แคร์สุขภาพ

รู้หรือไม่ ? การฝันร้ายบ่อย ๆ เป็นสัญญาณอันตรายของการเกิดปัญหาสุขภาพ

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published March 21, 2024

‘ฝันร้าย’ สิ่งที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็คงไม่อยากเผชิญ เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกผวา หวาดกลัว สะดุ้งตื่นกลางดึกจนหลับไม่สนิทแล้ว อาจยังต้องเผชิญกับภาวะการหวาดวิตกสะสม จนถึงขั้นรู้สึกหวาดกลัวการนอนหลับ ฝันร้ายกันเลยทีเดียว 

แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่าการที่เราฝันร้ายนั้นเกิดมาจากอะไร การฝันร้ายซ้ำ ๆ ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อปัญหาสุขภาพใดหรือไม่  มีวิธีหลีกเลี่ยงความฝันร้าย ๆ ไหม จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ ? แรบบิท แคร์ รวมคำตอบที่เกี่ยวกับการฝันร้ายมาให้ ทุกคนจะได้ทำความเข้าใจ รวมถึงนำไปสังเกตอาการของตนเอง

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักสุขภาพ รักการกิน รักการกิน

ฝันร้าย คืออะไร ?

ฝันร้าย คือ ภาวะในการนอนหลับแล้วฝันซึ่งมีการส่งผลให้ผู้ที่ฝันร้ายนั้นเกิดความลุ้นระทึก วิตกกังวล ขยะแขยง ตกใจ หรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วภาวะฝันร้ายมักเกิดในช่วงใกล้ตื่น และมักเริ่มเกิดขึ้นกับเด็กอายุก่อน 10 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะเกิดในเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชายและผู้ชาย ทั้งนี้การเกิดฝันร้ายในเด็กนั้นจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ และพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ ไม่ถือว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้ใหญ่ ฝันร้ายมักเกิดในผู้ที่มีความเครียด ความหวาดกลัว และความวิตกกังวลภายในจิตใจ ซึ่งหากมีความฝันร้าย ๆ เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำแล้วนั้น อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตจนลุกลามกลายเป็นปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นหากใครฝันร้ายเป็นประจำก็ไม่ควรที่จะนิ่งนอนใจ ควรสำรวจตัวเองให้ไว้จะได้ทำการรักษาได้ทันการณ์

ฝันร้าย แบบไหนเป็นสัญญาณของอาการป่วย ?

อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าสำหรับผู้ที่ฝันร้ายเป็นประจำนั้น อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการป่วย หรืออาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพตามมาได้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าฝันแบบไหน ที่จะถือเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการป่วยได้ หากมีอาการดังนี้จะได้รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • สามารถจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ภายในฝันได้อย่างชัดเจน และมักฝันถึงเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ 
  • มักฝันถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก ซึ่งภายในฝันมักเกี่ยวกับสถานการณ์การเอาตัวรอด ความปลอดภัยในชีวิต ความมั่นคงของชีวิต และมักเกิดขึ้นในตอนที่มีการงีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ 
  • เมื่อฝันจะมักรู้สึกตื่นตัวอย่างรุนแรงและสะดุ้งตื่นขึ้นมาอยู่เสมอ
  • เกิดความรู้สึกไม่มีความสุข ทั้งในการใช้ชีวิต การทำกิจกรรม หรือการสังสรรค์ และการเข้าสังคม
  • มีการฝันร้ายบ่อยโดยที่ไม่ได้มีการใช้ยารักษาโรคหรือสารเสพติดที่จะก่อให้เกิดอาการ

และสัญญาณเหล่านี้ก็คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาการฝันร้ายของเรานั้นเป็นฝันร้ายที่เป็นภาวะผิดปกติ หากใครมีอาการเหล่านี้ควรรีบหาเวลาไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

ฝันร้าย เกิดจากอะไร ?

หลังจากทราบกันไปแล้วว่าฝันร้ายนั้นอาจเป็นได้ทั้งเรื่องปกติหรืออาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกสภาวะของจิตใจที่ไม่ดีก็ได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าความฝันร้าย สะดุ้งตื่นเหล่านี้นั้นเกิดมาจากอะไร ? คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลให้สาเหตุของของการฝันร้าย เช่นนี้ว่า

  • เกิดจากความวิตกกังวลและความเครียด
  • เกิดจากการสูญเสียบุคคลที่รัก
  • เกิดจากการถูกกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง
  • เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่มากจนเกินไป
  • เกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยานอนหลับ
  • เกิดจากความผิดปกติของการหายใจขณะหลับ
  • เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • เกิดจากการรับประทานอาหารที่ย่อยยากก่อนนอน
  • เกิดจากการมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือภาวะผิดปกติทางจิตใจอื่น ๆ 

และนี่ก็คือสาเหตุหลัก ๆ ในการเกิดฝันร้าย ลองนึกและสำรวจตัวเองกันดูได้ ว่าเจ้าฝันร้ายชวนหวาดวิตกที่คอยทำให้ตกใจ มีสาเหตุมาจากอะไร จะได้หาวิธีแก้ไขกันดู

ฝันร้ายบ่อย ๆ อันตรายหรือไม่ ?

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าหากเกิดการฝันสุดเลวร้ายเช่นนี้บ่อย ๆ จะมีอันตรายเกิดขึ้นกับตนเองหรือไม่ เป็นเพียงแค่ความฝันสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้จริงหรือ คำตอบคือได้ เพราะการฝันร้ายนอกจากจะเป็นสัญญาณบอกสภาวะจิตใจที่อาจตกอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติจนส่งผลต่อร่างกาย การที่ต้องคอยเผชิญหน้ากับห้วงฝันที่มีแต่เรื่องร้าย ๆ ยังเป็นการบั่นทอนสุขภาพจิตใจของเราอย่างมากเลยทีเดียว

นอกจากนี้แล้วการที่ต้องสะดุ้งตื่นกลางดึกเป็นประจำ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไปจนถึงการไม่อยากนอนหลับเพราะกลัวต้องเผชิญหน้ากับฝันร้ายนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเราโดยตรง ซึ่งอย่างน้อย ๆ อาจทำให้อ่อนเพลีย สมองไม่แล่น อย่างหนักก็อาจทำให้เกิดอาการหลับใน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ มีความเครียดสะสมและมีปัญหาทางด้านจิตใจ จนอาจเกิดการเป็นโรคซึมเศร้าและโรคทางกายอื่น ๆ ตามมา

ฝันร้ายบ่อย จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ไหม ?

หลังจากที่ได้ทราบผลกระทบและความอันตรายของฝันร้ายเหล่านี้กันไปแล้ว แน่นอนว่าหากมีอาการเหล่านี้ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ก็ควรที่จะเข้าไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าการที่เราฝันเช่นนี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าเราได้ป่วยไปเรียบร้อยแล้ว หรือกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังจะป่วยหรือไม่อย่างไร แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ก็ควรทำการตรวจรักษาเพื่อดูแลตนเอง

สำหรับใครที่กังวลว่าหากเป็นโรคเกี่ยวกับสภาวะจิตใจหรือภาวะโรคซึมเศร้าจะไม่สามารถเบิกประกันสุขภาพได้ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพียงสมัครบัตรเครดิต กับ แรบบิท แคร์ เอาไว้เท่านี้ก็สามารถรูดจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ แน่นอนว่าสำหรับการดูแลสุขภาพของเราแล้วไม่ว่าเท่าไหร่ก็คุ้มค่าที่จะจ่าย ดีกว่าปล่อยให้ลุกลามแล้วต้องเสียมากกว่าเดิม

วิธีหลีกเลี่ยงฝันร้าย

สำหรับผู้ที่มักฝันไม่ดีแต่คิดว่าไม่เกี่ยวกับอาการป่วยแต่อย่างใด และอยากดูแลตนเองเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการฝันร้าย แรบบิท แคร์ ก็มีวิธีที่จะช่วยลดโอกาสในการที่ต้องนอนฝันร้ายมาให้ ดังนี้

  • หมั่นสร้างสุขลักษณะการนอนที่ดี มีวินัยในการกำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอน ไม่ควรงีบหลับในระหว่างวันหรือนอนหลับตอนเย็น
  • ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่รับประทานอาหารช่วงใกล้เข้านอน
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ช่วยสร้างสมาธิและฝึกฝนจิตใจ เช่น โยคะ
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการนอน จัดห้องนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการพักผ่อน รวมถึงควบคุมอุณหภูมิภายในห้องไม่ให้ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน อ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเบาสบาย ฟังเพลงช่วยผ่อนคลาย ทำสมาธิ จะช่วยทำให้นอนหลับได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคสารกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือรับสารนิโคติน เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและนอนหลับยากมากยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการเสพสื่อที่มีเนื้อหาน่ากลัว การเสพสื่อที่มีเนื้อหาน่ากลัวไม่ว่าจะเป็นการอ่าน ดู หรือฟัง เพิ่มโอกาสในการเกิดฝันร้ายได้
  • ไม่นอนบนเตียงหากยังไม่เข้านอน การทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียงอาจสร้างภาพจำให้ร่างกายว่าการขึ้นไปนอนบนเตียงไม่ใช่เพื่อการนอนหลับเท่านั้น อาจทำให้นอนหลับสนิทได้ยากขึ้น
  • ปรึกษาแพทย์ หากลองทำทุกวิธีแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์

ฝันร้ายเป็นสัญญาณบ่งบอกอะไรหรือไม่ ?

  • เป็นสัญญาณบ่งบอกความเครียดและความวิตกกังวล
  • เป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติทางด้านจิตใจ
  • เป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติทางด้านอารมณ์
  • เป็นสัญญาณบ่งบอกอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ
  • เป็นสัญญาณบ่งบอกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกสุขลักษณะการนอน

สรุป

จะเห็นได้ว่าความฝันที่มีเรื่องร้าย ๆ และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติที่เราควรนิ่งนอนใจ ไม่ควรมองข้ามหรือละเลยการดูแลตัวเองไป เพราะไม่เช่นนั้นอาจลุกลามและเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ แรบบิท แคร์ ขอเตือน


สรุป

สรุปบทความ

ฝันร้าย คือ ภาวะในการนอนหลับแล้วฝันซึ่งมีการส่งผลให้ผู้ที่ฝันร้ายนั้นเกิดวิตกกังวล ตกใจ หรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วภาวะฝันร้ายมักเกิดในช่วงใกล้ตื่น และมักเริ่มเกิดขึ้นกับเด็กอายุก่อน 10 ปีขึ้นไป เกิดได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น ความวิตกกังวลและความเครียด, การถูกกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง, ดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่มากจนเกินไป, ผลข้างเคียงของยา หรือพวกภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อย่าง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพจิต

การฝันร้ายบ่อย ๆ นั้น อาจส่งผลถึงคุณภาพในการนอน ทำให้ผู้ฝนนอนหลับไม่เพียงพอ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ โดยอาการฝันร้ายดังต่อไปนี้ หากพบว่าเป็นบ่อย ควรพบแพทยืเพื่อปรึกษาหาทางออกต่อไป

  • จำรายละเอียดภายในฝันได้อย่างชัดเจน
  • มักฝันถึงเหตุการณ์เดิมซ้ำ ๆ
  • มักฝันถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก
  • มีอาการสะดุ้งตื่นขึ้นมาอยูบ่อย ๆ จนกระทบต่อการนอน
  • เกิดความรู้สึกไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต
  • ฝันร้ายบ่อยโดยที่ไม่ได้มีการใช้ยาที่จะก่อให้เกิดอาการ
จบสรุปบทความ

ที่มา


บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
Nok Srihong
25/04/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
Nok Srihong
22/04/2024