถัดกันมาตามลำดับ จนกระทั่งรถยนต์ที่สวนทางมาผ่านไปหมด จึงสามารถขับขี่ไปต่อได้

ป้ายห้ามหยุดรถ (No Stopping)

ห้ามไม่ให้หยุดรถหรือจอดรถทุกประเภท ตรงแนวนั้นโดยเด็ดขาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นถนนสองเลน เพราะถ้าเกิดจอดรถตรงจุดนั้น อาจทำให้เกิดอันตราย หรือ จราจรติดขัดได้ครับ

ป้ายห้ามรถกว้าง สูง ยาว หรือมีน้ำหนักเกินกำหนด (Width / Height / Length / weight Limit)

สัญลักษณ์ป้ายเตือนห้ามไม่ให้รถทุกประเภทที่มีความกว้าง สูง หรือยาว ของรถรวมทั้งของที่บรรทุกไว้ เกินกว่าค่าที่กำหนด หน่วยเป็น “เมตร” ตาม จำนวนเลขที่ระบุ ในเครื่องหมายเข้าไปในพื้นที่ทางหรืออุโมงค์ที่ติดตั้งป้ายไว้ โดยในกรณีที่เป็นข้อกำหนดน้ำหนัก จะระบุน้ำหนักเป็นหน่วยตัน เช่น 50 หรือ 60 ตัน ต่อคัน

ป้ายให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า หรือป้ายให้เลี้ยว (One Way / Must Turn)

ป้ายลักษณะนี้ ไม่เชิงว่าเป็นสัญลักษณ์ป้ายเตือน แต่เป็นการบอกเส้นทางจราจร เช่นสามารถตรงไปได้อย่างเดียว (One Way) หรือถนนตรงหน้าสามารถเลี้ยวซ้ายได้อย่างเดียว

หลังจากทราบความหมายของสัญลักษณ์ป้ายเตือน หรือป้ายจราจรสีแดง แล้ว หวังว่าทุกท่านจะขับรถกันอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ซึ่งใครอยากขับขี่อย่างอุ่นใจยิ่งกว่าเดิม แรบบิท แคร์ ขอแนะนำแหล่งเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ จากบริษัทประกันเจ้าหลักของประเทศไทย ใครอยากรู้ว่ามีดีลเด็ด ๆ อะไรบ้าง คลิกดูต่อเลย

ป้ายห้ามรถยนต์เฉพาะชนิดเข้า เช่น รถยนต์ รถจักรยาน รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ รถเข็น (No Car / Three-Wheeler / No Bicycle / No Truck / No Motorcycle / No Cart)

ห้ามไม่ให้รถยนต์เฉพาะชนิดเข้า โดยประเภทของรถที่ห้ามเข้าอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบของถนน เช่นหากถนนเส้นเล็ก อาจมีป้ายห้ามรถยนต์ หรือรถบรรทุกเข้า หรือหากไม่ต้องการให้มีร้านขายของข้างทาง อาจมีป้ายห้ามรถเข็นเข้า หรือหากกลัวถนนเสียหายอาจมีป้ายห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร หรือรถแทรกเตอร์ ห้ามใช้หากฝ่าฝืนสามารถโดนปรับ หรือมีความผิดทางกฎหมาย

ป้ายห้ามรถยนต์ (No Car)

ป้ายจราจรสีแดงป้ายที่ห้ามให้รถยนต์เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายจราจรไว้

ป้ายจราจรสีแดงมีประโยชน์ในการเคลมประกันอย่างไร

ป้ายจราจรสีแดงเป็นป้ายที่บ่งบอกถึงข้อห้ามหรือข้อบังคับที่ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม เช่น ป้ายหยุด (Stop), ป้ายห้ามเลี้ยว, ป้ายห้ามจอด หรือป้ายห้ามแซง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความปลอดภัยบนท้องถนนและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลจากป้ายจราจรสีแดงสามารถมีประโยชน์ในการเคลมประกันรถยนต์ได้ ดังนี้

