แคร์สุขภาพ

อาการใจสั่น บ่งบอกอะไรได้บ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร ?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 29,2024
  
Last edited: June 11, 2024
ใจสั่น

‘ใจสั่น’ อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ว่าเกิดขึ้นกับใครก็พาลชวนให้รู้สึกวิตกกังวล ว่าจะกลายเป็นอาการใหญ่ร้ายแรงหรือเป็นเพียงความผิดปกติชั่วครั้งชั่วคราวจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะอาการใจสั่นนั้นสามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกภาวะต่าง ๆ ของร่างกายได้มากมาย อีกทั้งยังมีสาเหตุในการเกิดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพียงสาเหตุเล็ก ๆ หรือเป็นสาเหตุใหญ่ที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย

ดังนั้นสำหรับใครที่มีอาการใจสั่นจนรู้สึกได้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจต้องรีบสังเกตตัวเองกันไว้ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายได้ มาดูสิ่งที่ควรรู้ไว้เกี่ยวกับอาการใจสั่น ทั้งสาเหตุ วิธีการสังเกตตนเอง วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษา ที่ แรบบิท แคร์ รวบรวมมาให้ในบทความนี้ได้เลย

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ใจสั่น คืออะไร ?

    อาการใจสั่น คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการที่หัวใจของคนเรานั้นเกิดการเต้นผิดจังหวะ ถือเป็นความผิดปกติของระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป เต้นแรงเกินไป หรือเต้นเบาเกินไป โดยหากเป็นอาการใจสั่นโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นไม่นาน หัวใจก็จะสามารถกลับมาเต้นตามปกติได้ อาการแบบนี้นั้นจะถือว่าเป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่หากมีอาการใจสั่นที่มีการเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือมีการเกิดขึ้นเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ถือเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

    อาการใจสั่น มีสาเหตุมาจากอะไร ?

    สำหรับสาเหตุของอาการใจสั่นนั้นก็มีอยู่มากมาย ตั้งแต่สาเหตุง่าย ๆ อย่างพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันของเราที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจังหวะการเต้นของหัวใจ ไปจนถึงสาเหตุใหญ่ ๆ อย่างการเป็นโรคต่าง ๆ ก็ได้ จะมีอะไรบ้างลองศึกษากันไว้ หากเกิดขึ้นกับตนเองจะได้สามารถทำความเข้าใจและสามารถรับมือกับสถานการณ์ใจสั่นที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง

    เกิดจากการออกกำลังกาย

    สำหรับสาเหตุที่ทำให้ใจเกิดการสั่นอย่างการออกกำลังกายนั้นในบางครั้งเมื่อออกกำลังกายอย่างหนักก็จะทำให้หัวใจเต้นเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน เป็นภาวะที่ทำให้หัวใจนั้นทำงานหนักเกินไป หัวใจจะเต้นแรงและเร็วมากยิ่งขึ้นทำให้ใจสั่นจนสามารถรู้สึกได้ และบ่อยครั้งอาการใจสั่นจากการออกกำลังกายมักมาเป็นคู่อย่างการ ใจสั่น เวียนหัว นั่นเอง

    เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด

    สำหรับการรับประทานยาบางชนิดนั้นสามารถส่งผลให้ใจสั่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาลดความดัน หรือยาลดน้ำหนัก การรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันมักส่งผลให้มีอาการใจสั่นได้เช่นกัน

    เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

    โดยปกติแล้วเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะส่งผลให้ร่างกายของคนเรานั้นมีอาการมือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิว ใจสั่นได้

    เกิดจากการมีความเครียด การวิตกกังวล หรือโรคแพนิค

    เมื่อร่างกายและสภาวะจิตใจของคนเราเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวลจะส่งผลให้เกิดการเต้นของหัวใจที่เร็วและแรงมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ร่างกายของเรานั้นพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวแม้ว่าจะไม่ได้ตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายก็ตาม ซึ่งปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเผชิญกับความเครียดและความวิตกกังวลนั้นจะทำให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น หายใจติดขัด และรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก ซึ่งอาการเหล่านี้นั้นหากมีอาการเกิดขึ้นอย่างรุนแรง กินเวลาค่อนข้างนาน ควบคุมไม่ได้ และเกิดขึ้นบ่อยแม้จะเจอเรื่องเครียดหรือวิตกกังวลเพียงเล็กน้อยก็ควรเข้าพบแพทย์

    ใจสั่น เวียนหัว

    เกิดจากการได้รับคาเฟอีนเกินขนาด

    การได้รับคาเฟอีนซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่ต้องการหรือรับไหวนั้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในการเกิดอาการใจสั่น

    เกิดจากการมีไข้หรือเกิดการติดเชื้อ

    กรณีที่มีไข้สูงมากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ร่างกายใช้พลังงานหนักมากยิ่งขึ้นเพื่อทำการต่อสู้กับความเจ็บป่วยที่ร่างกายเผชิญอยู่ ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น สูบฉีดเร็วและแรงมากยิ่งขึ้น

    ใจสั่นจากการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะที่หัวใจเต้นไม่ปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป ซึ่งโรคนี้นั้นจะมีหลายชนิด มีระดับความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน

    และสาเหตุเหล่านี้ก็คือสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะใจสั่นได้ เมื่อมีอาการลงอมองย้อนทบทวนว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากอะไร อาจช่วยคลายความวิตกได้ และอาจทำให้รู้ตัวว่าควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

    ใจสั่นจากการเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

    โรคไทรอยด์เป็นพิษหรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานหนักเกินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็นจนส่งผลต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวอาจเกิดอาการใจสั่นเนื่องจากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วเกินไปได้

    อาการใจสั่น

    สิ่งที่ควรสังเกตตัวเองเมื่อมีอาการใจสั่น

    เมื่อเกิดอาการใจสั่นขึ้นแน่นอนว่าสิ่งที่ควรทำคือการสังเกตอาการของตนเองอย่างละเอียด โดยสิ่งที่ควรจะทำการสังเกตเป็นพิเศษมีดังนี้

    • อาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นเฉียบพลันทันใดหรือไม่ มีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดขึ้น
    • อัตราการเต้นของหัวใจขณะมีอาการมีการเต้นกี่ครั้งต่อนาที และเต้นอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
    • มีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก หน้ามืด เป็นลม วูบ
    • เมื่อมีอาการเป็นนานหรือไม่ มีความถี่ในการเป็นบ่อยแค่ไหน
    • เมื่อหายเป็นปกติ อาการค่อย ๆ หายไป หรือหายทันทีทันใด อะไรเป็นปัจจัยในการทำให้อาการดีขึ้น

    สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ควรสังเกตกันไว้ เพื่อเป็นข้อมูลให้แพทย์ช่วยวินิจฉัย จะได้ทราบถึงต้นเหตุและวิธีการในการรักษาได้นั่นเอง

    อาการใจสั่น อันตรายหรือไม่ ?

    สำหรับอาการใจสั่นที่เกิดจากสาเหตุปกติทั่วไป เกิดขึ้นไม่นานและไม่บ่อยนั้นอาจไม่มีอันตรายอะไร แต่หากเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการเกิดขึ้นบ่อย และมีอาการที่น่าเป็นห่วงอื่น ๆ ร่วมด้วยนับว่าอันตราย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที

    สำหรับใครที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ และอาจต้องเข้ารับการรักษาในอนาคตได้ อย่าลืมทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ให้อุ่นใจ จะได้ไปหาคุณหมอได้แบบไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล

    อาการใจสั่นสามารถป้องกันได้หรือไม่ ?

    โรงพยาบาลพญาไทให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันอาการใจสั่นว่า สำหรับการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดนั้นมีวิธีการคือทำให้ร่างกายของเรานั้นแข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสภาพจิตใจให้แจ่มใส ผ่อนคลายและรู้จักปล่อยวางจากความเครียด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ใจสั่น

    ใจสั่นควรไปพบแพทย์หรือไม่ ?

    เมื่อมีอาการใจสั่นแล้วสิ่งแรกที่ควรทำคือการสังเกตอาการเบื้องต้นของตนเองอย่างที่ได้กล่าวถึงไปในหัวข้อก่อนหน้า และถ้าหากว่ามีอาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อย หรือเกิดขึ้นอย่างรุนแรงก็ควรไปพบแพทย์ทันที

    วิธีรักษาอาการใจสั่น

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเมื่อมีอาการใจสั่นเมื่อไปพบแพทย์แล้วจะมีวิธีการตรวจรักษาอย่างไร จะต้องทำการตรวจหลากหลายขั้นตอนยุ่งยากหรือไม่ โดยปกติแล้วแพทย์ก็จะทำการตรวจวินิจฉัย ดังนี้

    • แพทย์จะทำการตรวจเอกซเรย์ปอด หัวใจ และทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่าตนเองอาจมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาดแพทย์อาจส่งตรวจการเต้นของหัวใจด้วยการเดินวิ่งบนสายพาน 
    • ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจแพทย์จะส่งตรวจด้วยเครื่องตรวจเสียงสะท้อนหัวใจ

    ทั้งนี้การตรวจยังขึ้นอยู่กับว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เจ้าของไข้ที่จะประเมินเป็นกรณีไปนั่นเอง

    สรุป

    อาการใจสั่นไม่ใช่อาการที่จะสามารถนิ่งนอนใจได้ หากมีอาการเกิดขึ้นกับตนเองจะต้องทำการสังเกตอาการของตนเองโดยละเอียดและเร่งรีบหาสาเหตุให้ไว ไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะอาจเกิดอันตรายเกินกว่าที่จินตนาการ


    สรุป

    สรุปบทความ

    อาการใจสั่น คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการที่หัวใจของคนเรานั้นเกิดการเต้นผิดจังหวะ ถือเป็นความผิดปกติของระบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

    • เกิดจากการออกกำลังกาย
    • เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด
    • เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
    • เกิดจากการมีความเครียด การวิตกกังวล หรือโรคแพนิค
    • เกิดจากการได้รับคาเฟอีนเกินขนาด
    • เกิดจากการมีไข้หรือเกิดการติดเชื้อ
    • ใจสั่นจากการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • ใจสั่นจากการเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

    อาการแบบนี้นั้นจะถือว่าเป็นอาการที่ไม่อันตราย แต่หากมีอาการใจสั่นที่มีการเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือมีการเกิดขึ้นเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ถือเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ เป็นต้น

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024