รถตัดหน้า ประมาทร่วมได้หรือไม่ และใครเป็นฝ่ายผิด?
ขับรถตัดหน้า ผิดกฎหมายไหม?
ขับรถตัดหน้ามีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก การขับรถตัดหน้าหรือขับรถปาดหน้านั้นถือว่ามีความผิดฐานขับรถในลักษณะหวาดเสียวและประมาท จนอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นและทรัพย์สินได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) จากเว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม และมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ตามมาตรา 157 เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จึงควรมีการรักษาระยะห่างจากรถคันข้างหน้าประมาณ 100 เมตร ที่ความเร็วรถยนต์ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และระยะ 80 เมตร ที่ความเร็วรถยนต์ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าหากว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น สภาพถนน ล้อรถ สภาพอากาศ เป็นต้น ก็ควรที่จะต้องมีการเว้นระยะห่างเป็นอย่างน้อย 2 เท่า เพื่อความปลอดภัยจากการชนปะทะกัน หากรถคันข้างหน้ามีเหตุฉุกเฉินที่จะต้องเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน และนอกจากนี้ก็ไม่ควรที่จะเปลี่ยนเลนขับรถอย่างกะทันหัน หรือรถตัดหน้า เบรคกระทันหัน เพราะว่าจะทำให้รถคันที่ขับตามมาข้างหลังนั้นหักหลบไม่ทัน และอาจจะเกิดเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาในภายหลังได้
คนตัดหน้ารถ ใครผิด?
ในกรณีที่มีคนวิ่งตัดหน้ารถในระยะกระชั้นชิดเกินกว่าที่รถยนต์จะหยุดได้ทัน และรถยนต์นั้นไม่ได้มีการขับมาด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็จะถือว่าผู้ที่วิ่งตัดหน้ารถนั้นเป็นฝ่ายผิด และจะต้องมีการรับผิดชอบเรื่องค่าเสียหายต่าง ๆ แต่ถ้าหากว่าเป็นกรณีที่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นกับทางผู้ที่วิ่งตัดหน้ารถ ทางฝั่งของผู้ขับรถก็สามารถที่จะเรียกร้องค่าเสียหายกับทางญาติของผู้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ส่วนในกรณีที่มีการขับรถชนคนที่ยืนขวางถนนอยู่ แบบนี้จะถือว่ารถยนต์นั้นเป็นฝ่ายที่ผิด เนื่องจากพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 32 ได้ระบุไว้ว่า “การขับรถนั้นจะต้องมีการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าจะมีคนยืนอยู่ในที่ที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมอย่างเช่นกลางถนนก็ตาม ผู้ขับขี่ก็ควรที่จะต้องระวังและไม่ประมาท เพื่อความปลอดภัยและเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น”
และในกรณีที่มักจะพบได้บ่อย คือ การขับรถชนคนข้ามถนนบริเวณนอกทางม้าลาย ซึ่งในกรณีนี้จะถือว่าผู้ขับขี่และผู้ที่เดินข้ามถนนนั้นมีความผิดด้วยกันทั้งคู่ โดยทางฝ่ายรถยนต์จะต้องรับโทษในฐานะผู้กระทำความผิดตามมาตรา 32 และจะต้องรับผิดชอบขั้นพื้นฐานตามมาตรา 78 ด้วย แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยมีการพิจารณาที่ลงลึกมากยิ่งขึ้น ว่ารถยนต์ได้มีการวิ่งมาด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หรือว่าทางคนข้ามถนนนั้นเดินมาในระยะที่กระชั้นชิดมากเกินไปจนทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที
กฎหมายรถตัดหน้ามีอะไรบ้าง?
จากพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ได้ระบุเอาไว้ว่า “การใช้ทางเดินรถนั้น ผู้ขับขี่จะต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือไปโดนคนเดินไม่ว่าจะส่วนใดในร่างกายก็ตาม อีกทั้งยังต้องคอยให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าด้วย เพื่อให้รู้ตัวเมื่อมีเหตุจำเป็น โดยเฉพาะในคนชรา คนพิการ หรือเด็กเล็กที่กำลังใช้ทางอยู่” และนอกจากนี้ยังมีมาตรา 78 ที่จะระบุถึงความรับผิดชอบ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาในลักษณะดังกล่าว คือ “ผู้ที่ขับรถในช่องทางเดินรถแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน โดยที่ไม่ว่าจะเป็นความผิดหรือไม่ก็ตาม ต้องมีการหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวเพื่อแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ด้วยตนเองอีกด้วย”
การประมาทร่วมคืออะไร?
สำหรับคำว่าประมาทร่วมนั้นจะหมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจนทำให้ทั้งคู่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุรถชน อุบัติเหตุรถเบียดกันจนทำให้รถได้รับความเสียหาย การได้รับบาดเจ็บทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสาร โดยจะมีตำรวจหรือตัวแทนบริษัทประกันภัยเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ เพื่อให้ได้รับความเห็นว่าทั้งสองฝ่ายนั้นมีการประมาทร่วมกันเกิดขึ้น จนเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ขึ้นมา และเกิดการได้รับบาดเจ็บกันเกิดขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุรถชนกันบริเวณทางร่วมทางแยก ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
อุบัติเหตุจากการประมาทร่วม ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?
