แคร์สุขภาพ

เลือดออกในสมอง คืออะไร ? อันตรายหรือไม่ ค่ารักษาแพงไหม ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
 
Published: March 5,2024

‘เลือดออกในสมอง’ แค่ได้ยินชื่อก็สามารถรับรู้ได้แล้วว่าเป็นภาวะอาการที่ร้ายแรง แล้วทุกคนสงสัยไหมว่าภาวะเลือดออกในสมองเกิดขึ้นได้อย่างไร มีโอกาสเกิดขึ้นกับตัวเราได้หรือไม่ เมื่อเป็นแล้วอันตรายถึงชีวิตไหม จะต้องรักษาอย่างไร วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมองมาให้ ทุกคนจะได้ลองทำความเข้าใจ ป้องกันไม่ให้ภาวะเลือดออกในสมองเกิดขึ้นกับตนเองได้ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายและชีวิตของตนเอง

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เลือดออกในสมอง คืออะไร ?

    โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมองว่า ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) เป็นภาวะที่มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดในสมองไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงส่งผลให้หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกในสมอง เมื่อเลือดไหลออกไปกดเนื้อเยื่อสมองก็จะส่งผลให้สมองขาดออกซิเจนและไม่สามารถทำหน้าที่ของสมองส่วนนั้น ๆ ได้ 

    ภาวะเลือดออกในสมองนั้นมีโอกาสพบได้ในทุกเพศทุกวัย และจะพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งสาเหตุในการเกิดก็มีมากมายหลายสาเหตุด้วยกันทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ มีความเครียดสะสม ขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยเล็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นต้นเหตุในการเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ นอกจากนี้การเกิดอุบัติเหตุก็สามารถทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้เช่นกัน

    เลือดออกในสมอง อาการ

    สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่าภาวะเลือดออกในสมองนั้นเมื่อเป็นแล้วจะมีอาการอย่างไร ทั้งนี้อาการของภาวะเลือดออกในสมองจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีการเลือดออก  แต่เผื่อใครมีความสงสัยว่าอาการที่ตนเองนั้นเป็นอยู่เข้าข่ายสัญญาณเตือนภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่ ลองอ่านทำความเข้าใจจะได้ลองทำการสังเกตตัวเองดู

    • มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงเฉียบพลัน อาการดังกล่าวเป็นอาการแสดงของภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ทั้งนี้จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย
    • มีอาการรู้สึกเจ็บแปลบคล้ายโดนเข็มทิ่มตำ มีอาการอ่อนแรงและเป็นเหน็บชา อาจเป็นอัมพาตซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า หรืออาจมีอาการเป็นอัมพาตบริเวณแขน-ขา
    • มีอาการคอแข็งเกร็ง รู้สึกหายใจลำบาก ทำการกลืนลำบาก
    • ประสบปัญหาด้านการมองเห็นของดวงตา ดวงตาพร่ามัว ไม่สู้แสง การตอบสนองของรูม่านตาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
    • มีอาการระบบประสาทการสั่งการและการประสานงานของร่างกายบกพร่องทำให้เกิดอาการเสียการทรงตัว
    • เกิดภาวะบกพร่องทางด้านการสื่อสาร ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัด มีอาการลิ้นแข็ง ไม่สามารถเขียนหรืออ่านหนังสือได้
    • มีอาการที่อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ อาการนี้จะเกิดขึ้นกรณีที่เลือดออกบริเวณก้านสมอง
    • มีอาการสูญเสียความตื่นตัว ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกสับสน ง่วงซึม อาจตกอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัว
    • มีอาการชัก

    อาการเหล่านี้ถือเป็นอาการแสดงเบื้องต้นของภาวะเลือดออกในสมอง ใครที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นน่าจะสังเกตตัวเองได้ไม่ยาก หากพบอาการต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียดทันที

    สาเหตุการเกิดเลือดออกในสมอง

    สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะเลือดออกในสมองนั้นกล่าวได้ว่าสามารถเกิดได้จากสาเหตุมากมาย ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ดังนี้

    • เกิดภาวะเลือดออก ในสมองจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ : โดยส่วนมากมักเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุต่าง ๆ ทั้งอุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุทางกีฬา ศีรษะถูกกระแทกด้วยของแข็ง ศีรษะกระแทกพื้นจนสมองได้รับการกระทบกระเทือน
    • เกิดภาวะเลือดออก ในสมองจากการที่มีความดันโลหิตสูง : การมีภาวะความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหายและเกิดภาวะเลือดออกในสมองในที่สุด
    • เกิดภาวะเลือดออก ในสมองจากการที่หลอดเลือดแดงแข็ง : โดยจะมีไขมันเกาะตัวอยู่ที่เส้นเลือดจนเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง
    • เกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดในสมอง : โดยสามารถเกิดได้จากทั้งลิ่มเลือดที่อยู่ภายในสมองหรือลิ่มเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายทำให้หลอดเลือดแดงได้รับความเสียหายและเกิดภาวะเลือดออกในสมองตามมา
    • เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง : จากการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดบางส่วนทำให้เส้นเลือดโป่งพองและแตกออกจนเกิดการสะสมคั่งค้างของเลือดในสมอง
    • เกิดจากภาวะหลอดเลือดในสมองเปราะ : จากการสะสมและตกตะกอนของโปรตีนอะไมลอยด์ของผนังหลอดเลือดแดงภายในสมอง (สาเหตุนี้มักพบในผู้สูงอายุที่เส้นเลือดในสมองเสื่อมลงตามวัยและมีอาการความดันโลหิตสูง และอาจเกิดขึ้นหลายจุดพร้อมกัน ทำให้มีเลือดออกในปริมาณมาก)
    • เกิดจากการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองผิดปกติแต่กำเนิด : ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ยากมาก
    • เกิดจากการมีภาวะเลือดออกผิดปกติ : โรคฮีโมฟีเลีย ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด/ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ
    • เกิดจากการมีเนื้องอกในสมอง : ทำให้เนื้องอกขยายตัวกดทับเนื้อเยื่อในสมองและทำให้เกิดเลือดออกในสมองในที่สุด
    • เกิดจากพฤติกรรมที่ส่งผลให้เส้นเลือดในสมองโป่งพองหรือเสื่อมสภาพ : การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด
    • เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรง : ทำให้มีอาการเกร็ง ชัก หมดสติ และเลือดออกในสมอง
    • เกิดจากการก่อตัวผิดปกติของคอลลาเจนในผนังหลอดเลือด : ซึ่งเป็นผลทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ทำให้ฉีกขาดและมีเลือดออก

    สาเหตุเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองมีมากมาย เราทุกคนต่างมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ ดังนั้นควรทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ หากเป็นขึ้นมาจะได้อุ่นใจ เพราะค่ารักษาพยาบาลแพงมากเลยทีเดียว

    เลือดออกในสมอง อันตรายไหม ?

    แน่นอนว่ามีความอันตรายเป็นอย่างมาก ภาวะเลือดออกในสมองนั้นอันตรายถึงชีวิต เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต หากมีอาการหรือสงสัยว่าตนเองมีภาวะเลือดออกในสมองจะต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุดนั่นเอง

    เลือดออกในสมอง ค่ารักษาแพงไหม ?

    แน่นอนว่าเมื่อเป็นภาวะที่ร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิต อีกทั้งยังเป็นการรักษาในส่วนที่ถือว่ามีความซับซ้อนมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย แน่นอนว่าทุกกระบวนการการรักษาย่อมมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก โดยเฉพาะหากเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน

    วิธีการรักษาเลือดออกในสมอง

    • ทำการประเมินร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์
    • ทำการเอกซเรย์ CT Scan เพื่อดูตำแหน่งที่มีเลือดออกในสมอง
    • ทำการ MRI Scan หรือ การตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องถ่ายภาพสนามแม่เหล็ก 
    • ทำการรักษาตามอาการ ด้วยการใช้ยา
    • ทำการผ่าตัดเจาะระบายน้ำในสมอง (กรณีเกิดน้ำคั่งในสมองร่วม)
    • ทำการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ นำเลือดในสมองออก ลดสมองบวม 

    ทั้งนี้วิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์จะทำการประเมินตามอาการและระดับความร้ายแรง

    วิธีการดูแลตนเองเมื่อเลือดออกในสมอง

    • ทำการกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของแพทย์อย่างมีวินัย
    • ทำอรรถบำบัด หรือการบำบัดด้วยการพูดสื่อสาร
    • ทำกิจกรรมบำบัดตามคำแนะนำของแพทย์
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง

    วิธีการป้องกันภาวะเลือดออกในสมอง

    • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเสี่ยง
    • สวมหมวกกันน็อกและคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่มีการขับขี่ยานพาหนะ
    • หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมผาดโผนที่เสี่ยงต่อการกระแทกต้องสวมเครื่องป้องกันทุกครั้ง
    • หมั่นรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติอยู่เสมอ
    • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลและน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ
    • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด
    • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ

    สรุป

    และข้อมูลทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเบื้องต้นน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดออกในสมองที่ทุกคนควรมีความรู้ติดตัวไว้ หากตนเองหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่เข้าข่าย จะได้รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ปลอดภัยไปพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงที


    สรุป

    สรุปบทความ

    ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) เป็นภาวะที่มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดในสมองส่งผลให้หลอดเลือดแตกและมีเลือดออกในสมอง โดยอาการเบื้องต้นของเลือดออกในสมอง จะมีจุดให้คุณสังเกตหลัก ๆ ดังนี้

    • มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงเฉียบพลัน
    • บางรายอาจวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียนร่วม
    • มีอาการรู้สึกเจ็บแปลบคล้ายโดนเข็มทิ่มตำ
    • อ่อนแรง เป็นเหน็บชา อาจเป็นอัมพาตซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้า หรืออาจมีอาการเป็นอัมพาตบริเวณแขน-ขา
    • คอแข็งเกร็ง รหายใจลำบาก กลืนลำบาก
    • ดวงตาพร่ามัว ไม่สู้แสง รูม่านตาตอบสนองไม่เท่ากัน
    • มีอาการเสียการทรงตัวง่าย
    • ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ พูดไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัด มีอาการลิ้นแข็ง ไม่สามารถเขียนหรืออ่านหนังสือได้
    • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
    • สูญเสียความตื่นตัว ไม่มีชีวิตชีวา รู้สึกสับสน ง่วงซึม อาจตกอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัว
    • มีอาการชัก
    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024