ระวัง! งูมีพิษกัดสุนัขกับแมวที่บ้าน ต้องทำอย่างไร?
ไม่ว่าจะช่วงหน้าฝนหรือช่วงหน้าหนาว ภัยเงียบอย่างสัตว์มีพิษเข้าบ้านก็ยังต้องเฝ้าระวังอยู่! แน่นอนว่าไม่ใช่เฉพาะความปลอดภัยของเราผู้เป็นเจ้าของบ้านเท่านั้นที่เราต้องระวังสัตว์เลี้ยงแสนรัก อย่างสุนัขหรือแมว ก็น่าห่วงไม่แตกต่างกัน เพราะจากสัญชาตญาณอาจทำให้สุนัขหรือแมวเสี่ยงต่อการถูกสัตว์มีพิษอย่างงูจู่โจมได้! แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์สัตว์เลี้ยงโดนงูกัด จะต้องทำปฐมพยาบาลแบบไหน หรืองูเข้าบ้านต้องทำอย่างไร? แรบบิท แคร์ มีคำตอบให้!
ทำความเข้าใจกันก่อน งูไม่ใช่สัตว์มีพิษเสมอไปนะ!
เมื่อพูดถึงงู หลายคนมักจะนึกถึงสัตว์มีพิษ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่งูทุกตัวจะมีพิษ!
งูที่ไม่มีพิษ
เช่น งูก้นขบ, งูแสงอาทิตย์, งูปี่แก้ว, งูเขียวปากจิ้งจก, งูลายสาบ, งูลายสอ, งูงอด, งูเหลือม และงูหลาม เป็นต้น
สำหรับสัตว์เลี้ยงที่ถูกงูที่ไม่มีพิษกัดนั้น ถ้าไม่ได้ถูกกัดที่อวัยวะสำคัญ และความเสียหายของบาดแผลไม่ได้รุนแรงมาก ก็ไม่อาจทำอันตรายให้สัตว์เลี้ยงถึงแก่ชีวิตได้ แต่ก็ต้องระวังให้ดี เพราะงูบางชนิดอาจใช้วิธีการรัดตามลำตัวให้สัตว์เลี้ยงของเราจนกระดูกหัก และขาดอากาศหายใจตายได้ โดยเฉพาะงูเหลือมและงูหลาม หากเป็นงูที่มีขนาดใหญ่มากพอ แม้แต่มนุษย์อย่างเรา ๆ ก็อาจโดนรัดลำตัวให้ถึงแก่ชีวิตได้
งูมีพิษ
จะมีการฉกกัด ใช้พิษโจมตีเหยื่อ เช่น งูเห่า, งูเขียวหางไหม้, งูแมวเซา, งูจงอาง, งูทับสมิงคลา, งูสามเหลี่ยมหางแดง, งูปล้องทอง, งูลายสาบคอแดง, งูหัวกะโหลก และงูทะเล เป็นต้น
แต่ถ้าหากว่าสัตว์เลี้ยงของเรานั้นถูกงูมีพิษกัด ความเสี่ยงที่จะถึงแก่ชีวิตมีสูงมาก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที
ทั้งนี้เวลาที่เกิดอาการในสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวของเราขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของงูพิษ ปริมาณพิษที่ถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกาย และสภาพร่างกายของสัตว์ที่ถูกพิษ ซึ่งในสุนัขอาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ 10 นาที จนถึง 72 ชั่วโมง และในแมวตั้งแต่12 ชั่วโมง จนถึง 36 ชั่วโมง ก็เป็นได้
เบื้องต้น หากสัตว์เลี้ยงของเราโดนงูกัด หากต้องการสังเกตว่าเป็นงูมีพิษหรือไม่ ให้ดู ดังนี้
- หากเป็นงูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดบริเวณที่ถูกกัด มีอาการบวม และสัตว์เลี้ยงมีอาการซึม หรือส่งเสียงร้อง
- ในขณะที่งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงจะเป็นแต่รอยถลอก หรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยวแต่อย่างใด
- ถ้าเป็นรูเดียว อาจเกิดจากสุนัขหรือแมวถูกตัวต่อ, แตน หรือตะขาบ ที่มีพิษ ทำให้อาการเบื้องต้นของสัตว์เลี้ยงเราเหมือนโดนงูมีพิษกัด โดยอาการหลัก ๆ คือ แผลบวมมาก และมีน้ำเหลืองไหลออกมา เป็นต้น
ในกรณีที่งูมีพิษหรือสัตว์มีพิษกัดสัตว์เลี้ยงของเรา ให้รีบปฐมพยาบาลตามอาการเบื้องต้น และรีบพาไปโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่สุดเป็นอันดับต่อไป หรือในกรณีที่ยังไม่มีอาการ แต่สงสัยว่าถูกงูหรือสัตว์มีพิษกัด ให้นำส่งโรงพยาบาลสัตว์เพื่อเฝ้าดูอาการโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป
ทำอย่างไร ถ้าสุนัขหรือแมวถูกสัตว์มีพิษหรืองูมีพิษกัด
สำหรับอาการของสุนัขและแมวที่ถูกงูพิษกัดในระยะแรก จะพบรอยเขี้ยวที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และมีอาการปวด บวม ร้อน ที่บริเวณรอยเขี้ยวที่ถูกกัด แต่ก็มีแผลจากงูพิษบางชนิดที่จะไม่ค่อยแสดงอากาศปวดและบวม เช่น งูสามเหลี่ยม และงูทับสมิงคลา ซึ่งในเวลาต่อมา สัตว์เลี้ยงที่ถูกกัดจะแสดงอาการโดยขึ้นอยู่กับ ชนิดของงูพิษ แบ่งเป็น
- อาการทางระบบประสาท
โดยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต และไปขัดขวางกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ จนไม่สามารถหายใจได้และเสียชีวิตในที่สุด พิษของงูเหล่านี้ ได้แก่ งูจงอาง งูเห่า งูทับสมิงคลา และงูสามเหลี่ยม
- อาการทางระบบเลือด
ซึ่งพิษของงูจะไปขัดขวางกลไกการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดเลือดออกจากแผลไม่หยุด และมีเลือดออกตามช่องว่างต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดสด ที่ใต้ผิวหนังทำให้เกิดจุดหรือปื้นเลือดออกตามตัว สุดท้ายทำให้เสียเลือดจนถึงแก่ชีวิต พิษของงูเหล่านี้ ได้แก่ งูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ
โดยผู้เป็นเจ้าของสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยชีวิตของสัตว์เลี้ยงที่เรารัก ก่อนนำส่ง หรือในระหว่างที่นำส่งโรงพยาบาลสัตว์ได้ ดังนี้
- ใช้น้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างบริเวณที่โดนงูกัด ไม่ควรใช้น้ำอุ่นในการล้าง
- ห้ามนำเชือกมามัดที่บริเวณเหนือแผล เพราะอาจจะทำให้เนื้อตายได้
- สังเกตชนิดของงู ถ่ายรูปมาให้สัตวแพทย์ดูเพื่อจะได้ทราบว่าเป็นงูชนิดใด โดยข้อนี้ สำคัญมาก จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงได้รับการรักษาและเซรุ่มงูที่รวดเร็วขึ้น
- โทรศัพท์สอบถามและแจ้งอาการของสัตว์เลี้ยงแก่สัตวแพทย์ เพื่อให้ปลายทางได้เตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตได้ทัน เพราะสัตว์เลี้ยง ที่ได้รับพิษงูที่มีผลต่อระบบประสาทมา อาจจะหยุดหายใจ ในขณะที่นำส่งโรงพยาบาลก็เป็นได้
- รีบนำสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับเซรุ่มงูทันที เนื่องจากส่วนใหญ่คลินิกจะไม่มีเซรุ่มงูสำหรับการรักษา สำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่สงสัยหรือพบว่าสัตว์เลี้ยงโดนงูกัด ให้รีบนำสัตว์เลี้ยงเข้ามารักษาทันที
ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ขั้นตอนการวินิจฉัยในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของเราถูกงูมีพิษกันนั้น ต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวจะสามารถรับเซรุ่มงูได้ครั้งเดียวในชีวิต ถ้ามีการฉีดครั้งที่สอง สุนัขจะช็อกและเสียชีวิตได้
ดังนั้น เมื่อไม่แน่ใจว่าตัวอะไรกัด แล้วไม่ใช่ว่าการฉีดเซรุ่มเป็นการป้องกันได้เลย เพราะอาจทำให้ในอนาคต เซรุ่มไม่สามารถช่วยสัตว์เลีย้งของเราได้ หากถูกงูชนิดนั้นกัดจริง ๆ นั่นเอง
กันไว้ดีกว่าแก้ ต้องทำอย่างไร หากงูเข้าบ้าน!?