ในความเป็นจริงแล้วสำหรับการประมาทร่วมนั้นจะถือว่าเป็นความผิดของทั้งสองฝ่าย แต่จะผิดมากหรือผิดน้อยก็จะขึ้นอยู่กับทางผู้ไกล่เกลี่ยที่จะลงบทสรุปให้จากการพิจารณาถึงความประมาท และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นทางบริษัทประกันภัยจะถือว่าเป็นอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี ดังนั้นในแต่ละฝ่ายก็จะต้องขอเคลมค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ทำเอาไว้นั่นเอง เพราะฉะนั้นในกรณีการประมาทร่วมนี้จะเป็นการที่ต่างฝ่ายต่างต้องรับผิดชอบในส่วนที่ตัวเองทำผิด และจะไม่มีสิทธิ์เรียกร้องสิ่งอื่นใดจากอีกฝ่าย ยกเว้นแต่ว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ไม่ยินยอมในครั้งนั้น และเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้นมาในที่สุดยอด โดยทางฝ่ายที่มีความผิดมากกว่าจึงจำเป็นที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับอีกฝ่ายด้วย
ส่วนในเรื่องของค่าสินไหมทดแทนนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ รถยนต์)
ถือว่าเป็นประกันที่ทางกฎหมายนั้นได้บังคับให้ผู้ที่มีรถยนต์ทุกคันต้องทำ โดยจะได้รับความคุ้มครองจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุในกรณีใดก็ตาม และถ้าหากว่ามีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพถาวร หรือว่าเสียชีวิต ก็จะได้รับความคุ้มครองค่าเสียหายในเบื้องต้น ค่าเสียหายส่วนเกิน และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก ซึ่งในกรณีที่เสียชีวิตจะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลสูงสุดอีก 80,000 บาท - ประกันภัยภาคสมัครใจ
สำหรับประกันภัยประเภทนี้จะเป็นประกันภัยสำหรับคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะ โดยจะมีเงื่อนไขตามที่ในแต่ละบริษัทกำหนดไว้ในกรมธรรม์ และแตกต่างกันไปตามประเภทของประกันภัย เช่น ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, ประกันภัย2+, ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2, ประกันชั้น 3+ ราคาย่อมเยาว์ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 โดยที่ทางประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 นั้นจะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุดและให้ความคุ้มครองสูงที่สุดนั่นเอง
สรุปแล้วการประมาทร่วมนั้น บริษัทประกันภัยจะยังให้ความคุ้มครองไหม?
สำหรับในกรณีการประมาทร่วมนั้น ทางบริษัทประกันภัยก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะประกันภัยชั้น 1, ชั้น 2+ และชั้น 3+ เท่านั้น โดยที่ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามจริงในวงเงินที่ทางบริษัทประกันภัยได้กำหนดไว้นั่นเอง ซึ่งประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จะถือว่าให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด หากเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมาก็จะได้รับความคุ้มครอง ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด จะประมาทน้อยกว่าหรือประมาทมากกว่าก็ตาม เพราะทางบริษัทประกันภัยจะคุ้มครองให้ทั้งผู้ขับขี่ ทรัพย์สิน และบุคคลภายนอกแบบครอบคลุมครบถ้วน ส่วนประกันภัยชั้น 2+ และ 3+ ก็จะได้รับความคุ้มครองที่รองลงมาจากประกันภัยชั้น 1 นั่นเอง ส่วนถ้าเป็นประกันภัยชั้นอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีของการประมาทร่วม เพราะทางบริษัทประกันภัยจะไม่มีการจ่ายค่าชดเชยให้ในกรณีนี้ เนื่องจากว่าไม่ได้เข้าเงื่อนไขการคุ้มครองของทางบริษัทประกันภัยนั่นเอง
ความคุ้มครองประกันรถยนต์
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ควรเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?
แนะนำว่าควรทำ ประกันภัยชั้น 1 ไว้จะดีที่สุด เพราะถึงแม้ว่าราคาจะแพงเป็นอันดับต้นในบรรดาประกันภัยทุกชั้น แต่ในเรื่องของความคุ้มครองที่จะได้รับนั้นก็สามารถมั่นใจได้เลย 100% ว่าคุ้มค่า คุ้มราคาแน่นอน เพราะถือว่าเป็นประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นในกรณีรถหาย รถไฟไหม้ หรือรถน้ำท่วม ก็รับเคลมทั้งสิ้น
ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?
เพราะลูกค้าสามารถมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับสิทธิพิเศษตั้งแต่เริ่มวางแผนซื้อประกันภัยกับทางแรบบิท แคร์ เพราะว่าแรบบิท แคร์ นั้นจะมีระบบเปรียบเทียบแผนประกันออนไลน์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาที ก็จะสามารถรู้ราคาของประกันภัยรถยนต์ในแต่ละบริษัทประกันภัยชั้นนำทั่วประเทศได้เลย เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกสรรแผนประกันที่ตอบโจทย์และตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาได้มาก และนอกจากนี้แรบบิท แคร์ ยังมีข้อเสนอสุดพิเศษอื่น ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับหากซื้อประกันรถยนต์กับเรา ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแรบบิท แคร์