เรียนรู้พื้นฐานภาษามือ กับ 10 สัญญาณมือ อาจมีประโยชน์ยามคับขัน
ภาษามือ เป็นอีกหนึ่งภาษาที่หลาย ๆ คนมองข้าม แต่ความจริงแล้วเป็นภาษาที่มีผู้ใช้ และเข้าใจเยอะมาก ๆ ทั่วโลก เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้พิการด้านการพูดที่ดีเยี่ยมที่สุด นอกจากนั้นภาษามืออาจมีประโยชน์ในการสื่อสารยามคับขัน เช่น ในสถานการณ์ที่เราต้องการความช่วยเหลือและไม่สามารถพูดได้ ฉะนั้นภาษานี้จึงเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่น่ารู้มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงสื่อสารกับผู้คนที่หลากหลายได้มากขึ้น และสื่อสารยามคับขัน
ภาษามือ คือ
ภาษามือ หรือภาษาใบ้ (Sign Lauguage) คือการสื่อสารโดยใช้มือ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ก็มีหลากหลายสไตล์การใช้แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค แต่ที่นิยมใช้กันอย่างมากที่สุด ก็หนีไม่พ้นภาษามืออเมริกัน (ASL) อังกฤษ และออสเตรเลีย โดยไทยเองก็มีรูปแบบการใช้ภาษามือของตนเอง ซึ่งตัวอักษรไทยก็จะมีรูปแบบของตนเอง ส่วนคำต่าง ๆ ก็จะใช้แบบอเมริกา และอังกฤษประกอบกัน รวมถึงสัญลักษณ์เฉพาะของไทย
โดยหลักง่าย ๆ ที่สังเกตก็คือ รูปแบบของมือ ตำแหน่งของมือ และการเคลื่อนไหวของมือ หากเป็นคำศัพท์เฉพาะ หรือชื่อ บ่อยครั้งจะใช้การสะกดคำเป็นการสื่อสารภาษามือ
เทคนิคสำคัญในการใช้ภาษามือ
ส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับทุก ๆ การพูดก็คือโทนเสียง น้ำเสียง ฉะนั้นการสื่อสารด้วยภาษามือจึงจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องใช้ดวงตา สีหน้า หรือท่าทีในการแสดงอารมณ์ให้ตรงกับสัญลักษณ์ที่เราแสดงออก เช่น หากโกรธ จะต้องขมวดคิ้ว กันฟัน หรือแสดงมือที่ดุดัน กระแทดกระทั้น ตรงข้ามกับความรัก อาจยิ้ม ค่อย ๆ วาดมือเข้าออก เป็นต้น
ภาษามือ ขอบคุณ
แบบไทย – สำหรับชาวไทย การแสดงความขอบคุณที่ทำได้ง่ายที่สุดก็คือการไหว้ แต่หากไม่อยากให้สับสน เพราะการไหว้มีหลากหลายความหมาย ก็สามารถแสดงสัญญาณมือโดยการยกมือแบขึ้นมาขนานกันในแนวตั้ง แล้วดึงมือทั้งสองข้างออกจากกัน
แบบสากล – ยกมือซ้าย หรือขาวแล้วอังไว้บริเวณริมฝีปากจากนั้นก็เอามือลงโดยโน้มมือไปข้างหน้าเล็กน้อย อาจมีการโค้งหัวลงเล็กน้อยไปพร้อม ๆ กันก็ได้
ภาษามือ ขอโทษ
แบบไทย – สามารถไหว้ขอโทษได้ แต่หากกลัวสับสน สามารถยกฝ่ามือซ้ายขึ้นมาระดับหัวใจ ใช้ปลายนิ้วมือข้างขวาทำวนในทิศตามเข็มนาฬิกาเหนือฝ่ามือข้างซ้ายราว ๆ 3 รอบ
แบบสากล – ยกมือขวาในระดับอก กำมือโดยให้นิ้วโป้งอยู่บนนิ้วชี้ หมดวนลักษณะเหมือนถูอกทวนเข็มนาฬิกา 2 – 3 รอบ
ภาษามือ แสดงความเสียใจ
แบบไทย – กำมือหันเข้าลำตัว หมุนแขนเป็นวงกลมตามทิศทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 3 รอบ (โดยสัญลักษณ์นี้ สามารถแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจกับฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย)
แบบสากล – อีกวิธีที่แสดงถึงอารมณ์เศร้าได้ด้วยทั้งไทย และสากล คือการกางมือทั้งสองข้างแบบหลวม ๆ นำมือขึ้นมาบริเวณใบหน้า และรูดลง สามารถทำซ้ำ ๆ กันได้ 2-3 ครั้ง
ภาษามือ หิว
แบบไทย – กำนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย เอาไว้ จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งรูดตรงลำคอจนปลายนิ้วมือทั้งสองสัมผัสกัน (ทำนิ้วคล้ายตัว V)
แบบสากล – มีความคล้ายคลึงกับแบบไทยค่อนข้างมาก แต่แทนที่จะรูดนิ้วลงมาเป็นตัว V ให้ทำนิ้วโป้ง และชี้เป็นตัว C รูดลงมาตรงลำคอถึงท้อง
ภาษามือ รัก
การสื่อความหมายว่ารัก มีได้หลากหลายวิธีมาก ๆ เริ่มตั้งแต่การกุมมือทั้งสองข้างไว้ระหว่างอก เป็นความหมายว่ารัก ซาบซึ้งบุญคุณ นอกจากนั้นยังสามารถแสดงสัญลักษณ์ ความรัก โดยหุบนิ้วกลางและนางลง ขณะที่กางนิ้วโป้ง ชี้ ก้อยออก หรือสัญลักษณ์ ‘มินิฮาร์ท’ ที่จะสื่อความหมายของความรักที่เบากว่า ขี้เล่น สนุกสนาน แล้วแต่ว่าคุณกำลังสื่อสารกับใคร
ภาษามือ เป็นห่วง
แบบไทย – คล้องนิ้วชี้กับนิ้วโป้งของมือทั้งสองข้าง ให้ปลายนิ้วสัมผัสกัน โดยหันฝ่ามือซ้ายไปที่อีกฝ่าย ขณะที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยเหยียดตรง
แบบสากล – ยกมือทั้งสองข้างอยู่บริเวณช่วงอก ขยับมือวน ๆ รอบช่วงอก พร้อมกดนิ้วกลางลงเล็กน้อย ทำซ้ำ ๆ 2 – 3 ครั้ง
ภาษามือ หยุด
แบมือข้างหนึ่ง จากนั้นใช้อีกมือหนึ่งสับไปบนฝ่ามือ โดยสามารถสื่อสารได้ทั้งการใช้รูปแบบสันมือสับลงไปบนฝ่ามือ หรือเป็นการใช้กำปั้นทุบลงบนฝ่ามือ สื่อความหมายได้ทั้งคำว่า พอ หยุด หรือห้ามไม่ให้ทำ
ภาษามือ ไม่เป็นไร
แบบไทย – กางฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าหาลำตัว ส่ายหน้าพร้อมสะบัดปลายนิ้วทั้งสองให้สวนกันไปมาประมาณ 3 รอบ
แบบสากล – ความจริงสามารถแสดงนิ้ว ‘OK’ ได้เลย แต่ก็สามารถแสดงเป็นสัญลักษณ์ได้ง่าย ๆ โดยการงอนิ้วชี้และกลาง จากนั้นนำนิ้ว 2 ข้างมากระทบกัน 2-3 ครั้ง
ภาษามือขอความช่วยเหลือ (ไม่เร่งด่วน)
แสดงการขอความช่วยเหลือเช่น มาช่วยขนของ หรือขอความร่วมมือให้ทำกิจกรรมอะไรบางอย่างรวมกัน เป็นการถามหาความสมัครใจ
แบบสากล – ใช้ร่วมกันทั้งแบบไทย และสากล แบมือซ้าย หงายออก กำมือขวาโดยชูนิ้วโป้งขึ้น (ลักษณะเหมือนการชูนิ้วโป้ง ‘เยี่ยม’) จากนั้นทุบมือขวาลงบนฝ่ามือซ้ายซ้ำ ๆ
ภาษามือ สัญญาณขอความช่วยเหลือ (เร่งด่วน)
ใช้ในกรณีคับขัน ที่ไม่อาจพูดได้ กรณีถูกจับเป็นตัวประกัน หรือไม่สามารถใช้เสียงสื่อสารได้ จะเป็นสัญญาณมือที่ใช้กันทั่วไป สากล สามารถใช้ได้ทั้งในไทย และต่างประเทศ ซึ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างมากสำหรับหลาย ๆ คน
วิธีการ
- หงายฝ่ามือออกหาผู้อื่น (ไม่ต้องกางฝ่ามือ และใช้มือขางไหนก็ได้)
- พับนิ้วโป้งเข้าหาฝ่ามือ
- พับนิ้วที่เหลือทั้ง 4 มากุมปิดนิ้วโป้ง
- ค่อย ๆ ทำช้า ๆ อีกหลายครั้ง
TIPS : ส่งสัญญาณ SOS ด้วยการกระพริบตา หรือส่งสัญญาณไฟ
กรณีที่ต้องการขอความช่วยเหลือ โดยไม่สามารถพูด และใช้สัญญาณมือได้ ก็จะต้องใช้ลักษณะแปลรหัสคล้ายโทรเลข
S O S
… – – – …
S = จุด 3 จุด (…) O = ขีด 3 ขีด (- – -)
โดยจุดคือจุดสั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่นการกระพริบไฟสั้น ๆ สามครั้ง ในขณะที่ขีด คือการเปิดฟ้าแช่ยาว ๆ หน่อย 3 ครั้ง ทำสั้น ๆ ยาว ๆ 3 ครั้ง สลับไปมา สื่อสัญญาณ SOSOSOSOS ขอความช่วยเหลือ ซึ่งสามารถใช้ได้กับการกระพริบตา ไปจนถึงส่องไฟขอความช่วยเหลือกรณีหลงป่า และอื่น ๆ
เห็นได้เลยว่าภาษามือ ก็เป็นอีกหนึ่งวิชาที่น่าสนใจมาก ๆ และสามารถใช้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความปลอดภัยของผู้สื่อสาร โดยแม้จะรู้สัญญาณมือ บ่งบอกสื่อสารเอาตัวรอดได้ทุกภัย สิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้เลยก็คือ ประกันสุขภาพ ซึ่งแรบบิท แคร์ มีประกันจากบริษัทการเงินชั้นนำมากมาย ใครสนใจ คลิกเลย
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี