หุ้น IPO คืออะไร ? ทำไมจึงเป็นที่หมายปองของนักธุรกิจทั้งหลาย ?
จากสถานการณ์ในตลาดหุ้นที่มีความลุ่ม ๆ ดอน ๆ เอามาก ๆ หลังจากบริษัทยักษ์ใหญ่ล้มครืนกันเป็นระนาว แน่นอนว่านักลงทุนทุกท่านต้องการลงทุนกับหุ้นคุณภาพ ในช่วงที่ราคาหุ้นกำลังเบ่งบาน ก่อนที่จะสุกงอมและขายได้กลับมาเป็นกำไร ผลตอบแทนที่มากมาย ฉะนั้นหุ้น IPO จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบหุ้นที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดหุ้น วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงอยากอธิบาย ความหมายที่แท้จริงของ IPO น่าลงทุนจริงไหม หรือก็ยังเสี่ยงมาก ๆ อยู่ ?
IPO คือ ?
IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering คือหุ้นที่ได้เสนอขายให้กับประชาชนทั่วเป็นครั้งแรก หมายความว่าเป็นช่วงเปลี่ยนถ่าย จากที่บริษัท private-held company กลายเป็น public company ที่สามารถซื้อขายหุ้นโดยกลุ่มประชาชนธรรมดาได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าบริษัทในตลาดทั่วไป ซึ่งเงินที่ได้จากการ IPO สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจเพื่อขยายกิจการ หรือทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักในแวดวงที่กว้างขวางขึ้น
กลไกการทำงานของ IPO
ขั้นตอนการทำ IPO มีความซับซ้อนมาก ๆ ฉะนั้นจะขอแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา
– ช่วงก่อร่างสร้างตัว
ก่อนเข้าสู่การจดทะเบียน IPO บริษัทจะยังถือว่ามีเจ้าของเป็นเอกชน (Private-owned) หรือมีเจ้าของเพียงไม่กี่คน เช่น ผู้ก่อตั้ง ญาติและเพื่อน ยังคงเป็นบริษัทขนาดเล็ก ไปจนถึงกลาง แต่เมื่อบริษัทเหล่านั้นค่อย ๆ เติบโตจนถึงระดับหนึ่ง เริ่มมีรายได้ที่สม่ำเสมอ และต้องการพัฒนาบริษัทไปในทิศทางใหม่ ๆ ซึ่งกำลังต้องการเม็ดเงินที่จะปั่นให้บริษัทขยายต่อไปข้างหน้าได้
– ช่วงพิจารณา
การ IPO จึงจัดว่าเป็นก้าวที่ใหญ่มาก ๆ สำหรับทุกบริษัท แต่ก็ไม่ใช่ว่าบริษัทอะไรก็ได้ที่สามารถทำได้เพราะบริษัทจะต้องผ่านการตรวจสอบที่ค่อนข้างเคร่งครัดจากหน่วยงาน SEC หรือ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ตรวจสอบงบประมาณ บัญชี เพื่อให้ได้ผ่านเกณฑ์กำหนดก่อนที่จะเปิดหุ้นเสนอประชาชนทั่วไป
โดยราคาของหุ้น IPO ถูกกำหนดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า Due Diligence โดยก.ล.ต. จะเข้ามาตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ การประเมินทรัพย์สิน ตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีและมีอยู่จริง ซึ่งผู้ถือหุ้นตั้งต้น (Private-Shareholder) สามารถขายให้กับนักลงทุนได้ ซึ่งจะสามารถมองได้ว่าเป็นช่วงระดมทุน กอบโกยกำไรจากการนำหุ้นขายกับนักลงทุนอื่น ๆ โดยหากเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง การลงทุนกับ IPO จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะได้ซื้อหุ้นช่วงเติบโต เพิ่งเข้าตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มที่เยอะขึ้นเรื่อย ๆ
– ช่วงหลังจากนำบริษัทเข้าสู่ IPO เรียบร้อยแล้ว
หลังจากสิ้นสุด IPO บริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้นเต็มรูปแบบ ต้องจัดตั้ง BOI หรือ Board of Investment สำหรับผู้ที่ถือหุ้นรายใหญ่ ตั้งวาระในการประชุมงบประมาณการเงิน ปันผลต่าง ๆ และกำหนดช่วงเวลาซื้อขายของหุ้นต่อ ๆ ไป
บริษัทยูนิคอร์น คืออะไร ?
ยูนิคอร์น คือบริษัท หรือ Start-up ที่ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการหุ้น IPO หรือยังเป็นบริษัท Private-owned มีมูลค่ารวมสูงเกิน 1 พันล้าน หรือเป็นมูลค่าจากการประมวล Due Diligence สูงเกิน 1 พันล้าน ส่วนมากจะเป็นบริษัท Start-up สายเทคโนโลยี ที่ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา หรือเป็นการต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ เช่น SpaceX บริการสำรวจอวากาศ / DiDi แอปเรียกรถของจีน
หากเป็นบริษัทยูนิคอร์นในไทย ยกตัวอย่างเช่น Ascend Money (แพลตฟอร์ม e-wallet) / Bitkrub (แพลตฟอร์มเทรดคริปโตฯ) / Flash Express (ลอจิสติกส์) และอื่น ๆ อีกมากมาย
ทำมาต้อง IPO ?
เพิ่มทุนให้กับบริษัท : บางบริษัทที่พัฒนามาสุดเพดานแล้ว ต้องการอยากขยายทุนเพื่อทำธุรกิจต่อยอดไปข้างหน้า เช่นทำร้านอาหาร แต่ต้องการขยายร้าน ขยายสาขา อาจนำบริษัทเข้า IPO เพื่อขายหุ้นให้กับนักลงทุน ให้กระแสเงินสดไหลเข้าสู่บริษัทเพื่อขยายกิจการ
เพื่อให้บริษัทเป็นที่รู้จัก : การนำบริษัทเข้า IPO แน่นอนว่าจะช่วยทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จักในหมู่นักธุรกิจ นักลงทุน ซึ่งอาจช่วยให้มีกลุ่มลูกค้าเข้ามามากขึ้นด้วย เป็นหนึ่งในแผนการตลาดที่สามารถคืนชีพให้กับธุรกิจได้
เพิ่มความโปร่งใสให้กับธุรกิจ : เมื่อบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้น ทำให้ธุรกิจดูโปร่งใส สามารถมีการตรวจสอบได้ เป็นผลดีทั้งกับตัวบริษัทและผู้ลงทุน
ความเสี่ยงของการทำ IPO
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น : ในการที่จะผ่านการพิจารณาจาก SEC ไม่ใช่เรื่องง่าย บางบริษัทต้องพึ่งบริษัทบัญชี จัดระบบการเงินใหม่ให้ได้มาตรฐาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายระยะยาวเพื่อให้รักษามาตรฐานหลังจากทำ IPO เสร็จแล้ว ก็ไม่ใช่จำนวนเงินที่น้อย ๆ
เสียการควบคุม : หากผู้นำไม่มีความมั่นคง หนักแน่นพอ การสร้าง Board of Investment หรือบริษัทตกเป็นของคนหมู่มากขึ้น ตัวตน และแนวทางตั้งต้นของบริษัทอาจสามารถถูกหลงลืม แล้วกลายเป็นเปลี่ยนแนวทางไปโดยปริยาย
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงาน : โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณ และผลตอบแทน สำหรับบริษัทเล็ก ๆ ที่ส่วนมากโครงสร้างการบริหารไม่ได้ซับซ้อนเท่าไหร่ หลังจากผ่าน IPO อาจต้องมีระบบ มีการควบคุมมากขึ้น ซึ่งหากบริษัทไม่พร้อม อาจมีความยุ่งยากมากขึ้น
IPO น่าลงทุนจริงไหม ?
หุ้น IPO มักจะถูกจับจ้องโดยสื่ออย่างหนัก ทำให้ราคาของหุ้นในวันที่ IPO มีการขึ้นลงที่เยอะมาก ๆ ฉะนั้นนักลงทุนหลาย ๆ คนที่อยากได้ผลกำไรในทันทีจึงจับจ้องที่จะเข้าไปลงทุนกับหุ้น IPO แต่แน่นอนว่ายิ่งผลตอบแทนเยอะเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ต้องเยอะมากขึ้นเท่านั้น สำหรับบางบริษัท แท้จริงแล้วมูลค่าและโอกาสเติบโตไม่ได้มากเท่ากับการที่สื่อประโคมนำเสนอข่าว สร้างกระแส จนกลายเป็นว่าราคาหุ้นในช่วงเริ่มเข้าตลาดหุ้นพุ่งสูงมาก ๆ และสุดท้ายก็จะค่อย ๆ ดิ่งลงตามลำดับ ฉะนั้นการเลือกลงทุนกับหุ้น IPO จึงควรจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทอย่างละเอียด โดยให้มองผลตอบแทนระยะยาว และโอกาสการเติบโตของบริษัทอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสามารถสร้างผลกำไรระยะยาวได้เรื่อย ๆ ต่อ ๆ ไป
ใคร ๆ ก็สามารถซื้อ IPO ได้หรือไม่ ?
หุ้น IPO ไม่ได้ซื้อได้ง่าย อาจต้องอาศัยจังหวะเวลา หรือเส้นสายเสียหน่อย เพราะโดยปกติแล้วจะมี demand ที่มากกว่า supply และราคาหุ้น IPO มักถูกสงวนไว้สำหรับพนักงานประจำ พนักงานเก่าแก่ หรือคู่ค้าสำคัญเสียก่อน ฉะนั้นบ่อยครั้งสุดท้ายราคาหุ้นที่ตกทอดมาสู่ประชาชน มักจะไม่ใช่ราคาหุ้นที่แท้จริง แต่เป็นราคาที่อาจขึ้นมาแล้วหลังจากบริษัทออกสู่สาธารณะนั่นเอง
รู้ก่อนลงทุน IPO
ช่วงเวลาล็อกอัป (Lock-Up) : ลักษณะปกติของกราฟ จะสังเกตได้ว่าครั้นผ่านกระบวนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว แล้วประมาณ 3 เดือนราคาหุ้นจะหักตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าบริษัทสูญเสียมูลค่าแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า lock-up เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น กับผู้ตรวจสอบ โดยกำหนดให้ผู้ถือหุ้นไม่สามารถขายหุ้นหลังจากซื้อหุ้น IPO ไปแล้วเป็นเวลาตามที่กฎหมายกำหนด (สามารถ Lock-up ยาวนาน 3 เดือน ไปจนถึง 2 ปีเลยทีเดียว) ซึ่งเมื่อปลดล็อก แน่นอนว่านักลงทุนบางกลุ่มอาจตัดสินใจขายหุ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นตกลง ก่อนที่ราคาจะกลับมาเพิ่มขึ้นตามกลไกของตลาด
ช่วงเวลารอ (Waiting Periods) : หากการซื้อขายโดยขึ้นอยู่กับ Investment Banking บางแห่ง จึงจะมีการกำหนดช่วงเวลาซื้อขายที่แน่นอน ฉะนั้นจึงมีช่วง Waiting Period ก่อนที่จะมีการซื้อขาย
ขายต่อ (Flipping) : การขายต่อ หรือที่ทางการเงินเรียกว่า Flipping คือการซื้อมาขายต่อทันทีที่สามารถขายได้ เพื่อเก็งกำไรระยะสั้น เป็นที่นิยมในหมู่ IPO ที่เป็นกระแส มาไวไปไว
หวังว่าทุกท่านคงจะได้เข้าใจความหมายของ IPO อย่างถ่องแท้มากขึ้น พร้อมทั้งรู้จักวิธีการลงทุนอย่างปลอดภัย รอบคอบ และชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ซึ่งสำหรับใครที่เป็นมือใหม่ หัดลงทุน กำลังหาวิธีการลงทุนง่าย ๆ ความเสี่ยงต่ำ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ ลงทุนกับ ประกันออมทรัพย์ หรือประกันสะสมทรัพย์ สั่งสมนิสัยอดออมเงิน ผนวกกับได้สิทธิคุ้มครอง และเงินปันผล ใครอยากเริ่มลงทุนอย่างชาญฉลาด คลิกเลย!
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี