ใบมรณะบัตร ขอได้จากที่ไหน? สามารถขอออนไลน์ได้ไหม? ต้องเซ็นสำเนาถูกต้องไหม?
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องเจอกับตัว ไม่สามารถหลีกเลีี่ยงได้ จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “ผมดำเผาผมหงอก” ทุกความรักล้วนมีการจากลา ไม่จากเป็น ก็จากตาย สุดท้ายก็เหลือไว้เพียงความทรงจำ ดังนั้นใครที่มีคนที่รักอยู่ อยากให้ทำวันนี้ให้เหมือนเป็นวันสุดท้ายเพื่อที่จะไม่มาเสียใจหรือเสียดายที่หลัง ภาระหน้าที่ของทายาทเมื่อคนที่รักตายไปก็คือ “การแจ้งตาย” วันนี้แรบบิท แคร์ จะมาอธิบายเกี่นยวกับใบมรณะบัตร ไปดูกันเลย!!
ใบมรณะบัตร คืออะไร?
ใบมรณะบัตร หรือ “Death Certificate” คือเอกสารอย่างเป็นทางการที่สร้างขึ้นเมื่อมีการตายของบุคคล และจัดเตรียมโดยบุคคลที่มีอำนาจทางกฎหมาย คือ สำนักทะเบียนอำเภอท้องถิ่น โดยในใบมรณะบัตรจะบรรจุข้อมูลเช่น ชื่อของบุคคลที่เสียชีวิต, วันที่และสถานที่เกิด, วันที่และสถานที่ของการสิ้นชีวิต, สาเหตุของการตาย, ข้อมูลของบุคคลที่รายงานการตาย
ใบมรณะบัตร เป็นเอกสารที่เป็นสำคัญในการจัดการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตาย เช่น การดำเนินการทางกฎหมาย การสืบสันดาน หรือการดำเนินการด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เสียชีวิต
การขอใบมรณะบัตร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
การแจ้งตายส่วนใหญ่แล้ว ญาติของผู้เสียชีวิตต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอใบมรณะบัตร ดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล
- หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย
- ใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.4 ตอนหน้า กรณีแจ้งต่อกำนันผู้ใหญ่บ้าน
- รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช
การขอใบมรณะบัตร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
- ทายาทหรือญาติผู้มีหน้าที่แจ้งตาย ยื่นเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการตายต่อนายทะเบียนที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล เพื่อตรวจสอบและลงรายละเอียดในใบมรณะบัตร
- นำชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยทำการประทับตราว่า “ตาย” สีแดงไว้ในหน้ารายการคนตาย
- นายทะเบียนยื่นในมรณะบัตรให้กับญาติของผู้ตาย และทำการคืนเอกสารต่าง ๆ เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
หากยังไม่ได้รายงานการแจ้งตายแต่ศพถูกย้ายไปที่อื่น สามารถดำเนินการที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ตรวจพบศพหรือที่ผู้เสียชีวิตอาศัยอยู่ ผู้รายงานสามารถเป็นผู้พบศพ, บุคคลที่ไปร่วมกับผู้ที่เสียชีวิตในช่วงเวลานั้น, หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดังกล่าว การแจ้งตายจะทำที่สำนักทะเบียนที่ตรวจพบศพ หรือที่ที่การจัดการศพทำการเผา, ฝัง, หรือทำลายศพ ผู้รายงานควรมีเอกสารรับรองการตายที่ออกจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ผู้เสียชีวิตได้สิ้นชีวิต และมีพยานที่สามารถยืนยันตัวตนของผู้เสียชีวิตได้ไม่น้อยกว่าสองคน
แต่สำหรับกรณีที่ไม่มีเอกสารรับรองการตาย ผู้รายงานสามารถใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแจ้งตายได้ เช่น การตรวจสอบเชิงพันธุกรรม หรือการยืนยันจากหน่วยงานรัฐหรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ
ใบมรณะบัตร ขอได้ที่ไหน?
คุณสามารถขอใบมรณะบัตรได้จากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล เพื่อออกใบรับแจ้งตาย เช่นหากบ้านผู้ตายอยู่เขตธนบุรี ญาติก็ต้องไปแจ้งที่สำนักงานเขตธนบุรี โดยผู้ขอจำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท
ใบมรณะบัตรสามารถขอใหม่ได้ไหม?
เมื่อทายาทผู้เสียชีวิตทำใบมรณะบัตรหาย ต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนที่ออกมรณบัตร เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่คัดและรับรองสำเนาให้ เพื่อใช้แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป เนื่องจากใบมาณะบัตรถือเป็นเอกสารทางราชการ จะออกให้ใบเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
ใบมรณะบัตร ขอออนไลน์ได้ไหม?
สำหรับประเทศไทย การขอใบมรณะบัตรออนไลน์ยังไม่สามารถทำได้ คุณจะต้องไปยื่นคำขอที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตาย อย่างไรก็ตามบริการออนไลน์สำหรับการขอใบมรณะบัตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับนโยบายของสำนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
ใครมีสิทธิและหน้าที่แจ้งตายบ้าง?
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่แจ้งตาย ได้แก่ เจ้าบ้านที่มีคนตาย กรณีตายในบ้านหรือสถานพยาบาล แต่หากในกรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง, บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีตายนอกบ้าน, เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย
ระยะเวลาการแจ้งตาย
ระยะเวลาในการแจ้งตาย จะขอแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ตายในบ้าน และ ตายนอกบ้าน
- หากผู้ตายตายในบ้าน ญาติหรือผู้พบศพต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ
- หากผู้ตายตายนอกบ้าน ญาติหรือผู้พบศพต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น หรืออยู่ในพื้นที่ที่การคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งหากเป็นแบบนี้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถขยายเวลาการแจ้งได้ แต่ต้องไม่เกิน 7 วันนับแต่พบศพ
เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการแจ้งตายและขอใบมรณะบัตร ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน อยากให้คุณตระหนักไว้เสมอว่า การตายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน การคิดและวางแผนทำประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ดี เพราะหากตายไปผลประโยชน์จากการเสียชีวิต (Death Benefits) ก็จะถูกคืนให้กับลูกหลานหรือคนที่คุณรัก หากคุณกำลังมองหาประกันชีวิตสักฉบับ แนะนำให้ซื้อผ่านแรบบิท แคร์ เพราะหากคุณเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จะได้รับความคุ้มครอง 1 ล้านบาท คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี มีหลายแผนประกันให้คุณเลือก หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 1438
เอกสารราชการที่สำคัญอื่น ๆ
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