เป็นโควิดจนหาย แต่ไม่จบ! เตรียมเช็กลิสต์ภาวะลองโควิด คืออะไร ทำไมต้องระวัง!
รักษาตัวจนหายจากการเป็น โควิด-19 ก็แล้ว แต่ดูเหมือนทุกอย่างจะไม่จบง่าย ๆ ! เพราะสิ่งที่เจ้า โควิด-19 ตัวร้ายได้ทิ้งเอาไว้ก็คือ ภาวะลองโควิด (Long Covid) นี่เอง! แล้วลองโควิดคืออะไร? สามารถเบิกประกันสังคม หรือประกันสุขภาพได้ไหม? ค่ารักษาแพงไหม อาการลองโควิดรักษายังไงดี? แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปรู้จักกัน!
ภาวะลองโควิด (Long Covid) คืออะไร? มีลิสต์เช็กอะไรบ้าง?
ภาวะลองโควิด (Long Covid) หรือ Post COVID คือ ภาวะความผิดปกติหรือเกิดการอักเสบของร่างกายในผู้ป่วยหลังได้รับเชื้อโควิด-19 แม้ว่าจะรักษาหายดีจากการติดเชื้อนานกว่า 1 เดือนแล้วก็ตาม โดยข้อมูลชุดปัจจุบันระบุไว้ว่า ภาวะลองโควิดอาจเกิดได้จาก 4 สาเหตุ ได้แก่
- มีเชื้อไวรัสหลงเหลือในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง
- การอักเสบในหลายอวัยวะ ทำให้อวัยวะผิดปกติแบบถาวรซึ่งส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
- ผลกระทบจากการรักษาและนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน
- ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติภายหลังการติดเชื้อ
นอกจากนี้ ยังมีบางรายงานพบว่ากลุ่มเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่าง เบาหวาน, ภูมิแพ้ หอบหืด หรือผู้ที่มีอายุ มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือแม้แต่เคยเป็นผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง หรือสีแดง ก็จะเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิดได้ง่าย
จากสถิติโดยรวม ผู้ที่มีภาวะลองโควิด (Long Covid) มีโอกาสเป็นได้มากถึง 30% – 50% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่มีลองโควิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้มากในวัยทำงาน และระยะเวลาที่ผู้มีภาวะลองโควิดจะหายต้องใช้เวลานานกว่า 4 สัปดาห์ มากถึง 80%
โดยภาวะ Long Covid อาการมีมากกว่า 200 อาการ สามารถส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพในหลายระบบของร่างกาย และทางการแพทย์แบ่งอาการที่พบออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ เบื้องต้น ได้แก่
กลุ่มที่ 1 มักจะมีอาการอ่อนเพลีย
กลุ่มที่ 2 มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม, ทำกิจกรรมปกติได้ลดลง, เหนื่อยง่ายขึ้น
กลุ่มที่ 3 ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ, ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่ทำได้, ความจำลดลง, มีปัญหาการนอนหลับ, ความสามารถในการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมลดลง
นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการอื่น ๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long Covid) ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการหอบเหนื่อย,ไอเรื้อรั้ง ทั้งแบบไอแห้ง ไอมีเสมหะ และไอแบบมีเลือดปน
- ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก, ใจสั่น, หายใจลำบาก, ใจสั่น, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, เส้นเลือดสมองอุดตัน, ลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น
- ระบบประสาท เช่น อาการอ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน, ปวดศีรษะ, มึนศีรษะ, หลงลืม, กล้ามเนื้อลีบ
- ระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นแพ้ หรือผมร่วง
- ระบบทั่วไป เช่น ท้องเสีย, ท้องอืด, เจ็บคอ, ชา หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ปวดตามข้อ, ปวดหู, มีเสียงในหู, ปวดท้อง, ท้องเสีย, กินอาหารได้น้อยลง, ไม่ได้กลิ่น, รับรสได้ไม่ดี หรือรอบประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า Long Covid อาการต่าง ๆ ส่งผลโดยตรงต่อสมรรถภาพของร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น อาการหายใจลำบาก จะส่งผลให้เหนื่อยง่ายขึ้น, ภาวะสมองล้า ทำให้การโฟกัสกับงานหรือการมีสมาธิอาจทำได้น้อยลง หรือคนที่ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บข้อต่อ ก็จะไม่สามารถกลับไปทำงานเต็มกำลังได้เหมือนเดิม
รวมถึงปล่อยนานเกินไป อาจเจอภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, สมองล้า, ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ, ภาวะ Guillain – Barre Syndrome (ภาวะระบบประสาทส่วนปลายถูกทำลายด้วยภูมิคุ้มกันแบบเฉียบพลัน), โรคเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในกลุ่มเด็กที่เคยติดโควิด-19 มาก่อน อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เรียกว่า MIS-C (Multisystem inflammatory syndrome in children) ซึ่งเป็นภาวะอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ เช่น มีไข้สูง, ผื่น, ตาแดง, ปากแดง เป็นต้น บางรายอาจมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู หรือมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้
แต่ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลจนเกินไป หากเรารู้ว่าลองโควิดคืออะไร และหมั่นสังเกตอาการตนเองอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และวางแผนการฟื้นฟูที่ถูกต้อง ภาวะลองโควิดก็จะไม่น่ากลัวอีกต่อไป
อาการลองโควิดรักษายังไง? เบิกเคลมได้ไหม?
หากพบว่าตนเองอาจจะเป็นภาวะลองโควิด (Long COVID) ไม่ว่าจะเป็นอาการไอเรื้อรั้ง เจ็บคอ หรืออาการอื่น ๆ ที่เข้าข่าย แนะนำพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยอาการหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษาฟื้นฟูปัญหาสุขภาพได้อย่างตรงจุด และสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งแผนการรักษานั้นจะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยเลือกวิธีรักษาให้อย่างเหมาะสมกับอาการต่าง ๆ
เช่น ผู้ป่วยภาวะลองโควิดมีอาการของระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม ไอเรื้อรั้ง จะต้องฝึกการหายใจใหม่ด้วยการทำกายภาพบำบัดปอด หรือในกลุ่มผู้ป่วยภาวะลองโควิดที่รู้สึกเหนื่อย เพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และปวดเมื่อย อาจได้รับการทำกายภาพบำบัดร่างกายเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น ทั้งการเดิน วิ่งเหยาะ ๆ หรือการออกกำลังกายโดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เป็นต้น
และสำหรับผู้ที่มีภาวะลองโควิด กังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายก็หมดห่วง เพราะเบื้องต้นแล้ว สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ของ สปสช. สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทุกแห่ง เช่น โรงพยาบาลรัฐ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ไปรักษาเป็นประจำ
- สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ในระบบประกันสังคม สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนประกันสังคม 1506 หรือ ประกันสังคมเขตพื้นที่
- สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง
- สิทธิข้าราชการกรมบัญชีกลาง สามารถเข้ารับบริการได้ที่สถานพยาบาลภาครัฐทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนกรมบัญชีกลาง
- แรงงานต่างด้าว/สิทธิอื่น เช่น ครูเอกชน หน่วยงานรัฐอื่น ติดต่อสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน หรือสอบถามฝ่ายทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานที่ตัวเองสังกัดได้
นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนบางแห่งยังได้ออกโปรแกรมสำหรับการตรวจและรักษาภาวะลองโควิดโดยเฉพาะ โดยนอกจากสิทธิประกันจากภาครัฐฯแล้ว ประกันสุขภาพบางแบบแผนยังให้คุณเบิกเคลมในการรักษา หรือจะใช้บัตรเครดิตเพื่อรูดจ่ายโปรแกรมตรวจและฟื้นฟูสุขภาพต่าง ๆ หมดปัญหาอาการลองโควิดรักษายังไงได้หมดจด
ส่วนข้อสงสัยในการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมนั้น ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาให้ความเห็นว่า หากมีอาการลองโควิด และยังต้องกักตัว ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนทันที ให้เว้นระยะเวลาหลังหาแล้วนาน 3-6 เดือน โดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เหมาะสำหรับผู่ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ควรเป็นวัคซีน mRNA ด้วย
แม้ว่าจะหายจาก โควิด-19 แล้ว แต่ภาวะลองโควิดเป็นเรื่องที่เราต้องเฝ้าระวัง เพราะเรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องไกลตัว และ แรบบิท แคร์ พร้อมแคร์คุณ ด้วยบริการสุดพิเศษ บริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ ที่ให้คุณได้เลือกประกันสุขภาพที่โดนใจ ทั้งเบี้ยประกันที่จับต้องได้ แบบแผนประกันที่ยืดหยุ่น ทั้ง ประกันสุขภาพ IPD-OPD ประกันโรคร้ายแรง หรือแม้แต่ประกันสุขภาพเด็กให้คุณอุ่นใจกับความคุ้มครองให้คนที่คุณรัก คลิกเลย!
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct