แคร์ไลฟ์สไตล์

6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนสายงาน

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: April 22,2022
  
 
เปลี่ยนสายงาน

การเปลี่ยนสายงานไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะมีเหตุผลมากมายที่ทำให้ใครหลายคนอยากเปลี่ยนสายงาน ไม่ว่าจะเป็น อยากทำงานไม่ตรงสายที่จบ เบื่อสายงานเดิมที่ทำ เพิ่งค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบ หรืออยากเปลี่ยนเพื่อความก้าวหน้า แต่ยังไงก็ตามไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ขึ้นชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องมีการตัดสินใจที่รอบคอบ และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นถ้าวันนี้คุณมีความคิดหรือกำลังตัดสินใจอยากที่จะเปลี่ยนสายงาน JobThai มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก

ถามตัวเองก่อนว่าอยากเปลี่ยนสายงานแค่ไหน และเพราะอะไร

อย่างแรกเลยเราต้องถามตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าที่เราอยากเปลี่ยนสายงานเป็นเพราะอะไรกันแน่ เช่น อยากทำตามความฝัน เบื่องานที่ทำอยู่ เบื่อสังคมในที่ทำงาน อยากทำงานที่ท้าทายมากขึ้น หรืออยากได้เงินเดือนที่ดีกว่า จากนั้นก็ลองกลับไปคิดทบทวนก่อนว่าเราทำมันเต็มที่รึยัง เช่น ถ้าอยากเปลี่ยนสายเพราะรู้สึกงานยากไป ก็ให้คิดว่าเราทำเต็มที่รึเปล่า มีอะไรที่ควรเรียนรู้เพิ่มแต่เรายังไม่ได้พยายามไหม หรือบางคนบอกงานไม่ท้าทายก็ให้ดูว่าเราได้มองหาความท้าทายในงานนั้นบ้างรึยัง ถ้าสุดท้ายแล้วเรามั่นใจว่าทำดีที่สุดแล้วจริง ๆ และเราอยากทำในสิ่งที่รักก็ลุยกับมันให้เต็มที่ไปเลย

ดูความเป็นไปได้ และเลือกงานที่สามารถใช้ทักษะเดิมที่มีได้ด้วย

แค่คำว่า “ชอบ” คำเดียวคงยังไม่เพียงพอให้ตัดสินใจเปลี่ยนสายงานได้ เพราะในโลกความจริงบางสายงานก็ต้องการคนที่จบมาโดยตรง หรือจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางเท่านั้น ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนไปทำในสายงานที่มีความเป็นไปได้ เป็นสายงานที่เราสามารถเอาสิ่งที่เรียนมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น เรียนจบศิลปกรรมม แต่อยากทำงานสาย Marketing ก็เอาความรู้ด้านศิลปะมาช่วยออกแบบคอนเทนต์ทำการตลาดได้ หรือเลือกเป็นสายงานที่สามารถนำทักษะและความชำนาญจากงานเดิมมาใช้ได้ เช่น เคยทำงานเป็น Admin แต่อยากย้ายไปทำงาน Marketing โดยทักษะที่ใช้ด้วยกันได้ก็คือ มีความรับผิดชอบสูง มีทักษะในการจัดการ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และสามารถประสานงานระหว่างบุคคลได้ดี

ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสายอาชีพนั้น

พอมั่นใจแล้วว่าจะเปลี่ยนไปสายงานไหน เราก็ต้องค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสายอาชีพนั้น ๆ อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นวุฒิการศึกษาที่จำเป็นในการสมัคร ทักษะที่ต้องใช้กับงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ โอกาสสำหรับคนที่อยากก้าวหน้า เงินเดือน โดยอาจจะหาข้อมูลเองจากอินเตอร์เน็ตในเบื้องต้น หรือถ้ามีคนรู้จักที่ทำสายอาชีพนั้นก็ให้สอบถามเขาโดยตรงเลย เพราะการสอบถามจากคนที่ทำงานในสายนั้นโดยตรง จะทำให้เราได้ข้อมูลที่จริงมาก ต่อมาให้เราทบทวนว่าเราขาดทักษะอะไรบ้างที่ต้องใช้กับสายงานนี้ จากนั้นลองหาคอร์สเรียนเพิ่มเติมเพื่อที่การย้ายสายงานครั้งนี้จะได้เป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถนำเราไปสู่เป้าหมายในอนาคตได้

ดูว่าสายงานใหม่มีความก้าวหน้าแค่ไหน จะรุ่งไหมในอนาคต

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้ายังคงเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจเปลี่ยนสายงาน เพราะถึงเราจะรักงานที่ทำมากแค่ไหน แต่ถ้าสายงานนั้นไม่มีความก้าวหน้าเลย ก็คงทำให้เราต้องคิดหนักเหมือนกัน ถ้าเราได้ทำในสายงานที่ชอบด้วย และเห็นโอกาสและความก้าวหน้าด้วย ก็จะสามารถทำให้เราได้มองเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงมองให้ไกลไปถึงอนาคตด้วยว่าสายงานที่คุณกำลังจะเปลี่ยนนั้นในอนาคตจะรุ่งไหม เป็นสายงานที่มีแต่คนต้องการตัวรึเปล่า หรือเป็นสายงานที่เสี่ยงว่าจะหายไปเพราะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีรึเปล่า

ฝึกรับมือตอบคำถามสัมภาษณ์งานสำหรับคนเปลี่ยนสายงาน

การฝึกรับมือตอบคำถามของคนเปลี่ยนสายงานเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะแน่นอนว่าเราจะต้องโดน HR ยิงคำถามถึงการเปลี่ยนสายงาน อีกทั้งยังต้องต่อสู้กับแคนดิเดตคนอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์ตรงกว่าอีก ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมตัวสัมภาษณ์งานให้พร้อม ซึ่งสิ่งสำคัญที่เราควรพูดในวันสัมภาษณ์คือทำยังไงก็ได้ให้เขาเห็นประโยชน์ในตัวเรา เช่น การตอบเหตุผลดี ๆ ของการเปลี่ยนสายงานและทำให้เขามั่นใจว่าคุณจะไม่เปลี่ยนสายงานอีกบอกถึงทักษะที่ใช้ทดแทนกันได้ในสายงานใหม่ นำงานที่จับต้องได้จริงไปโชว์ว่าความสามารถเราไม่ใช่แค่ราคาคุยบอกว่าเรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วแค่ไหน ที่สำคัญบอกไปด้วยว่าเราได้เรียนรู้หรือพัฒนาทักษะอะไรเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับสายงานนี้บ้าง

ยอมรับความเสี่ยงให้ได้ และห้ามหยุดพัฒนาตัวเอง

การเริ่มสายงานใหม่ก็คือการที่เราต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ดังนั้นต้องยอมรับความเสี่ยงเรื่องตำแหน่งและรายได้ที่น้อยลงต้องใช้เวลามากขึ้นในการเติบโต ความเสี่ยงของสังคมการทำงานที่อาจจะดีกว่าหรือร้ายกว่า หรือสุดท้ายแล้วสิ่งที่เราเคยฝันไว้ซะสวยหรู อาจจะไม่เหมือนที่คิดไว้ก็เป็นได้ เราจึงต้องพร้อมยอมรับอย่างเข้าใจในจุดนี้ รวมถึงอย่าลืมที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่อยู่เสมอด้วย เพราะการพัฒนาความสามารถของตัวเองจะทำให้เราก้าวหน้าในสายงานใหม่ ดังนั้นอย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเอง

คนทำงานย่อมต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงและเติบโตอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยากย้ายสายงานใหม่ อย่างเพิ่งปิดกั้นว่าตัวเองจะทำไม่ได้ หรือรีบย้ายโดยไม่ศึกษาข้อมูลของสายงานนั้นให้ดีก่อน อย่างแรกที่ต้องทำคือถามตัวเองก่อนว่าเราชอบมันจริง ๆ ไหมหรือพร้อมจะสู้เพื่อเป้าหมายใหม่มากแค่ไหน ถ้าคำตอบคือเราพร้อมมากก็ให้ลุยไปเลยเพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะเลือกแบบไหนก็ไม่มีถูกหรือผิด หากเรามั่นใจและมีเป้าหมายก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน

คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

บทความแนะนำอื่น ๆ


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 98485

แคร์ไลฟ์สไตล์

ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
Nok Srihong
24/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98154

แคร์ไลฟ์สไตล์

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
คะน้าใบเขียว
19/12/2024