แคร์สุขภาพ

ไฟไซเรนรถพยาบาล แต่ละสีบ่งบอกอะไร หากไม่หลีกผิดกฎหมายหรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
 
 
Published: July 14,2023

‘รถพยาบาล’ ยานพาหนะที่เราสามารถพบเจอได้เป็นประจำบนท้องถนนเมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้ายหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นนั้นความจริงแล้วมีความสำคัญมากแค่ไหน สีไฟ ไซเรนรถพยาบาลแต่ละสีเป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร หากเราไม่หลบทางให้จะมีความร้ายแรงขนาดไหน ส่งผลอะไร และจะมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่ จะต้องได้รับโทษอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมกันกับ แรบบิท แคร์     

ความสำคัญของรถพยาบาล รถฉุกเฉิน

รถพยาบาลหรือที่บางคนอาจเรียกว่ารถฉุกเฉินนั้นเป็นหนึ่งในระบบทางสาธารณสุขซึ่งมีการติดตั้งเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะโดดเด่นด้านการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วรวมถึงส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีเพราะจะมีการใช้ระบบไฟไซเรนในการเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ 

อีกทั้งยังมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยติดตั้งอยู่ภายใน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต อุปกรณ์ช่วยหายใจ รวมถึงเครื่องมือในการกู้ชีพพื้นฐานที่จำเป็นที่สามารถให้การรักษาเบื้องต้นและสามารถดูแลกู้ชีพให้กับผู้ป่วยได้ในทันทีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รถพยาบาลเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญในการรักษาชีวิตของผู้ป่วยยามเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นในด้านสุขภาพหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาบนท้องถนนนั่นเอง

ไฟไซเรนรถพยาบาล แต่ละสี บอกอะไร ?

อย่างที่ทราบกันว่าเมื่อรถพยาบาลออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นจะมีการเปิดไฟไซเรน และเสียงสัญญาณไซเรนเพื่อขอทางจากผู้ที่กำลังเดินทางบนท้องถนน โดนตามระเบียบการการใช้ไฟสัญญาณไฟไซเรนและเสียงสัญญาณไซเรนในการปฏิบัติการฉุกเฉินนั้นจะมีการเลือกใช้สีไฟตามความร้ายแรงและความเร่งด่วนของสถานการณ์ผู้ป่วยในรถ โดยที่กำหนดไว้หลัก ๆ จะมีดังนี้

  • ไฟสีแดง – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (เปิดเสียงไซเรน)
  • ไฟสีเหลือง – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (เปิดเสียงไซเรน)
  • ไฟสีเขียว – ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (ไม่เปิดเสียงไซเรน)
  • ไม่เปิดไฟ/สีขาว – ออกปฏิบัติการต่อผู้ป่วยภาวะปกติ (ไม่เปิดไฟและเสียงไซเรน)

เสียงไซเรนรถพยาบาล บอกอะไร ?

สำหรับรายละเอียดในด้านของเสียงรถพยาบาลแล้ว อย่างที่ได้กล่าวถึงไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าจะมีการเปิดเสียงไซเรนเฉพาะในกรณีที่ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ไฟสีแดง) และ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (ไฟสีเหลือง) เท่านั้น โดยจะเป็นลักษณะเสียง ปี๊ป่อ ปี๊ป่อ~ ที่เราต่างก็คุ้นหูกันดี แต่สำหรับเสียงหวอยาวที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างนั้น จะเปิดใช้ในกรณีที่จำเป็นจะต้องวิ่งสวนเลนหรือฝ่าไฟแดงเพราะฉะนั้นใครที่ได้ยินเสียงหวอแบบนี้ ต้องระมัดระวังให้ดี รีบหลบทางให้ไว

รถพยาบาลจำเป็นต้องทำตามกฎจราจรหรือไม่ ?

อาจมีบางคนสงสัยว่ารถพยาบาลจำเป็นต้องทำตามกฎหมายจราจรหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้วรถทุกคันบนท้องถนนจะต้องอยู่ภายใต้กฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพียงแต่จะมีกรณียกเว้นที่ถือเป็นเหตุฉุกเฉินร้ายแรงซึ่งอนุญาตให้รถพยาบาลสามารถวิ่งฝ่าไฟแดง วิ่งสวนเลน ขับเกินความเร็วกำหนด จอดในที่ห้ามจอดได้ ฯลฯ และผู้ร่วมใช้ท้องถนนท่านอื่น ๆ ต้องหลบทางให้ในกรณี ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (ไฟสีแดง) และ ออกปฏิบัติการฉุกเฉินต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (ไฟสีเหลือง) ส่วนในกรณีที่ออกปฏิบัติการกับผู้ป่วยภาวะปกติก็จะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรตามเดิม

ผลกระทบต่อชีวิตหากไม่หลีกทางให้รถพยาบาล

  • ผู้ป่วยบนอาจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  • มีความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  • มีความเสี่ยงในการพิการ เนื่องจากเข้ารับการรักษาไม่ทัน
  • อาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตหรือเครื่องมือภายในรถพยาบาลหากจำเป็นต้องหักหลบรถที่ขวางทางฉุกเฉิน

หาไม่ให้ทางรถพยาบาล ผิดกฎหมายหรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร ? 

ตามกฎหมายมาตรา 76 นั้น เมื่อพบเห็นรถพยาบาลซึ่งเป็นรถฉุกเฉินนั้นผู้เดินเท้าจะต้องเดินชิดขอบทางหรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด และผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถหรือจอดรถชิดทางซ้าย แต่จะห้ามหยุดหรือจอดบริเวณทางแยก กล่าวคือหารถคุณอยู่บริเวณทางแยกแล้วมีรถพยาบาลขับตามหลังมาให้รีบขับไปให้พ้นทางแยกและเปิดไฟเลี้ยวเข้าชิดซ้ายหลบทางให้รถพยาบาลได้ไปก่อนนั่นเอง 

และสำหรับผู้ที่ไม่หลบหรือให้ทางรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินนั้น จะมีโทษตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

และกรณีไม่หลบรถฉุกเฉินจนเป็นเหตุให้ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย ที่อยู่ในรถต้องเสียชีวิต อาจจะมีความผิดฐานกระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งถือเป็นโทษที่ร้ายแรงมากนั่นเอง

เบอร์รถพยาบาล เบอร์ฉุกเฉิน พร้อมสิ่งที่ต้องทำเพื่อแจ้งเหตุ

เมื่อเกิดเหตุเจ็บป่วย มีอุบัติเหตุ และมีผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น หนทางการแจ้งเหตุและเรียกรถพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากที่สุดนั้นอาจต้องประเมินจากว่าแถวนั้นมีโรงพยาบาลใกล้เคียงหรือไม่ หากมีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ในพื้นที่ก็สามารถโทรติดต่อโรงพยาบาลพร้อมแจ้งสถานการณ์ให้รถพยาบาลมารับได้ แต่ในกรณีที่ไม่มีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ ไม่รู้ว่ามีโรงพยาบาลใกล้เคียงไหม และไม่สามารถรีบเคลื่อนที่คนเจ็บไปด้วยตนเองได้ อีกทางออกคือ การโทรเบอร์ 1669 ซึ่งเป็นเบอร์ฉุกเฉินที่ใช้ในการแจ้งเหตุและจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยประเมินอาหารและประสานงานให้ความช่วยเหลือต่อให้ ซึ่งขั้นตอนการแจ้งเหตุจะมี ดังนี้

  • ตั้งสติกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าและโทร 1669 
  • ให้ข้อมูลสถานการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  • แจ้งสถานที่เกิดเหตุ พิกัด เส้นทางที่ชัดเจน
  • แจ้งเพศ อายุ จำนวน อาการของผู้บาดเจ็บ
  • บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
  • บอกความเสี่ยงในการเกิดเหตุซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน มีน้ำมันรั่วจากรถ
  • แจ้งชื่อผู้แจ้งเหตุและเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกลับ
  • ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นตามคำแนะำของเจ้าหน้าที่
  • รอความช่วยเหลือหรือทีมกู้ชีพมาช่วย

เรียกรถพยาบาล เบิกประกันอุบัติเหตุได้หรือไม่

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าหากโทรเรียกรถพยาบาลด้วยตนเองกรณีเกิดอุบัติเหตุจะสามารถเบิกประกันอุบัติเหตุได้ไหม โดยส่วนมากแล้วจะสามารถเบิกได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ทางผู้เอากรมธรรม์ซื้อเอาไว้ ดังนั้นหากอยากทำประกันอุบัติเหตุลองปรึกษา แรบบิท แคร์ ได้ ดูแลให้ครอบคลุมอุ่นใจ อยากได้แบบไหนสามารถเลือกที่ตรงใจได้เลย

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

    โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
    Nok Srihong
    25/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024