แคร์การเงิน

เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แล้วยังไงต่อ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: September 3,2019
  
 
หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

iPrice ว่าระบบกู้เงินไหน ๆ ในประเทศไทยก็มาเทียบระบบกู้เงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ไม่ได้ เพราะมียอดการยื่นขอกู้มากที่สุดในประเทศไทยและมีคำร้องขอเต็มทุกรอบที่เปิดให้กู้ในแต่ละปี ถึงกระนั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษาอีกหลายชีวิต

เนื่องจากว่ากองทุนเองก็มีงบประมาณที่จำกัด นั่นก็เป็นเพราะว่ามีคนเบี้ยวหนี้หรือไม่ยอมคืนเงินกู้หลังจบการศึกษาเป็นจำนวนมากนั้นเอง ซึ่งทางกองทุนก็เห็นใจหลายคนที่ตกงานหลังเรียนจบหรือบางคนอาจจะมีภาระที่ต้องใช้จ่ายสูงจนเงินเดือนไม่พอจ่ายหนี้ กยศ. แต่สำหรับคนที่จงใจไม่จ่ายเงินกู้คืน ก็ขอให้คิดใหม่ค่ะ

อันที่จริงแล้วดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ กยศ. นั้น ถูกแสนถูก ซึ่งถูกกว่าบัตรกดเงินสด บัตรเครดิต หรือการกู้เงินจากธนาคารทั่วไปมาก วันนี้จะมาช่วยวางแผนคืนเงินสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเป็นหนี้ ส่วนสำหรับใครที่ยังไม่ได้ชำระหนี้ กยศ. เลย ก็มาทำความเข้าใจด้วยกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองบ้าง แล้วต้องทำยังไงต่อไป งั้นมาเริ่มกันที่แผนการคืนเงินกันก่อนเลย

แผนการชำระเงินคืน

ต้องรู้ตัวก่อนเลยว่า เราจะต้องเริ่มจ่ายคืนเงินกู้นี้หลังจากจบการศึกษามาแล้ว 2 ปี และจะต้องวางแผนว่าจะจ่ายแบบไหน แบบรายเดือน หรือ รายปี ซึ่งรายปีจะจ่ายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุก ๆ ปี โดยเราสามารถเช็คหนี้กยศผ่านแอปฯ และเว็บไซต์ที่ให้บริการได้ในปัจจุบัน

วิธีการคำนวณ เมื่อเรากู้เงินมา 1 แสนบาท

  • ในปีที่ 1 เราต้องจ่าย 1.5% ของเงินต้น ชำระงวดละ 1,500 บาท หรือเดือนละ 150 บาท
  • ในปีที่ 2 เราต้องจ่าย 2.5% ของเงินต้น คือชำระงวดละ 2,500 บาท บวกดอกเบี้ย 1% (985 บาท) รวมเป็นเงิน 3,485 บาทต่อปี หรือเดือนละ 291 บาท
  • ในปีที่ 3 เราต้องจ่าย 3% ของเงินต้น ชำระงวดละ 3,000 บาท บวกดอกเบี้ย 960 บาท เป็นเงิน 3,960 บาทต่อปี หรือ 330 บาทต่อเดือน
  • ในปีที่ 4 – 15 เราจะต้องจ่าย 13% ของเงินต้น คือ ชำระ 13,000 บวกดอกเบี้ย 130 บาท เป็นเงิน 13,130 บาทต่อปี หรือเดือนละ 1,300 บาท ในช่วงนี้จะต้องจ่ายจำนวนสูงขึ้น เพราะถือว่ามีงานที่มั่นคงและเงินเดือนเพิ่มขึ้นมากแล้ว ตามประสบการณ์การทำงาน

มาตรการการจัดการของกองทุนเมื่อผู้กู้ไม่ยอมจ่ายคืน

  1. นำข้อมูลของผู้กู้เงินกองทุนเข้าบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งประเทศไทย(เครดิตบูโร) ซึ่งมีผลต่อการอนุมัติเมื่อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน คือ จะไม่ได้รับการอนุมัตินั้นเอง
  2. บังคับใช้กฎหมายปี 2560 โดยให้นายจ้างหักเงินจากรายได้ของลูกจ้างที่กู้เงินกองทุนเพื่อการศึกษา เช่นเดียวกับการหักภาษีของกรมสรรพากร

เมื่อไม่ยอมจ่ายเงินกู้ตามกำหนดจะเกิดอะไรบ้าง

แผนการชำระเงินคืน กยศ.
  • หากผู้กู้ผิดนัดชำระเงินตั้งแต่ปีที่ 2 หลังจบการศึกษา กองทุนจะนำส่วนลดดอกเบี้ยกลับมาเป็นเงินต้น และต้องเสียเบี้ยปรับ 7.5% ต่อปี ของเงินงวดที่ผิดนัด
  • เมื่อผู้กู้ค้างชำระหนี้เป็นเวลาตั้งแต่ 4 ปี (5 งวด) ขึ้นไป กองทุนจะบอกเลิกสัญญาและส่งรายชื่อไปให้ธนาคารกรุงไทย เพื่อแจ้งดำเนินคดี
  • ธนาคารกรุงไทยยื่นฟ้องคดีกับศาล แล้วนำจดหมายคำสั่งศาลส่งให้เรียกผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันเข้าพบ
  • ผู้กู้และผู้ค้ำประกันเข้าไปพบศาลตามวันเวลาที่นัดหมาย เพื่อทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมคดีความ หากผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันไม่สามารถไปพบศาลได้ สามารถทำหนังสือมอบอำนาจและส่งผู้แทนไปได้ หากไม่ยอมไปขึ้นศาล จะมีคำพิพากษาให้ชำระเงินก้อนโตภายในครั้งเดียว
  • ศาลจะพิจารณาและให้ชำระตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนด คือ ผ่อนชำระรายเดือนจำนวน 108 งวด หรือเป็นเวลา 9 ปี หากยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำสั่งศาล จะมีการดำเนินคดียึดทรัพย์ผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันตามกฎหมายต่อไป

จะเห็นได้ว่าการไม่จ่ายหนี้ของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษานั้น ส่งผลให้น้อง ๆ รุ่นต่อไปขาดโอกาสในการกู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะมีเงินในกองทุนไม่เพียงพอ อีกทั้งยังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ให้ค้ำประกันและผู้กู้เองไม่ใช่น้อย ก็อยากเตือนใจผู้กู้เงินทุก ๆ คน ให้ตั้งสติให้ดีก่อนจะเป็นหนี้ เพราะเส้นทางของการใช้หนี้นั้นยากลำบากและต้องอาศัยความรับผิดชอบที่สูงมาก เมื่อลงมือกู้แล้วก็ขอให้ตั้งใจคืนเงินกู้และทำตามเงื่อนไขให้ดีที่สุด สู้ต่อไปค่ะ

ผู้เขียน ประชันดาว ศรีภักดี iPrice


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024