แคร์สุขภาพ

หมดไฟ (Burnout) อีกหนึ่งภาวะที่คนทำงานยุคใหม่ต้องเผชิญ

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: April 4,2023
  
Last edited: May 16, 2024
อาการหมดไฟ

หมดไฟหรือ Burnout เป็นอีกหนึ่งคำที่เรามักได้ยินกันเป็นประจำไม่ต่างจากพวกคำอย่างอินโทรเวิร์ต เอ็กซ์โทรเวิร์ต เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ไม่รู้จักการเบิร์นเอ้าท์อาจคิดว่าภาวะหมดไฟเป็นอีกหนึ่งคำศัพท์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างสวยหรูเพื่อเป็นคำที่ใช้อย่างเท่ ๆ ตามยุคสมัย แต่ในความเป็นจริงการหมดไฟเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่คนทำงานหลาย ๆ คนในยุคนี้ต้องเผชิญและทนทุกข์ไปกับมัน ก่อให้เกิดผลเสียกับทั้งตัวเองและงานที่ทำอยู่ น้องแคร์จึงจึงอยากแนะนำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับภาวะหรืออาการ Burnout กันให้มากขึ้น ไปดูกันว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะแก้อาการหมดไฟได้อย่างไรกันบ้าง

การหมดไฟ (Burnout) คืออะไร?

หมดไฟ หรือ Burnout Syndrome คือ ภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดสะสมเรื้อรังเป็นเวลานานและไม่ได้รับการแก้ไข องค์กรอนามัยโรค (WHO) ยังไม่ได้จัดให้อาการหมดไฟเป็นโรคทางการแพทย์ โดยภาวะหมดไฟจะทำให้ความรู้สึกเชิงลบต่อสิ่งต่าง ๆ  เกิดความเหนื่อยล้าทางด้านอารมณ์ เบื่อหน่ายกับสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ หมดไฟในการทำงาน ขาดความสุขความสนุกในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และยังส่งผลกระทบต่อตนเองไปจนถึงการงานและคนรอบข้างแบ่งลักษณะอาการได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  • Exhaustion : รู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ อ่อนเพลีย หมดพลัง สูญเสียพลังใจ
  • Negativism : มีทัศนคติมองโลกในแง่ลบ ขาดแรงบันดาล เบื่องาน ด้อยค่าความสามารถตนเอง
  • Professional Efficacy : ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง ความสัมพันธ์เริ่มเหินห่างหรือเป็นไปทางลบ

สาเหตุของการหมดไฟหรืออาการ Burnout เกิดจากอะไร

การหมดไฟหรืออาการ Burnout Syndrome มีสาเหตุเกิดจากความเครียด ความกดดันสะสมจากภาระงานที่มากจนเกินไป ตัวงานมีความยากเกินความสามารถ มีความซับซ้อนที่ต้องใช้เวลาและความคิดเป็นอย่างมากในการทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แต่ถูกกดดันให้ทำอย่างเร่งรีบ ไปจนถึงความไม่ชัดเจนของตัวงาน ขาดอำนาจตัดสินใจให้ทำงานสำเร็จลุล่วง ต้องแก้ปัญหาหรือว่าทำงานตัวคนเดียวโดยไม่มีคนคอยช่วย และยังอาจเกิดจากค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับตัวงาน 

การหมดไฟหรือ Burnout นอกจากจะเกิดจากปัญาในเรื่องของตัวงานและสภาพแวดล้อมแล้ว ตัวของเราเองอาจจะยังทำให้เกิดปัญหาหมดไฟในการทำงานได้อีกด้วย อันเนื่องมาจากอุปนิสัยส่วนตัวอย่างเช่นการเป็นคนจริงจัง ขาดความยืดหยุ่น เป็นคนที่มีความคาดหวังสูง ปัญหาภายในครอบครัว หรือว่าเป็นการทำงานหนักเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบชั้นดีที่ก่อให้เกิดภาวะหมดไฟขึ้น

เช็กสัญญาณเตือนการเกิดภาวะ Burnout หมดไฟมีอะไรบ้าง?

  • มีความรู้สึกหดหู่
  • มีการมองคนอื่นในแง่ร้าย
  • ด้อยค่า ไม่มีความมั่นใจในตนเอง 
  • ขาดความกระตือรือร้นในทุกเรื่อง
  • มีอารมณ์แปรปรวน ทำอะไรก็หงุดหงิด โมโหง่าย
  • หมดแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • ไม่อยากไปทำงาน
  • มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
  • เริ่มมีความไม่พอใจในที่ทำงานพิ่มขึ้น
  • เริ่มมีการบ่นหรือวิจารณ์งานที่ทำ
  • รู้สึกท้อแท้กับงานที่ได้รับมอบหมาย
  • ไม่พึงพอใจในความสำเร็จที่ทำได้
  • คิดวกวนถึงปัญหาอยู่ตลอดเวลา
  • มีปัญหาในเรื่องการกินและการนอน
  • ขาดความสมดุลในชีวิต
  • การบริหารจัดการเวลาทำได้แย่ลง

ซึ่งถ้าลองเช็กดูแล้วเพื่อน ๆ เข้าข่ายอาการหมดไฟอยู่หลายข้อ ก็ขอให้คิดไว้ก่อนเลยว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงการหมดไฟแล้ว ควรให้ความสำคัญกับตนเองรับมือกับอาการหมดไฟที่เกิดขึ้น

Burnout ในวัยทำงาน

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการหมดไฟ

สำหรบกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของอาการหมดไฟหรือ Burnout มักจะเป็นคนที่มีนิสัยจริงจัง ยึดติดความสมูรณ์แบบยึดติด(Perfectionism) ขาดความยืดหยุ่น ไปจนถึงกลุ่มคนอยู่ในภาวะต่าง ๆ ดังนี้

  • ทำงานหนักและปริมาณมาก
  • ทำงานยากซับซ้อน ในกรอบเวลาเร่งรีบ
  • งานที่ทำให้รู้สึกไม่ได้รับคุณค่าขาดความภูมิใจในเนื้องาน
  • งานที่ขาดความยุติธรรม ความเชื่อใจ 
  • เป็นงานที่ขาดการยอมรับในการทำงาน
  • ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในงานที่ทำ
  • ได้รับการบริหารงานที่ไม่เป็นระบบ
  • ได้รับผลตอบแทนไม่เหมาะสม

หลาย ๆ คนคงคิดว่าการหมดไฟเกิดขึ้นได้แต่เฉพาะกับคนวัยทำงานไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร ไปจนถึงคนที่ประกอบอาชีพที่มีความเครียดความกดดัน แต่ในความเป็นจริงแล้วภาวะ Burnout สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกช่วงวัยและทุกอาชีพ

การหมดไฟส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

การหมดไฟในการทำงานส่งผลกระทบเชิงลบในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจไปจนถึงสังคมรอบข้างโดยน้องแคร์ได้แยกผลกระทบจากภาวะ Burnout ไว้ดังต่อไปนี้

ด้านร่างกาย 

  • เกิดอาการปวดหัว
  • มีอาการเมื่อยล้าตามตัว
  • อยู่ในภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรัง
  • เกิดภาวะนอนไม่หลับ

ด้านจิตใจและอารมณ์

  • รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • เป็นคนเฉื่อยชา
  • ขาดการยอมรับคุณค่าในตนเอง

ด้านการงานรวมถึงด้านสังคม

  • ทำงานได้ต่ำกว่าประสิทธิภาพ
  • ไม่อยากทำงาน ขาดงานบ่อย
  • ปฏิสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างเริ่มแย่ลง

Burnout Syndrome ทำให้หมดแรง

แก้อาการหมดไฟทำอย่างไรได้บ้าง?

เมื่อเพื่อน ๆ เริ่มมีอาการอยู่ข่ายหมดไฟ (Burnout) อาจเกิดคำถามว่า“หมดไฟ ทําไงดี?” ซึ่งอย่างแรกที่ควรทำเลยก็คือยอมรับความจริงเสียก่อนว่าตัวเองนั้นมีภาวะของ Burnout Syndrome แล้ว โดยสิ่งต่อมาที่ควรจะทำคือหาทางแก้อาการหมดไฟ หรือช่วยบรรเทาภาวะหมดไฟเพื่อให้คุณภาพชีวิตกลับมาอยู่ในระดับปกติให้เร็วที่สุด ซึ่งน้องแคร์อยากแนะนำวิธีรับมือการหมดไฟให้กับเพื่อนได้นำไปลองทำดู จะมีอะไรบ้างไปชมกันได้

พยายามหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังในการจัดการกับการหมดไฟ เราใช้เวลาทั้งวันไปกับการทำงานที่หนักหนา ร่างกายย่อมแบกรับทั้งความเครียดรวมถึงความกดดันต่าง ๆ มากมาย การที่ให้ร่างกายได้พักผ่อนและฟื้นฟูตัวเองจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดการเกิดอาการ Burnout

ปรับ Mindset การใช้ชีวิตใหม่

เป็นอีกหนึ่งการจัดการกับการหมดไฟหรือ Burnout ที่ได้ผลดีในระยะยาวกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดของทั้งการใช้ชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ปรับลดความจริงจังลงไปบ้าง ให้ความสำคัญกับเรื่องที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น ฝึกการมองโลกในแง่บวกไม่มีอะไรที่ร้ายเกินไปตลอด ลดความคาดหวังต่อสิ่งต่าง ๆ ลง ใช้ชีวิตบนพื้นฐานของความเป็นจริงซึ่งรับรองเลยว่าชีวิตเพื่อน ๆ จะมีความสุข ลดอาการและความเสี่ยงของภาวะหมดไฟลงได้อย่างแน่นอน

