Visa Free กับ Visa on Arrival แตกต่างกันอย่างไร? และ Visa มีทั้งหมดกี่ประเภท?
แน่นอนว่ามีนักท่องเที่ยวหลายคนยังไม่รู้จักกับ Visa หรือ เอกสารที่แสดงว่าเป็นบุคคลที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าสู่เขตแดนหรือพื้นที่ซึ่งได้ระบุไว้ในวีซ่านั้นๆ ทำให้หลายคนกังวลไม่น้อยก่อนจะเดินทางไปยังประเทศนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ววีซ่าจะเป็นตราประทับอยู่ในหนังสือเดินทาง อย่างไรก็ตามการทำวีซ่า ก็เปรียบเสมือนเป็นการเปิดประตูสู่การท่องเที่ยวต่างประเทศที่กว้างขวางขึ้น ซึ่งก็มีทั้งแบบ Visa-free และ Visa on Arrival แต่มันแตกต่างกันยังไง แรบบิท แคร์ มีคำตอบ!!
วีซ่า แบบ Visa-Free คืออะไร?
Visa-Free คือ ผู้เดินทางที่ถือหนังสือเดินทางจากประเทศไทยได้รับการยกเว้นการขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศนั้นๆ โดยมีจุดประสงค์คือการท่องเที่ยว หมายถึงว่าเป็นประเทศที่คนไทยสามารถเดินทางเข้าได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องขอวีซ่า
วีซ่า แบบ Visa on Arrival คืออะไร?
Visa on Arrival (VOA) คือวีซ่า ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นวีซ่าที่ต้องทำการขอก่อนที่จะเดินทางเข้าประเทศปลายทาง โดยผู้เดินทางสามารถขอวีซ่านี้ได้ที่สนามบินของประเทศนั้น ๆ ได้เลย นอกจากนี้ VOA ยังเป็นวีซ่าท่องเที่ยวที่อายุไม่เกิน 15 วัน โดยใช้เวลาในการขอประมาณ 20 – 25 นาที
การขอ Visa on Arrival ที่สนามบินของประเทศนั้น ๆ จะผ่านหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ดังนั้น ควรเตรียมเอกสารไปให้ครบถ้วนและแจ้งจุดประสงค์การเดินทางเข้าประเทศให้ชัดเจน
เอกสารในการขอรับการตรวจลงตรา Visa on Arrival (VOA) มีอะไรบ้าง?
เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดโอกาสการไม่ผ่านวีซ่า นักท่องเที่ยวทุกคนควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและชัดเจน ดังนี้
- แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ (ขอรับแบบฟอร์มได้ ณ ช่องทางอนุญาตเข้าเมืองที่กำหนดไว้)
- หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
- ตั๋วหรือเอกสารที่ชำระค่าโดยสารครบถ้วน สามารถใช้เดินทางออกได้ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาต คือไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามา
- เงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย คนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
- ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
หมายเหตุ: แต่ละประเทศมีเอกสารที่ต้องขอวีซ่า visa on arrival ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบเอกสารที่ต้องใช้ และเงื่อนไขในการทำวีซ่าที่ต่างกันออกไป และดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ทางการของประเทศนั้นๆ หรือตรวจสอบประเทศที่ต้องขอ VOA ได้ที่ เว็บไซต์กรมการกงสุลประเทศไทย
ข้อดีและข้อเสียของ Visa on Arrival (VOA) คืออะไร?
ข้อดีของวีซ่า Visa on Arrival (VOA) | ข้อเสียของวีซ่า Visa on Arrival (VOA) |
รวดเร็วและประหยัดเวลา ไม่ต้องยื่นขอล่วงหน้า สามารถรอรับวีซ่าได้เลย ใช้เวลาเพียง 20 - 25 นาที | จำนวนวันในการท่องเที่ยวน้อย อยู่ไทยได้ไม่เกิน 15 วัน |
มีความสะดวกเพราะใช้เอกสารไม่มาก แค่มีเอกสารครบถ้วนชัดเจนก็สามารถยื่นได้แล้ว | ไม่สามารถยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรได้ ยกเว้นในบางกรณี เช่น เจ็บป่วย |
มีความปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารสูญหายระหว่างรออนุมัติวีซ่า | - |
ประเภทของวีซ่า
นอกจาก Visa on Arrive และ Visa-Free แล้ว ใครที่เป็นสายท่องเที่ยวต่างประเทศ ควรรู้จักประเภทของวีซ่าอื่น ๆ เพื่อที่จะเข้าใจจุดประสงค์ในการขอวีซ่าในแต่ละประเภท โดยสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. Transit Visa
Transit Visa คือวีซ่าสำหรับ ผู้เดินทางที่เปลี่ยนเครื่อง เพื่อเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง โดยปกติจะมีอายุประมาณ 5 วัน
2. Tourist Visa
Tourist Visa คือวีซ่าท่องเที่ยว เป็นวีซ่าที่มีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวหรือการเดินทาง ไม่มีเรื่องของธุรกิจมาเกี่ยวข้อง
3. Business Visa
Business Visa คือวีซ่าธุรกิจ เป็นวีซ่าที่มีจุดประสงค์เพื่อทำการค้า หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ดำเนินการในประเทศนั้นๆ ในบางประเทศจะรวมการจ้างงานถาวรเอาไว้ด้วย
4. Temporary Worker Visa
Temporary Worker Visa คือวีซ่าทำงานชั่วคราว เป็นวีซ่าที่ช่วยยืนยันว่าได้รับการอนุญาตให้ทำงานในประเทศนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง วีซ่าประเภทนี้จะต้องใช้เวลาในการขอค่อนข้างนาน และมีช่วงเวลาที่ได้รับการอนุญาตยาวกว่าวีซ่าธุรกิจ
5. Partner Visa หรือ Spousal Visa
Partner Visa คือวีซ่าแต่งงาน ที่ใช้สำหรับบุคคลที่เป็นคู่แต่งงาน (ทั้งเพศชายและหญิง) ของบุคคลที่เป็นประชากรในประเทศนั้นๆ สามารถเดินทางมาพักอาศัยด้วยกันได้
6. Student Visa
Student Visa คือ วีซ่านักเรียนหรือนักศึกษา ที่เข้ามาศึกษาในประเทศนั้นๆ แต่บางประเทศก็จะให้นักเรียนใช้วีซ่าท่องเที่ยวแทน
7. Working Holiday Visa
Working Holiday Visa คือวีซ่าสำหรับท่องเที่ยวและทำงาน โดยจะอยู่ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ ผู้ที่ขอวีซ่านี้จะสามารถทำงานและท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์ ส่วนใหญ่จะเปิดให้ขอได้ในกลุ่มบุคคลวัยเรียนและวัยทำงานที่อายุไม่เกิน 30 ปี
8. Diploma Visa
Diploma Visa คือวีซ่าฑูต เป็นวีซ่าที่จะออกให้กับผู้เดินทางที่ถือหนังสือเดินทางของทางการฑูต
9. Journalist Visa
Journalist Visa คือวีซ่าสำหรับสื่อมวลชน หรือนักข่าวจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต
10. Immigration Visa
Immigration Visa คือวีซ่าสำหรับผู้เดินทางที่ต้องการอพยพถิ่นฐาน หรือตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศนั้นๆ โดยกฎเกณฑ์และเงื่อนไขจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละประเทศ
11. Retirement Visa (Pensioner Visa)
Retirement Visa คือวีซ่าที่จะออกให้ผู้ที่มีรายได้ในต่างประเทศที่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต และไม่มีความประสงค์ที่จะทำงานแล้ว มักมีการจำกัดอายุผู้ขอวีซ่า และจะออกให้บางประเทศเท่านั้น
12. Electronics Visa
Electronics Visa คือวีซ่าที่จะบันทึกข้อมูลเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบจะมีการเชื่อมโยงกับหมายเลขของหนังสือเดินทาง และข้อมูลต่างๆ ของผู้เดินทาง โดยไม่ต้องมีป้ายหรือติดสติ๊กเกอร์ลงในหนังสือเดินทาง
เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง Visa Free กับ Visa on Arrival และข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของวีซ่าที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศ การขอวีซ่าจะทำให้คุณได้เดินทางเข้าไปในประเทศนั้นๆ ได้อย่างถูกกฎหมายและเที่ยวได้อย่างสบายใจ อย่างลังเลที่จะซื้อประกันการเดินทางกับ แรบบิท แครื ติดตัวไว้สักฉบับเพื่อความอุ่นใจในการเดินทาง ที่จะช่วยให้ความคุ้มครองชีวิตและ ความปลอดภัยของคุณ ขณะท่องเที่ยว หากสนใจ โทรเลย 1438
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