แคร์สุขภาพ

ไข้หวัดใหญ่ VS โควิด-19 แยกอาการยังไง?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: June 8,2020
  
Last edited: June 9, 2020
ประกัน 3 โรคกวนใจ

หน้าฝนแบบนี้ นอกจากเรื่องโรคภัยที่มาจากพาหะอย่างยุงแล้ว สิ่งที่ทำให้คนเราป่วยไข้ได้มากที่สุด เห็นจะเป็นหวัดนี่แหละ ที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะกับ ไข้หวัดใหญ่ ที่มีอาการใกล้เคียงกับ โควิด-19 ด้วยแล้ว แบบนี้เราจะแยกอาการยังไงดีนะ ? ตาม Rabbit Care ไปดูกัน

ประกันสุขภาพเพิ่มเติม

ไข้หวัดใหญ่ หรือ โควิด-19 แยกอาการยังไงดีนะ?

ทำความรู้จักกันอีกกครั้ง กับ “โรคไข้หวัดใหญ่”

โรคไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ซึ่งเชื้อนี้มีหลายชนิด เราจึงสามารถแยกไข้หวัดใหญ่ในคนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 

ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีก โดยอาการมักจะไม่รุนแรงนัก รักษาหายภายใน 3-5 วัน และสามารถรับวัคซีนประจำปีเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้

ส่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด H1N1 ที่กลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสตัวเดิม ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน และสามารถติดเชื้อในวงกว้าง ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ รักษายากกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่ถ้าได้พบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาการก็จะไม่รุนแรง

โรคไข้หวัดใหญ่

อาการที่พบได้บ่อยเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ 

  • มีไข้ ตัวร้อน หนาวสั่น แต่บางรายอาจไม่มีไข้
  • ไอ เจ็บคอ
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • บางรายอาจจะมีอาการช็อก

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนร่วมด้วย โดยทั้งสองอาการนี้พบได้ในผู้ป่วยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย อย่าง โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ หากรู้สึกมีอาการก็ควรพบแพทย์ทันทีทำประกัน 3 โรคกวนใจ

แล้วแบบนี้ แตกต่างกับ โควิด-19 ยังไงนะ? 

สิ่งที่แตกต่างและเราสามารถสังเกตได้  นอกจากอาการป่วยเล็กน้อยที่ไม่เหมือนกันแล้ว  ทั้งสองโรคนี้อาจทำให้เกิดอาการได้ตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่เชื้อโควิด-19 อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าโรคไข้หวัดใหญ่

หากอาการหายใจไม่อิ่มที่มีสาเหตุมาจากปอดบวม อาจมีแนวโน้มเกิดจากเชื้อโควิด-19 มากกว่าไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ เชื้อโควิด-19 มีระยะฟักตัวที่นานกว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่หลายเท่า โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 7-21 วัน จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ และทำให้เชื้อแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น

ส่วนที่อันตรายเหมือนกัน คือ ทั้งสองโรคนี้สามารถติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งอย่างน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ โดยอาจเกิดจากการพูดคุย ไอ จาม หรือใช้มือสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งแล้วนำมาสัมผัสกับจมูก ปาก ใบหน้า และดวงตา ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน

รวมไปถึง การที่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคปอด โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคตับ และภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงกว่าคนปกติ และมีแนวโน้มเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ป่วยทั่วไป

แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ไข้หวัดใหญ่นั้นมีวัคซีนป้องกัน ทุกคนสามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้ทุกปี แต่ทั้งนี้ต้องปรึกษากับทางแพทย์ก่อนเพราะบางแห่งแนะนำให้หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชั่วคราว เนื่องจากจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง (เนื่องจากวัคซีนต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย) และหากสัมผัสเชื้อโควิด-19 ในช่วงนั้น อาจทำให้เชื้อไวรัสเติบโตได้เร็วกว่าปกติ

ทำประกันสุขภาพ

เป็นไข้หวัดใหญ่แบบไหน ถึงเรียกว่าอันตราย

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายเอง หากมีอาการไม่รุนแรงมากอาจจะดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว ห่มผ้าหนา ๆ และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลได้ตามสมควร

เพียงแต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน หรือถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูก และยาละลายเสมหะ เปลี่ยนเป็นการดื่มน้ำอุ่น ๆ ให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ และให้นอนพักมาก ๆ นอกจากนี้ยังควรงดออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ทำให้เสียเหงื่อชั่วคราว เพราะอาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำจนเกิดภาวะช็อกได้

หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน เช่น ไข้สูงมากจนเพ้อ ซึม หายใจหอบหายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด  มีอาการขาดน้ำและดื่มน้ำไม่เพียงพอ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อน หรืออาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน


ไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย จึงไม่ควรประมาท เพราะแม้จะไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก แต่หากปล่อยไว้จนเกิดภาวะแทรกซ้อนก็อาจจะลุกลามใหญ่โต Rabbit Care ก็มีตัวช่วยดี ๆ อย่าง ประกันสุขภาพ 3 โรคกวนใจ ที่ครอบคลุมโรคยอดฮิตในหน้าฝน ไม่ว่าจะเป็น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่มาพร้อมกับยุงถึง 5 โรค และโรคมือเท้าปาก ซึ่งล้วนเป็นโรคที่อาจจะกลับมาระบาดรุนแรงในช่วง 2-3 เดือนต่อจากนี้

ประกันสุขภาพ 3 โรคกวนใจ ให้คุณจ่ายเบี้ยประกันเบา ๆ แต่คุ้มครองและแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ ให้คุณและทุกคนในครอบครัวอุ่นใจและปลอดภัยจาก 3 โรคกวนใจ


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024