แคร์ไลฟ์สไตล์

สินสมรสคืออะไร? ครอบคลุมถึงอะไรบ้างนะ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: May 28,2021
  
Last edited: June 4, 2024
สินสมรส

เคยสงสัยกันไหมว่า สินสมรสคืออะไร ? แตกต่างยังไงกับสินส่วนตัวกันนะ ? แล้วแบบนี้ ถ้าเราทำประกันชีวิต ประกันออมทรัพย์ หรือการทำประกันต่าง ๆ ไว้ จะถูกนับเป็นสินสมรสไหมนะ ต้องแบ่งหารไหมถ้าเกิดต้องหย่าร้าง ? มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กับ เราดีกว่า 

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สินสมรสคืออะไร ? ครอบคลุมถึงอะไรบ้างนะ ? 

    แต่งงาน

    ก่อนแต่งงาน มารู้จักกับ สินสมรส กันดีกว่า

    ชีวิตคู่ มีอะไรมากมายกว่าที่คิด และไม่ได้จบลงที่การเก็บเงิน แต่งงาน สร้างครอบครัว แต่ยังมีเรื่องน่ารู้อีกมากมาย โดยเฉพาะสิทธิ์ต่างๆ เมื่อจดทะเบียนสมรส เป็นสามีภรรยากันแล้ว จะมีเรื่องสินสมรสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

    “สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และบุคคลทั้งสอง จะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกัน เช่น บ้าน, คอนโด รถยนต์ หรือแม้แต่ เงินเดือน รวมไปถึงเงินโบนัส เป็นต้น

    โดยส่วนมาก ทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้รับมาหลังจากการสมรส จะถูกนับเป็นสินสมรสทันที ไม่สามารถแยกออกจากกันให้กลายเป็นสินส่วนตัวได้  และในกรณีที่ต้องหย่าร้างกันในภายหลัง ทรัพย์สินที่เป็นรสินสมรส จะถูกแบ่งคนละครึ่ง

    อย่างไรก็ตาม สามี ภรรยา สามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ และเมื่อมีการแยกสินสมรสออกจากกันแล้ว ทรัพย์สินนั้นๆ ที่แยกออกมา จะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ซึ่งแบ่งได้ 4 กรณี ดังนี้

    • เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการสินสมรส โดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
    • เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิ์ร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
    • เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
    • เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรส ตามแต่สาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส, ไม่อุปการะ เลี้ยงดู, เป็นหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควร

    จะเห็นได้ว่า สินสมรสนั้นครอบคลุมในทรัพย์สินหลายอย่างที่ได้มาหลังจากการแต่งงาน แน่นอนไม่ว่าใช่แค่เรื่องสิ่งของอย่างเดียว แต่เงินเดือนต่างๆ หรือรายรับที่ได้มาระหว่างยังจดทะเบียนสมรส ก็นับว่าเป็นสินสมรสเช่นกัน

    ประกันชีวิต

    แล้วแบบนี้ อะไร้บ้าง ที่ไม่นับว่าเป็นสินสมรส 

    ในทางกฎหมายแล้ว สิ่งที่ไม่ใช่สินสมรส จะถูกนับว่าเป็น “สินส่วนตัว” คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนการจดทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะใหญ่ หรือเล็ก จะมีค่า หรือไม่มีค่า รวมตลอดทั้งทรัพย์สิทธิ์ต่างๆ หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบอาชีพ 

    นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างที่สมรส โดยการรับมรดก หรือมีการให้ด้วยเสน่หา เช่น ของหมั้น, มรดกจากครอบครัว, คอมพิวเตอร์ที่บริษัทให้คู่สมรสมาใช้ในการทำงาน, เงินที่มาจากการขายทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้มาก่อนแต่งงาน ของเหล่านี้ก็ยังนับว่าเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน

    โดยสินส่วนตัว ผู้เป็นเจ้าของจะมีอำนาจในการจัดการ ตัดสินใจได้แต่เพียงผู้เดียว และถึงแม้ว่า คุุณจะนำสินส่วนตัวไปขายหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าเงินที่ขายมาได้ จะกลายเป็นสินสมรส เพราะตามกฎหมายแล้ว เงินทองที่ได้มาจากการขายทรัพย์สิน ที่ได้มาก่อนการแต่งงาน จะถูกนับว่าเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน

    หากให้อธิบายแบบเข้าใจง่ายที่สุด สินส่วนตัว ก็คือ สิ่งของต่างๆ ที่คุณมี หรือได้มากก่อนการจดทะเบียนนั่นเอง หรือถ้าสิ่งของเหล่านั้น ได้รับมาด้วยความเสน่ห์หา หรือผู้ให้ พอใจที่จะให้ สิ่งเหล่านี้ ก็นับเป็นสินส่วนตัวทั้งนั้น

    หย่าร้าง

    แล้วแบบนี้ ทำประกันชีวิต จะนับเป็น สินสมรส หรือสินส่วนตัวกัน ? 

    หลายคนน่าจะแยกความแตกต่างระหว่างสินสมรส และสินส่วนตัว กันออกแล้ว แต่ก็ยังคาใจอยู่ดีว่า ประกันชีวิตที่เราทำเอาไว้ แบบนี้ ถ้าเราเสียชีวิตจริง ทรัพย์สินจากเงินประกันชีวิตจะตกเป็นของใครกันนะ จะยังนับเป็นสินสมรสรึเปล่า ? 

    จริงอยู่ที่การทำประกันชีวิต หลายคนอาจจะทำไว้ระหว่างการสมรส แต่ตามกฎหมายแล้ว ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อคู่สมรสเสียชีวิต จะนับว่าสิ้นสุดสถานะภาพการสมรสทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 และเมื่อผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตลง เงินที่ได้หลังจากสถานะการสมรสสิ้นสุด จึงนับว่าเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส และเงินที่ได้จากการการทำประกันนั้น หากมีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ชัดเจน จะส่งมอบให้กับรายชื่อผู้รับผลประโยชน์ นับได้ว่าเป็นการให้โดยเสน่ห์หา และเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก

    แต่ถ้าเงินจากประกันนั้น ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้ชัดเจน เงินประกันชีวิตจะถูกนับแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายในฐานะมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1), 1630 วรรคสอง และมาตรา 1635(1)

    สินสมรส คือ

    เช่น นาย ก. กับ นาง ข. เป็นสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ปัจจุบันได้แยกกันอยู่ โดยยังไม่ได้เซ็นเอกสารหย่าร้างกันให้ชัดเจน  

    และเมื่อ นาย ก. เสียชีวิตลง เงินประกันที่ นาย ก. ทำเอาไว้ 3 ฉบับ แต่ละฉบับลงรายนามผู้รับผลประโยชน์ เป็น ลูกสาวของนาย ก. , น้องชายของนาย ก. และ พ่อแม่ของ นาย ก. ซึ่งทั้ง 3 คนนี้ จะได้รับเงินประกันตามที่ตกลงทำสัญญาไว้ ส่วน นาง ข. จะไม่ได้รับเงินประกัน แม้ว่าจะเป็นภรรยาแต่ในนาม ของ นาย ก. ก็ตาม

    สรุปได้ว่า การทำประกันชีวิต หรือการทำประกันอื่นๆ นั้น จะไม่ถูกนับเป็นสินสมรสแต่อย่างใด แน่นอนว่า หากมีทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีการทำสัญญา มีข้อตกลงชัดเจน สิ่งของนั้นๆ 

    ประกันชีวิตออนไลน์

    จะเห็นได้ว่า การทำประกันชีวิต เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหมาะกับการทำไว้เผื่อคนที่รัก หรือคนในครอบครัวภายหลัง เพราะในกรณีที่หย่าร้าง ผลประโยชน์ต่างๆ จากประกันชีวิต จะไม่ถูกนับมาเป็นจำนวนเงินที่ต้องแบ่งครึ่งกัน นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ผลประโยชน์ต่างๆ จากการทำประกันชีวิต ยังกลายเป็นมรดกในภายหลัง ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินต่างๆ ให้กับคนในครอบครัว หรือคนที่คุณรักอีกด้วย

    คลิกเลย กับ Rabbit Care โบรกเกอร์ประกันภัยที่เชื่อถือได้ มาพร้อมกับ ประกันชีวิต FWD ที่มีหลากหลาย ประกัันชีวิต เหมาะกับทุกๆ ไลฟ์สไตล์ ให้คุณได้เลือกทำ เพื่อคนที่คุณรัก 

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และบุคคลทั้งสอง จะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกัน เช่น บ้าน, คอนโด รถยนต์ หรือแม้แต่ เงินเดือน รวมไปถึงเงินโบนัส เป็นต้น ส่วนการทำประกันชีวิตนั้น เมื่อคู่สมรสเสียชีวิต จะนับว่าสิ้นสุดสถานะภาพการสมรสทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 และเมื่อผู้ทำประกันชีวิตเสียชีวิตลง เงินที่ได้หลังจากสถานะการสมรสสิ้นสุด จึงนับว่าเป็นสินส่วนตัวไม่ใช่สินสมรส

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024