ประโยชน์ของป้ายจราจรสีแดงในการเคลมประกัน

1. พิสูจน์การทำผิดกฎจราจรของคู่กรณี

หากเกิดอุบัติเหตุในบริเวณที่มีป้ายจราจรสีแดง เช่น ป้ายหยุด (Stop) หรือป้ายห้ามเลี้ยว แล้วคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ขับฝ่าสัญญาณหยุดหรือเลี้ยวในที่ห้ามเลี้ยว แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น การใช้ภาพถ่ายหรือวิดีโอของป้ายจราจรสีแดงในบริเวณนั้นสามารถช่วยพิสูจน์ว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดได้

ตัวอย่าง : หากคุณขับขี่มาตามถนนหลักแล้วมีรถคู่กรณีขับออกมาจากทางแยกโดยไม่หยุดตามป้ายหยุด (Stop) และเกิดการชนกัน คุณสามารถใช้ภาพถ่ายป้ายหยุดเพื่อยืนยันว่าคู่กรณีฝ่าฝืนกฎจราจร และคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด

2. สนับสนุนการยืนยันความถูกต้องของผู้ขับขี่

หากคุณปฏิบัติตามป้ายจราจรสีแดงอย่างถูกต้อง เช่น หยุดที่ป้ายหยุดหรือไม่เลี้ยวในบริเวณที่มีป้ายห้ามเลี้ยว แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นจากการกระทำของคู่กรณี ข้อมูลจากป้ายเหล่านี้สามารถใช้ยืนยันว่าคุณขับขี่อย่างถูกต้องและไม่ได้ทำผิดกฎจราจร ซึ่งช่วยสนับสนุนการเคลมประกันให้ผ่านไปได้อย่างราบรื่น

ตัวอย่าง : หากคุณหยุดรถตามป้ายหยุดแล้วมีรถคันอื่นมาชนท้าย การถ่ายภาพป้ายหยุดและจุดที่คุณหยุดรถอย่างถูกต้องจะช่วยสนับสนุนว่าคุณไม่ได้หยุดรถในที่ห้ามหยุดและปฏิบัติตามกฎจราจร

3. ใช้เป็นหลักฐานในการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย

หากมีข้อพิพาทหรือการเจรจาเกี่ยวกับความถูกต้องของการขับขี่ ป้ายจราจรสีแดงสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อช่วยยืนยันการปฏิบัติตามกฎจราจรของคุณ หรือเพื่อแสดงว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ เช่น ขับรถแซงในบริเวณที่มีป้ายห้ามแซง

4. ลดความรับผิดชอบหรือโทษของคุณ

หากเกิดอุบัติเหตุในสถานการณ์ที่ซับซ้อน เช่น ในทางแยกที่มีการติดตั้งป้ายจราจรหลายป้าย การแสดงว่าคุณปฏิบัติตามป้ายจราจรสีแดงอย่างถูกต้องจะช่วยลดความรับผิดชอบหรือโทษที่อาจได้รับจากการขับขี่ในสถานการณ์นั้น

การเก็บหลักฐานจากป้ายจราจรสีแดง

หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ควรถ่ายภาพป้ายจราจรสีแดงในบริเวณที่เกิดเหตุอย่างชัดเจน รวมถึงภาพมุมกว้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างป้ายและตำแหน่งที่เกิดเหตุ และถ้าหากมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในบริเวณนั้น ควรติดต่อขอภาพจากกล้องเพื่อใช้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมในการเคลมประกัน

ป้ายจราจรสีแดงมีประโยชน์ในการเคลมประกันโดยช่วยพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจร หรือช่วยยืนยันว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดในการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานในการเจรจาและไกล่เกลี่ยกับบริษัทประกัน ทำให้การเคลมประกันเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นธรรมมากขึ้นค่ะ

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา