ต้องรู้! โดนไซเบอร์บูลลี่ฟ้องได้ไหม? โดนด่าในเฟซบุ๊คแบบไหนแจ้งความได้?
หลายคนอาจคงเคยได้ยินคำว่า “บูลลี่” กันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งทางกายภาพ (Physical Bullying) การกลั่นแกล้งทางวาจา (Verbal Bullying) หรือการกลั่นแกล้งทางสังคม (Social Bullying) แต่ในปัจจุบันที่โลกโซเชี่ยลขยับเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น ทำให้เกิดเป็น “ไซเบอร์บูลลี่” (Cyberbullying) หรือที่หมายถึงการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
แรบบิท แคร์ รวบรวมตัวอย่างโพสต์ด่าในเฟซบุ๊คหรือโพสต์แขวนประจานความจริงที่อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาท และขั้นตอนการฟ้องหมิ่นประมาทมาให้ดู พร้อมบอกเหตุผลทำไมชาวเน็ตถึงควรมีประกันไซเบอร์ติดตัวไว้เพื่อความอุ่นใจในทุกกิจกรรมบนโลกออนไลน์
1. โดนด่าในโซเชี่ยลแบบไหนแจ้งความได้บ้าง?
1.1 โพสต์ด่าไม่เอ่ยชื่อ
ไม่ว่าจะโพสต์ด่าไม่ระบุชื่อในเฟซบุ๊คหรือโพสต์ด่าลอยๆ ในโซเชี่ยลที่เหมือนจะไม่ได้เจาะจงใครเป็นพิเศษ หากบุคคลทั่วไปหรือชาวเน็ตได้อ่าน หรือได้ฟังเเล้วเข้าใจได้ในทันทีว่าหมายถึงใคร แม้ว่าจะไม่ได้ระบุชื่อหรือเอ่ยชื่อบุคคลใดใดก็ตาม โพสต์แบบนี้ถือว่าเข้าข่ายมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้
แต่หากบุคคลทั่วไป หรือชาวโซเชี่ยลได้อ่านโพสต์ข้อความด่าแล้ว ไม่รู้ว่าหมายถึงใครในทันที แต่ไปสืบหาข้อมูลต่อด้วยตนเองจนทราบในภายหลัง แบบนี้จะยังไม่ถือว่าเข้าข่ายหมิ่นประมาท เพราะบุคลคลทั่วไปที่เห็นโพสต์ด่าลอยๆ ดังกล่าว ไม่ได้ทราบว่าหมายถึงใครในทันทีจากในโพสต์เฟซบุ๊คนั้นๆ แต่ทราบจากการไปสืบค้นข้อมูลด้วยตัวเอง
รวมถึงกรณีที่แม้ว่าเจ้าตัวจะทราบเป็นอย่างดีว่าโพสต์ที่ด่าลอยๆ แบบไม่ระบุชื่อนั้นหมายถึงตนเอง แต่ชาวโซเชี่ยลอ่านเเล้วไม่รู้ว่าหมายถึงใคร แบบนี้ก็ถือว่ายังไม่เข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาทเช่นกัน เพราะตามกฎหมายเเล้วจะพิจารณาตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปเป็นหลัก ไม่ใช่ตามความเข้าใจของเจ้าตัวที่ถูกด่า
จุดสำคัญที่ทำให้การโพสต์ด่าลอยๆ หรือโพสต์โซเชี่ยลบูลลี่ (Social Bullying) ที่ไม่ได้เอ่ยชื่อคู่กรณีแบบนี้เข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท คือ ต้องเป็นโพสต์หรือข้อความที่ทำให้ “บุคคลทั่วไป” ทราบได้ใน “ทันที” ว่าหมายถึง “ใคร” โดยที่ไม่ต้องสอบถามหรือสืบค้นต่อด้วยตัวเองจนทราบในภายหลังนั่นเอง
1.2 โพสต์ประจานเรื่องจริง
แม้ว่าเรื่องที่โพสต์ประจานในเฟซบุ๊คนั้นจะเป็น “เรื่องจริง” แค่ไหนก็ตาม แต่ก็อาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ หากมีเจตนาหมิ่นประมาทโดยการแสดงความเห็นโดยไม่สุจริต ไม่ว่าจะเป็นการประจานในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้ถูกเกลียดชัง
รวมถึงกรณีที่สามารถเลือกใช้วิธีดำเนินการตามกฎหมายได้ก่อนหลายวิธี เช่น ฟ้องร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฟ้องร้องลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ แต่กลับเลือกใช้วิธีโพสต์รูปประจานหรือโพสต์เฟซบุ๊คประจานก่อนเป็นลำดับแรก
นอกจากนั้นแล้วยังอาจมีความผิดจากการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาร่วมด้วย ซึ่งต้องดูจากเจตนาและวิธีการในการเผยเเพร่ข้อมูลที่โพสต์ประจานร่วมด้วยว่าตั้งใจเผยเเพร่ให้ทราบในวงกว้างหรือไม่ ซึ่งอาจมีผลทำให้โทษหนักขึ้นด้วย
1.3 ด่าในแชท
การโดนแชทเฟซบุ๊คมาด่า การด่าผ่านแชท (Chat) การส่งแชทด่าในกล่องข้อความ (Inbox) หรือการส่งข้อความบูลลี่ด่าทอระหว่างคนสองคน อาจจะไม่สามารถแจ้งความฟ้องร้องได้ทั้งในกรณีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือฐานหมิ่นประมาทได้ เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว การดูหมิ่น “ซึ่งหน้า” จะหมายถึงกรณที่ทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญหน้ากันจริงๆ ไม่ใช่การส่งข้อความสนทนาโต้ตอบผ่านแชท หรือโทรศัพท์
รวมถึงไม่ว่าจะเป็นข้อความไซเบอร์บูลลี่แชทด่าที่รุนแรงแค่ไหนก็ตาม การขู่ทำร้ายหรือขู่ฆ่า การแชทด่าแบบนี้จะเข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาทได้ จะต้องมีเจตนาที่จะให้บุคคลที่สามร่วมรับรู้ข้อความบูลลี่ออนไลน์นั้นๆ ด้วย จึงจะครบองค์ประกอบฟ้องร้องในเรื่องความผิดฐานหมิ่นประมาทได้
ต้องไม่ใช่การที่บุคคลที่สามมาเห็นข้อความด่าผ่านแชทโดยบังเอิญ แอบเข้ามาอ่านข้อความในกล่องข้อความ หรือผู้ที่ได้รับข้อความนำเอาข้อความเเชทด่าที่ได้รับมาเผยเเพร่ต่อสาธารณะในภายหลัง แบบนี้ไม่ถือว่าเข้าข่ายฐานหมิ่นประมาท
ยกเว้นการส่งข้อความเพื่อรีดทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ หรือบีบบังคับให้ทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้ผู้รับข้อความต้องยอมทำตามโดยไม่สมัครใจ กรณีแชทข้อความแบบนี้อาจจะสามารถแจ้งความฟ้องร้องได้เป็นรายกรณีไป
1.4 โพสต์รูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปคนอื่นลงเฟส หรือลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตพร้อมด้วยข้อความหมิ่นประมาท ซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ความอับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น อาจมีความผิดทั้งกฎหมายอาญา (ความผิดฐานหมิ่นประมาท และความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา) และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมถึงกรณีการแอบอ้าง ปลอมแปลง หรือใช้รูปคนอื่นคุยด้วยเช่นกัน
2. ฟ้องหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตทำอย่างไร ใช้หลักฐานอะไรบ้าง?
หากมั่นใจว่าโพสต์ไซเบอร์บูลลี่ที่กำลังถูกคุกคามอยู่นั้น มีความผิดครบองค์ประกอบเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต หรือหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา สามารถรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการทางกฎหมายได้ภายในอายุความคดีหมิ่นประมาท 3 เดือน นับตั้งเเต่รับทราบข้อความโพสต์หมิ่นประมาท และทราบตัวผู้กระทำผิด
ไม่ว่าจะเป็นการขอรับคำปรึกษาจากทนายความเพิ่มเติมในการเก็บรวบรวมหลักฐานก่อนตัดสินใจให้ดำเนินการฟ้องร้องทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา หรือเลือกเข้าแจ้งความด้วยตัวเองที่สถานีตำรวจที่ทราบการเกิดเหตุได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเรียกคู่กรณีมาไกล่เกลี่ยตกลงกันก่อน หากไม่สามารถตกลงกันได้ต้องให้ตำรวจส่งเรื่องฟ้องเป็นคดีอาญาต่อไป ซึ่งจะมีระยะเวลาในการดำเนินการที่นานพอสมควร มีขั้นตอนและหลักฐานที่ต้องใช้ในการฟ้องหมิ่นประมาท ดังนี้
2.1 พยานบุคคล
หนึ่งในพยานหลักฐานสำคัญที่ต้องมีในคดีการฟ้องหมิ่นประมาท คือ พยานบุคคล หรือบุคคลที่สามที่ได้ร่วมรับรู้รับทราบข้อความที่ผู้เสียหายโดนบูลลี่ออนไลน์ โดยสามารถขอให้บุคคลที่สามเข้าร่วมเป็นพยานและเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมกับผู้เสียหายได้เพื่อให้ปากคำและลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
2.2 พยานหลักฐาน
หลักฐานข้อความหมิ่นประมาทในเฟซบุ๊ค หรือสื่อโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ที่จะใช้เป็นหลักฐานในคดีฟ้องหมิ่นประมาทได้ ต้องเก็บรวบรวมให้เห็นภาพข้อความที่มีรายละเอียดวันและเวลาที่โพสต์ รูปภาพและชื่อผู้โพสต์ข้อความอย่างชัดเจน พร้อมกับภาพการแสดงความคิดเห็น (Comment) การกดไลค์ (Like) กดแชร์ (Share) หรือการแท็กผู้อื่น (Tag) ในโพสต์ข้อความไซเบอร์บูลลี่นั้นๆ เพื่อชี้ให้เห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในวงกว้าง รวมถึงแสดงให้เห็นเจตนาการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาร่วมด้วย
2.3 ค่าใช้จ่ายคดีฟ้องหมิ่นประมาท
ค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งหรือจ้างทนายความเพื่อทำเรื่องส่งฟ้องคดีหมิ่นประมาท จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดของเหตุการณ์ ความยากง่ายในการเตรียมทำคดี หรือจำนวนปริมาณของหลักฐาน
โดยเบื้องต้นจะแบ่งได้เป็นค่าปรึกษา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเขียนคำคู่ความ (คำร้อง, คำฟ้อง หรือคำให้การ) ค่าจ้างว่าความ ซึ่งยังไม่รวมค่าธรรมเนียมในชั้นศาลอีก อาจมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 20,000-35,000 บาท หรืออาจคิดเป็นเปอร์เซนต์ตามยอดเงินที่จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณี
บทสรุปส่งท้าย
จะเห็นได้ว่า การเล่นเฟซบุ๊คอาจก่อให้เกิดปัญหามากกว่าเข้าเฟสไม่ได้ ดังนั้น การมีประกันไซเบอร์ติดตัวไว้จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องมีการแจ้งความฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทจากการโดนบูลลี่ด้วยโพสต์โซเชี่ยลบูลลี่ โพสต์แขวนประจาน หรือไซเบอร์บูลลี่ต่างๆ ในโลกโซเชี่ยลได้ เพราะประกันภัยไซเบอร์จะให้ความคุ้มครองครบทั้งไซเบอร์บูลลี่ หรือการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyber Bullying) และการขู่กรรโชกรีดไถ่ทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ต (Cyber Extortion)
รวมถึงยังให้ความคุ้มครองเพิ่มไปถึงการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ทั้งกรณีจ่ายเงินซื้อของออนไลน์เเล้วไม่ได้ของหรือได้สินค้าไม่ตรงปก หรือกรณีลูกค้าไม่ยอมจ่ายค่าสินค้า รวมถึงการถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต โอนเงินออนไลน์อีกด้วย
แรบบิท แคร์ รวบรวมประกันภัยไซเบอร์มาให้เลือกครบจากทุกบริษัทชั้นนำให้ความคุ้มครองครบทุกกิจกรรมออนไลน์ทั้งช้องปิ้งออนไลน์ หรือโพสต์ไลฟสไตล์สาธารณะ อุ่นใจด้วยเบี้ยประกันเริ่มต้นสูงสุดเพียงปีละ 1,xxx.-!!! แต่ดูแลครบทั้งค่าที่ปรึกษา ค่าใช้จ่ายในการสู้คดี หรือค่ารักษาทางด้านจิตเวชความคุ้มครอง พร้อมรับบริการเสริมพิเศษฟรีทันทีไม่มีค่าใช้จ่ายจาก แรบบิท แคร์ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โทรเลย. 1438 หรือ rabbitcare.com
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต