รู้จักกับ ดัชนี Dow Jones ทำไมนักลงทุนต้องจับตามอง?
สำหรับใครที่เป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือเริ่มมีความสนใจด้านการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องหุ้น โดยเฉพาะการเทรดหุ้นในต่างประเทศ อาจจะเคยได้ยินมาว่า dow jones หรือ ดัชนีดาวโจนส์ กันมา ไม่มากก็น้อย
แล้ว ดาวโจนส์ ที่ใครต่างก็พูดถึง แท้จริงคืออะไรกันแน่? ทำไมนักลงทุนหน้าใหม่ทุกคนถึงควรรู้จัก วันนี้ ทางแรบบิท แคร์ จะพาทุกท่านไปเจาะลึกกับเรื่องราวของ Dow Jones ให้มากขึ้นกัน
ดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones) คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับตลาดโลก?
ทั้งนี้ เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลัก ๆ ที่เป็นที่นิยม และได้ยินกันบ่อยครั้ง ได้แก่ ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq โดยวันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาไปทำความเข้าใจกับ Dow Jones
ดัชนีดาวโจนส์ หรือ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ มาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Dow Jones Industrial Average เรียกแบบสั้น ๆ ได้ว่า DJIA, Dow Jones, DJI หรือ Dow 30 โดยแรกเริ่ม ดาวโจนส์ถูกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ถูกสร้างขึ้นโดย ชาร์ลส์ ดาว มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1896 ซึ่งแรกเริ่มมีรายชื่อเพียง 12 บริษัทเท่านั้นในดัชนี ก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนรายชื่อบริษัททั้ง 30 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และ แนสแด็ก (NASDAQ)
สำหรับกลุ่มบริษัทที่อยู่ในดัชนีดาวโจนส์ จะเป็นกลุ่มบริษัทอุตาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและมีอิทธิพล มีการใช้งานเยอะ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทเหล่านี้จะต้องมีคุณสมบัติผ่านตามเกณฑ์การคำนวณจาก Wall Street Journal และ Dow Jones & Company ซึ่งเป็นระบบการคำนวณที่ได้การยอมรับมากที่สุด
หากผลดัชนีเป็นลบ อาจมองได้ว่าบริษัทขาดทุน ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน เพราะตัวบริษัทช่วงนั้นไม่สามารถทำกำไรได้ และอาจเป็นสาเหตุให้นักลงทุนเทการขายหุ้น หรือการลดระดับการลงทุนในแง่อื่น ๆ ลง รวมไปถึงส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก และเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวได้
แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าผลการคำนวณดัชนีเป็นบวก ก็ไม่แปลกที่เหล่านักลงทุนมีความเชื่อมั่น และกล้าที่จะลงทุนกับบริษัทที่มีแนวโน้มทำกำไรได้ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน ดัชนีดาวโจนส์ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยชี้วัดถึงสภาพทางการเงินของบริษัทชั้นนำในสหรัฐฯ บอกภาพรวมสถานการ์ณเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้นได้ดี รวมไปถึงมีความสำคัญอย่างมากกับเหล่านักลงทุนในการวางแผนลงทุนอีกด้วย
สรุป ดัชนี Dow Jones คือ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรม ใช้บ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจในสหรัฐฯ แม้จะไม่สามารถลงทุนได้โดยตรงเพราะมันเป็นเพียงดัชนีที่ประกอบและประเมินค่าด้วยหุ้นบลูชิปเท่านั้น แต่เหล่านักลงทุนก็สามารถลงทุนในดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ได้ผ่านเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ ที่เราจะกล่าวในหัวข้อถัดไป
ดัชนีดาวโจนส์ (dow jones) ถูกคัดเลือกอย่างไรบ้าง?
หลังจากทำความรู้จักกับหุ้นดาวโจนส์ไปแล้ว หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมว่าการคัดเลือกนั้นมีข้อกำหนดอะไรบ้าง โดยข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ใช้ในการคัดเลือกหุ้นดาวโจนส์จะมี ดังนี้
- บริษัทจะต้องมีชื่อเสียง มั่นคง และมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและตลาด
- มีการเติบโตที่ยั่งยืนและมีผลการดำเนินงานทางการเงินที่มั่นคง รวมไปถึงการมีรายได้และกำไรที่สม่ำเสมอ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทน้อย เช่น การควบรวมกิจการหรือความลำบากทางการเงิน เพราะจะสะท้อนถึงโครงสร้างสำคัญภายในบริษัท
- หุ้นแต่ละตัวมีส่วนในการเคลื่อนไหวของดัชนีตามราคาหุ้นต่อหุ้นของมันเอง มากกว่าการให้น้ำหนักมูลค่าตลาดรวม
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์จะไม่รวมบริษัทจากภาคการขนส่งและสาธารณูปโภค เนื่องจากมีดัชนีดาวโจนส์อื่น ๆ ที่ครอบคลุมอยู่แล้ว
แล้วแบบนี้ จะลงทุนกับหุ้นดาวโจนส์คือแบบไหนกัน ?
สำหรับการลงทุนในดัชนีดาวโจนส์ ส่วนมากมักจะลงทุนด้วยการเทรดหุ้นดาวโจนส์ หรือก็คือ หุ้น Blue Chip ที่มีรายชื่ออยู่ในดัชนี Dow Jones ซึ่งมักจะมีมูลค่าการตลาดสูง มีฐานลูกค้าจำนวนมาก สำหรับช่องทางในการลงทุนกับดาวโจนส์ ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- ETFs เป็นกองทุนลงทุนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์คล้ายกับหุ้น โดยมีเป้าหมายในการจำลองผลการดำเนินงานของดัชนีเฉพาะ เช่น DJIA
- Contract for Difference (CFD) เป็นสัญญาซื้อขายส่วนต่าง ใช้เงินลงทุนน้อย แต่มีโอกาสทำกำไรได้สูง สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมงในวันจันทร์ – วันศุกร์
- Dow Jones Futures คือสัญญาซื้อขายดัชนี Dow Jones แบบล่วงหน้า ยิ่งคาดการณ์ราคาให้แม่นยำได้มากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสทำกำไรได้มากขึ้นเท่านั้น เป็นหนึ่งในการลงทุนที่นิยมกันมาก
- ออปชั่นและวอแรนท์ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้สิทธิ์แก่นักลงทุนโดยไม่มีข้อกำหนดในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดก่อนวันที่กำหนด
สำหรับการเทรดหุ้นดาวโจนส์สามารถทำได้ในเวลาที่ตลาดหุ้นสหรัฐเปิดทำการ ซึ่งจะอยู่ในช่วง 20.30 น. – 03.00 น. ของประเทศไทย
รูปแบบการเทรดดัชนี Dow Jones มีอะไรบ้าง ?
การเทรดหุ้นในดัชนี Dow Jones สามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งเบื้องต้นสามารถจำแนกได้ ดังนี้
- เทรดแบบ Scalping เป็นการซื้อขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น ๆ ได้กำไรน้อย แต่ได้กำไรถี่ เหมาะกับผู้ที่เข้าใจความผันผวนของราคาเป็นอย่างดี และมีทักษะการวิเคราะห์เป็นเลิศ
- เทรดแบบ Day Trading เป็นการเทรดระยะสั้นเช่นกัน แต่ไม่ถี่เท่าแบบ Scalping โดยจะเทรดเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น
- เทรดแบบ Swing Trading หรือการเทรดระยะกลาง เหมาะกับผู้ที่มีเวลาไม่มาก ไม่ต้องเฝ้ากราฟตลอดวัน
ทั้งนี้ การลงทุนกับดาวโจนส์ หรือการเทรดหุ้นใด ๆ นั้นล้วนมีความเสี่ยงและเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นมือใหม่ ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูล และวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลงได้
แต่สำหรับใครที่สนใจ และอยากเริ่มต้นเทรดหุ้นดาวโจนส์บ้าง แต่ติดที่ไม่รู้จะไปเทรด หรือเปิดบัญชีที่ไหน ทาง แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ เปิดบัญชีหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์อย่าง webull บริการจัดการง่าย ข้อมูลระดับมืออาชีพ ผสมผสานเทคโนโลยีกับการเงิน ให้คุณเทรดหุ้นได้อย่างมั่นใจ ด้วยเครื่องมืออัจฉริยะ มอบประสบการณ์ใช้งานอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงเครื่องมือและบริการด้านการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ เปิดบัญชีผ่านเรา แรบบิท แคร์ คลิกเลย!
สรุป
ดาวโจนส์ (dow jones) คือ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่มีอายุมายาวนาน โดยจะมีรายชื่อบริษัททั้ง 30 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และ แนสแด็ก (NASDAQ) ใช้บ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจในสหรัฐฯ หรือในบางครั้งบ่งบอกได้ถึงสภาพตลาดโลก และเหล่านักลงทุนมักใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ เช่น การเทรดหุ้นดาวโจนส์ ทั้งนี้ การเทรดหุ้น หรือการจะลงทุนในดาวโจนส์ล้วนมีความเสี่ยง การศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอจึงสำคัญมาก และควรตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนเสมอ
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct