แคร์ไลฟ์สไตล์

เช็กสิทธิข้าราชการมีดีอย่างไร ทำไมหลายคนถึงอยากบรรจุเป็นข้าราชการ

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: October 31,2022
สิทธิข้าราชการ

ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคืองในยุคปัจจุบันนี้ คงไม่มีอาชีพไหนมั่นคงไปกว่าการรับราชการอีกแล้ว แม้ว่าจะเป็นอาชีพที่ฐานเงินเดือนน้อยแต่ก็มีสิทธิข้าราชการมากมายซึ่งจะทำอยู่สบายไปตลอดชีพ หากสอบเข้าได้ครั้งเดียวคือจบอยู่ยาว ๆ ไม่ต้องดิ้นรนเปลี่ยนงานหรือหางานบ่อย ๆ อีกทั้งไม่ต้องมาพะวงว่าจะถูกเลย์ปลดออกจากงานแบบฟ้าผ่าเหมือนทำงานเอกชนอีกด้วย

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

วันนี้เราจะมาเจาะลึกอาชีพข้าราชการในยุคปัจจุบันกันว่ายังน่าทำหรือไม่ ทำไมหลายคนจึงอยากบรรจุเป็นข้าราชการ และสวัสดิการข้าราชการมีอะไรบ้าง

สิทธิข้าราชการที่จะได้รับเมื่อสอบราชการติด

สวัสดิการที่มากมายกว่าพนักงานเอกชนทั่วไป นับเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้หลายคนอยากเป็นข้าราชการ เพราะนอกจากค่าตอบแทนที่ได้รับประจำเดือนแล้ว สิทธิข้าราชการต่าง ๆ ล้วนช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้สุขสบายตั้งแต่เข้าเริ่มทำงานไปจนถึงช่วงหลังเกษียณเลยทีเดียว โดยสิทธิที่คุณจะได้รับมีดังนี้

1. สิทธิการใช้วันลา

บอกเลยว่าสิทธิข้าราชการเรื่องวันลานั้นจัดเต็มยิ่งกว่าหน่วยงานเอกชนทั่วไป โดยผู้ที่รับราชการสามารถขออนุมัติวันลากับสายงานผู้บังคับบัญชาได้เลย โดยมีวันลาที่สามารถใช้ได้ดังนี้

  • การลาป่วย จำนวน 30 วันต่อปีงบประมาณ (หากลาป่วยเกิน 30 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลา)
  • ลาคลอดบุตรไม่เกิน 90 วัน โดยจะเริ่มลาในวันที่คลอด (หรือ) หลังคลอดก็ได้
  • การลาพักผ่อนประจำปี จำนวน 10 วันต่อปีงบประมาณ สำหรับข้าราชการที่บรรจุแล้ว 6 เดือนขึ้นไป หากปีไหนลาไม่ครบ 10 วัน สามารถนำวันลาไปทบในปีถัดไปได้
  • ลาไปดูแลภรรยาหลังคลอดบุตร จำนวน 90 วัน ซึ่งเป็นการลาสำหรับสามีที่มีความจำเป็นต้องดูแลภรรยาหลังคลอด แต่ห้ามลาติดต่อกันเกิน 15 วัน
  • การลากิจส่วนตัว สามารถลาได้ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชา
  • การลาอุปสมบท จำนวน 60 วัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ
  • การลาไปประกอบพิธีฮัจย์ จำนวน 60 วัน สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม
  • การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัยหรือดูงาน หรือปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ จำนวนวันลาตามดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา
  • การลาติดตามคู่สมรส เป็นการลาติดตามสามีหรือภรรยาซึ่งเป็นข้าราชการเหมือนกันในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ
  • การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ กรณีที่ผู้รับราชการบาดเจ็บหรือถูกประทุษร้ายจากการปฏิบัติหน้าที่จะสามารถลาไปฟื้นฟูสภาพร่างกายได้

จะเห็นได้ว่าสิทธิข้าราชการเรื่องการลานั้นมีมากมาย มีวันลาหยุดหลายอย่างที่หน่วยงานเอกชน ไม่มีให้ และหากรวมกับวันหยุดข้าราชการในแต่ละปีแล้วอาจได้วันหยุดรวมมากกว่า 30 วันต่อปีเลยทีเดียว

2. สิทธิการรับเงินบำนาญ หรือเงินบำเหน็จ

จะดีแค่ไหนถ้าเกษียณจากงานไปแต่มีรายได้เข้ามาประจำทุกเดือน ถ้าคุณรับราชการจนเกินอายุ 60 ปี หรือลาออกจากราชการหลังอายุ 60 ปี หรือลาออกจากราชการหลังทำงานมา 25 ปีขึ้นไป คุณจะได้เลือกรับสิทธิข้าราชการเป็นเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เพื่อให้มีเงินใช้ในวัยเกษียณนั่นเอง

การคำนวณเงินบำนาญ จะใช้สูตรคือ : (เงินเดือนเฉลี่ยของคุณ 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ) / 50

เช่น ถ้าคุณมีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 30,000 และทำงานมา 30 ปี คุณจะได้เงินบำนาญที่ (30,000 x 30)/50 = 18,000 บาทต่อเดือน

การคำนวณเงินบำเหน็จ จะใช้สูตรคือ : เงินเดือนสุดท้าย x อายุราชการ

เช่น ถ้าคุณมีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคือ 30,000 และทำงานมา 30 ปี คุณจะได้เงินบำเหน็จที่ 30,000 x 30 = 900,000 บาท (เป็นเงินก้อน)

นอกจากนี้หากข้าราชการบำนาญเสียชีวิตจะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาทจำนวน 30 เท่า ของเงินบำนาญ รวมถึงเงินช่วยพิเศษค่าทำศพ และยังมีสิทธิ์ขอพระราชทานเพลิงศพอีกด้วย

ข้าราชการบำนาญ

3. สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ

ผู้ที่รับราชการรวมถึงบุคคลในครอบครัวได้แก่ คู่สมรส บุตร บิดาและมารดา แม้จะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคร้ายแค่ไหนก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา เพราะจะได้รับสิทธิข้าราชการเป็นเงินช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าตรวจเลือดและส่วนประกอบของเลือด รวมถึงการตรวจในลักษณะเดียวกัน
  • ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์บำบัดรักษาโรค
  • ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางพยาบาล ค่าวินิจฉัยโรค
  • ค่าตรวจครรภ์ ค่าทำคลอดบุตรและการดูแลบุตรหลังคลอด
  • ค่าห้องและค่าอาหาร ขณะเข้ารับการรักษา
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

ทั้งนี้หากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของภาครัฐจะสามารถใช้สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายได้เต็มจำนวนทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แต่ถ้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนจะเบิกได้เฉพาะกรณีที่มีอุบัติเหตุเร่งด่วนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตเท่านั้น

4. สิทธิค่าเล่าเรียนบุตร

อีกหนึ่งสิทธิข้าราชการที่ช่วยลดภาระทางการเงินไปได้มากหากมีบุตร โดยบุตรที่ชอบตามกฎหมายตั้งแต่คนที่ 1 ถึงคนที่ 3 ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเล่าเรียน เรียกได้ว่ามีเงินค่าเล่าเรียนตั้งแต่เริ่มเข้าชั้นประถมศึกษาจนเรียนจบรับปริญญากันเลยทีเดียว

  • สำหรับสถานศึกษาของทางราชการ จะได้รับเงินสนับสนุนทางการศึกษาเต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง
  • ส่วนสถานศึกษาของเอกชน จะได้รับเงินสนับสนุนทางการศึกษาเต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายจนถึงหลักสูตรปริญญาตรีจะได้รับเงินสนับสนุนค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริง

แต่ทั้งนี้เงินที่ได้รับการสนับสนุนจะต้องเป็นไปตามประเภทและไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด

5. เงินสวัสดิการข้าราชการสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ

การปฏิบัติหน้าที่ตามราชการในบางหน่วยงานต้องทำในพื้นที่พิเศษ เช่น พื้นที่ประสบปัญหาด้านคมนาคมเข้าถึงลำบาก พื้นที่ห่างไกลขาดแคลนสาธารณูปโภค พื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ที่เต็มไปด้วยโรคระบาด เป็นต้น สำหรับผู้ที่ทำงานในท้องถิ่นดังกล่าวจะได้รับเงินสวัสดิการข้าราชการเพิ่มคนละ 1,000 บาทต่อเดือน ส่วนพนักงานราชการที่ทำงานในพื้นที่ปกติแต่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษเป็นระยะเวลาเกิน 15 วัน ก็จะได้รับเงินสวัสดิการพิเศษด้วยเช่นกัน

6. สิทธิข้าราชการทันตกรรม

ผู้ที่รับราชการรวมถึงคู่สมรส บุตร บิดา และมารดา จะได้สวัสดิการเบิกค่าทันตกรรม ได้แก่ การอุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด การรักษารากฟัน การเคลือบฟลูโอไรด์ การใส่เฝือกฟัน การรักษาโรคในช่องปาก ฯลฯ โดยสามารถนำใบเสร็จคลินิกทันตกรรมมาทำเรื่องเบิกจ่ายกับหน่วยงานต้นสังกัดในอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้

7. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามแต่ละหน่วยงาน

นอกจากสิทธิข้าราชการ ที่ทางภาครัฐให้มากมายแล้ว ข้าราชการบางหน่วยงานจะได้รับสวัสดิการอื่น ๆ เพิ่มเติมตามสมควร เช่น เงินช่วยเหลือค่าเช่าที่พักอาศัย สิทธิเข้าพักที่บ้านพักราชการ ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ รถประจำตำแหน่ง โทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร เงินโบนัสพิเศษ  เงินค่าเดินทางพิเศษเพื่อออกไปปฏิบัติภารกิจ เป็นต้น

สวัสดิการข้าราชการ

ข้อดีและข้อเสียของอาชีพรับราชการ

“รับราชการ” นับเป็นอาชีพที่คนไทยมักให้ความสนใจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลองสังเกตว่าในแต่ละปีมีผู้สมัครสอบ ก.พ. บรรจุเข้ารับราชการเป็นจำนวนมาก และผู้ที่สอบได้ก็มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น เป็นเพราะเป็นอาชีพที่มีสิทธิข้าราชการมากมายทำให้หลายคนคิดว่าพอสอบบรรจุได้ก็จะสบายไปทั้งชีวิต แต่ถึงกระนั้นอาชีพข้าราชการก็มีข้อเสียอยู่ เราจึงขอนำเสนอข้อดีและข้อเสียของราชการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ทุกท่านดังนี้

ข้อดีของการรับราชการ

  • เป็นอาชีพที่มีความมั่นคงสูง เพราะภาครัฐการันตีมีเงินเดือนเข้าทุกเดือน รวมถึงเงินเดือนก็ขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุราชการ แม้ว่าเศรษฐกิจประเทศจะออกมาในทิศทางใด แต่ถ้าคุณบรรจุเป็นข้าราชการแล้วก็แทบไม่มีวันถูกปลดจากงานเลย หากไม่กระทำผิดกฎหมายหรือผิดวินัยร้ายแรง ไม่ต้องดิ้นรนแข่งขันแย่งงานกับเด็กจบใหม่ที่ล้นตลาดแรงงาน เรียกได้ว่าหากสอบเข้าได้และบริหารจัดการเงินดี ๆ ไม่มีวันอดตายแน่นอน
  • มีสิทธิข้าราชการมากมายที่จะช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายให้กับคุณ เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีในโรงพยาบาลของภาครัฐทั้งตนเอง คู่สมรส บุตร บิดาและมารดา, เงินสนับสนุนค่าเล่าเรียนของบุตร, สิทธิการลาที่มากกว่าพนักงานเอกชนส่วนมาก, ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามหน่วยงานที่สังกัด
  • เกษียณงานไปแล้วสบายเพราะมีเงินบำเหน็จบำนาญใช้หลังเกษียณ ซึ่งหากจัดสรรใช้จ่ายเงินอย่างเพียงพอก็อยู่ได้จนหมดอายุขัย หรือสามารถทำงานเบา ๆ หารายได้เป็นอาชีพเสริมหลังเกษียณได้เช่นกัน
  • ทำงานหยุดเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดพิเศษต่าง ๆ ทำให้มีเวลาพักผ่อนหรือนำไปทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้
  • ได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น บ้านพักราชการ การเบิกค่าน้ำมัน รถประจำตำแหน่ง รวมถึงสิทธิพิเศษต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานจัดสรรให้
  • สามารถยื่นกู้ขอสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมกับทางธนาคารได้ง่าย เพราะเป็นหนึ่งในอาชีพที่มั่นคงและรายได้แน่นอน
  • มีการทำงานที่เป็นขั้นตอนตามแผนนโยบายที่ผู้บริหารวางไว้อย่างชัดเจน และมีการวางระบบสายงานบังคับบัญชาโดยตรง
  • เป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของวงศ์ตระกูล

ข้อเสียของการรับราชการ

  • เงินเดือนโดยเฉลี่ยน้อยกว่าพนักงานเอกชน หากไม่บริหารจัดการให้ดีก็จะกระทบต่อความเป็นอยู่ได้
  • แม้มีสิทธิ์ข้าราชการมากมายรองรับแต่ก็ต้องใช้ตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การเข้ารับการรักษาในเครือโรงพยาบาลของรัฐ
  • แม้ว่ามีวันหยุดเยอะ แต่ข้าราชการบางหน่วยงานอาจต้องปฏิบัติภารกิจในวันหยุดบ่อยครั้งทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน
  • ด้วยระบบการทำงานที่ตรงไปตรงมาแต่ค่อนข้างล่าช้า การทำงานล้าสมัย รวมถึงต้องปฏิบัติตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด อาจไม่เหมาะกับสไตล์การทำงานของบางคน
  • หากอยู่ในสายงานของผู้บังคับบัญชาที่ดี ก็อาจได้รับการสนับสนุนให้ตำแหน่งเจริญก้าวหน้าไว แต่ถ้ามีปัญหากับข้าราชการอาวุโสกว่าก็อาจส่งผลให้ตำแหน่งไม่ก้าวหน้า งานราชการจึงไม่เหมาะกับผู้ที่ชอบแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
  • หากทำไปแล้วไม่ชอบงานราชการ จะลาออกมาทำงานเอกชนก็จะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
  • สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่อาจต้องรอเงินเดือนตกเบิกหลายเดือน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่มีเงินสำรอง
  • แม้ว่าจะมีเงินบำเหน็จบำนาญใช้หลังเกษียณ แต่ถ้าบริหารจัดการไม่ดีก็จะหมดไว ทำให้ใช้ชีวิตลำบากได้
  • การแต่งกายบังคับแต่งสุภาพเรียบร้อย และต้องใส่ชุดประจำตำแหน่งในบางโอกาส จึงไม่เหมาะกับผู้ที่รักอิสระในการแต่งตัว
จัดสรรการเงิน

หากรับราชการแล้วประสบปัญหาเรื่องการเงิน ต้องทำอย่างไร?

จากที่ได้กล่าวไปว่าการบรรจุเข้ารับราชการจะได้สิทธิข้าราชการมากมายแต่ที่ต้องระวังก็คือต้องบริหารจัดการเงินให้ดี เพราะข้าราชการบรรจุใหม่มักมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าพนักงานเอกชน สวนทางกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ หวังแต่เพียงเงินเดือนกับสวัสดิการข้าราชการอาจไม่เพียงพอต่อการใช้สอย เราจึงมีข้อเสนอแนะกับข้าราชการที่หมุนเงินไม่ทันดังนี้

1. สำรวจรายจ่ายต่อเดือนว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรไปบ้างแล้วตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก ให้เลือกจับจ่ายกับสิ่งของที่มีคุณภาพดีแต่ราคาประหยัด ไม่เน้นของแบรนด์เนมหรือของฟุ่มเฟือย

2. เช็กสิทธิข้าราชการให้ครบถ้วนแล้วใช้สวัสดิการที่ตนได้รับอย่างเต็มที่ เพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

3. หากต้องการใช้เงินด่วนแนะนำให้ขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินแทนการกู้นอกระบบ เพราะดอกเบี้ยถูกกว่ามากอีกทั้งอาชีพรับราชการยังสามารถยื่นกู้ง่าย เพราะสถาบันทางการเงินจะเห็นว่าเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงสูง

4. ลองหาตัวช่วยทางการเงินอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น สมัครบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด เพื่อนำมาผ่อนซื้อสินค้าที่จำเป็น

5. หากสถานะทางการเงินยังคงฝืดเคือง ลองมองเรื่องการย้ายหน่วยงานราชการไปปฏิบัติงานตามจังหวัดที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าสำหรับผู้ที่ใช้สิทธิข้าราชการแล้วแต่มีปัญหาเรื่องการเงินอยู่ ทางแรบบิท แคร์ ยินดีช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับคุณอย่างเต็มที่ เรามีตัวช่วยทางการเงินที่ทำให้คุณใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์กับผู้รับราชการ รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำประเภทต่าง ๆ หากสนใจสามารถติดต่อมาหาเราที่ Care Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024