จัดระเบียบการทำงานเพื่อลดการ Burnout

สำหรับคนที่หมดไฟในการทำงาน ไม่ว่าจะเจองานหนักหรืองานยากในรูปแบบไหน ลองจัดระเบียบการทำงานตามที่น้องแคร์ได้รวมมาให้เพื่อน ๆ ทุกคนดูดังนี้

  • จัดตารางงานใหม่ กำหนดเวลาทำงานให้เหมาะสม
  • เรียงลำดับความสำคัญของงาน เอางานที่มีความสำคัญขึ้นมาทำก่อน
  • พยายามจัดสรรช่วงเวลาพักเข้ามาในตารางงาน ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็เวลานาน
  • กำหนดเวลาเลิกงานที่ชัดเจน เมื่อเลิกงานแล้วจะไม่กลับไปยุ่งกับงานอีก
  • ตั้งเป้าหมายงานที่จะทำในแต่ละวัน โดยอาจจะเริ่มจากงานเล็ก ๆ ง่าย ๆ ให้สำเร็จก่อน
  • หัดรู้จักขอความช่วยเหลือ เมื่องานยากเกินความสามารถหรือว่ามีงานล้นมือเกินไป
  • รู้จักคำว่า “ไม่” ต้องมีหัดปฏิเสธต่องานที่เข้ามา ประเมินถึงความสามารถและปริมาณงาน

ลองนำวิธีการต่าง ๆ ไปปรับใช้กับการทำงานดูน่าจะช่วยให้หลาย ๆ คนมีอาการของการหมดไฟที่ดีขึ้น

ภาวะหมดไฟจากการทำงานหนัก

หาเวลาไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ

วิธีรับมือกับการหมดไฟในวิธีต่อไปป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ ไม่มีความยุ่งยากอะไรกับการออกไปทำในสิ่งที่เพื่อน ๆ รักหรือมีความชื่นชอบซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รู้สึกผ่อนคลายจากความตึงเครียด บางคนอาจจะชอบในการวิ่ง ออกไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ หรือแม้แต่การดูหนังในวันหยุดพักผ่อน ดังนั้นเพื่อลดการหมดไฟในการทำงานควรผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ

หาความรู้เพิ่มเติมหรือหาแรงบันดาลใจเพื่อสู้กับ Burnout Syndrome

เพื่อต่อกรกับการหมดไฟหรือภาวะ Burnout ที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองหาความรู้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานที่ตัวเองทำอยู่ฝึกฝนให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น หรือว่าจะเป็นความรู้ใหม่ ๆ ที่ในปัจจุบันสามารถหาศึกษาได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้การหาแรงบันดาลใจจากสิ่งต่าง ๆ ก็จะช่วยให้การใช้ชีวิตมีเป้าหมาย มีแรงในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอีกด้วย

ปรึกษากับจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ

ถ้าเพื่อน ๆ เกิดการหมดไฟหรือ Burnout แล้วไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือว่าลองวิธีที่น้องแคร์แนะนำข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การไปหาหมอหรือขอคำแนะนำจากจิตแพทย์ถือว่าเป็นวิธีที่น่าจะได้ผลที่สุด เชื่อมือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเป็นทางออกที่ดีที่สุด เราจะได้รับทั้งคำแนะนำในการปฏิบัติตัวรวมไปถึงในบางครั้งถ้าอาการของการหมดไฟนั่นหนักเกินรับมือ เราอาจได้รับยามาเพื่อบรรเทาภาวะหมดไฟที่เกิดขึ้น

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน


การหมดไฟหรือภาวะ Burnout เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่คนปล่อยทิ้งไว้เพราะว่าจะส่งผลเสียกับทั้งตัวเองและต่อคนรอบข้าง น้องแคร์หวังว่าความรู้เรื่อง Burnout Syndrome สาเหตุและการรับมือกับภาวะหมดไฟที่ได้แนะนำจะช่วยให้เพื่อน ๆ ได้ห่างไกลหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ ในเรื่องการของการใช้เวลาว่างไปกับสิ่งที่เพื่อน ๆ ชื่นชอบถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียดจากการทำงาน ลดความเสี่ยงการหมดไฟลงอีกด้วย ซึ่งการออกไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบก็มีค่าใช่จ่ายเป็นเรื่องธรรมดา จะดีกว่าไหมที่ทุกการใช้จ่ายจะได้สิ่งดี ๆ กลับคืนมาลอง เราอยากแนะนำให้ลองมาเปิดใช้งานหรือสมัครบัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ เพราะว่าที่นี่มีบริการบัตรเครดิตหลากหลายให้เพื่อน ๆ เลือกได้ตรงกับความต้องการแน่นอน


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024