เบื้องต้นนั้น หากงูเข้าบ้าน สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดก็คือการตั้งสติ! และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- สังเกตประเภทของงู พยายามสังเกตให้ดีว่า งูที่เลื้อยเข้ามาในบ้านเป็นงูชนิดใด ลักษณะอย่างไร และมีพิษหรือไม่ เช่น งูเห่าจะแผ่แม่เบี้ย, งูสามเหลี่ยม จะมีลวดลายตามลำตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม, งูเขียวหางไหม้และงูกะปะมีลักษณะแก้มป่อง ตัวสั้น มีเกล็ดละเอียด เป็นต้น
- หากมีโอกาสให้พยายามถ่ายรูปงูดั่งกล่าวเอาไว้ ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน คนในบ้านหรือสัตว์เลี้ยงของเราโดนงูกัด
- พยายามเว้นระยะห่างให้ปลอดภัยจากการโดนฉก อยู่นิ่ง ๆ เคลื่อนไหวช้า ๆ ค่อย ๆ ขยับถอยหลังช้า ๆ โดยจับตามองความเคลื่อนไหวของงูเอาไว้ตลอดเวลา เพราะงูอาจตกใจและโจมตีได้
- อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงในบ้านออกมาสู้กับงูเพื่อไล่งู รวมถึงอย่าไล่หรือทำร้าย หากไม่มั่นใจว่าเป็นงูมีพิษหรือไม่ พราะหากมีการไล่หรือทำร้าย งูอาจตกใจจนหนีหายไปซุกซ่อนอยู่ในมุมหลืบทำให้หาไม่เจอ หรืออาจโดนงูกัด พุ่งตัวเข้าฉก จนเกิดอันตราย รวมถึงอาจถูกรัดได้
- ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของเราถูกงูไม่มีพิษรัด เช่น งูหลาม หรืองูเหลือม ให้หาไม้ยาว ๆ มาหลอกล่อด้านหน้าของงู หรือใช้หลายคนช่วยกันไล่ให้งูกังวล จนคลายรัดออก
- พยายามติดต่อ โทรแจ้ง 199 เพื่อให้หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือในการจับงู รวมถึงสัตว์ไม่พึงประสงค์ ที่เข้ามาในบ้านของเราได้
แม้ว่างูพิษเหล่านี้จะมีพิษร้ายถึงชีวิต แต่อย่าลืมว่าการที่งูหรือสัตว์มีพิษจะโจมตีเรานั้น มากจากการถูกรบกวนหรือถูกทำให้ตกใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญชาตญานการเอาชีวิตรอดของสัตว์ทุกชนิด เพราะฉะนั้น ถ้าต่างฝ่ายต่างอยู่ โดยเรา ป้องกันไม่ให้งูเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน
เช่น พยายามสอดส่อง ปิดทางเข้าออกต่าง ๆ ที่งูเข้าบ้านมาได้, ถางหญ้าภายในสวนไม่ให้รกรุงรัง, ป้องกันไม่ให้มีหนูเข้าบ้าน เพราะอาจมีความเสี่ยงที่งูเข้าบ้านตามมาหาหนูที่เป็นอาหาร และควบคุมสัตว์เลี้ยงของเราไม่ให้ไปเล่นในพื้นที่เสี่ยงอันตราย รกร้าง ก็จะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย
เรื่องงูเข้าบ้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว แน่นอนว่านอกจากคนนครอบครัวที่คุณรัก สัตว์เลี้ยงของคุณเองก็ควรได้รับการดูแล ต้องนี่เลย! ประกันสัตว์เลี้ยง ที่คุ้มครอง ครอบคลุมทุกเรื่องการรักษา ค่าวัคซีน, คุ้มครองชีวิตและร่างกายบุคคลภายนอก, รับเงินชดเชยในกรณีที่ตามหาสตัว์เลี้ยงสูยหาย หรือเสียชีวิต
เพราะเราแคร์ทุกคนในครอบครัวของคุณ ประกันภัยสัตว์เลี้ยง สมัครง่ายด้วยค่าเบี้ยเบา ๆ คลิกเลย!
บทความที่เกี่ยวข้อง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct